วันอาทิตย์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

Top News

 

Top News

บทความนี้ผู้เขียนทำการรวบรวม 10 ข่าวดังเด่นเกี่ยวข้องกับกองทัพไทย ระยะเวลาสิบปีตั้งแต่ พ..2556 ถึง พ..2566 โดยไม่เรียงลำดับ เพื่อบันทึกเป็นข้อมูลและให้ผู้อ่านทุกคนได้ทบทวนเรื่องราวกันอีกครั้ง

1.ทร.เฮ! ครม.ให้ซื้อ 'เรือฟริเกต' 1.46 หมื่นล.

            ครม.อนุมัติจัดซื้อ 'เรือฟริเกต'วงเงิน 1.46 หมื่นล้านบาท ขณะที่ 'ทร.' แจงเพื่อผลประโยชน์ของชาติ โวตัวเรือแบบ 'สเตลท์' ลดการตรวจจับของศัตรู พร้อมรบแบบ 3 มิติ

          รายงานข่าวจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)ในวันที่ 30 ก.ค.2556 ซึ่งมีนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานการประชุมได้อนุมัติงบประมาณให้กับ 3 เหล่าทัพผ่านกระทรวงกลาโหม โดยก้อนแรกเป็นของกองทัพเรือที่มีการอนุมัติงบประมาณผูกพันข้ามปี 2557-2561 ในโครงการจัดซื้อเรือฟริเกต สมรรถนะสูงจำนวน1ลำ วงเงินกว่า 14,997 ล้านกว่าบาท ที่ต่อเรือจากอู่บริษัทแดวู ประเทศเกาหลีใต้

          รายงานข่าวจากคณะรัฐมนตรี(ครม.) เพิ่มเติมว่า ครม.ได้อนุมัติการจัดซื้อเรือฟริเกตสมรรถนะสูง จำนวน 1 ลำ วงเงิน 14,600 ล้านบาท ที่จะเข้าประจำการที่กองทัพเรือ(ทร.) ตามที่กระทรวงกลาโหมเป็นผู้เสนอเรื่องอนุมัติการผูกพันงบ 5 ปี (2557-2561) ทั้งนี้ทางสำนักงานเลขานุการกองทัพเรือได้ทำเอกสารชี้แจงว่า ทร.ได้จัดหาเรือฟริเกต เพื่อนำไปใช้ในการป้องกัน รักษาอธิปไตยของชาติ และการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ซึ่งจะเป็นหลักประกันในการสร้างความมั่นคงด้านเศรษฐกิจทางทะเล และจัดหาเพื่อทดแทน เรือฟริเกต ชุด ร.ล. พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และ ร.ล.พุทธเลิศหล้านภาลัย ที่ครบกำหนดปลดประจำการในปี 2558 และ 2561 ตามลำดับ จึงมีความจำเป็นจัดหาเรือฟริเกตจำนวน 2 ลำ โดยลำที่ 1 กำลังจัดหาในครั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2556 - 2561 ส่วนลำที่ 2 จะพิจารณาดำเนินการจัดหาต่อไป

          สำหรับเรือฟริเกต ที่จัดหาจะมีขีดความสามารถในการปฏิบัติการรบได้ 3 มิติ คือ การปฏิบัติการสงครามใต้น้ำ การปฏิบัติการสงครามต่อต้านภัยทางอากาศ และการปฏิบัติสงครามผิวน้ำ โดยสามารถปฏิบัติงานร่วมกับ ฮ.ทร. ในการรับ-ส่ง ฮ. และนำ ฮ.เข้าเก็บในโรงเก็บ ฮ.ได้ นอกจากนี้ ยังได้เพิ่มขีดความสามารถของระบบตรวจการณ์ และระบบอาวุธในการปฏิบัติการสงครามใต้น้ำ และการป้องกันภัยทางอากาศให้มีประสิทธิภาพสูง อีกทั้งระบบอาวุธและระบบอำนวยการรบ ได้รับการออกแบบให้มีขีดความสามารถในการเชื่อมต่อข้อมูลทางยุทธวิธี ที่สามารถใช้งานร่วมกับระบบการรบของเรือฟริเกต ชุด ร.ล. นเรศวร และ ร.ล.จักรีนฤเบศร ได้ เป็นผลทำให้การปฏิบัติการรบร่วมในลักษณะกองเรือ (Battle Group) รวมทั้งการปฏิบัติการรบร่วมกับอากาศยานของกองทัพอากาศ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ประกอบกับข้อเสนอการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่บริษัทฯ เสนอ จะทำให้เพิ่มขีดความสามารถให้อู่เรือไทยและบุคคลากรทั้ง ทร. และภาคเอกชนให้มีความรู้ความชำนาญ รองรับการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการใช้เทคโนโลยี การพัฒนาเทคโนโลยี รวมถึงการบำรุงรักษา ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมการต่อเรือรบในประเทศได้

          อย่างไรก็ตาม ทร.ได้แต่งตั้งคณะกรรมการฯ ขึ้นมาดำเนินการ โดยได้เชิญชวนอู่เรือของประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย ยุโรป และอเมริกา จำนวน 13 ราย ซึ่งรวมถึงอู่เรือจากสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ด้วย เพื่อเปิดกว้างให้มีการแข่งขันให้ ทร. ได้รับประโยชน์สูงสุด โดยมีผู้เสนอแบบเรือ 5 ราย ได้แก่ อู่เรือจากสาธารณรัฐอิตาลี ราชอาณาจักรสเปน สาธารณรัฐเกาหลีใต้ (2 ราย) และสาธารณรัฐประชาชนจีน หลังจากนั้นได้ดำเนินการคัดเลือกแบบตามแนวทางการจัดหายุทโธปกรณ์หลักของ ทร. โดยผลการพิจารณาปรากฏว่า แบบเรือของบริษัท Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering Co., Ltd. (DSME) สาธารณรัฐเกาหลี สามารถตอบสนองภารกิจของ ทร.ได้ดีที่สุด และเป็นแบบเรือที่ตรงตามความต้องการมากที่สุด จึงได้รับการคัดเลือก

          สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือระบุ แบบเรือฟริเกตที่ได้รับการคัดเลือก เป็นแบบที่พัฒนามาจากเรือพิฆาตชั้น Kwanggaeto Class Destroyer (KDX-I) ซึ่งเรือฟริเกตที่ ทร.จัดหา มีการออกแบบและสร้างเรือ โดยใช้มาตรฐานทางทหารของสหรัฐฯ และทร.เกาหลี อีกทั้งได้รับการรับรองเป็นแบบที่ได้รับรองจากสถาบันจัดชั้นเรือซึ่งเป็นสมาชิกของ IACS (International Association of Classifications Society) โดยแบบเรือดังกล่าว มีระวางขับน้ำสูงสุด 3,700 ตัน ความเร็วสูงสุดต่อเนื่อง 30 นอต ระยะปฏิบัติการประมาณ 4,000 ไมล์ทะเล กำลังพล 136 นาย ลักษณะของเรือออกแบบโดยใช้ Stealth Technology และลดการแพร่คลื่นแม่เหล็กตัวเรือ รวมทั้งลดการแพร่เสียงใต้น้ำ ติดตั้งระบบอำนวยการรบและระบบอาวุธจากยุโรปและอเมริกา ซึ่งสามารถปฏิบัติการรบได้ทั้ง 3 มิติ รวมทั้งป้องกันตัวเองในระยะประชิด ตามมาตรฐานยุโรป สหรัฐฯ และ ทร.ที่มีใช้งานและกำลังจัดหา การสร้างเรือ จะดำเนินการ ณ อู่ต่อเรือของบริษัทDSME สาธารณรัฐเกาหลีใต้ ในระหว่างปี 2556 - 2561 โดยมีค่าจ้างสร้างเรือรวมทั้งสิ้นประมาณ 14,600 ล้านบาท ซึ่งเป็นราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่ม อะไหล่เครื่องมือ เอกสาร ส่วนสนับสนุน การทดสอบทดลอง การฝึกอบรม การถ่ายทอดเทคโนโลยี และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

หมายเหตุ : ข้อมูลจากราชการทุกกรมกองมักเขียนติดกันยาวๆ ส่งผลให้การอ่านทำได้อย่างค่อนข้างลำบาก

ความเห็นผู้เขียน

          โครงการเรือฟริเกตสมรรถนะสูงเป็นข่าวโด่งดังมากที่สุด เพราะใช้งบประมาณมากที่สุดรวมทั้งเป็นการซื้อเรือฟริเกตใหม่เอี่ยมลำแรกในรอบ 20 ปี ผลการคัดเลือกอู่ต่อเรือ Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering CO., LTD. หรือ DSME จากเกาหลีใต้คือได้รับการคัดเลือก แบบเรือและอาวุธบนเรือสร้างความฮือฮาสองด้านไปพร้อมกัน ด้านแรกทุกคนบ่นว่าเราควรได้อาวุธและเรดาร์รุ่นดีกว่าดีนี้ใช้งาน ด้านสองเมื่อกองทัพเรือเปิดเผยรายละเอียดเราก็พากันฝันถึง อาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้อากาศยาน SM-2 อาวุธปล่อยนำวิถีปราบเรือดำน้ำ VL-ASROC และระบบเป้าหลวง Nulka รุ่นดีที่สุดจากอเมริกา

          การดำเนินงานโครงการนี้เป็นไปอย่างสะดวกราบรื่น วันที่ 7 สิงหาคม 2556 กองทัพเรือลงนามซื้อเรือฟริเกตจากบริษัท  DSME เรือหลวงท่าจีนถูกเปลี่ยนชื่อเป็นเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช (FFG-471) เรือเดินทางถึงไทย วันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2562 เข้าประจำการวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2562 ปัญหาติดขัดเล็กน้อยมีแค่เพียงการสั่งซื้อเรือลำที่สองถูกเลื่อนออกไป เพราะกองทัพเรือมีโครงการใหญ่กว่า สำคัญกว่า ใช้เงินมากกว่าแทรกเข้ามาเสียก่อน

2.กองทัพบกควัก 2,960 ล้านบาท จัดซื้อรถยานเกราะ "สไตรเกอร์"

          กองทัพบกจัดซื้อยานเกราะ ล้อยาง “สไตรเกอร์” จากสหรัฐเข้าประจำการเป็นแห่งแรกของโลก พร้อมๆ กับการปรับโครงสร้างกองทัพให้กะทัดรัดและจัดหน่วยกองพลทหารราบมาตรฐาน มาเป็นกองพลทหารราบเบา

            เมื่อเร็วๆ นี้ พ.อ.หญิง ฉัตรรพี พูนศรี รองโฆษกกองบัญชาการกองทัพไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้กองทัพบกกำลังปรับปรุงโครงสร้างและเสริมสร้างหน่วยกำลังรบของกองทัพบกเพื่อใช้เป็นหน่วยต้นแบบในอนาคตโดยมุ่งเน้นการเสริมสร้างหน่วยกำลังรบระดับกรม ให้เป็นหน่วยที่มีความกะทัดรัดทันสมัยและมีประสิทธิภาพ

            การจัดกองทัพดังกล่าวจะศึกษารูปแบบจากการจัดหน่วยแบบกองพลน้อยของสหรัฐฯ และออสเตรเลีย (Brigade Combat Team : BCT) โดยนำไปประยุกต์ให้มีความเหมาะสมกับกองทัพบก ซึ่งการจัดการดังกล่าวจะต้องประกอบด้วยกำลังพลและยุทโธปกรณ์ควบคู่กับการพิจารณาจัดหายานเกราะที่เหมาะสม เข้าประจำการ ซึ่งขณะนี้ทางกองทัพบกกำลังจัดหายานเกราะล้อยาง “สไตรเกอร์” จากประเทศสหรัฐฯ เข้าประจำการ

            สำหรับแผนการจัดซื้อยานเกราะล้อยาง “สไตรเกอร์”ทางกองทัพบกได้อนุมัติจัดหายานเกราะล้อยาง รุ่น M1126 STRYKER จากที่สหรัฐมีสำรองไว้ 37 คัน คันละประมาณ 80 ล้านบาท เป็นโครงการซื้อความช่วยเหลือทางทหารแบบ FMS โดยตรงกับสหรัฐฯ

            สำหรับรถเกราะ “สไตรเกอร์” นี้จะมีอาวุธประจำรถและเครื่องมือติดต่อสื่อสาร ในการซื้อครั้งนี้ทางกองทัพบกไทยได้ซื้อ 37 คัน (รวมเป็นเงิน 2,960 ล้านบาท) และทางสหรัฐฯ ช่วยเหลือให้เพิ่มอีก 23 คัน รวมเป็น 60 คัน และยังเป็นโครงการต่อเนื่อง รวมถึงการสร้างโรงเก็บ สนามฝึก ชิ้นส่วนการซ่อมบำรุง เพื่อบรรจุในกองพลทหารราบที่ 11 จังหวัดฉะเชิงเทรา ตามแผนการเสริมสร้างศักยภาพของหน่วยทหารราบ พร้อมยังนำเข้าประจำการในหน่วยทหารหน่วยอื่น

            นอกจากนี้ การประจำการของ “สไตรเกอร์” จะทำให้จัดหน่วยจากเดิมเป็นแบบกองพลทหารราบมาตรฐาน มาเป็นการจัดหน่วยแบบกองพลทหารราบเบา

            มีรายงานว่า นับตั้งแต่ พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ มาเป็นผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ได้มีการพัฒนาแนวทางการจัดหายุทโธปกรณ์ให้เป็นไปตามมาตรฐาน และสหรัฐฯ มีรถเกราะรุ่นดังกล่าวสำรองคลังไว้จึงได้เสนอขายให้กับกองทัพบกของไทยในราคามิตรภาพ ทบ.จึงเห็นชอบให้จัดหายานเกราะรุ่นดังกล่าวเขามาประจำการ ซึ่งถือเป็นยานเกราะล้อยางแบบที่ 3 ของกองทัพบกไทยที่เตรียมนำเข้าประจำการ โดยเริ่มในปีงบประมาณ 2562 นี้

            สำหรับประวัติของยานรบ “สไตรเกอร์” ถือได้ว่าได้จำหน่ายให้ไทยเป็นรายแรก ซึ่งยานรบดังกล่าว กองทัพสหรัฐฯ ยังคงใช้ประจำการไปอีกถึงปี 2030 หรือนานกว่านี้ เป็นยานเกราะล้อยางที่ได้รับการยอมรับว่าระดับ World Class ผลิตโดย บริษัท General Dynamics Land systems ผ่านการรบมาแล้วหลายครั้ง

ความเห็นผู้เขียน

          การจัดหายานเกราะล้อยางสไตรเกอร์จากอเมริกา ถือเป็น Big Surprise จากกองทัพบกชนิดไม่มีใครคาดฝันมาก่อน ช่วงเวลานั้นความสัมพันธ์ไทย-อเมริกาค่อนข้างจืดจางด้วยเหตุผลหลายประการ ความสัมพันธ์ไทย-จีนค่อนแนบแน่นด้วยเหตุผลหลายประการเช่นกัน ช่วงเวลานั้นกองทัพบกจัดหารถถัง ยานเกราะจากจีนเข้าประจำการจำนวนมาก มากเสียจนผู้เขียนแอบสงสัยว่าเราจะซื้ออาวุธจากจีนตลอดไปเลยใช่ไหม

            ความคิดผู้เขียนเปลี่ยนไปทันควันเมื่อพบเจอดีลลับสุดยอด “สไตรเกอร์”

วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ.2562 ยานเกราะสไตรเกอร์ 4 ลำแรกเดินทางมาถึงไทยด้วยเครื่องบินลำเลียง การวันที่ 12 กันยายน 2562 มีพิธีส่งมอบยานเกราะชุดแรกจำนวน 10 ลำ ท่ามกลางรอยยิ้มทั้งฝั่งไทยและฝั่งอเมริกา

ปี 2563 กองทัพบกสั่งซื้อยานเกราะสไตรเกอร์เฟสสองจำนวน 50 ลำ ต่อมาในปี 2564 มีการสั่งซื้อเฟสสามเพิ่มอีก 10 ลำ ทำให้ยอดรวมยานเกราะเมดอินอเมริกาเพิ่มขึ้นเป็น 130 ลำ ในจำนวนนี้เป็นรถที่สหรัฐให้เพิ่มเป็นพิเศษจำนวน 40 คัน กองทัพบกตั้งใจนำยานเกราะเข้าประจำการ ร.112 พล.ร.11 รวม 2 กองพัน

3.กองทัพอากาศลงนามจัดซื้อเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้นแบบ T-50TH กับบริษัท KAI สาธารณรัฐเกาหลี

          เมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๘ ที่กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี พลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง  เสนาธิการทหารอากาศ ในฐานะประธานกรรมการจัดซื้อเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น ได้เป็นผู้แทนกองทัพอากาศ ลงนามในสัญญาจัดซื้อเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้นแบบ T-50TH จำนวน ๔ เครื่อง พร้อมอะไหล่ขั้นต้น อุปกรณ์เครื่องมือที่จำเป็น  การฝึกอบรมนักบินและเจ้าหน้าที่เทคนิคที่เกี่ยวข้อง  การถ่ายทอดเทคโนโลยีรวมทั้งข้อเสนอพิเศษ กับ นาย Ha Sung Yong ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของบริษัท Korea Aerospace Industries (KAI) จำกัด

ในการจัดซื้อเครื่องบินดังกล่าวเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๗  ที่อนุมัติให้กองทัพอากาศดำเนินการจัดหาเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น (ระยะที่ ๑) ระยะเวลาดำเนินการ ๓ ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๕๘ – ๒๕๖๐ และให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบอีกครั้งก่อนดำเนินการ  ซึ่งกองทัพอากาศได้นำเรียนคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบผลการดำเนินการเมื่อวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๘  และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้อนุมัติให้กองทัพอากาศดำเนินการจัดซื้อเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้นตามโครงการ ฯ (ระยะที่๑) เมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๘

สำหรับเครื่องบินแบบ T-50TH เป็นเครื่องบินฝึกที่จะเข้ามาประจำการทดแทนเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่ ๑ (L-39) ของกองทัพอากาศที่มีแผนจะปลดประจำการซึ่งใช้งานมานาน  มีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาเพิ่มขึ้น และมีเทคโนโลยีที่ล้าสมัย ไม่สามารถฝึกนักบินให้ตอบสนองต่อความต้องการในการผลิตนักบินเพื่อไปปฏิบัติการบินกับเครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูงที่กองทัพอากาศได้จัดหามาแล้วและทำการปรับปรุง คือ เครื่องบินขับไล่แบบที่ ๒๐ (Gripen 39 C/D) และเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๙ (F-16 MLU) ทั้งนี้เครื่องบินแบบ T-50TH เป็นเครื่องบินฝึกสมรรถนะสูง  ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เหมาะสมสำหรับการฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้นให้สามารถปฏิบัติภารกิจกับเครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูงของกองทัพอากาศที่มีใช้งานในปัจจุบันต่อไปได้ มีระบบการฝึกอบรมและระบบสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจที่ทันสมัย ส่งผลให้การฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสามารถติดตั้งใช้งานระบบอาวุธที่กองทัพอากาศใช้งานในปัจจุบันได้ ทั้งนี้ในส่วนที่เป็นข้อเสนอพิเศษ ที่ประเทศไทยและกองทัพอากาศจะได้รับเพิ่มเติมได้แก่ ทุนการศึกษาในระดับปริญญาโท จำนวน ๘ ทุน และความร่วมมือ และการสนับสนุนในภาคอุตสาหกรรมการบิน ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อประเทศไทย 

ความเห็นผู้เขียน

          โครงการเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้นแบบ T-50TH ไม่ได้หวือหวาอลังการเหมือนโครงการเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๒๐ (Gripen 39 C/D) แต่ถือเป็นข่าวเด่นดังมากที่สุดในรอบสิบปีของทัพอากาศขาดรัก

เครื่องบินเฟสแรก 4 ลำกองทัพอากาศลงนามจัดซื้อมูลค่า 3,750 ล้านบาทระหว่างปี 2558  วันที่ 11 ก.ค. 2560 คณะรัฐมนตรีอนุมัติวงเงินงบประมาณ 9,000 ล้านบาท เพื่อจัดซื้อเครื่องบินเฟสสองจำนวน 8 เครื่อง ต่อมาในปี 2564 กองทัพอากาศลงนามจัดซื้อเครื่องบินเฟสสามเพิ่มจำนวน 2 ลำมูลค่า 2,360 ล้านบาท

อินทรีทองสองลำแรกเดินทางมาถึงไทยวันที่ 25 มกราคม 2561 หลังเครื่องบินเกิดความเสียหายจากปัจจัยสภาพอากาศ ทำให้ต้องซ่อมเปลี่ยนเครื่องยนต์ และเลื่อนการบินนำส่งไปถึง 2 สัปดาห์ ปัจจุบันบริษัท KAI ส่งมอบ T-50TH เรียบร้อยแล้วจำนวน 12 ลำ ส่วน 2 ลำสุดท้ายคาดว่าน่าจะพร้อมส่งมอบภายในปี 2566

ชมข่าวดังเด่นที่ทุกคนกดไลก์กันไปแล้ว ต่อจากนี้คือข่าวดังเด่นที่ทุกคนพร้อมใจกันกดอันไลก์

4.ผบ.ทอ.วอน กมธ.ผ่านงบซื้อ เอฟ-35 ยันโปร่งใสแม้ผ่านคองเกรสไม่ง่ายแต่มีลุ้น

"ผบ.ทอ." วอน กมธ.งบฯ ผ่านงบโครงการจัดซื้อ เอฟ-35 เฟสแรก จำนวน 2 ลำ ย้ำจัดซื้อระบบ FMS โปร่งใส ไม่มีนอก-มีใน ยอมรับ ผ่านมติสภาคองเกรสจะไม่ง่าย แต่มีโอกาสลุ้น เผย ทอ.หนุนเต็มที่

เมื่อเวลา 08.06 น. วันที่ 2 ส.ค.2565 ที่กองบิน 41 กองทัพอากาศ จังหวัดเชียงใหม่ พล.อ.อ.นภาเดช ธูปะเตมีย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ (ผบ.ทอ.) ให้สัมภาษณ์ถึงการจัดซื้อจัดหาโครงการเครื่องบิน F-35 หลังถูกคณะอนุกรรมาธิการครุภัณฑ์ ไอซีที รัฐวิสาหกิจ และทุนหมุนเวียน สภาผู้แทนราษฎร ตัดออกจากงบประมาณประจำปี 2566 และได้ยื่นเรื่องอุทธรณ์ ซึ่งจะเข้าคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2566 ในวันนี้ว่า ประชาชนมุ่งหวังเห็นสิ่งสำคัญ 3 ประการ คือ 1. กองทัพซื้อของดีมีประสิทธิภาพใช้งานได้นาน คุ้มค่า คุ้มราคากับภาษีของประชาชน 2. การซื้อต้องไม่มีการคอร์รัปชัน หมายถึงผู้บังคับบัญชาระดับสูง ผู้นำเหล่าทัพไม่มีผลประโยชน์ รวมถึงคนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเงินทุกบาททุกสตางค์จะต้องใช้อย่างคุ้มค่ากับโครงการเท่านั้น และ 3. การจัดซื้อจะต้องสร้างประโยชน์ให้กับประเทศชาติอย่างเต็มที่ทั้งทางตรง ก่อให้เกิดความมั่นคงของชาติ และทางอ้อมคือสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาคน พัฒนาองค์ความรู้ การถ่ายทอดเทคโนโลยีต่างๆ

ผบ.ทอ. กล่าวต่อว่า ทั้งนี้โครงการจัดซื้อเครื่องบิน เอฟ-35 เอ ไลท์นิ่ง ทู (F-35 A) ที่กองทัพอากาศเสนอ ขณะนี้อยู่ระหว่างการอุทธรณ์ เพราะถูกตัดงบประมาณ และเครื่องบิน F-35 A ถือเป็นหนึ่งในเครื่องบินรบที่ดีที่สุดของโลก สามารถใช้กับอาวุธได้หลายอย่าง รวมถึงอาวุธที่กองทัพอากาศมีใช้ในปัจจุบัน จึงไม่มีความจำเป็นต้องจัดซื้ออาวุธเพิ่มเติม อีกทั้งการซื้อเครื่องบินก็จะทำให้ประหยัดงบประมาณ และในอนาคตหากมีอาวุธใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพก็สามารถสั่งซื้อเพิ่มเติมได้ โดย F-35 ถูกออกแบบมาให้รองรับกับอาวุธใหม่ๆ

พล.อ.อ.นภาเดช กล่าวต่อว่า กองทัพอากาศจัดซื้อโดยแบบวิธีความช่วยเหลือทางการทหาร (FMS) ซึ่งเป็นการจัดซื้อเจรจาระหว่างรัฐบาลกับรัฐบาล จึงมีความโปร่งใสและตรวจสอบได้ ไม่มีนอก ไม่มีใน ไม่มีผลประโยชน์ใดๆ ทั้งสิ้น นับว่าเป็นกระบวนการจัดซื้อที่เป็นแบบอย่างที่ประชาชนต้องการ ทั้งนี้ การไปเจรจา รัฐบาลไม่สามารถไปแบบมือเปล่าได้ จะต้องมีความพร้อมเรื่องงบประมาณและแผนการดำเนินการที่สมบูรณ์ เพื่อให้ผู้ขายเห็นความพร้อม

"พูดง่ายๆ เราไม่สามารถเดินตัวเปล่าเข้าไปซื้อได้ และกองทัพอากาศ เคยจัดซื้อในรูปแบบดังกล่าวมาแล้ว คือเครื่องบิน F-16 ซึ่งอยู่ยงคงกระพันใช้งานมาเกือบ 40 ปี และเป็นเครื่องบินรบหลักของกองทัพอากาศ ดังนั้นหากเครื่องบิน F-35 A ผ่านการอนุมัติ เราใช้งานไปอีก 35-40 ปีเช่นเดียวกัน ย้ำว่า F-35 A เป็นเครื่องบินล้ำสมัย เต็มไปด้วยเทคโนโลยีที่เราไม่เคยมีมาก่อน ก็จะเกิดการศึกษาเรียนรู้ การถ่ายโอนเทคโนโลยีเพิ่มเติมก็ถือว่าเป็นประโยชน์ในการพัฒนาคนและงาน รวมถึงความมั่นคงของชาติด้วย ดังนั้นหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2566 จะเล็งเห็นถึงองค์ประกอบที่สำคัญที่ได้กล่าวมา และกรุณาสนับสนุนโครงการสำคัญนี้ของกองทัพอากาศด้วย ย้ำว่าขอให้ประชาชนมีความเชื่อใจ ในความซื่อสัตย์และซื่อตรงและกองทัพอากาศ ได้ทำตามภาระหน้าที่อย่างดีที่สุดแล้ว" ผบ.ทอ. กล่าว

เมื่อถามว่า นายกรัฐมนตรีใน ฐานะ รมว.กลาโหม ได้เห็นชอบในการจัดซื้อ เอฟ-35 อย่างไรบ้าง พล.อ.อ.นภาเดช กล่าวว่า เรามีผู้บังคับบัญชาที่ดีมาก ท่านได้พิจารณาไตร่ตรองอย่างรอบคอบ ในสภาวะเศรษฐกิจที่รุมเร้า แต่กองทัพอากาศได้ใช้งบประมาณของตัวเองในการจัดซื้อ ไม่ได้ขอเพิ่ม จากที่รัฐบาลได้ตั้งกรอบเอาไว้ให้ ส่วนที่จัดซื้อเพียง 2 เครื่อง และจะทยอยซื้อในระยะที่ 2 และ 3 เพิ่มเติม โดยใช้เวลา 10 ปี ซึ่งหากโครงการนี้ประสบความสำเร็จ ในปี 2575 กองทัพอากาศจะมีเครื่องบินเอฟ 35 ประจำการจำนวน 12 เครื่อง และพร้อมที่จะปฏิบัติการรบในปี 2576 ภายหลังเตรียมการในทุกด้านเรียบร้อยแล้ว ส่วนที่มองกันว่าการจัดซื้อเพียง 2 เครื่องน้อยเกินไปนั้น เราได้ศึกษา จากกองทัพอากาศต่างประเทศ ซึ่งทยอยจัดซื้อเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่ร่ำรวย หรือปานกลาง ก็มีวิธีการจัดซื้อที่แตกต่างกันไป บางประเทศซื้อเพียง 1 เครื่อง หรือ 2 เครื่องหรือ 4 เครื่อง และที่จัดซื้อครั้งเดียวครบฝูงมีน้อยมาก

เมื่อถามว่าหากผ่านขั้นตอนทางสภาของไทยแล้วแนวโน้มที่จะผ่านสภาคองเกรสของสหรัฐฯ มีมากน้อยเพียงใด ต้องบอกว่ามันเป็นเรื่องยาก และโอกาสที่เราจะได้นั้น ก็อยาก แต่ไม่ใช่ว่าจะไม่มีโอกาส เรายังมีโอกาส แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด คือเราได้รับการสนับสนุน เห็นพ้องต้องกัน เป็นหนึ่งเดียว เพราะโครงการนี้มีประโยชน์ ไม่มีสิ่งที่เป็นโทษ ไม่มีการทุจริต และไม่ได้ซื้อของไม่ดี และเราได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลและประชาชน ผมก็เชื่อว่าเปอร์เซ็นต์ความสำเร็จจะมีสูงอย่างมาก"

เมื่อถามว่าทางสารัฐฯ มีเงื่อนไขอยู่หลายข้อที่จะขายเครื่องบิน F-35 ให้แต่ละประเทศ พล.อ.อ.นภาเดช กล่าวว่า คงต้องพิจารณาเป็นเรื่องๆ ไป ขณะนี้เราดำเนินการมาครึ่งทางแล้ว ได้แก้ปัญหาผ่านอุปสรรคต่างๆ เป็นเรื่องๆ ไป เพราะในส่วนของกองทัพอากาศ ที่ดำเนินการได้เอง ทั้งการประสานขอความร่วมมือในระดับของกองทัพอากาศไทย และสหรัฐฯ ก็ได้รับความร่วมมือด้วยดี และเข้าใจความต้องการของกองทัพอากาศไทย และกองทัพอากาศสหรัฐฯ พร้อมที่จะสนับสนุน

เมื่อถามย้ำว่ามีเปอร์เซ็นต์สูงที่จะได้ใช่หรือไม่ พล.อ.อ.นภาเดช กล่าวว่า "เราก็หวังเช่นนั้น"

เมื่อถามว่าการซื้อเครื่องบินเอฟ-35 จะกลายเป็นภาระในเรื่องของงบประมาณที่อาจส่งผลกระทบถึงเครื่องบินรุ่นอื่น ที่อาจปลดประจำการเช่น เครื่องบินลำเลียง ซี-130 หรือไม่ พล.อ.อ.นภาเดช กล่าวด้วยว่า เราก็ต้องดูตามความจำเป็น เพราะกองทัพอากาศเราไม่มีเงินถุงเงินถัง เพราะฉะนั้นการพิจารณาจะซื้ออะไรสักอย่างต้องรอบคอบ เป็นการจัดซื้อเพื่อทดแทน เครื่องที่เราปลดประจำการไป เพราะเครื่องเก่ามีค่าซ่อมบำรุงสูง หากเราตัดงบประมาณส่วนซ่อมบำรุง ก็สามารถนำมาใช้จ่ายในเครื่องบินเอฟ-35 ที่เป็นงบประมาณที่ต่ำกว่า เราก็เหลือเงิน ไปสนับสนุนโครงการอื่นได้.

ความเห็นผู้เขียน

            เครื่องบินเอฟ-35 คือสุดยอดเครื่องบินขับไล่ในยุคปัจจุบัน ผู้เขียนไม่แปลกใจสักนิดเรื่องกองทัพอากาศอยากได้มาใช้งานแทนเครื่องบิน F-16 ADF ฝูงบิน 103  และ F-16 A/B ฝูงบิน 103 เพียงแต่ค่อนข้างติดใจเรื่องระบบอาวุธทันสมัยที่จะนำมาใช้งาน หากเรามีอาวุธทันสมัยจำนวนน้อยเกินไปหรือยังไม่มีใช้งาน เครื่องบินเอฟ-35 ที่อเมริกาขายให้ย่อมไม่มีความหมายแม้แต่นิดเดียว

          ทว่าปัจจุบันปัญหาเรื่องระบบอาวุธไม่มีปัญหาอีกต่อไป เนื่องจากค่อนข้างแน่นอนแล้วว่าอเมริกาไม่ขายเครื่องบินเอฟ-35 ให้ไทย อันเป็นสิทธิ์โดยสมบูรณ์แบบของคนขายเรื่องนี้ว่ากันไม่ได้ จากนี้ไปกองทัพอากาศต้องหันมามองเครื่องบินขับไล่รุ่นอื่นต่อไป F-16 กับ Gripen ซึ่งเรามีใช้งานอยู่ก่อนแล้วกลายเป็นสองตัวเต็งจ๋า

          ความผิดหวังจากโครงการนี้สมควรจดจำไว้เป็นบทเรียนสอนใจ ต่อไปในอนาคตเมื่อกองทัพอากาศขอซื้อเครื่องบินเอฟ-35 จากอเมริกาอีกครั้ง จะได้แก้ไขปัญหาต่างๆ ให้พร้อมเต็มที่จนอเมริกาไม่มีข้ออ้างอีกต่อไป

5.ทบ.จัดหาระบบป้องกันภัยทางอากาศระยะกลาง

            ในการประชุมคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือ คสช. เมื่อวันที่ 24 มิถุนายนที่ผ่านมา ได้มีมติอนุมัติให้กองทัพบกดำเนินการจัดหาระบบป้องกันภัยทางอากาศระยะกลาง ภายใต้โครงการจัดหาระบบอาวุธปืนต่อสู้อากาศยานระยะปานกลาง-ไกลแบบที่ 1 จำนวน 1 ระบบ งบประมาณ 53 ล้านยูโร โดยเป็นงบประมาณผูกพันตั้งแต่ปี 2557-2560

          ผลการคัดเลือกระบบป้องกันภัยทางอากาศ VL MICA บริษัท MBDA Missile System คือผู้ชนะโครงการ กองทัพบกจัดหามาใช้งานในปี 2557 วงเงิน 3,520 ล้านบาท ประกอบไปด้วยเรดาร์ตรวจการณ์ 3 มิติ TRML-3D/32 จำนวน 1 ระบบ รถบังคับการจำนวน 1 คัน และรถแท่นยิงอัตตาจรจำนวน 2 คัน

          VL MICA เข้ามาแทนที่ระบบป้องกันภัยทางอากาศแบบ SPADA ที่ประจำการมากกว่า 20 ปี เป็นอาวุธป้องกันภัยทางอากาศทันสมัยที่สุดของกองทัพบก ใช้ป้องกันภัยทางอากาศให้กับสถานที่สำคัญในกรุงเทพมหานคร อันเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญที่อยู่ในความดูแลของกองทัพบก

ความเห็นผู้เขียน

          อันที่จริงการจัดหาระบบป้องกันภัยทางอากาศ VL MICA ถือว่าดีค่อนข้างมาก เป็นตัวเลือกที่เหมาะสมกับกองทัพบกมากกว่ารุ่นอื่น ติดขัดแค่เพียงมูลค่าโครงการเพิ่มขึ้นจาก 53 ล้านยูโรเป็น 3,520 ล้านบาท แต่รถแท่นยิงอัตตาจรกลับลดลงจาก 4 คันเหลือ 2 คัน ทำให้กองทัพบกมีอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้อากาศยาน VL MICA พร้อมใช้งานเพียง 8 นัด การป้องกันพื้นที่สำคัญประสิทธิภาพลดลงกว่าเดิมถึง 50 เปอร์เซ็นต์

6.ทร.ยันไม่มุบมิบเซ็นซื้อเรือยกพลขึ้นบก6พันล้านจากจีน

ผบ.ทร.ลั่นไม่ได้มุบมิบแอบเซ็นจัดซื้อเรือยกพลขึ้นบก 6พันกว่าล้านบาทจากจีน ชี้ทำตามขั้นตอน บอกจีนใจกว้างยอมขายเรือที่ยังใช้อยู่ ยันไม่นิยมจัดหายุทโธปกรณ์บนหน้าหนังสือพิมพ์   

          เมื่อวันที่ 13 ก.ย. ที่โรงแรมรอยัล ออคิด เชอราตัน พล.ร.อ.ลือชัย รุดดิษฐ์  ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) กล่าวถึงกรณีที่กองทัพเรือลงนามกับจีน ในสัญญาการต่อเรือแอลพีดี ซึ่งเป็นเรือยกพลขึ้นบก 1ลำ โดยใช้งบประมาณกว่า 6,100 ล้านบาท ว่า ยืนยันว่าทหารเรือไม่ได้ฉวยโอกาสต่อเรือลำใหม่ ซึ่งเรื่องจริงคือเป็นไปตามแผนโครงสร้างกำลังรบของกองทัพเรืออยู่แล้ว และยืนยันว่าไม่ใช่ซื้อมารบเพียงอย่างเดียว หากถามว่าประชาชนจะได้อะไรนั้นเครื่องมือภายในเรือมี 2 ลักษณะ คือใช้ในการทหาร และสามารถช่วยเหลือประชาชนไปได้พร้อมๆกัน

          เมื่อถามว่า ทำไมจึงจำเป็นต้องมีเรือลำนี้ พล.ร.อ.ลือชัย กล่าวว่า เพราะเรามีไม่เพียงพอ โดยเฉพาะเรือยกพลขึ้นบกของกองทัพเรือที่ขณะนี้มีอยู่ 4 ลำ และใกล้จะปลดระวางทั้ง 4 ลำ ที่ผ่านมามีเรือมาทดแทนเพียงแค่ลำเดียว ดังนั้นจึงต้องหาลำใหม่มาทดแทนเรือที่หายไป ส่วนเหตุผลที่จัดซื้อเรือขนาดใหญ่กว่า 2 หมื่นตันจากจีนนั้น เรือขนาดใหญ่ถูกบรรจุอยู่ในโครงสร้างกำลังรบ ซึ่งความสัมพันธ์ในอาเซียนเรามีการก่อตั้งศูนย์บรรเทาสาธารณภัยนานาชาติร่วมกัน จึงจำเป็นต้องใช้เรือขนาดใหญ่ในกิจการด้านการให้ความช่วยเหลือบรรเทาสาธารณภัย คิดว่ามีความเหมาะสมแล้วที่จะจัดซื้อมาเพื่อให้ความช่วยประชาชนทั้งในและนอกประเทศ ส่วนเรื่องสมรรถนะของเรือตนมีความมั่นใจ เพราะที่ผ่านมาเคยผ่านการฝึกร่วมกับจีนมาแล้ว ได้เห็นและได้ทดสอบว่าเรือสามารถใช้งานได้เหมาะสมที่สุดกับกองทัพเรือไทย ส่วนเพื่อนบ้านจะมีเรือขนาดเล็กหรือเรือใหญ่กว่านี้ก็เป็นเรื่องของประเทศเพื่อนบ้าน เราไม่ขอวิจารณ์ 

          เมื่อถามว่า ฟังก์ชั่นที่ทางจีนให้จะมีอะไรพิเศษหรือไม่ พล.ร.อ.ลือชัย กล่าวว่า ตนไม่ขอลงรายละเอียด เพราะต้องให้เกียรติกับทางการจีน เนื่องจากเป็นการซื้อแบบรัฐต่อรัฐหรือจีทูจี หากไปก้าวก่ายจะดูไม่ดี ซึ่งเรือดังกล่าวทางการจีนยังคงใช้ประจำการอยู่ แตกต่างจากแต่ก่อนที่ไทยจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ เรามักจะได้ซื้อรุ่นที่ตกชั้นที่เขาไม่ได้ใช้แล้ว ซึ่งบางประเทศจะไม่ยอมขายยุทโธปกรณ์ที่ยังใช้ประจำการอยู่ แต่นี่ถือว่าจีนใจกว้าง เพราะเรือฉางไป่ซาง ทางจีนใช้อย่างไรเราก็ใช้อย่างนั้นเหมือนกันทุกประการ ดังนั้นเราจึงต้องเคารพความลับทางทหารของเขาด้วย

          เมื่อถามว่า มีการวิพากวิจารณ์ในโซเชียลถึงการจัดซื้อที่มีการแอบเซ็นสัญญา พล.ร.อ.ลือชัย กล่าวชี้แจงว่า แล้วแต่มุมมอง จะไปแอบเซ็นได้อย่างไรเพราะเป็นช่วงปลายปีงบประมาณ หากแอบเซ็นจริงๆ ต้องเป็นต้นปีงบประมาณ ซึ่งกระบวนการนั้นเริ่มมาตั้งแต่ต้นปีเรื่อยมา ไม่มีปิดบัง จนมาเซ็นอนุมัติในปลายปี ทั้งนี้มองว่าหากจะโจมตีกองทัพเรือในยุคที่ผ่านๆมามีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และพร้อมที่จะถูกตรวจสอบ ใครอยากรู้ขอให้มาคุยได้ แต่ขอให้มีใจที่เป็นธรรมให้กับกองทัพเรือ อย่ามีอคติ

          เมื่อถามถึงกระแสวิจารณ์ที่ถูกนำไปเชื่อมโยงกับการจัดซื้อเรือดำน้ำกับทางการจีนนั้น ผบ.ทร. กล่าวว่า ก็แล้วแต่คนจะโจมตี หากพูดไปมากๆจะหาว่าเป็นการแก้ตัว ขอให้ไปหาว่าการต่อเรือขนาดใหญ่ในราคาขนาดนี้ท่านต่อได้หรือไม่ มีอะไรอีกมากมาย ตนไม่ชอบจัดซื้อจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์บนหน้าหนังสือพิมพ์ และไม่ควรอย่างยิ่ง เพราะเป็นความลับทางทหารและเป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นความกรุณาของจีนที่ขายเรือชุดนี้ให้กับเรา เพราะธรรมดาไม่มีทางขายหรอก เราโชคดีที่มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

กลาโหมถอนวาระซื้อเรือยกพลขึ้นบก 6,100 ล้าน จาก ครม.

          ผู้สื่อข่าวรายงานจากทำเนียบรัฐบาลว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 31 มี.ค. 2563 วาระในการพิจารณาของ ครม. วันนี้ เดิมกระทรวงกลาโหม พล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล รมช.กลาโหม จะเสนอคณะรัฐมนตรีขออนุมัติ ให้กองทัพเรือดำเนินการโครงการจัดหาเรืออเนกประสงค์ยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ สนับสนุนการปฏิบัติการเรือดำน้ำระยะที่ 1 จำนวน 1 ลำ วงเงินงบประมาณกว่า 6,100 ล้านบาท แต่ปรากฏว่ากระทรวงกลาโหม โดย พล.อ.ชัยชาญ ขอถอนเรื่องดังกล่าวออกจากวาระการพิจารณา

          ด้าน พล.ร.ท.ประชาชาติ ศิริสวัสดิ์ โฆษกกองทัพเรือ ชี้แจงกรณีที่มีการเสนอข่าวว่ากระทรวงกลาโหม เสนอครม.อนุมัติจัดซื้อเรือยกพลขึ้นบก จากจีน โดย พล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล รมช.กลาโหม เป็นผู้ขออนุมัติให้กองทัพเรือดำเนินการในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับโครงการจัดหาเรืออเนกประสงค์ยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ ว่า ไม่ใช่เป็นการขออนุมัติต่อเรือยกพลขึ้นบก เพราะโครงการนี้ ผ่านการอนุมัติ และมีการทำสัญญาไป ตั้งแต่ พ.ย.2562 แล้ว แต่ เรื่องที่เข้า ครม. วันนี้ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเรือ เช่น การส่งคณะกรรมการไปตรวจแบบเรือ, การเตรียมส่งทหารไปฝึก เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 คลี่คลาย

          กองทัพเรือไทย ทำสัญญาต่อเรือ LPD ยกพลขึ้นบก ลำใหม่ จากจีน เพื่อเป็นเรือพี่เลี้ยงให้เรือดำน้ำ และ เพื่อภารกิจยกพลขึ้นบก บรรเทาสาธารณภัย เสริมภารกิจ เรือหลวงอ่างทอง ด้วย โดยมี พล.ร.อ.ช่อฉัตร กระเทศ รองผู้บัญชาการกองทัพเรือ ตอนนั้น เป็นประธานที่ปรึกษากองทัพเรือในฐานะประธานคณะกรรมการฯ ลงนามกับจีน ในสัญญาการต่อเรือยกพลขึ้นบก LPD จากจีน 1 ลำ เมื่อ พ.ย.2562 งบ 6,100 ล้านบาท

ความเห็นผู้เขียน

          นี่คือโครงการที่ WTF มากที่สุดเท่าที่ผู้เขียนเคยเจอ อยู่ดีๆ มีข่าวการลงนามเซ็นสัญญาสั่งซื้อเรือยกพลขึ้นบกขนาด 25,000 ตันจากประเทศจีน โดยที่สื่อมวลชนและทุกคนในชาติไม่เคยรับรู้ข้อมูลมาก่อน แต่ถึงกระนั้นก็ตามกลับมีคนชูจั๊กแร้สนับสนุนจำนวนค่อนข้างมาก ไม่เข้าใจสักนิดบุคคลเหล่านี้คิดอะไรในใจตัวเอง

          ทั้งนี้เนื่องมาจากกองทัพเรือซื้อเรือดำน้ำจากจีนจำนวน 3 ลำ ทำให้ตัวเองอยากได้เรือพี่เลี้ยงขนาดใหญ่ให้มันเหมาะสมกับเรือ เมื่อจีนยื่นข้อเสนอขายเรือยกพลขึ้นบกโดยลดราคาให้นิดหน่อยจึงซื้อทันที เป็นดีลลับสุดยอดผ่านการอนุมัติจากรัฐบาลตั้งแต่ตอนไหนไม่มีใครทราบ รวมทั้งถึงทราบก็คงป่วยการไม่มีประโยชน์แม้แต่นิดเดียว

          บทสรุปของโครงการคือเรือหลวงช้าง (LPD-792) ลำที่สาม เข้าประจำการวันที่ 25 เมษายน 2566 โดยไม่มีระบบอาวุธป้องกันตัว ไม่มีระบบอำนวยการรบ ไม่มีระบบเรดาร์ทันสมัย ไม่มีอะไรสักอย่างนอกจากดาดฟ้าขนาดใหญ่โตอลังการงานสร้าง ต้องใช้งบประมาณปรับปรุงเรือให้ตรงกับความต้องการจำนวนมากพอสมควร

7.ผบ.ทร.เผยเลือกต่อเรือดำน้ำจีน 3 ลำ วงเงิน 3.6 หมื่นล้าน ยันคุ้มค่า แถมอุปกรณ์ทันสมัย

          เผยแพร่: 2 ก.ค. 2558

          “พล.ร.อ.ไกรสร” เผยกองทัพเรือตัดสินใจแล้ว เลือกซื้อเรือดำน้ำจีน 3 ลำ วงเงิน 3.6 หมื่นล้านบาทแบบจีทูจี พร้อมเสนอเรื่องให้ “บิ๊กป้อม” นำเข้า ครม. ยันตอบโจทย์-คุ้มค่า แถมอุปกรณ์ทันสมัย ติดระบบเอไอพี อยู่ใต้น้ำได้ 21 วัน ไม่มีล็อบบี้จากฝ่ายการเมือง

          พล.ร.อ.ไกรสร จันทร์สุวานิชย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าโครงการจัดซื้อเรือดำน้ำว่า กองทัพเรือมีมติเป็นเอกฉันท์ในการจัดซื้อเรือดำน้ำจากประเทศจีนจำนวน 3 ลำ โดยใช้งบประมาณ 3.6 หมื่นล้านบาท การจัดซื้อในครั้งนี้เป็นแบบแพกเกจ หากว่าศักยภาพลำต่อลำจะตอบโจทย์อีกอย่างหนึ่งซึ่งบางครั้งได้มาลำเดียวแต่เรือไม่มีอะไรเลย ขณะที่งบประมาณของกองทัพเรือก็หมดแล้ว มีแต่เรืออย่างเดียวทำอะไรไม่ได้ การจัดซื้อเรือดำน้ำของประเทศจีนเพราะมีคณะกรรมการของกองทัพเรือพิจารณา 17 คน เป็นคนที่อยู่บนเรือ เอาทหารเรือที่อยู่ในกองเรือดำน้ำที่จะต้องเป็นผู้ไปอยู่บนเรือดำน้ำเป็นผู้ให้คะแนนเองทั้งหมด การจัดซื้อเรือของประเทศจีนเพราะมีอาวุธครบ โดยงบประมาณที่จะใช้ 7 ปี หรือ 10 ปี ขึ้นอยู่กับรัฐบาล จะซื้อในลักษณะจีทูจี

          พล.ร.อ.ไกรสรกล่าวว่า เรามีคณะกรรมการอำนวยการคัดเลือกแบบเดินทางไปดูเรือดำน้ำ 6 ประเทศที่เราสนใจ โดยจัดคณะกรรมการที่เป็นคนรุ่นใหม่ จำนวน 17 คน จากกองเรือดำน้ำ กองเรือยุทธการ และให้คะแนน 14 คนเลือกเรือดำน้ำของประเทศจีน ประเทศเยอรมนี 2 คน และประเทศสวีเดน 1 คน ยืนยันไม่มีใครไปชักนำเรื่องการลงคะแนน เลือกด้วยตัวเอง เพราะเป็นเรือในอนาคต การคัดเลือกจึงต้องให้เด็กรุ่นใหม่เลือก

          นอกจากนี้ ประเทศจีนให้การดูแลเป็นอย่างดี ทั้งการฝึกอบรม อะไหล่เรือดำน้ำจำนวน 8 ปี อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมากองทัพเรือมีประสบการณ์เรื่องการซื้ออาวุธ เมื่อไม่มีเงินเราก็ไม่สามารถจัดซื้อได้ ดังนั้นการจัดซื้อเรือดำน้ำของประเทศจีนครั้งนี้ถือเป็นความฉลาดและคุ้มค่ามากที่สุด

          “การซื้อเรือดำน้ำของประเทศจีน 3 ลำเป็นเรือใหม่ทั้งหมด ใช้เวลาต่อเรือ 5-6 ปี กว่าที่จะส่งมาให้ และในระหว่างการต่อเรือเราจะส่งเจ้าหน้าที่ไปดูในรายละเอียด 2 ปี ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะเป็นเทคโนโลยีใหม่ กำลังพลจึงต้องไปศึกษาพอสมควร การจัดเลือกเรือของประเทศจีนเป็นการตอบโจทย์เพราะสามารถซื้อได้ถึง 3 ลำ แต่ถ้าเป็นของประเทศอื่นจะได้เพียง 2 ลำ

          ทั้งนี้จะต้องมีการบริหารงบประมาณที่มีจำกัด และที่สำคัญประเทศจีนเป็นเพียงชาติเดียวที่ให้ระบบเอไอพี Air-Independent Propulsion system เป็นระบบที่ทำให้เรืออยู่ใต้น้ำนานถึง 21 วันโดยไม่ต้องโผล่ ขณะที่เรือของประเทศเกาหลีใต้ และเยอรมนี ไม่มีระบบเอไอพี อยู่ใต้น้ำได้ 5-6 วันก็ต้องโผล่ขึ้นมาซึ่งเรือดำน้ำต้องเงียบ พรางตัวอย่างเดียว ถ้า 4-5 วันแล้วต้องโผล่ขึ้นผิวน้ำ ดาวเทียมสามารถจับได้หมด บางคนบอกว่าซื้อของประเทศจีนแล้วส่ายหัว ความจริงแล้วไม่ใช่ ผมยังไม่อยากอธิบาย เพราะรัฐบาลยังไม่ได้อนุมัติ รอให้อนุมัติก่อนจึงสามารถตอบได้ เพราะผมเดินทางไปดูด้วยตัวเอง แต่ตอนนี้พูดไม่ได้เพราะสื่อก็โจมตี ไม่มีประโยชน์ที่มานั่งทะเลาะกัน”

          พล.ร.อ.ไกรสรณ์กล่าวอีกว่า ได้นำข้อสรุปของกองทัพเรือ เสนอ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแล้ว ส่วนจะนำเรื่องนี้เข้า ครม.เมื่อใดนั้นตนไม่ทราบ แต่ยืนยันว่ากองทัพเรือจะทำให้ดีที่สุด โดยเฉพาะเรื่องการศึกษา ทั้งนี้ ครม.จะอนุมัติให้ก็ได้ ไม่อนุมัติให้ก็ไม่เป็นไร เราไม่มีอะไรซุกอยู่ใต้พรม ทุกอย่างเปิดเผย ยืนยันว่าการจัดซื้อเรือดำน้ำของประเทศจีนไม่มีการล็อบบี้จากฝ่ายการเมือง และการจัดซื้อเป็นระบบจีทูจี จ่ายเงินโดยภาครัฐ กองทัพเรือไม่เกี่ยว เพราะกองทัพเรือพิจารณาตาม ครม.ได้สั่งการ

          ผบ.ทร.กล่าวว่า ส่วนความจำเป็นในการซื้อเรือดำน้ำยามที่ไม่มีสงคราม เรื่องนี้ตอบยาก เพราะเวลาจะใช้มันไม่มีจะใช้ เราไม่มีเรือดำน้ำมา 50 ปีแล้วตั้งแต่สมัยสงครามโลก แต่เมื่อซื้อก็เหมือนคนเริ่มขับเรือใหม่ แต่การขับเรือกับกับรถต่างกัน เพราะเรือดำน้ำต้องใช้คน 50 คน การทำงานต้องเป็นทีม และเทคโนโลยีเมื่อเราซื้อมาแล้วก็สามารถเดินเรือได้ แต่ด้านเทคนิคการใช้อาวุธต้องเรียนรู้ด้วยตัวเอง ต้องใช้เวลา ซื้อมาแล้วไม่ได้ใช้ได้เลย ต้องใช้เวลาเรียนรู้อย่างน้อย 3 ปี ที่สำคัญเป็นอาวุธทางยุทธศาสตร์ในการป้องปราม บางประเทศเล็กๆ มีเรือดำน้ำ 5 ลำ ยังไปต่อเพิ่มอีก 3 ลำ และพื้นที่ก็ไม่มีซึ่งการซื้อมาเป็นอำนาจต่อรองกับประเทศเพื่อนบ้าน

ทร.แจงปม เครื่องยนต์เรือดำน้ำ ชี้เยอรมันไม่ขายให้ เป็นปัญหาที่จีนต้องแก้ไข

          วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565

          ทร. ยัน ซื้อเรือดำน้ำ แบบรัฐบาลต่อรัฐบาล ระบุ เครื่องยนต์ อยู่ระหว่างพิจารณาร่วมกัน เพื่อหาทางออก ย้ำความต้องการ ยังเป็นเครื่องยนต์ MTU ของเยอรมัน

          เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พล.ร.ท.ปกครอง มนธาตุผลิน โฆษกกองทัพเรือ กล่าวถึงกรณีที่นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ส.ส.มหาสารคาม รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย แถลงความไม่โปร่งใสในการจัดซื้อเรือดำน้ำ โดยกล่าวหาในหลายประเด็น โดยกองทัพเรือขอชี้แจงในประเด็นที่ว่าการจัดซื้อแบบจีทูจี เป็นการจัดซื้อจีทูจีที่ไม่จริงนั้น ขอเรียนว่าการดำเนินการจัดหาเรือดำน้ำ ระยะที่ 1 ของกองทัพเรือนั้น เป็นการดำเนินการโดยรัฐบาลต่อรัฐบาล (G to G ) และมีการดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับของทางราชการในทุกขั้นตอน เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี และได้ผ่านการพิจารณาความถูกต้องด้านกฎหมายจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ ทั้งกระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ก่อนที่จะเสนอให้ ครม. อนุมัติให้ ผู้บัญชาการทหารเรือหรือผู้แทน เป็นตัวแทนรัฐบาลไทยไปลงนามในข้อตกลงจ้างสร้างเรือดำน้ำลำที่ 1 ดังกล่าว

          สำหรับฝ่ายรัฐบาลจีน โดย The State Administration of Science, Technology and Industry for National Defense (SASTIND) ในฐานะหน่วยงานของรัฐบาลจีนสำหรับการบริหารงานด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและการส่งออกอาวุธ ได้มอบอำนาจให้บริษัท China Shipbuilding & Offshore International Co., Ltd. (CSOC) เป็นตัวแทนรัฐบาลจีนในการมาหารือเรื่องเทคนิคและราคา/เจรจาต่อรอง รวมทั้งลงนามในข้อตกลงจ้างสร้างเรือฯ กับกองทัพเรือไทย ในโครงการจัดหาเรือดำน้ำลำที่ 1 ในรูปแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล

          พล.ร.ท.ปกครอง กล่าวอีกว่า ส่วนประเด็นเรื่องความคืบหน้าในการก่อสร้างท่าจอดเรือดำน้ำและข้อสงสัยที่ว่าผู้แทนบริษัท CSOC ที่เข้ามารับผิดชอบโครงการสร้างท่าจอดเรือดำน้ำ เป็นผู้ได้รับการแต่งตั้งโดยถูกต้องหรือไม่ กองทัพเรือขอชี้แจงให้ทราบว่า การก่อสร้างท่าจอดเรือดำน้ำ ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนของการบริหารสัญญา โดยกรมช่างโยธาทหารเรือ ในวงเงินทั้งสิ้น 857 ล้านบาท เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 28 เม.ย.64 และสิ้นสุดวันที่ 17 เม.ย.66 รวม720 วัน

          ปัจจุบันได้ดำเนินการก่อสร้างไปแล้ว 307 วัน โดยทางบริษัทได้เบิกล่วงหน้า 15 % เป็นเงิน 128 ล้านบาท ซึ่งได้มีการเร่งรัดเพื่อให้เป็นไปตามแผนงานที่ได้กำหนดไว้ จากการตรวจสอบปัจจุบันมีการดำเนินการก่อสร้างไปแล้วส่วนหนึ่ง ซึ่งหากบริษัทไม่สามารถก่อสร้างเสร็จตามสัญญาก้อจะถูกปรับหรือยกเลิกสัญญา ในส่วนของผู้แทนบริษัท CSOC ที่เข้ามารับผิดชอบโครงการสร้างท่าจอดเรือดำน้ำ เป็นผู้ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้รับผิดชอบโครงการฯ จากบริษัท CSOC โดยถูกต้องโดยมีเอกสารสัญญาที่ชัดเจน โดยมี นาย Lang Qingxu เป็นผู้บริหารโครงการ และมีนายจักรพงษ์ วงศ์ธนปกรณ์ เป็นวิศวกรโครงการ มีคุณวุฒิวิศวกรโยธาระดับสามัญ ส่วนบุคคลอื่น ๆ นั้น กรมช่างโยธาทหารเรือไม่อนุญาตให้เข้ามาในพื้นที่โครงการก่อสร้าง

          โฆษกกองทัพเรือ กล่าวต่อว่า สำหรับประเด็นเรื่องการจัดซื้อเรือดำน้ำโดยไม่มีเครื่องยนต์ดีเซลขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเรือดำน้ำที่เยอรมันเป็นผู้ผลิต เนื่องจากเยอรมันไม่ออกใบอนุญาตการขายให้กับทางจีน แสดงว่ากองทัพเรือโดนหลอกทำสัญญาหรือไม่นั้น ขอชี้แจงว่าในการทำข้อตกลงจ้างฯ นั้น กำหนดให้เรือดำน้ำแบบ S26T มีเครื่องยนต์ดีเซลสำหรับขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า รุ่น MTU396 จากเยอรมันได้ จำนวน 3 เครื่อง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชุดเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Diesel Generator Set) ชัดเจน

          แต่เนื่องจากภายหลังเยอรมัน มีนโยบายการระงับการส่งออก(Embargo Policy) ซึ่งกำหนดให้เครื่องยนต์ดีเซลของเรือดำน้ำ เป็นสินค้าที่อยู่ในรายการควบคุมการส่งออก ส่งผลให้การจำหน่ายเครื่องยนต์ อะไหล่ หรือเครื่องยนต์ที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีเยอรมัน ต้องได้รับอนุมัติจากรัฐบาลเยอรมัน ซึ่งเป็นปัญหาที่ทางจีนต้องดำเนินการแก้ไข เนื่องจากกองทัพเรือได้ยืนยันความต้องการเครื่องยนต์ดีเซลสำหรับขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า รุ่น MTU396 จากเยอรมัน ตามข้อตกลงไปแล้ว จึงเป็นสิ่งที่ทางจีนจะต้องทำตามข้อตกลง

          โดยในขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาร่วมกันระหว่างกองทัพเรือกับบริษัท CSOC ในการหาทางออกแก้ไขปัญหาดังกล่าวร่วมกัน ทั้งนี้การดำเนินการต่าง ๆ ต้องเป็นไปตามข้อตกลงจ้างฯ รวมทั้งระเบียบ กฎหมาย ที่เกี่ยวข้องทุกประการ โดยกองทัพเรือคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ

          “ขอยืนยันว่า กองทัพเรือมุ่งมั่นในการเป็นกองทัพเรือที่ประชาชนเชื่อมั่นและภาคภูมิใจ เป็นที่พึ่งของประชาชน และบริหารจัดการด้วยความโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ ซึ่งกระบวนการจัดหายุทโธปกรณ์เป็นไปตามระเบียบราชการทุกประการ โดยยึดถือประโยชน์ของกองทัพเรือและประเทศชาติเป็นหลัก”โฆษกกองทัพเรือ กล่าว

ความเห็นผู้เขียน

          เนื่องจากโครงการนี้ยังไม่สิ้นสุดอาจมีพลิกผันตอนไหนก็ได้ รวมทั้งผู้เขียนเคยเขียนถึงต่างกรรมต่างวาะหลายครั้งแล้ว ฉะนั้นบทความนี้จึงขอตัดจบง่ายๆ แต่เพียงเท่านี้ เมื่อไหร่ก็ตามที่เรือดำน้ำเจ้ากรรมเดินทางมาถึงประเทศไทย ผู้เขียนอาจเขียนบทความถึงอีกครั้งโปรดติดตามตอนต่อไป

ชมข่าวดังเด่นที่ทุกคนกดไลก์หรือกดอันไลก์กันไปแล้ว ส่วนท้ายของบทความผู้เขียนขอมอบให้กับเหตุการณ์สำคัญๆ และค่อนข้างโด่งดังเกี่ยวข้องกับกองทัพไทย

8.ลำดับเหตุการณ์ ‘17 ชั่วโมงกราดยิงโคราช’ ก่อนวิสามัญคนร้าย

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2563

          เวลาประมาณ 15.00 น. เกิดเหตุจ.ส.อ. ใช้อาวุธปืนยิง ผบ.พัน หน่วยของตนเอง รวมทั้งแม่ยายของ ผบ.พัน เสียชีวิต 2 ราย ที่บ้านเลขที่ 187 หมู่ 3 บ้านถนนหัก ตำบลหนองจะบก อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ทราบภายหลังผู้เสียชีวิตคือ พ.อ. อนันต์ฐโรจน์ กระแสร์ และอนงค์ มิตรจันทร์ โดยสาเหตุเบื้องต้นสันนิษฐานว่าคนร้ายก่อเหตุกราดยิงเนื่องจากผู้ก่อเหตุไปทวงเงินค่านายหน้าซื้อขายที่ดิน แต่ตกลงกันไม่ได้

          ต่อมาคนร้ายหนีมาที่หน่วย เข้าไปกราดยิงที่ บก.พัน และไปที่กองร้อยเพื่อเอาอาวุธที่คลังอาวุธ จากนั้นยิงเจ้าหน้าที่เวรเสียชีวิต และเอาอาวุธ HK 3 กระบอก, ปืน M60 3 กระบอก แล้วไปที่คลังกระสุนเพื่อเอากระสุนปืน HK 736 นัด และปืน M60 อีก 3 สาย

          17.00 น. โดยประมาณ ผู้ก่อเหตุได้ขโมยรถฮัมวีขับออกมาข้างนอกและกราดยิงประชาชนบาดเจ็บและเสียชีวิตหลายราย ก่อนหลบหนีเข้าไปในห้างสรรพสินค้าเทอร์มินัล 21 โคราช ทราบภายหลังผู้ก่อเหตุคือ จ.ส.อ. จักรพันธ์ ถมมา สังกัดค่ายสุรธรรมพิทักษ์ จังหวัดนครราชสีมา

          ระหว่างก่อเหตุ คนร้ายได้ทำการโพสต์ภาพและข้อความระบายความรู้สึกผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ก่อนที่จะถูกปิดการใช้งานในเวลา 19.00 น. และมีรายงานว่าคนร้ายได้จับผู้บริสุทธิ์เป็นตัวประกันจำนวนหนึ่งอยู่ที่ชั้น 4 ของห้างสรรพสินค้า 

          19.00 น. พล.อ. อภิรัชต์ คงสมพงษ์ สั่งการให้ พล.อ. สุนัย ประภูชะเนย์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ซึ่งเป็นนายทหารรบพิเศษที่เคยร่วมคลี่คลายคดีปล้นทองที่ลพบุรีลงพื้นที่แล้ว

          20.00 น. เจ้าหน้าที่เร่งปิดล้อมห้างเทอร์มินัล 21 โคราช สกัดกั้นและติดตามจับกุมคนร้ายที่ก่อเหตุ และเร่งพาตัวพลเรือนออกมาจากห้างให้ได้มากที่สุด พร้อมประกาศเตือนประชาชนอย่าเข้าใกล้บริเวณที่เกิดเหตุ (ห้างเทอร์มินัล 21) ในรัศมี 2 กิโลเมตร

          มีประกาศขอรับบริจาคเลือดสำหรับผู้บาดเจ็บด่วน โดยรับบริจาคโลหิตที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, โรงพยาบาลบุรีรัมย์, โรงพยาบาลสุรินทร์ และโรงพยาบาลชัยภูมิ

          21.00 น. คนร้ายยังอยู่ในพื้นที่ห้างเทอร์มินัล โคราช ยังคงก่อเหตุกราดยิงและเกิดเพลิงไหม้ภายในห้าง

          23.00 น. อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เดินทางไปติดตามสถานการณ์เหตุคนร้ายกราดยิงที่จังหวัดนครราชสีมา

          และให้สัมภาษณ์ว่าได้รับรายงานจากผู้ตรวจราชการเขตสุขภาพที่ 9 ได้ประสานขอความร่วมมือโรงพยาบาลทุกแห่งทั้งรัฐและเอกชนในจังหวัดนครราชสีมาและใกล้เคียง ระดมทีมแพทย์ ทีมผ่าตัด พยาบาลกว่า 100 คน และมีพยาบาลสำรองในโรงพยาบาลอีกกว่า 200 คน เตรียมห้องผ่าตัด หอผู้ป่วยหนัก และเลือดสำรองไว้แล้วกว่า 1,700 ยูนิต พร้อมดูแลผู้บาดเจ็บให้ดีที่สุด

          23.45 น. เฟซบุ๊กแฟนเพจกองปราบปรามได้รายงานสดว่า ขณะนี้ พล.ต.ต. จิรภพ ภูริเดช ผู้บังคับการปราบปราม พร้อมด้วยทีม ‘หนุมานกองปราบ’ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าเคลียร์พื้นที่ชั้น G ขึ้นไปของห้างเทอร์มินัล 21 โคราช เจ้าหน้าที่ได้ควบคุมพื้นที่เรียบร้อยแล้ว

          วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2563

          01.45 น. มีความเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ในเหตุกราดยิงโคราช เมื่อผู้ที่ติดอยู่ในห้างเทอร์มินัล 21 โคราช เกือบ 50 คนทยอยเดินออกจากที่เกิดเหตุด้วยท่าทางอิดโรย ขณะที่เจ้าหน้าที่ส่งเสียงให้กำลังใจว่า “ปลอดภัยแล้วครับ”

          ทราบภายหลังว่าผู้ที่ติดอยู่ในห้างกลุ่มดังกล่าวเป็นกลุ่มที่ซ่อนตัวอยู่บริเวณฟิตเนส ชั้น LG โดยหลายคนพยายามหลบอยู่ในห้องน้ำและรอให้เจ้าหน้าที่เข้ามาช่วยเหลือ ขณะที่ทุกคนขอบคุณเจ้าหน้าที่ที่ทำงานอย่างเต็มที่ ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้บันทึกประวัติก่อนจะปล่อยตัวกลับบ้านไป

          05.12 น. และ 05.25 น. มีเสียงปืนที่เกิดจากการปะทะดังขึ้นเป็นระยะๆ ทำให้เหตุการณ์อยู่ในภาวะตึงเครียด บางช่วงมีการทยอยลำเลียงผู้ได้รับบาดเจ็บออกจากพื้นที่

          07.30 น. หน่วยปฏิบัติการหนุมานช่วยประชาชนอีกชุดที่ติดอยู่ข้างในห้างเทอร์มินัล 21 โคราช ออกมาจำนวน 9 คน มีผู้บาดเจ็บและนำตัวส่งโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

          09.14 น. มีรายงานว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ปฏิบัติตามยุทธวิธี สามารถควบคุมสถานการณ์เหตุกราดยิงโคราชได้แล้ว โดยคนร้ายได้เสียชีวิตระหว่างปะทะต่อสู้กับเจ้าหน้าที่

          มีการเปิดรายชื่อหน่วยงานตำรวจ-ทหารที่ร่วมวิสามัญฆาตกรรมทหารกราดยิงประชาชนที่จังหวัดนครราชสีมา

          พล.ต.อ. จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

          พล.ต.อ. สุชาติ ธีระสวัสดิ์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

          พล.ต.อ. สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

          พล.อ. สุนัย ประภูชะเนย์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก

          หน่วยปฏิบัติการพิเศษ กองบังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 3

          หน่วย Commando กองบังคับการตำรวจราชวัลภลรักษาพระองค์ 904

          หน่วยหนุมาน กองบังคับการปราบปราม

          หน่วยอรินทราช 26 กองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ

          หน่วยนเรศวร 261 กองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ

          หน่วยปฏิบัติการพิเศษ กองกำลังสุรนารี

          09.54 น. นายกรัฐมนตรีสรุปความสูญเสียล่าสุดว่ามีผู้เสียชีวิตเบื้องต้น 27 ราย (รวมผู้ก่อเหตุ) ได้รับบาดเจ็บ 57 ราย กลับบ้านแล้ว 25 ราย ยังพักรักษาอยู่ในโรงพยาบาล 32 ราย ผ่าตัดแล้ว 8 ราย

          10.00 น. พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ, พล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา, อนุทิน ชาญวีรกูล, พล.อ. อภิรัชต์ คงสมพงษ์, พล.ต.อ. จักรทิพย์ ชัยจินดา และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่รับแจ้งสรุปสถานการณ์เหตุการณ์กราดยิงโคราช ก่อนจะไปเยี่ยมผู้บาดเจ็บ ครอบครัวผู้เสียชีวิต และเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลต่อไป

          12.45 น. พ.อ. วินธัย สุวารี โฆษกกองทัพบก เปิดเผยเบื้องต้นว่าอาวุธที่มาใช้ก่อเหตุ จ.ส.อ. จักรพันธ์ นำออกมาจากค่ายสุรธรรมพิทักษ์ จังหวัดนครราชสีมา ได้แก่

จากป้อมรักษาการณ์

          ปืนเล็กยาว 11 จำนวน 1 กระบอก และกระสุน 5.56 จำนวน 40 นัด

จากกองร้อย (คลังอาวุธ)

          ปืนเล็กยาว 11 (HK) จำนวน 1 กระบอก และปืนกล M60 จำนวน 1 กระบอก

จาก บก.พันฯ

          รถยนต์บรรทุก 51บี

จากคลังกระสุนกองพันฯ

          กระสุน 5.56 จำนวน 736 นัด

ความเห็นผู้เขียน

          นี่คือเหตุการณ์กราดยิงรุนแรงมากที่สุดแห่งประเทศไทย เกี่ยวข้องกับกองทัพบกทั้งเรื่องบุคคลผู้สร้างเหตุร้ายระดับชาติตามลำพัง หรือความหย่อนยานในการป้องกันคนร้ายบุกเข้ามาปล้นชิงอาวุธสงคราม ผู้เขียนคาดหวังว่าบทเรียนจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จะช่วยปรับปรุงความผิดพลาดหรือช่องว่างที่เกิดขึ้นให้ดีกว่าเดิม

9.สลด! “กริพเพน” ร่วงขณะโชว์วันเด็กสนามบินหาดใหญ่

          เกิดอุบัติเหตุเครื่องบินรบ ยาส กริพเพน ของกองทัพอากาศไทยตก ขณะแสดงโชว์ในงานวันเด็กที่สนามบินหาดใหญ่ ไฟลุกท่วม นักบินเสียชีวิต โฆษก ทอ. เผย อยู่ระหว่างตรวจสอบสาเหตุ

          วันที่ (14 ม.ค. 2560) เวลาประมาณ 09.27 น. เกิดอุบัติเหตุเครื่องบินรบแบบ ยาส 39 กริพเพน ของกองทัพอากาศไทย ตก ที่สนามบินหาดใหญ่ บริเวณหัวทางวิ่ง 26 ฝั่งการท่า (ภายในรั้วสนามบิน) ขณะแสดงโชว์ในงานวันเด็ก ทำให้เกิดไฟลุกท่วม นักบินชื่อ น.ต.ดิลกฤทธ์ ปัทวี เสียชีวิต ต่อหน้าผู้ชมทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ที่ส่งเสียงหวีดร้องด้วยความตกใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

          หลังเกิดเหตุ ท่าอากาศยานหาดใหญ่ ได้ปิดทำการชั่วคราว และคาดว่า จะกลับมาเปิดอีกครั้งก่อนเที่ยงวันนี้

          จากกรณีดังกล่าว พล.ท.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้แสดงความเสียใจต่อนักบิน ครอบครัว กองทัพอากาศ พร้อมได้ขอให้การปฏิบัติทางทหารของทุกหน่วยเพิ่มความระมัดระวังระดับสูงสุด ให้ ผบ. พื้นที่ตัดสินใจเรื่องการแสดงให้ปลอดภัยทุกกรณี สำหรับอุบัติเหตครั้งนี้รัฐบาลจะให้กระทรวงกลาโหมดูแลผู้สูญเสียอย่างเต็มที่

          ด้าน พลอากาศตรี พงษ์ศักดิ์ เสมาชัย โฆษกกองทัพอากาศ กล่าวว่า นักบินที่เสียชีวิตทราบชื่อ นาวาอากาศตรี ดิลกฤทธิ์ ปัถวี อายุ 30 กว่าปี เครื่องบินที่แสดงโชว์ คือ เครื่องบินกริพเพน (JAS-39 Gripen) เป็นเครื่องบินที่บินมาจาก จ.สุราษฎร์ธานี มีกำหนดแสดงโชว์ที่ จ.ปัตตานี, อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา และจะไปแสดงโชว์ต่อที่ จ.นครศรีธรรมราช แต่มาเกิดอุบัติเหตุที่หาดใหญ่เสียก่อน ส่วนสาเหตุของเครื่องบินตก ยังไม่ทราบต้องรอตรวจสอบเพิ่มเติมอีกครั้ง

          มีรายงานด้วยว่า หลังเกิดอุบัติดังกล่าว รถดับเพลิงได้เร่งไปช่วยดับเพลิงยังจุดที่เครื่องบินตก จนเกิดอุบัติเหตุตะแคงพลิกข้างขวางรันเวย์สนามบิน

          ทางด้านเฟซบุ๊กแฟนเพจ กองทัพอากาศไทย Royal Thai Air Force ได้โพสต์ข้อความ เมื่อเวลา 11.35 น. ว่า “ตามที่ เครื่องบินของกองทัพอากาศ เกิดอุบัติเหตุขณะทำการบินแสดงในงานวันเด็กแห่งชาติ ณ กองบิน ๕๖ จังหวัดสงขลา เมื่อวันเสาร์ที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๖๐ เวลาประมาณ ๐๙.๒๗ น. มีรายละเอียดเบื้องต้น ดังนี้

- เครื่องบิน : เครื่องบินขับไล่แบบที่ ๒๐ (Gripen 39C)

- ชื่อนักบิน : นาวาอากาศตรี ดิลกฤทธิ์ ปัถวี ตำแหน่ง นักบินประจำหมวดบิน ๓ ฝ่ายยุทธการ ฝูงบิน ๗๐๑ กองบิน ๗ (นักเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ ๔๓ นักเรียนนายเรืออากาศ รุ่นที่ ๕๐)

          พลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง ผู้บัญชาการทหารอากาศ ได้แสดงความเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในส่วนของการดำเนินการ ได้สั่งการให้คณะกรรมการสอบสวนอากาศยานอุบัติเหตุ และหน่วยเกี่ยวข้องเข้าพื้นที่เพื่อสอบสวนหาสาเหตุต่อไป”

1 ปี เหตุ กริพเพน บินโชว์วันเด็กตก ปี’60 ทอ.เผยเหตุนักบินหลงสภาพการบินชั่วขณะ ยันเครื่องไม่มีปัญหา

          พลอากาศตรี พงษ์ศักดิ์  เสมาชัย โฆษกกองทัพอากาศ กล่าวว่า กองทัพอากาศ สรุปผลการสอบสวนกรณีเครื่องบินขับไล่แบบที่ 20 (Gripen 39C) ของกองทัพอากาศซึ่ง ประสบอุบัติเหตุขณะแสดงการบินเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2560 บริเวณสนามบินกองบิน 56 จังหวัดสงขลา เมื่อวันเสาร์ที่ 14 มกราคม 2560 โดยได้รวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์หลักฐานอย่างละเอียดทุกขั้นตอนตามมาตรฐานสากล ทั้งด้านการทำงานของเครื่องบิน เครื่องยนต์ การตรวจสอบประวัติสุขภาพรวมทั้งความพร้อมทางร่างกายและจิตใจของนักบิน การตรวจสอบวัตถุพยาน พยานบุคคลที่เห็นเหตุการณ์ รวมทั้งหลักฐานจากเทปบันทึกการบิน และภาพบันทึกเหตุการณ์ในวันเกิดเหตุ โดยมีเจ้าหน้าที่นิรภัยการบินของกองทัพอากาศ ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน รวมถึงสำนักงานยุทโธปกรณ์ทางทหารของสวีเดน (FMV) และบริษัท SAAB เข้ามาร่วมในการตรวจสอบ ตามข้อตกลงที่ได้ทำร่วมกัน

          ผลการสอบสวนพบว่า เครื่องบินไม่มีปัญหา เป็นเครื่องที่ดีและพร้อมใช้งาน และนักบินเป็นนักบินที่ผ่านการฝึกมาเป็นอย่างดี เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีแนวโน้มเป็นไปได้มากว่าเกิดจากการหลงสภาพการบินชั่วขณะ (Spatial Disorientation) ซึ่งเป็นเหตุสุดวิสัย

          โดยความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ และผลการศึกษาทางด้านเวชศาสตร์การบินพบว่า การหลงสภาพการบินชั่วขณะ มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับนักบินทุกคน ถึงแม้ว่านักบินเหล่านั้นจะได้รับการฝึกมาเป็นอย่างดีแล้วก็ตาม ซึ่งสาเหตุที่ส่งผลให้เกิดการหลงสภาพการบิน อาจเกิดจากหลายปัจจัยประกอบกัน เช่น สภาพอากาศ ความเร็ว อัตราเร่ง การเปลี่ยนท่าทางการบินโดยฉับพลัน ฯลฯ ซึ่งจะส่งผลต่ออวัยวะการรับรู้ของมนุษย์

          ทั้งนี้การหลงสภาพการบิน เป็นสภาวะหนึ่งที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุทางการบินมากที่สุด เนื่องจากเหตุผลทางด้านสรีรวิทยาการบิน อย่างไรก็ตาม กองทัพอากาศจะได้นำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งนี้ เป็นกรณีศึกษาตามหลักการบริหารจัดการความเสี่ยง (Risk Management) ด้านการบินต่อไป

ความเห็นผู้เขียน

                    อุบัติเหตุเครื่องบินขับไล่แบบที่ 20 (Gripen 39C) ตกผ่านไปแล้ว 6 ปี จนถึงตอนนี้กองทัพอากาศยังไม่มีการจัดหาเครื่องบินใหม่ทดแทนแต่อย่างใด เหตุผลสำคัญเนื่องจากบริษัท SAAB ขายเครื่องบินรุ่นนี้ไม่ออกแม้แต่ลำเดียว ทำให้ไม่อาจสอดแทรกยอดซื้อน้อยนิดจากประเทศไทยเพิ่มเติมเข้ามา

          ความเห็นส่วนของผู้เขียนเหนื่อยแทนครับ เหนื่อยแทนทั้งกองทัพอากาศและบริษัท SAAB

          ทว่าความเห็นใจกับความเป็นจริงแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

          ถ้าผู้เขียนมีความจำเป็นต้องเลือกเครื่องบินเข้าประจำการฝูงบิน 102 ผู้เขียนขอเลือก FA-50 ติดเรดาร์ PhantomStrike โดยไม่ลังเลใจแม้สักนิดเดียว โชคดีเหลือเกินโลกแห่งความเป็นจริงผู้เขียนไม่มีสิทธิ์เช่นนั้น

10.ไทม์ไลน์ล่าสุด โศกนาฏกรรม คำสั่งสุดท้าย “เรือหลวงสุโขทัย”

                    จุดเริ่มต้น และคำสั่งสุดท้าย เรือหลวงสุโขทัย เกิดขึ้นในช่วงเย็นวันที่ 18 ธ.ค. เรือหลวงสุโขทัย (442) นำทหารเรือและเจ้าหน้าที่รวม 106 นาย เดินทางจากฐานทัพเรือสัตหีบ จ.ชลบุรี มุ่งหน้าไปร่วมงานเทิดพระเกียรติ พล.ร.อ.พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ หรือ “เสด็จเตี่ย” เนื่องในวันครบรอบ 142 ปี วันคล้ายวันประสูติ องค์พระบิดาของทหารเรือไทย ที่จัดขึ้น ณ ศาลเสด็จเตี่ย ต.หาดทรายรี อ.เมืองชุมพร

          15.30 น. ลางร้าย....เมื่อรับแจ้งทางวิทยุจาก ร.ล.กระบุรี และ ร.ล.สุโขทัย จะไปปฏิบัติภารกิจที่ จ.ชุมพร และในเวลาต่อมาไม่นาน ได้รับการประสานจาก ร.ล.กระบุรี จะขอเข้าเทียบท่าที่ท่าเรือประจวบฯ เนื่องจากคลื่นลมทะเลรุนแรง คลื่นสูง 3-4 เมตร

          18.00 น. สถานการณ์เลวร้ายลง เมื่อรับแจ้งทางวิทยุจาก ร.ล.สุโขทัยว่า เครื่องยนต์มีปัญหา 1 เครื่อง เหลือใช้งานได้ 1 เครื่อง

          19.00 น. เรือหลวงสุโขทัย ที่มีมูลค่าหลายพันล้าน กำลังเจออุปสรรคใหญ่ เมื่อเครื่องยนต์เรือไม่สามารถใช้การได้ ควบคุมเรือไม่ได้ และ พบปัญหาการเอียงของเรือ 60-70 องศา ขณะเดียวกัน และเวลานั้นเอง เรือหลวงกระบุรี ที่กำลังเทียบท่าเรือประจวบฯ ก็หันหัวเรือกลับมาช่วยกำลังพล ที่กำลังรอลุ้นว่าเรือหลวงสุโขทัยจะล่มหรือไม่...

          21.20 น. บริษัทท่าเรือประจวบฯ จัดส่งเรือทัก (Tug) 2 ลำ คือ เรือประจวบฯ 4 และเรือประจวบฯ 5 มุ่งหน้าจุดเกิดเหตุเพื่อช่วย...

          23.30 น. เรือหลวงสุโขทัย เกิดล่ม...จมลงก้นทะเลทั้งลำ ที่ระดับความลึกราว 40 เมตร เขตพื้นที่ อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ห่างจากฝั่งไปประมาณ 19 ไมล์ทะเล ส่วนลูกเรือทั้งหมดต้องหนีตายตามคำสั่ง “สละเรือใหญ่”

          ในค่ำคืนอันมืดมิด กำลังพลลอยคอรอการช่วยเหลือ....

เข้าสู่วันที่ 19 ธันวาคม 2565

          04.20 น. ร.ล.กระบุรี เข้าเทียบท่าที่ท่าเรือประจวบฯ พร้อมผู้ประสบภัยจากเรือหลวงสุโขทัย 48 นาย ในจำนวนนี้มีผู้บาดเจ็บหนัก 5 นาย

          จากการเข้าเทียบท่าของ “เรือหลวงกระบุรี” มีการประเมินว่า สาเหตุที่เรือหลวงสุโขทัยล่ม มาจากสภาพอากาศอันเลวร้าย คลื่นลมทะเลบริเวณจุดที่ ร.ล.สุโขทัย ล่ม มีคลื่นทะเลความสูงราว 4-5 เมตร อีกทั้งความมืดมิดในท้องทะเลที่เป็นอุปสรรคสำคัญ

          06.30 น. ร.ล.กระบุรีออกปฏิบัติภารกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัยกลางทะเลอ่าวไทย ต่อเนื่อง

          06.40 น. เรือสินค้าศรีไชยาเข้าเทียบท่าเรือประจวบฯ พร้อมข่าวดีในการช่วยผู้ประสบภัยอีกชุด จำนวน 22 นาย

          13.00 น. พล.ร.อ.เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ ผบ.ทร. เดินทางเยี่ยมผู้ประสบภัยและผู้บาดเจ็บ ที่รอดจากเรือล่ม 73 นาย ในจำนวนนี้มี น.ท.พิชิตชัย เถื่อนดี ผู้บังคับการ ร.ล.สุโขทัย รวมอยู่ด้วย มีผู้บาดเจ็บรวม 15 นาย ในจำนวนนี้สาหัส 4 นาย ยังเหลืออีก 33 นาย ที่ยังไม่รู้ชะตากรรม

          16.00 น. พล.ร.อ.ปกครอง มนธาตุผลิน โฆษก ทร. ยืนยันว่า ได้ช่วยเหลือกำลังพลแล้ว 75 นาย ที่เพิ่มขึ้นอีก 2 นาย เพราะมีเรือบรรทุกน้ำมันช่วยเอาไว้ คงเหลือ 31 นาย

          “คาดว่าผู้ประสบภัยสามารถลอยคอรอการช่วยเหลืออยู่ในน้ำได้ไม่เกิน 2 วัน เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายเร่งค้นหาและนำผู้ประสบภัยขึ้นฝั่งให้ได้ทั้งหมดโดยเร็วที่สุด”

          มีรายงานออกมาในช่วงเวลานี้ว่า “ชูชีพ” ในเรือหลวงสุโขทัย ไม่เพียงพอ เนื่องจากเกิดเหตุมีกำลังพล 106 นาย บางนายไม่ใช่ลูกเรือหลวงสุโขทัย และขณะเกิดเหตุ บางคนก็หยิบไม่ทัน จึงต้องอาศัยเกาะลอยไปกับเพื่อน ชูชีพ 1 ตัว เกาะได้ 4-5 คน

          “ขณะเรือจม ร.ล.กระบุรี พยายามเข้าให้การช่วยเหลือแต่ไม่สามารถทำได้ เพราะคลื่นสูง 4-5 เมตร คลื่นแรงจนเรือกระแทกกัน ต้องรอจน ร.ล.สุโขทัย จมลงก่อนถึงจะช่วยเหลือลูกเรือได้” หนึ่งในลูกเรือที่รอดชีวิต กล่าวถึงในนาทีเป็นตาย

          18.00 น. เครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล แบบที่ 1 บ.ลว.1 Dornier หมายเลข 1115 เดินทางกลับเข้ามา พร้อมช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ 6 นาย ก่อนจะนำตัวส่งรักษา รพ.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ ต.พลูตาหลวง อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี

20 ธันวาคม 2565

          พล.ร.ท.พิชัย ล้อชูสกุล ผบ.ทัพเรือภาคที่ 1 ยืนยันข้อมูลว่า ตอนนี้มีกำลังพลสูญหายลดลง 1 ราย เหลือ 30 นาย เนื่องจากมีกำลังพล 1 นาย ได้ลากิจไม่ได้ขึ้นเรือ จึงมีการยืนยันว่า “เรือหลวงสุโขทัย” มีกำลังพลโดยสารทั้งสิ้น 105 นาย

          14.14 น. พลทหารชนัญญู แก่นศรียา สังกัดนาวิกโยธิน ได้รับการช่วยเหลือจากเรือบรรทุกน้ำมัน ทำให้รอดชีวิต หลังลอยคอมาหลายสิบชั่วโมง เป็นรายที่ 76

          15.00 น. ได้รับแจ้งจาก ร.ล.นเรศวร พบผู้เสียชีวิต 5 ราย ประกอบด้วย 1. ร.ท.สามารถ แก้วผลึก 2. พ.จ.อ.อัชชา แก้วสุพรรณ์ 3. พ.จ.อ.อำนาจ พิมที่ 4. จ.อ.จักรพงศ์ พูลผล 5. พลฯ อัครเดช โพธิ์บัติ

          19.30 น. ได้รับแจ้ง จาก ร.ล.ภูมิพล พบร่างผู้เสียชีวิตเพิ่ม 1 ราย ยังไม่ทราบชื่อ

          20.00 น. สรุปรวม มีผู้เสียชีวิต 6 นาย รอดชีวิต 76 นาย ยังเหลือผู้ประสบภัยที่ต้องค้นหาอีก 23 นาย

21 ธันวาคม 2565

          ทุกหน่วยงาน ประสานความร่วมมือในการค้นหาเต็มกำลัง แต่ไม่พบกำลังพลเพิ่ม โดยมีรายงานพบศพ 1 ศพ ที่สวมเสื้อผ้าทหาร แต่..ไม่ใช่กำลังพลของเรือหลวงสุโขทัย ส่วนการเยียวยาตามระเบียบทางราชการ ชดเชยปูนบำเหน็จตามระเบียบราชการ ในภาพรวมจะได้รับการเลื่อนยศ 5 ชั้นยศ และได้รับเงินชดเชยตามระเบียบราชการประมาณ 1-2 ล้านบาท

22 ธันวาคม 2565

          ญาติทหารเรือ 23 ชีวิตยังเฝ้ารอด้วยความหวัง แต่ยังไม่พบผู้สูญหายเพิ่ม ขณะที่ญาติของนายทหารกล้าทั้ง 6 นาย ที่พบศพเสียชีวิต ญาตินำกลับไปประกอบพิธีน้ำหลวงอาบศพและสวดอภิธรรมที่ฌาปนสถานกองทัพเรือ

23 ธันวาคม 2565

          ร.ล.บางระจัน สำรวจพื้นที่จุดเรือล่ม พบศพลอยขึ้นมา 1 ศพ  ขณะที่การระดมค้นหาในพื้นที่ชุมพร และสุราษฎร์ธานี พบเพียงเสื้อชูชีพตัวเดียวลอยใกล้เกาะเต่า

24 ธันวาคม 2565

          10.30 น. พบร่างผู้เสียชีวิตเพิ่ม 1 ศพ ลอยใกล้จุดเรือล่ม ใกล้ๆ กับจุดที่พบ เมื่อวันที่ 23 ธ.ค. โดยเรือหลวงบางระจัน

          13.45 น. กองทัพเรือ แจ้งว่า พบผู้เสียชีวิตอีก 5 นาย โดยเวลาที่พบไล่เรียงกันตั้งแต่ 11.37-13.20 น. ประกอบด้วย คือ ร.ล.ตากสิน 1 นาย, เรือ ต.113 จำนวน 1 นาย, โดรน 2 นาย และ ร.ล.กระบุรี 1 นาย

          สรุป ในเวลา 20.00 น. พบกำลังพลเพิ่ม 6 ศพ มีผู้เสียชีวิต รวม 13 ศพ ยังสูญหาย 16 ชีวิต

25 ธันวาคม 2565

          11.00 น. พล.ร.ท.พิชัย ล้อชูสกุล ผบ.ทรภ.1 แถลงว่า ร.ล.กระบุรี และ ร.ล.นราธิวาส พบ 2 ศพกำลังพล ลอยใกล้กับจุด ร.ล.สุโขทัย ล่ม ในช่วงคืนวันที่ 24 ธ.ค.

          15.00 น. พบศพกำลังพล เรือหลวงสุโขทัย 3 นาย จุดพบศพอยู่ห่างไปประมาณ 40 กม. และอยู่ห่างจุด ร.ล.สุโขทัยล่ม ในพื้นที่ อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ประมาณ 60-70 กม.

          พล.ร.อ.ปกครอง มนธาตุผลิน โฆษกกองทัพเรือ กล่าวต่อว่า สรุปการช่วยเหลือผู้ประสบภัย วันที่ 25 ธ.ค. เวลา 17.00 น. ยอดกำลังพล 105 นาย รอดชีวิต 76 นาย เสียชีวิต 18 นาย ระบุชื่อได้แล้ว 7 นาย มีหลักฐานบ่งชี้ว่าเป็นกำลังพลกองทัพเรือและอยู่ในกระบวนการพิสูจน์อัตลักษณ์เพื่อยืนยันตัวบุคคล 11 นาย และ 1 รายที่ก่อนหน้านี้ยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่าเป็นกำลังพลกองทัพเรือนั้น ขณะนี้มีหลักฐานยืนยันแล้วว่าเป็นกำลังพลกองทัพเรือ คงเหลือผู้สูญหาย 11 นาย

          ในขณะที่วันนี้ (26 ธ.ค.) เรือหลวงนเรศวร ได้ดำเนินการเก็บกู้ร่างผู้เสียชีวิตได้เพิ่มอีก 1 ร่าง และจะกลับขึ้นฝั่งที่อำเภอบางสะพาน ซึ่งหลังจากนั้นก็จะเข้าสู่กระบวนการของการพิสูจน์อัตลักษณ์เพื่อยืนยันตัวบุคคลต่อไป

          คณะทำงานสอบสวนข้อเท็จจริง มีหน้าที่ตรวจสอบหาสาเหตุเรือหลวงสุโขทัยล่ม ทั้งด้านความพร้อมของเรือ แนวทางการปฏิบัติ ขั้นตอนของการสละเรือใหญ่ และช่วยเหลือกำลังพลภายหลังประสบเหตุ ว่าเป็นไปตามหลักการและแนวทางการปฏิบัติที่กำหนดไว้หรือไม่

          ขณะที่ตัวเลขกำลังพลที่ปลอดภัย และสูญหาย วันที่ 26 ธ.ค. (อัปเดต 11.30 น.) โดยโฆษกกองทัพเรือ ระบุว่า จากยอดกำลังพล 105 นาย รอดชีวิต จำนวน 76 นาย เสียชีวิตรวม 18 นาย ในจำนวนนี้สามารถระบุชื่อได้แล้ว 10 นาย อยู่ในกระบวนการของการพิสูจน์อัตลักษณ์ 8 นาย คงเหลือผู้สูญหายจำนวน 11 นาย (ยังไม่นับรวมเคสที่เจอล่าสุดเมื่อช่วงเช้าวันนี้ รอผลและหลักฐานบ่งชี้ว่าเป็นกำลังพลกองทัพเรือ จึงจะมีการตัดยอด)

          ต่อมาวันนี้ (27 ธ.ค.) มีรายงานว่า พบผู้เสียชีวิต 2 ศพ ที่บริเวณ เกาะไข่ 1 ศพ และ เกาะสาก 1 ศพ โดยรายที่ 2 สภาพศพ ใส่ชุดหมี คาดว่าเป็นกำลังพลเรือหลวงสุโขทัย ซึ่งต้องรอการชันสูตรและยืนยันต่อไป

ความเห็นผู้เขียน

          นี่คือเหตุการณ์ร้ายแรงที่สุดในรอบหลายสิบปีของกองทัพเรือ โศกนาฏกรรมเกิดขึ้นจากอะไรก็ตามที่มันไม่ค่อยถูกต้องเหมาะสม เหตุการณ์นี้ยังเปิดเผยปัญหามากมายที่แอบซุกซ่อนอยู่ภายใน ซึ่งผู้เขียนขออนุญาตไม่เขียนถึงในบทความ เพราะมีบทความจำนวนมหาศาลให้ผู้อ่านได้เลือกพิจารณาตามความสมัครใจ

          สิ่งเดียวที่ผู้เขียนค่อนข้างติดใจจากเหตุการณ์เรือหลวงสุโขทัยจม คือการเขียนบทให้นายกรัฐมนตรีบอกสื่อมวลชนว่า ทุกคนบนเรือปลอดภัย มันเป็นวิธีใกล้เคียงสมัยเรือหลวงธนบุรีทำยุทธนาวีเกาะช้างปี 2484 โน่น

หมายเหตุ : ข่าวดังเด่นเกี่ยวข้องกับกองทัพไทยที่เกิดขึ้นในรอบสิบปี จะถูกเก็บบันทึกในเว็บเพจและ Blogger ส่วนตัวของผู้เขียนต่อไป

อ้างอิงข้อมูลจาก

          https://www.voicetv.co.th/read/77253

https://twitter.com/katori93cp/status/1591023617835692032/photo/1

          https://www.sanook.com/news/7840438/

          https://today.line.me/th/v2/article/K1pxQo

       https://web.facebook.com/RTAFpage/posts/1130867046942884/?paipv=0&eav=AfZR9Jj2rEsH2jjOwwJ-yTX5RD4Zb6SCg0NsrqzNvKVQlSUzD_4X_tbMBagJ1vpWNYM&_rdc=1&_rdr

          https://www.thairath.co.th/news/politic/2462142

          https://www.hiclipart.com/free-transparent-background-png-clipart-impdx

          https://d.dailynews.co.th/politics/731282/

https://www.prachachat.net/politics/news-441379

https://mgronline.com/politics/detail/9580000074803?fbclid=IwAR1ChcXAknKLIwlWJSYohv10cbzSjZ1hxTckwKqZ7QI85QI3FR04wWQrv0Y

https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_3208459

https://mgronline.com/onlinesection/detail/9600000004392

https://thestandard.co/17-hours-shooting-at-korat/

https://thestandard.co/gripen39c-crash-anniversary/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น