วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2558

หลังจากเป็นโรคเลื่อนมานานเกือบ2ปีเต็ม ในที่สุดเรือฟริเกต Oliver Hazard Perry สำหรับเม็กซิโกและไต้หวันก็ได้รับการอนุมัติจากประธานาธิบดีอเมริกาแล้ว

http://www.defensenews.com/story/defense/naval/ships/2014/12/19/navy-frigates-ships-taiwan-china-mexico/20642841/

https://www.congress.gov/bill/113th-congress/senate-bill/1683/text


WASHINGTON – It took the better part of two years, but Congress has finally approved the potential transfer to Taiwan and Mexico of six frigates being decommissioned by the US Navy.
The move means negotiators have permission to make a deal for transfer of the ships, four of which are still in service.

Signed into law Thursday by President Barack Obama, the Naval Vessel Transfer Act of 2013 authorizes the transfer of the frigates Curts and McClusky to Mexico on a grant basis.
The act also authorizes the sale of the frigates Taylor, Gary, Carr and Elrod to Taiwan.
All the ships are of the Oliver Hazard Perry class, now being phased out of the US Navy. All remaining frigates are to be decommissioned by the end of September.

ยินดีกับทั้ง2ประเทศด้วย เพราะเรือฟริเกตที่ได้ไปล้วนมีความสำคัญในการใช้งานด้วยกันทั้งสิ้น เม็กซิโกมีเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งและไกลฝั่งเยอะมาก และส่วนมากต่อในอู่ต่อเรือของกองทัพเรือเม็กซิโกเอง แต่พวกเขาไม่มีเรือฟริเกตทันสมัยเลยใหม่สุดก็คือเรือฟริเกตุชั้นKNOXที่ได้รับโอนมาจากอเมริกานั่นแหละ ซึ่งอายุอานามก็ปาเข้าไป40กว่าปีแล้ว ส่วนไต้หวันก็อย่างที่รู้ๆกันว่ากองทัพเรือจีนมาเคาะประตูเรียกแขกอยู่หน้าบ้าน ได้เรือรบไปเพิ่มจะเก่าหรือใหม่เป็นผมก็เอาทั้งนั้น เขาเองก็มีเรือชั้นOLIVER HAZARD PERRY ประจำการอยู่แล้วจำนวนหนึ่ง และได้มีการปรับปรุงติดอาวุธมากกว่าของอเมริกาเสียอีก เพราะฉะนั้นจึงไม่เป็นการยากเลยที่จะใช้งานเรือที่ได้รับใหม่ได้อย่างรวดเร็ว


                                          เรือฟริเกตชั้น Knox ชื่อ ARM Mina (F-214) ของเม็กซิโก

ทั้ง2ประเทศมีเงื่อนไขการได้รับเรือที่แตกต่างกัน เม็กซิโกได้รับการโอนเรือไปโดยมีค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมประมาณ20-40ล้าน เหรียญต่อลำ ส่วนไต้หวันเป็นการขายในราคาพิเศษตัวเลขก็น่าจะอยู่แถว80-100ล้านเหรียญ แต่ก็แลกกับเรือลำใหม่ที่จองไว้ก่อนแล้วและการปรับปรุงซ่อมแซมที่น่าจะ มากกว่ากัน ทั้งนี้เมื่อได้รับการเซ็นอนุมัติก็จะกลายเป็นกฎหมายของอเมริกาทันที คงต้องดูกันต่อว่าไต้หวันจะจัดหาครบจำนวนทั้ง4ลำจริงหรือเปล่า


                                         เรือฟริเกตชั้น Oliver Hazard Perry ของไต้หวันที่ต่อเองในประเทศ
                                            
สาเหตุที่โครงการนี้มีความไปนานพอสมควรมีที่มาทีไปยาวพอประมาณ เริ่มจากบิลแรกสุด Naval Vessel Transfer Act of 2013 มีการนำเสนอในวันที่ 1มกราคม 2013บิลในนี้ไม่ผ่านและเงียบไปเกือบ10เดือน สาเหตุคาดกันว่าเนื่องจากมีชื่อตุรกีอยู่ด้วยก็เลยไม่ผ่านสภา(ไม่แน่ใจว่าสภาไหน) เนื่องมาจากท่าทีทางการเมืองของตุรกีในช่วงเวลานั้นๆที่มีต่อสถานะการณ์ในตะวันออกกลาง ความเปาะบางสุงเกินไปทำให้มีผู้คัดค้านจนไปไม่ถึงฝั่ง

http://www.gpo.gov/fdsys/pkg/BILLS-112hr6649rds/html/BILLS-112hr6649rds.htm

(a) Transfers by Grant.--The President is authorized to transfer 
vessels to foreign countries on a grant basis under section 516 of the 
Foreign Assistance Act of 1961 (22 U.S.C. 2321j), as follows:
            (1) Mexico.--To the Government of Mexico, the OLIVER HAZARD 
        PERRY class guided missile frigates USS CURTS (FFG-38) and USS 
        MCCLUSKY (FFG-41).
            (2) Thailand.--To the Government of Thailand, the OLIVER 
        HAZARD PERRY class guided missile frigates USS RENTZ (FFG-46) 
        and USS VANDEGRIFT (FFG-48).
            (3) Turkey.--To the Government of Turkey, the OLIVER HAZARD 
        PERRY class guided missile frigates USS HALYBURTON (FFG-40) and 
        USS THACH (FFG-43).
    (b) Transfer by Sale.--The President is authorized to transfer the 
OLIVER HAZARD PERRY class guided missile frigates USS TAYLOR (FFG-50), 
USS GARY (FFG-51), USS CARR (FFG-52), and USS ELROD (FFG-55) to the 
Taipei Economic and Cultural Representative Office of the United States 
(which is the Taiwan instrumentality designated pursuant to section 
10(a) of the Taiwan Relations Act (22 U.S.C. 3309(a))) on a sale basis 
under section 21 of the Arms Export Control Act (22 U.S.C. 2761).


 กระทั่งในวันที่12พฤษจิกายน2013หลังจากล่าช้าไปร่วม10เดือนเต็มๆ คณะผู้จัดทำจึงได้ตัดสินใจเปลี่ยนบิลใหม่ไปเลยดีกว่า โดยมีการตัดชื่อตุรกีออกแล้วใส่ชื่อปากีสถานเป็นผู้รับเรือเข้าไปแทน เนื่องมาจากว่ากองทัพเรือมีเรือที่จะปลดระวางเป็นจำนวนมากจึงไม่จำเป็นต้องเป็นลำเดียวกัน แต่ทว่ากลับเหมือนหนีเสือปะจระเข้ เพราะปากีสถานเองกลายเป็นตัวปัญหาทำความยุ่งยากใจให้กับบิลใบใหม่ใบนี้อีกครั้ง พวกเขามีความสัมพันธ์กับประเทศจีนมากขึ้นและซื้ออาวุธจากจีนมากขึ้นเช่นกัน ทำให้สามาชิกผู้แทนหลายคนมีความกังวลใจในสถานะการณ์เช่นนี้

เนื่องมาจากประเด็นหลักของบิลใบนี้เป็นการโอนเรือฟริเกตที่ปลดระวางแล้วให้กับมิตรประเทศแบบไม่คิดมูลค่า (เพียงแต่ต้องเสียเงินค่าปรับปรุงซ่อมแซมเองจำนวนหนึ่ง) แตกต่างจากการขายของใหม่เอี่ยมราคาแพงที่ประเทศจะได้รับผลตอบแทนอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยอยู่แล้ว จึงต้องมีการพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วนมากกว่าการซื้อขายทั่วไป แล้วเรื่องนี้ก็เงียบหายไปกับสายลมและสองเราเหมือนเช่นเคย


(c) Transfer to Pakistan by Grant Upon Certifications.--
            (1) Authority.--The President is authorized in each of 
        fiscal years 2014 through 2016 to transfer to the Government of 
        Pakistan one of the OLIVER HAZARD PERRY class guided missile 
        frigates USS KLAKRING (FFG-42), USS DE WERT (FFG-45), and USS 
        ROBERT G. BRADLEY (FFG-49) on a grant basis under section 516 
        of the Foreign Assistance Act (22 U.S.C. 2321j), 15 days after 
        certifying to the appropriate congressional committees that the 
        Government of Pakistan is--
http://0-www.gpo.gov.librus.hccs.edu/fdsys/pkg/BILLS-113s1683rs/html/BILLS-113s1683rs.htm



                               เรือฟริเกตชั้น Oliver Hazard Perry ของปากีสถานที่ได้รับการโอนมาในปี2010

เมื่อเจอปัญหาเข้าไปถึง2หนติด คณะผู้จัดทำจึงต้องมีความรัดกุมมากกว่าเดิมอีกหลายเท่าตัว พวกเขาตัดสินใจตัดชื่อปากีสถานออกให้เหลือแต่ชาติที่มีความซี้ย่ำปึ๊กและไม่มีทางที่จะมีปัญหาอีกแน่ๆ  วันที่8เมษายน2014 บิลใบใหม่จึงเกิดขึ้นโดยมีแค่เพียงเชื่อประเทศ เม็กซิโก ไทยแลนด์ได้รับการโอนโดยไม่คิดมูลค่า และไต้หวันได้รับการซื้อในราคามิตรภาพเท่านั้น

102.
Transfer of naval vessels to Taiwan
(a)
Transfer by sale
The President is authorized to transfer the OLIVER HAZARD PERRY class guided missile frigates USS TAYLOR (FFG–50), USS GARY (FFG–51), USS CARR (FFG–52), and USS ELROD (FFG–55) to the Taipei Economic and Cultural Representative Office of the United States (which is the Taiwan instrumentality designated pursuant to section 10(a) of the Taiwan Relations Act (22 U.S.C. 3309(a))) on a sale basis under section 21 of the Arms Export Control Act (22 U.S.C. 2761).
Transfer of naval vessels to certain other foreign recipients
201.
Findings
(a)
Relating to Mexico
(b)
Relating to Thailand
https://www.govtrack.us/congress/bills/113/hr3470/text


                                          USS Rentz (FFG-46) เป็น1ใน2ของจำนวนเรือที่จะโอนมายังประเทศไทย


แต่ให้ตายเถอะโรบิ้น ด้วยเรื่องวุ่นภายทางการเมืองในประเทศไทยกลางปี2014ทำให้บิลใบนี้ต้องมีปัญหาอีกครั้ง แม้บิลใบนี้จะผ่านสภาผู้แทนราษฎรมาแล้วก็ตามเถอะ แต่ก็ยังก็ยังมาดองเค็มอยู่ที่วุฒิสภาเพราะเกิดรัฐประหารและไม่มีรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้ง  เนื่องมาจากความล่าช้าทำให้คณะผู้จัดทำไม่อาจอดทนรอคอยได้อีกต่อไป วันที่4 ธันวาคม 2014จึงเกิดบิลใบใหม่ขึ้นมาอีกครั้ง โดยคราวนี้ตัดชื่อประเทศไทยออกเหลือแค่เพียงเม็กซิโกและไต้หวันเท่านั้น บิลฉบับนี้ใช้เวลาแค่เพียง2เดือนกว่าๆผ่านทุกด่านและประธานาธิบดีโอบามาก็ลงนามอนุมัติให้ในท้ายที่สุด ปัจจุบบันกลายเป็นกฎหมายของอเมริกาที่ทุกคนต้องปฎิบัติตามแล้วครับ

 
 


Oliver Hazard Perry เป็นเรือฟริเกตปราบเรือดำน้ำขนาด4,100ตัน สร้างขึ้นระหว่างปี1975-2004 เป็นจำนวนถึง71ลำด้วยกัน โดยที่เรือ ROCS Tian Dan (FFG-1110) ของไต้หวันคือเรือลำท้ายสุดที่ได้รับการสร้าง เข้าประจำการในปี2004มีการปรับปรุงติดปืนกลรองขนาด40/70มม. จรวดพื้น-สู่-พื้นรุ่น Hsiung Feng II เพิ่มอีกจำนวน8นัด และpy'ใช้จานเรดาร์ควบคุมการยิงสำหรับจรวดต่อสู้อากาศยานที่มีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย




USS Elrod (FFG-55) คือ1ใน4ลำที่มีชื่อขายให้กับไต้หวัน เริ่มเข้าประจำการในวันที่ 21 September 1985 (ก่อนเรือหลวงรัตนโกสินทร์ของเรา1ปี) ปลดประจำการเมื่อ10วันก่อนหรือวันที่ 30 January 2015 เท่ากับอยู่ในราชการแค่เพียงไม่ถึง30ปีเต็ม จากข่าวเก่าในอดีตไต้หวันขอซื้อเรือชุดนี้โดยมีการปรับปรุงใหญ่ให้ด้วยจำนวน2ลำในวงเงิน240ล้านเหรียญ เมื่อพวกเขาขอเพิ่มอีก2ลำก็น่าจะมีวงเงินอยู่ที่ประมาณ480ล้านเหรียญ ตัวเลขใกล้เคียงกับราคาเรือฟริเกตรุ่นใหม่ของไทยและมาเลเซียจำนวน1ลำพอดิบพอดี


จากนี้ไปคงต้องรอดูกันต่อไปว่า อเมริกาจะทำอย่างไรกับเรือฟริเกตชั้น Oliver Hazard Perry ที่ปลดประจำการไปแล้วและยังคงเก็บรักษาอยู่อีกจำนวนมากพอสมควร  แต่ดูจากเรื่องยุ่งๆที่ผ่านมาชาติที่ได้รับจะต้องเป็นชาติที่ในช่วงเวลานั้นไม่มีปัญหา ทั้งเรื่องภายในประเทศตัวเองกับหรือกับเพื่อนบ้านใกล้เคียง และที่สำคัญที่สุดก็คือกับอเมริกาเองและนโยบายทางการต่างประเทศของอเมริกาด้วย


------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

http://en.wikipedia.org/wiki/Oliver_Hazard_Perry-class_frigate

หลังจากเป็นโรคเลื่อนมาเกือบ2ปีเต็ม ในที่สุดเรือฟริเกตOHPสำหรับเม็กซิโกและไต้หวันก็ได้รับการอนุมัติจากประธานาธิบดีแล้ว

วันศุกร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2558

มหาสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ตอนการรบที่แวร์เดิง (Battle of Verdun)

     การรบครั้งสำคัญในสงครามโลกครั้งที่ 1 มีอยู่ด้วยกันหลายสมรภูมิ แต่ที่สำคัญเป็นอย่างมากนับได้2ครั้งคือการรบที่แวร์เดิงและการรบที่แม่น้ำมาร์น การรบที่ป้อมแวร์เดิงเป็นการยุทธครั้งสำคัญที่ทั้งสองฝ่ายต่อสู้กันอย่างทรหดสมศักดิ์ศรีชาตินักรบ เมื่อได้ยินคำว่าป้อมโปรดอย่าเข้าใจผิดว่าเป็นป้อมปราการเดี่ยวๆ เหมือนในภาพยนต์ เพราะในความจริงที่แวร์เดิงเป็นหมู่ป้อมปืนจำนวนหลายป้อมรวมกัน มีการจัดวางตำแหน่งไว้อย่างอย่างสลับซับซ้อนจนยากในการบุกยึด เมื่อข้าศึกยึดป้อมใดป้อมหนึ่งไปได้ก็จะตกเป็นเป้าหมายให้ป้อมที่เหลืออยู่ประสานการยิงเข้าใส่ ประกอบกับทำเลอันเหมาะสมทำให้การสู้รบในสมรภูมิแห่งนี้มีความยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้น ทั้งฝ่ายที่บุกและฝ่ายตั้งรับประสบกับความสูญเสียทั้งในด้านกำลังพลและยุทธปัจจัยเป็นจำนวนมหาศาล


   ในจำนวนหมู่ป้อมแวร์เดิงน้อยใหญ่จำนวนมาก ยังมีป้อมปราการโปราณเก่าแก่ที่สุดป้อมหนึ่ง ขอบหลังคาและประตูรอบด้านทำด้วยหินแข็งมากอย่างหินลายๆจากเมืองจีนซึ่งใช้ปูพื้นตลาดสำเพ็ง  หลังคาป้อมเป็นหินมีขอบบรรจุดินอัดไว้เต็มพื้นที่เพื่อลดแรงปะทะจากกระสุนปืนใหญ่ ป้อมโบราณแห่งนี้ถูกใช้เป็นสโมสร (Mass ) พบปะสังสรรค์ และยังเป็นครัวปรุงอาหารทำขนมปังจึงมีกลิ่นอาหารฟุ้งกระจายตลอดเวลา ในช่วงกลางคืนจะมีการนำทหารตามป้อมต่างๆผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาที่นี่ เพื่อหาความสำราญด้วยการกินและดูภาพยนต์และเพื่อเป็นการผ่อนคลาย บางครั้งหลังจากนั้นไม่กี่ชั่วโมงทหารทั้งหมดจะถูกส่งไปออกไปจู่โจมข้าศึกตามแผนที่ได้กำหนดไว้ และบางครั้งก็ทหารเหล่านี้อาจจะตายทั้งหมดหรือเหลือรอดกลับมาแค่เพียงไม่กี่นาย

     ป้อมสำคัญที่มีชื่อเสียงมากในการรบที่แวร์เดิงก็คือป้อมดูโอมองค์ (Fort Douaumont) ถูกสร้างขึ้นด้วยแบบแปลนทันสมัยดูราวกับเมืองเล็กๆเมืองหนึ่ง พื้นที่ภายในป้อมอยู่ใต้ดินลึกลงไปตั้งแต่ 20 เมตรจนถึง 40 เมตร บริเวณยอดของป้อมทำช่องสำหรับยิงปืนใหญ่และปืนกลไว้รอบทิศทาง ช่องที่ว่าโผล่เหนือพื้นดินเพียงนิดเดียวและป้องกันไว้ด้วยหินเหลี่ยมและหนา ทั้งฝ่ายเยอรมันนีและสัมพันธมิตรได้ผลัดกันยื้อแย่งไปมาและผลัดกันครอบครองป้อมดูโอมองค์ บริเวณพื้นที่ภายในป้อมมีกระสุนปืนของทั้งสองฝ่ายตกเกลื่อนกลาดอยู่เป็นจำนวนมาก ผู้บัญชาการป้อมชาวฝรั่งเศสท่านหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า เมื่อเยอรมันโจมตีพวกเขาจะเริ่มต้นด้วยการบอมปืนใหญ่ขนาด 420 มม.หรือ 370 มม.เข้าใส่อย่างต่อเนื่องก่อนส่งทหารราบเข้ามาจู่โจม ด้วยอำนาจจากกระสุนปืนใหญ่ทำให้ตัวเขาที่บัญชาการอยู่ใต้ดินรู้สึกโคลงเคลงไปมาตลอดเวลา จนดูคล้ายกับว่าป้อมดูโอมองค์นั้นเป็นเรือที่เดินเครื่องอยู่กลางมหาสมุทรท่ามกลางกระแสคลื่นขนาดยักษ์โหมเข้าใส่  รอยกระสุนตกบริเวณริมป้อมมีขนาดใหญ่โตจนดูเหมือนสระน้ำ อำนาจจากปืนใหญ่ขนาด 370 มม.มีความรุนแรงมากกว่าขนาด 420 มม.ที่เน้นระยะทาง ยิงถูกแง่ป้อมแต่ละลูกทำให้หินแข็งๆหายไปเป็นวาๆ สร้างความหวาดผวาให้กับทหารฝรั่งเศสทุกนายที่อยู่ในป้อม
                                                                           ปืนใหญ่ขนาด 380 มม. ติดอยู่บนรถไฟดูน่าเกรงขาม

                                                                                          ป้อมดูโอมองค์ก่อนถูกโจมตี

                
                                                                                                   ป้อมดูโอมองค์หลังหยุดยิง


   เยอรมันนีใช้กระสุนปืนใหญ่ในการเข้าตีวันละประมาณ 70,000 นัด กระสุนจำนวนมากพลัดไปตกตามบ้านเรือนจนพังพินาศไปตามๆกัน พื้นที่โดยรอบของเมืองนี้เปรียบเสมือนลูกคลื่นไกลลิบลับสุดลูกหูลูกตา เนื้อดินถูกเผาร่วนซ้ำแล้วซ้ำอีกดูคล้ายขี้บุหรี่ พลเอกมงกุฎราชกุมารของเยอรมันได้รับหน้าที่เป็นผู้อำนวยการเข้าตีป้อมแวร์เดิง ว่ากันว่าหากสามารถตีสำเร็จจะได้รับพระราชทานเลื่อนยศจากไกเซอร์พระราชบิดาให้เป็นจอมพลทันที มงกุฎราชกุมารจึงเพียรพยายามเข้าตีให้สำเร็จโดยใช้กำลังพลมากกว่า 500,000 นาย แต่ก็อย่างที่ผู้เขียนได้บอกไปแล้วว่าสมรภูมิแห่งนี้มีความยุ่งยากซับซ้อน เมื่อเยอรมันตีป้อมใหม่ได้สำเร็จป้อมเก่าที่เคยยึดได้กลับโดนตีคืน ครั้นพอส่งกำลังออกไปชิงกลับป้อมที่เพิ่งยึดได้ใหม่ก็โดนป้อมอื่นระดมยิงใส่จากทุกทิศทาง มงกุฎราชกุมารทุ่มเทกำลังทหารเข้าตีอย่างหนักทำให้กำลังพลอันเกรียงไกรเริ่มอ้อนล้าและขาดประสิทธิภาพ พอกล่าวสรุปได้ว่าที่แวร์เดิงเยอรมันประสบกับความสูญเสียสุงกว่ามาตราฐานพอสมควร ถือเป็นสมรภูมิรบที่ต้องจ่ายด้วยราคาแพงที่สุดแห่งหนึ่ง


     การรบที่แวร์เดิงค่อนข้างผิดแปลกไปจากที่อื่น ในยามปรกติแนวรบของทั้งสองฝ่ายตั้งอยู่ในแต่ละป้อมของตัวเอง การรบหลักจะเป็นการระดมยิงปืนใหญ่เข้าหากันมากกว่ารบระยะประชิด ต่างจากยุทธภูมิแห่งอื่นที่สนามเพลาะทั้งสองฝ่ายมักอยู่ห่างกันเพียง 20-30 เมตร ว่ากันว่าได้ยินเสียงพูดคุยของอีกฝ่ายหรือเวลาพักรบก็ยังตะโกนโต้ตอบกันไปมาได้ ลูกระเบิดมือถือและปืนครกกระสุนวิถีโค้งที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายจึงไม่ค่อยได้ผลกับที่นี่  การรบที่แวร์เดิงเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 1916 ท่ามกลางฝนตกหนักหมอกหนาทืบและลมกรรโชกแรง เยอรมันระดมปืนใหญ่เข้ามาเพื่อยิงถล่มเป็นเวลา 10 ชั่วโมงติดต่อกัน กระสุนจำนวน 1 ล้านนัดถูกยิงใส่พื้นที่ยาว 30 กิโลเมตรและกว้าง5กิโลเมตร ปืนใหญ่ Super Heavy Long Range Guns ขนาด 420 มม.สามารถยิงได้ไกลถึง 99 ไมล์หรือ 160 กิโลเมตร  การโจมตีหยุดลงชั่วคราวตอนเที่ยงวันเพื่อให้ผู้รอดชีวิตของอีกฝ่ายเปิดเผยตัว มีการใช้เครื่องบินบินเข้าไปสำรวจตามแผนการรบสมัยใหม่ที่เคยได้ผล เมื่อได้ข้อมูลมากเพียงพอแล้วเยอรมันจึงส่งทหารเข้าไปในพื้นที่ ฝรั่งเศสตระหนักดีถึงการบุกอย่างหนักของข้าศึกและเตรียมตั้งรับอย่างเหนียวแน่น แม้ทหารเยอรมันจะมีประสิทธิภาพสุงแต่การบุกก็ทำได้ยากลำบาก ประกอบกับมีความผิดพลาดและความล่าช้าในด้านการสื่อสาร เยอรมันทำการรบได้ไม่ดีพอที่จะได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด ฝรั่งเศสส่งทหารกองหนุน 90,000 นายและอาวุธหนักจำนวนมากเข้ามาเสริมทัพ ความสูญเสียในช่วงแรกของทั้งสองฝ่ายมีตัวเลขที่ใกล้เคียงกันมาก


     
                                                                      ทหารส่วนมากเสียชีวิตจากกระสุนปืนใหญ่จำนวนมหาศาล

     เมื่อฝรั่งเศสตั้งหลักได้แล้วสมรภูมิแห่งนี้จึงกลายเป็นหนังยาว การดวลกันระหว่างปืนใหญ่ของทั้งสองฝ่ายทำให้เมืองนี้พินาศโดยสิ้นเชิง ดูเหมือนเยอรมันจะทำการรบได้ดีกว่าแต่ฝ่ายตนเองก็สูญเสียมากไม่ต่างกัน ความอ่อนล้าจากการสู้รบติดกันหลายวันส่งผลต่อทหารทุกนาย สนามรบอันกว้างใหญ่ไพศาลเต็มไปด้วยกลิ่นไอจากศพ พวกเขานอนตายทับถมสังเวยพระแม่ธรณีจนดูเป็นเรื่องปรกติ เมื่อมีการเปลี่ยนแนวรบไปข้างหน้ากองฝังศพก็จะตามไปฝังศพที่เพิ่งเสียชีวิตใหม่ๆ แค่เพียงไม่นานนักกระสุนปืนใหญ่ของอีกฝ่ายก็ลอยลงมาขุดพลิกแผ่นดินเอาซากอสุภะกลับขึ้นมาใหม่ ในสนามรบเต็มไปด้วยแมลงวันหัวเขียวตัวโตๆที่กินซากศพเสียจนอิ่มหมีพลีมัน บรรดาหนูที่อยู่แถวนั้นก็ตัวใหญ่มากและมีชุกชุมไม่ใช่เล่น ส่วนมนุษย์ผู้เป็นเจ้าของแผ่นดินนั้นเล่ากลับมีชีวิตที่สั้นลงไปจากปรกติ มีการประมาณการจากสถิติไว้ว่านักบินจะมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 3 เดือน ทหารม้าอยู่ที่ 6 เดือน และทหารราบอยู่ที่ 1 ปี การรบที่แวร์เดิงในช่วงแรกมีการพักรบอยู่หลายครั้ง แต่ทหารทุกนายก็ได้พักผ่อนแค่เพียงอาทิตย์เดียวเท่านั้น

     ความล้มเหลวของการรบในเดือนเมษายนถูกนำมาปรับปรุงแก้ไขทันที ทหารราบเยอรมันจะได้รับการสนับสนุนปืนใหญ่อย่างต่อเนื่องทั้งจากด้านข้างและด้านหลัง การติดต่อสื่อสารที่เคยมีปัญหาจะได้รับการปรับปรุงทั้งหมด มีการลดแนวบุกทะลุทะลวงให้แคบลงไปกว่าเดิม แต่ทว่าในบรรดาเสนาธิการด้วยกันก็ยังมีความเห็นที่แตกต่าง แผนการแบ่งกำลังเป็นกองเล็กๆเพื่อลอบโจมตีอีกฝ่ายถูกปฏิเสธ เยอรมันมุ่งใช้กำลังทหารราบบุกทะลวงไปข้างหน้าพร้อมการสนับสนุนจากปืนใหญ่ ถึงตอนนี้เริ่มมีการนำปืนไฟและหน่วยปฎิบัติการณ์พิเศษเข้ามาใช้ในแวร์เดิงแล้ว ทหารราบเยอรมันสามารถทะลุแนวป้องกันเข้าไปจนสามารถยึดป้อมปืนสำคัญบางแห่งเพิ่มได้ แล้วพวกเขาก็โดนฝรั่งเศสใช้ปืนใหญ่ยิงถล่มอย่างหนักใส่ป้อมปืนที่ตัวเองเคยยึดครอง ทหารเยอรมันต้องถอยร่นเข้ามารวมตัวกันอยู่ในป้อมและคอยรักษาแนวป้องกัน สงครามนับจากนี้เป็นการยันกันไปยันกันมาโดยไม่มีผลแพ้ชนะอย่างแท้จริง

                                                                                  ปืนใหญ่ขนาด 75 มม.ของฝรั่งเศสที่ป้อมดูโอมองค์

                                                                     ชีวิตของทหารทุกนายอยู่ที่เบื้องบนเป็นผู้กำหนด                                                              

     ป้อมดูโอมองค์คือพื้นที่ซึ่งมีการรบพุ่งหนักที่สุดและเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญมากที่สุดด้วย ในการบุกครั้งแรกสุดเยอรมันสามารถบุกยืดป้อมนี้ได้โดยไม่มีการรบหนักอย่างที่คาดคิด นายทหารระดับสุงของฝรั่งเศสกล่าวในภายหลังว่า เพื่อรักษาชีวิตทหารจำนวน 100,000 นายเอาไว้จึงต้องปล่อยให้ป้อมโดนยึด ผลจากความพ่ายแพ้ในครั้งนี้สร้างความตื่นตระหนกให้กับทหารชั้นผู้น้อยส่วนมาก ปลายเดือนพฤษภาคมฝรั่งเศสเริ่มต้นบุกชิงป้อมดูโอมองค์กลับคืนเป็นครั้งแรก การโจมตีกินเวลาถึง 36 ชั่วโมงก่อนจะพบกับความล้มเหลวและความสูญเสียเป็นตัวเลขสุงมาก ทหารเยอรมันต่อสู้ชนิดหัวชนฝาจนสามารถป้องกันป้อมเอาไว้ได้ พวกเขาใช้ป้อมนี้เป็นสถานีพยาบาลและจัดเก็บอาวุธยุทธปัจจัยต่างๆด้วย ระหว่างนี้ได้เกิดเรื่องที่น่าเศร้าขึ้นกับทหารเยอรมันประจำป้อม เมื่อเปลวไฟจากการทำอาหารทำให้คลังแสงเกิดการระเบิดครั้งใหญ่ภายในตัวป้อม ทหาร 679 นายเสียชีวิตจากเหตุการณ์ในครั้งนั้น ชาวเยอรมันและฝรั่งเศสบางส่วนจะมารวมตัวกันที่นี่เพื่อสวดมนต์ในวันครบรอบของทุกๆปี ป้อมดูโอมองค์สร้างความสูญเสียให้กับทั้งสองฝ่ายอย่างเท่าเทียมกัน ดั่งคำกล่าวที่ว่าลูกกระสุนไม่มีตายิงโดนใครก็ตายทุกคน 

     ความพยายามในการยึดป้อมคืนมาสำเร็จในอีก 5 เดือนถัดมา ปฎิบัติการโต้กลับครั้งใหญ่ของฝรั่งเศสเริ่มต้นจากวันที่ 20 ตุลมคมจนถึงวันที่ 2 พฤษจิกายน พวกเขาได้รวบรวมอาวุธหนักจำนวนมากมาที่แวร์เดิงเพื่อหวังแก้มือให้ได้ นอกจากทหารฝรั่งเศสจำนวนมากแล้วยังมีกองกำลังทหารโมรอคโคเข้าร่วมในการยุทธครั้งนี้ด้วย หลังจากยิงถล่มด้วยปืนใหญ่ขนาด 400 มม.บนรถไฟเป็นเวลา 2 วันติดต่อกัน กำลังทหารราบจำนวนมากจึงบุกเข้าใส่เกิดการปะทะอย่างหนักไปทั่วพื้นที่ ก่อนการยิงจะยุติลงมีคนตายเป็นหมื่นคนที่ป้อมดูโอมองค์ ในที่สุดฝรั่งเศสก็สามารถทวงคืนจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญมากที่สุดได้ สถานการณ์หลังจากนี้จนสิ้นสุดเดือนพฤศจิกายนไม่มีการรบพุ่งครั้งใหญ่กันอีกเลย ทั้งสองฝ่ายกำลังเตรียมตัวเพื่อทำการรบครั้งสุดท้ายในเดือนสุดท้ายของปี 1916

                                                                                                     ปืนไฟถูกนำมาใช้ระหว่างการรบ

                                                         พื้นดินที่ร้อนระอุราวกับนรกและเต็มไปด้วยกลิ่นศพจากทั้งสองฝ่าย

                                                                           ภาพที่มีชื่อเสียงมากที่สุดภาพหนึ่งจากการบที่แวร์เดิง

     กลางเดือนธันวาคมฝรั่งเศสเคลื่อนพลครั้งใหญ่ที่สุดในการรบที่แวร์เดิง พวกเขาใช้เวลา 6 วันยิงถล่มทหารเยอรมัน ด้วยปืนใหญ่จำนวน 1,169,000 นัดจากปืนใหญ่ 827 กระบอก การโจมตีครั้งสุดท้ายโดยมีเครื่องบินช่วยสังเกตุการณ์เริ่มต้นในวันที่ 15 ธันวาคม ทหารเยอรมันพยายามตั้งรับอยู่ในสนามเพลาะของตัวเองอย่างเข้มแข็งและอดทน ยิ่งรบกันนานขึ้นระยะห่างระหว่างทหารทั้งสองฝ่ายก็ร่นเข้าใกล้มากขึ้นทุกที ทหารฝรั่งเศสภายใต้การยิงคุ้มกันจากปืนใหญ่รุกเข้าใกล้มากขึ้นมากขึ้นและมากขึ้น ท้ายที่สุดแนวต้านฝ่ายเยอรมันที่มีคนน้อยกว่าก็พังทลายลง ทหารที่เหลือจำนวนหมื่นกว่าคนถูกจับเป็นเชลยศึกสงครามเนื่องจากไม่มีคนมาช่วยออกไป กำลังเสริมของเยอรมันเดินทางมาสมทบช้าเกินไป จึงไม่สามารถฝ่าเข้ามายังพื้นที่ซึ่งมีการสู้รบได้ นายพลเยอรมันที่คุมกำลังหลักและกำลังเสริมถูกไล่ออกจากตำแหน่ง ปิดฉากยุทธการครั้งสำคัญที่มีคนตายรวมกันมากกว่า 3 แสนคนในเวลา 303 วัน รวมทั้งมีผู้ที่ยังสูญหายไปอีกเป็นจำนวนมาก ข้อมูลจากบางตำราระบุไว้ว่า ยอดรวมผู้เสียชีวิตและสูญหายทั้งหมดมีจำนวนสุงถึง 5 แสนคน แต่ถ้ารวมตัวเลขผู้บาดเจ็บเข้าไปด้วย ตัวเลขจะพุ่งถึง 9 แสนคนเลยทีเดียว

     ชัยชนะที่แวร์เดิงช่วยหล่อเลี้ยงกำลังใจฝ่ายสัมพันธ์มิตรให้มีแรงสู้ต่อ ฝรั่งเศสเป็นผู้มีชัยก็จริงอยู่ทว่าสูญเสียทหารไปในการรบมากกว่าฝ่ายเยอรมัน ผลจากการรบหลายสมรภูมิในปี 1916 ทำให้กองทัพฝรั่งเศสที่เหนื่อยล้าใกล้ล่มสลายเต็มที ส่วนกองทัพของอังกฤษก็ประสบกับความสูญเสียอย่างหนักไม่แพ้กัน  ขณะที่กองทัพเยอรมันซึ่งมีแผนการรบที่ทันสมัยกว่า และมีการป้องกันที่ยึดหยุ่นมากกว่าอย่างเห็นได้ชัด สิ่งเดียวที่ขัดขวางไม่ให้พวกเขามีชัยอย่างเด็ดขาดได้ก็คือความใหญ่โตของสงคราม แนวรบด้านตะวันตกเป็นแนวสนามเพลาะความยาวมากกว่า 9,600 กิโลเมตร ทั้งสองฝ่ายต้องใช้กำลังพลประมาณ 1.2 ล้านนายประจำการตลอดเวลา โดยไม่มีใครล่วงรู้ว่ามหาสงครามโลกครั้งนี้จะสิ้นสุดลงเมื่อไหร่

     นักประวัติศาสตร์ เอ. เจ. พี. เทย์เลอร์กล่าวถึงสงครามโลกครั้งที่ 1 เอาไว้ว่า  "ชีวิตมนุษย์ถูกสังเวยโดยเปล่าประโยชน์  ไม่มีรางวัลใดๆที่จะได้รับหรือสูญเสีย มีแต่การฆ่ามนุษย์และเกียรติศักดิ์แห่งการได้ชัยชนะเท่านั้น"



--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

อ้างอิงจาก :

หนังสือ : ทหารอาสาสงครามโลกอนุสรณ์ พิมพ์ครั้งที่ 2 เมื่อ 11 พฤศจิกายน 2497

http://en.wikipedia.org/wiki/Battle_of_Verdun

http://www.ww1battlefields.co.uk/verdun/douaumont.html

http://en.wikipedia.org/wiki/Fort_Douaumont

http://www.kingsacademy.com/mhodges/03_The-World-since-1900/02_World-War-One/02c_1916-2.htm

http://www.oldpicz.com/battle-verdun/

http://www.huffingtonpost.com/joseph-v-micallef/this-week-in-world-war-i_b_9281672.html

http://leavehq.com/blogview.aspx?blogno=226

http://www.historyofwar.org/Pictures/pictures_75s_fort_douaumont.html