วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2565

Krabi Class 94m Design

 

           งาน Defense & Security 2022 ที่อาคาร Challenger Hall 1-2 ศูนย์จัดแสดงสินค้า Impact เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ 29 สิงหาคม ถึง 1 กันยายน 2022 ที่ผ่านมา บริษัทอู่กรุงเทพ Bangkok Dock นำโมเดลเรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ 552 มาอวดโฉมให้ผู้ร่วมงานเยี่ยมชม เรือตรวจการณ์ River Class Batch 2 ลำนี้ใช้แบบเรือ BAE Systems 90m OPV จากประเทศอังกฤษมาปรับปรุงเพิ่มเติม บริษัทอู่กรุงเทพซื้อลิขสิทธิ์แบบเรือนำมาให้ทหารเรือดำเนินการสร้าง โดยใช้สถานที่อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ จนได้เรือตรวจการณ์ River Class Batch 2 ลำที่สองต่อจากเรือหลวงกระบี่

          จากเอกสาร ยุทธศาสตร์กองทัพเรือ พ..2560-2579’ กองทัพเรือต้องการเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งจำนวน 8 ลำด้วยกัน ปัจจุบันมีประจำการแล้วจำนวน 4 ลำ เพราะฉะนั้นกองทัพเรือต้องจัดหาเรือเพิ่มอีกจำนวน 4 ลำ

โครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งรุ่นใหม่มีมาได้สักพักหนึ่ง โดยกำหนดความต้องการไว้อย่างชัดเจนเรื่องหนึ่งว่า เรือต้องมีลานจอดกับโรงเก็บอากาศยานปีกหมุนหรือเฮลิคอปเตอร์ อันเป็นสิ่งที่แบบเรือ BAE Systems 90m OPV ขาดหายไป บริษัทอู่กรุงเทพจำเป็นต้องหาทางเลือกให้เหมาะสมกับความต้องการ โดยการนำแบบเรือเรือหลวงกระบี่หรือ  River Class Batch 2 Modify For RTN มาขยายความยาวเพิ่มเติม เพื่อสร้างโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ตรงตามความต้องการกองทัพเรือ

ข้อมูลดังกล่าวคิดว่าผู้อ่านทุกคนคงได้รับรู้หลายปีแล้ว เพียงแต่ไม่เคยเห็นแบบเรือดัดแปลงเพิ่มโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์เสียที ต่อมาเมื่อมีการจัดงาน Defense & Security 2022 บริษัทอู่กรุงเทพได้นำแบบเรือดังกล่าวมาจัดแสดง

แบบเรือรุ่นใหม่จากบริษัทอู่กรุงเทพ

ชมภาพประกอบที่หนึ่งไปพร้อมกันนะครับ บริเวณกลางป้ายตั้งพื้นด้านหลังโมเดลเรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ เขียนภาษาอังกฤษตัวอักษรสีขาวบนพื้นม่วงคำว่า ‘Otions for Modifying HTMS Krabi Class Design’ โดยมีตัวอักษรสีม่วงขอบขาวเขียนต่อท้ายคำว่า ‘Future’ ด้านล่างของป้ายอวดโฉมแบบเรือดัดแปลงเพิ่มโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์จำนวน 3 ภาพ ประกอบไปด้วย เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งขนาด 91 เมตรมุมบนซ้าย เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งขนาด 94 เมตรมุมล่างซ้าย และเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งขนาด 111 เมตรมุมบนขวา ส่วนภาพมุมล่างขวาคือเรือคอร์เวตขนาด 99 เมตรของบริษัท BAE Systems

ขอออกตัวก่อนนะครับว่าผู้เขียนไม่ได้ไปร่วมงาน Defense & Security 2022 ทำได้เพียงหาข้อมูลจากบุคคลผู้ใจดีถ่ายภาพมาอวดในโลกโซเชียลมีเดีย เพียงแต่ทุกคนบังเอิญไม่ได้ถ่ายภาพที่สมควรถ่ายภาพมากที่สุด ความชัดเจนของแบบเรือจึงมีน้อยมากจนถึงน้อยมากที่สุด แต่ถึงกระนั้นก็ตามผู้เขียนยังพอคลำทางโดยอาศัยข้อมูลน้อยนิดที่อยู่ในมือ

คำถามที่ตามมาหลังเห็นภาพถ่ายก็คือ แบบเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งทั้ง 3 ลำบริษัทอู่กรุงเทพนำมาจากไหน?

คำตอบอยู่ในภาพประกอบที่สองอันเป็นข้อมูลน้อยนิดในมือผู้เขียน



-เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งขนาด 91 เมตร

          เรามาพิจารณาภาพบนซ้ายไปพร้อมกัน นี่คือแบบเรือเรือหลวงกระบี่เวอร์ชันปี 2010 ปรกติลานจอดเฮลิคอปเตอร์ของแบบเรือจากอังกฤษ ถูกออกแบบให้รองรับเฮลิคอปเตอร์ขนาด 12 ตันอาทิเช่น  AW101 Merlin ทว่ากองทัพเรือต้องการใช้งานเฮลิคอปเตอร์ขนาด 7 ตันอาทิเช่น Super Lynx 300 ลานจอดจึงมีความยาวเกินไปควรแบ่งไปทำสิ่งใดเพิ่มเติม ส่งผลให้มีการสร้างห้องควบคุมอากาศยานเพิ่มเติมเข้ามา แยกโดดเดี่ยวต่างหากไม่ติดกับพื้นที่เชื่อมต่อปล่องระบายความร้อน

          แบบเรือมีลานจอดเฮลิคอปเตอร์ค่อนข้างยาว ขนาดสร้างห้องควบคุมอากาศยานเพิ่มเติม Super Lynx 300 ยังลงจอดได้อย่างสบาย แม้ว่าในท้ายที่สุดห้องควบคุมอากาศยานจะถูกขยับถอยหลัง ทว่าภาพนี้ช่วยยืนยันชัดเจนว่าสามารถต่อเติมโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ได้ เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งขนาด 91 เมตรจึงถือกำเนิดขึ้นมาโดยฝีมือคนไทย

บริษัทอู่กรุงเทพเพิ่มความยาวบริเวณท้ายเรือขึ้นมาหนึ่งเมตร ตั้งแต่หัวเรือถึงปล่องระบายความร้อนเหมือนเรือหลวงกระบี่ร้อยเปอร์เซ็นต์ พื้นที่ถัดจากมีการสร้างโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ และมีลานจอดรองรับอากาศยานปีกหมุนขนาดไม่เกิน 7 ตัน แต่เนื่องจากความสั้นของเรือผู้เขียนคาดเดาเอาเองว่า อาจเป็นโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์แบบยืดหดได้หรือ Retractable Hanger  เหมือนที่มีใช้บนเรือหลวงเรือหลวงพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกกับเรือหลวงพุทธเลิศหล้านภาลัย

เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งขนาด 91 เมตรไม่มีจุดติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้เรือรบ

-เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งขนาด 94 เมตร

          ภาพบนขวาคือคำตอบชัดเจนถึงเบื้องลึกเบื้องหลังเรือลำนี้ นี่คือแบบเรือ BAE Systems 94m OPV จากประเทศอังกฤษนั่นเอง โดยการนำแบบเรือ 90m OPV มาปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น หัวเรือเปลี่ยนจากปืนกลอัตโนมัติ 30  มม.เป็นปืนใหญ่ 76 มม. หน้าสะพานเดินเรือมีแท่นยิงเป้าลวง 130 มม.รุ่น 12 ท่อยิงจำนวน 2 แท่นซ้ายขวา ต่อด้วยปืนกลขนาด 7.62 มม.หรือ 12.7 มม.อีก 2 กระบอก ฐานเสากระโดงถูกตัดให้สั้นลงลดจนเกิดพื้นที่ว่างกลางเรือ ติดตั้งแท่นยิงอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้เรือรบได้ 4 ท่อยิงโดยการวางซ้อนด้านบน กำหนดให้หันปากท่อยิงออกจากกราบเรือตามหลักนิยมปัจจุบัน

          วิศวกรอังกฤษเพิ่มความยาวเรือเข้าไป 4 เมตร เพื่อสร้างโรงเก็บโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ขนาด 7 ตันรูปทรงแปดเหลี่ยม ติดพื้นที่เชื่อมต่อปล่องระบายความร้อนหากมองจากมุมบนจะคล้ายไม้ตีปิงปอง บนลานจอดมีเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ AW159  Wildcat พร้อมอาวุธจอดได้พอดิบพอดี โดยที่เฮลิคอปเตอร์สามารถจอดในโรงเก็บได้หมดทั้งลำ

เท่ากับว่าแบบเรือ 94m OPV รองรับเฮลิคอปเตอร์ขนาด 7 ตัน

ผู้เขียนอาจคิดว่าปัจจุบันเขาใช้งานเฮลิคอปเตอร์ขนาด 10 ตันกันหมดแล้ว เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งหลายรุ่นมีโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ขนาดใหญ่โตกว่านี้ ต้องไม่ลืมนะครับว่านี่คือการดัดแปลงปรับปรุงให้เรือมีโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์เพิ่มเติม ย่อมสู้เรือตรวจการณ์ที่มีโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์จากพิมพ์เขียวเลยไม่ได้ ทว่าเรือเหล่านั้นไม่มีจุดติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้เรือรบ

ย้อนกลับมาที่เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งขนาด 94 เมตรอีกครั้ง แม้ว่าแบบเรือที่นำมาจัดแสดงมีรายละเอียดค่อนข้างน้อย ทว่าผู้เขียนพบว่าโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ถูกออกแบบเป็นรูปสี่เหลี่ยม จุดเชื่อมต่อกับพื้นที่เชื่อมต่อปล่องระบายความร้อนเตี้ยลงมาเล็กน้อย และไม่มีการติดแพชูชีพ LIFERAFT บริเวณส้วนท้ายโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์แต่อย่างใด

อ้าวถ้ากองทัพเรือต้องการใช้งานเฮลิคอปเตอร์ขนาด 10 ตันล่ะ?

คำตอบง่ายมากต้องเลือกเรือลำใหญ่ที่สุดซึ่งเป็นลำสุดท้ายนั่นเอง

-เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งขนาด 111 เมตร

          เรือลำนี้มีต้นกำเนิดมาจากโครงการเรือฟริเกต Type31e ของกองทัพเรืออังกฤษ บริษัท BAE Systems นำแบบเรือ 90m OPV มาเพิ่มความยาวเข้าไป 21 เมตร กลายเป็นเรือฟริเกตชื่อ The Avenger หมายเลข F185 ตามภาพล่าง

          ให้เวลาผู้อ่านวิจารณ์ความงดงามเรือลำนี้สามนาที เสร็จเรียบร้อยแล้วเรามาอ่านบทความกันต่อ

          The Avenger ใช้หัวเรือไล่มาถึงเสากระโดงเหมือนแบบเรือ 94m OPV ถัดจากนั้นจึงเพิ่มความยาวเรือเข้าไป 21 เมตร เพื่อสร้างพื้นที่สำหรับติดตั้งแท่นยิงแนวดิ่ง รองรับอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้อากาศยาน Sea Ceptor จำนวน 2 นัด บรรทุกเรือยางท้องแข็งไปกับเรือได้มากสุด 4 ลำ โดยมีลานจอดกับโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ขนาด 10 ตันบริเวณท้ายเรือ

          บริษัทอู่กรุงเทพต้องปรับปรุงเรือฟริเกตกลับมาเป็นเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง เป็นการย้อนรอย BAE Systems ปรับปรุงเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งให้เป็นเรือฟริเกต แท่นยิงแนวดิ่งสำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้อากาศยาน Sea Ceptor หายไปแน่นอน มีการเพิ่มเติมจุดติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้เรือรบ แต่จะเป็นที่เดียวกับแบบเรือ 94m OPV หรือไม่ผู้เขียนไม่แน่ใจ

          โรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ใช้รูปทรงเดียวกับ  The Avenger แบบเป๊ะๆ  บนหลังติดตั้งระบบป้องกันตนเองระยะประชิด Phalanx สูงโดดเด่นเป็นสง่า บริษัทอู่กรุงเทพให้คำจำกัดความและวางตำแหน่งเรือไว้ว่า เรือฟริเกตเบา ตั้งใจท้าแข่งมะม่วงเบาหรือเปล่าผู้เขียนไม่ค่อยแน่ใจ เป็นเรือลำใหญ่ที่สุด ติดอาวุธได้มากสุด และมีราคาแพงมากที่สุด

          ดูเหมือนว่าบริษัทอู่กรุงเทพจะเน้นเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งขนาด 111 เมตรมากกว่าลำอื่น อันเป็นเรื่องปรกติของพ่อค้าแม่ค้าในทุกวงการ ยกตัวอย่างอาทิเช่น NISSAN KICKS e-POWER ปี 2022 มีขายจำนวน 3 รุ่น ตัวท็อปของแถมเพียบรับรถเร็วมาก ตัวรองท็อปจองวันนี้รับรถไม่เกิน 1 เดือน ส่วนรุ่นประหยัดสุดต้องนั่งตบยุงรออย่างน้อยๆ 3 เดือน

เรือลำไหนเหมาะสมกับกองทัพเรือมากที่สุด

          เพราะมีตัวเลือกถึง 3 ขนาดผู้อ่านหลายคนอาจลังเลสับสน พี่ใหญ่ช่างดีแสนดีน้องกลางนิสัยโดดเด่นส่วนน้องเล็กมุ้งมิ้งน่ารัก แต่ถึงกระนั้นก็ตามผู้เขียนให้ความสนใจเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งขนาด 94 เมตรแค่เพียงลำเดียว

          ทำไมถึงเลือกเรือลำนี้? เหตุผลแรกเพราะเป็นแบบเรือ BAE Systems 94m OPV จากประเทศอังกฤษ ย่อมถูกออกแบบโครงสร้างตัวเรือที่ปรับปรุงใหม่ตามกฎของลอยด์ และให้สถาบันลอยด์แห่งอังกฤษตรวจรับรองแบบโครงสร้างเรือ การใช้งานจริงย่อมไม่เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง เหมือนดั่งโครงการเรือตรวจการณ์ปราบเรือดำน้ำชั้นเรือหลวงคำรณสินธุ ที่บริษัทอิตัลไทยมารีนนำแบบเรือชั้น Province Class ความยาว 56.7 เมตร มาดัดแปลงยืดเฉพาะความยาวไปอีก 9 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ได้ความยาวตลอดลำใหม่เท่ากับ 62 เมตร เรือชั้นนี้ผ่านการใช้งานจริงยาวนาน 30 กว่าปีโดยไม่ประสบปัญหาแต่อย่างใด

          เพราะเหตุผลนี้เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งขนาด 91 เมตรจึงถูกผู้เขียนไล่กลับบ้านลำแรก โดยไม่ได้พูดถึงไม่มีจุดติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้เรือรบ หรืออาจใช้งานโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์แบบยืดหดได้เพราะไม่จำเป็น

ส่วนเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งขนาด 111 เมตรติดอาวุธได้มากกว่าก็จริง แต่ด้วยความยาวเพิ่มขึ้น 21 เมตรโดยที่ความกว้างใกล้เคียงของเดิม อาจทำให้เรือประสบปัญหาต่างๆ นานาจากการใช้งาน เหมือนเราเอารถกระบะ 4 ล้อมาต่อท้ายให้ยาวขึ้นกลายเป็นรถกระบะ 6 ล้อ ผู้เขียนเคยใช้งานรถแบบนี้คันหนึ่งเมื่อกาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว หากให้สาธยายคุณงามความดีของรถจนครบถ้วน คาดว่าเขียนบทความอีก 6 ตอนก็ยังไม่หมดต้องออกหนังสืออย่างเดียว

ราคาก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการคัดเลือกผู้ชนะตัวจริง เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งขนาด 111 เมตรแพงกว่าทุกลำอย่างแน่นอน ปัจจัยต่อไปคือเรื่องความเข้ากันได้กับเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งสองลำแรก เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งขนาด 94 เมตรต่างจากของเดิมแค่เพียงเพิ่มโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ และเลือกที่จะเพิ่มความยาวพื้นที่ท้ายเรือหลังปล่องระบายความร้อน ส่วนเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งขนาด 111 เมตรแตกต่างออกไป นอกจากท้ายเรือยังมีการเพิ่มพื้นที่กลางเรือสร้างจุดติดตั้งแท่นยิงแนวดิ่ง ผู้เขียนใช้คำว่ากลายเป็นเรือลำใหม่ไปเสียแล้วคิดว่าเหมาะสมที่สุด

เพราะโครงการนี้คือการจัดหาเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง แบบเรือขนาด 94 เมตรจึงคว้าเหรียญทองได้สร้างเป็นเรือลำจริง ฉะนั้นผู้เขียนจะวาดภาพประกอบเรือให้มองเห็นชัดเจน โดยติดตั้งอาวุธและเรดาร์ตามความต้องการกองทัพเรือแบบเป๊ะๆ และปรับปรุงโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ให้ดูเหมาะสมมากกว่าเดิม มีการผสมผสานดีไซน์จากอังกฤษกับไทยแลนด์เป็นเนื้อเดียวกัน


นี่คือภาพวาดเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งขนาด 94 เมตร ย้ำอีกครั้งว่าผู้เขียนวาดขึ้นมาเพื่อประกอบบทความ ตั้งแต่หัวเรือถึงปล่องระบายความร้อนอาจถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์ ทว่าโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์เรือลำจริงจะมีความแตกต่างออกไป

OPV 94m หรือเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งขนาด 94 เมตร ผู้เขียนกำหนดเอาเองว่ายาว 94.22 เมตร ความกว้างเท่าเดิม 13.5 เมตร กินน้ำลึก 3.7 เมตร ระวางขับน้ำเพิ่มขึ้นแน่นอนจากโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ที่ติดตั้งเข้ามา ผู้เขียนขอกำหนดคร่าวๆ ว่าประมาณ 2,100 ตัน หัวเรือติดปืนใหญ่ OTO 76/62 Super Rapid ปืนรองเป็นปืนกลอัตโนมัติ DS30M  Mk2 จำนวน 2 กระบอก มีปืนกล 12.7 มม.อีก 2 กระบอก โดยมีแท่นยิงเป้าลวง 130 มม.รุ่น 12 ท่อยิงจำนวน 2 แท่นอยู่เยื้องมาทางหัวเรือ

หน้าสะพานเดินเรือ ใช้ระบบอำนวยการรบ TACTICOS เรดาร์ควบคุมการยิง STIR 1.2 ส่วนเรดาร์ตรวจการณ์เปลี่ยนมาใช้งาน NS50 AESA รุ่นใหม่ล่าสุด พูดง่ายๆ ว่าใช้ Thales ทั้งลำเหมือนเรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ ระบบเรดาร์เดินเรือ ระบบสื่อสาร รวมทั้งระบบขับเคลื่อนตามปรกติทั่วไปนั่นแหละครับ หากอุปกรณ์ชิ้นไหนไม่มีขายย่อมถูกเปลี่ยนไปเป็นของใหม่

ที่ว่างกลางเรือติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้เรือรบจำนวน 4 นัด ใช้วิธีติดสองนัดในแนวตั้งสลับกันเหมือนเรือคอร์เวต Type056 ของจีน พื้นที่ถัดไปคือโรงเก็บกับลานจอดเฮลิคอปเตอร์ขนาด 7 ตัน ในภาพประกอบจอดเฮลิคอปเตอร์ Super Lynx 300 ไว้อย่างเหมาะสมลงตัว บนหลังคาโรงเก็บติดตั้งอุปกรณ์ช่วยเฮลิคอปเตอร์ลงจอดรุ่น AGI (Helicopter visual approach system หรือ HELIVAS) รุ่นเดียวกับที่มีใช้งานบนเรือหลวงกระบี่และเรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ ผู้เขียนสร้างแท่นขนาดเล็กวางอุปกรณ์ช่วยในการลงจอดให้มองเห็นชัดเจน ในความเป็นจริงไม่มีแท่นก็ได้เพราะอุปกรณ์อยู่ในตำแหน่งสูงมากเพียงพอ

อุปกรณ์ช่วยเฮลิคอปเตอร์ลงจอดรุ่น AGI จากอังกฤษราคา 13.87 ล้านบาท เรือตรวจการณ์ River Class Batch 2 จำนวน 5 ลำของราชนาวีอังกฤษก็ใช้งานเช่นกัน แต่นำมาติดตั้งบนแท่นยาวๆ ข้างปล่องระบายความร้อนกราบซ้าย

ไม่มีการติดตั้งอาวุธบนโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ เหตุผลข้อที่หนึ่งราคาเรือพุ่งไปไกลลิบลับแล้ว เหตุผลข้อที่สองเรือตรวจการณ์ติดตั้งอาวุธเท่านี้ก็ถือว่าเยอะมากแล้ว เหตุผลข้อที่สามเนื่องจากโรงเก็บถูกติดตั้งเพิ่มเติมในภายหลัง มีรูปทรงคล้ายโรงเก็บเรือหลวงปัตตานีที่กองทัพเรือซื้อจากประเทศจีน คือไม่มีทางเดินขึ้นหลังคาในที่ร่มเหมือนเราเดินขึ้นดาดฟ้าตึกแถว (นึกออกใช่ไหมครับ) ลูกเรือต้องอาศัยบันไดลิงที่ผู้เขียนติดเพิ่มเติมเข้ามา จึงไม่ค่อยเหมาะสมในการขึ้นลงบ่อยครั้งหากติดตั้งอาวุธปืน แต่ถ้าเป็นแท่นยิงอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้อากาศยานขนาดเล็ก หรือระบบป้องกันตนเองระยะประชิดทำงานอัตโนมัติแบบนี้ค่อยน่าสนใจหน่อย

อาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้เรือรบในภาพวาดคือ Harpoon Block 2 ใส่ฝาครอบลดการตรวจจับคลื่นเรดาร์ ระบบปราบเรือดำน้ำไม่มีการติดตั้งแต่อย่างใด และถึงอยากติดก็คงไม่มีพื้นที่ให้ติดตั้ง ต้องไปเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งขนาด 111 เมตรโน่น

ส่วนเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งขนาด 111 เมตรรุ่นใหญ่ที่สุดยาวที่สุด เหมาะสมที่จะเป็นเรือฟริเกตเบากองทัพเรือไทยในอนาคตหรือไม่ ผู้เขียนขอข้ามไปนะครับเพราะไม่เกี่ยวข้องกับบทความ หากมีการตั้งโครงการจริงๆ จังๆ ในอนาคตข้างหน้าวันใดก็ตาม จะกลับมาเจาะลึกอย่างจริงๆ จังๆ ทะลุไปถึงตับไตใส้พุงกันอีกครั้ง

River ลำเก่าปะทะ River ลำใหม่

          ภาพวาดถัดไปคือการเปรียบเทียบเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งขนาด 94 เมตร (ลำบน) กับเรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ 552 แห่งราชนาวีไทย (ลำล่าง) ตั้งแต่หัวเรือจนถึงเสากระโดงเหมือนกันหมดทุกอย่าง ยกเว้นเปลี่ยนเรดาร์ตรวจการณ์จาก Thales Variant เป็น Thales NS50 ฐานเสากระโดงถูกหั่นทิ้งสร้างที่ว่างสำหรับแท่นยิงอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้เรือรบจำนวน 4 นัด ท้ายเรือมีโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ขนาด 7 ตันเพิ่มเข้ามา ลานจอดเฮลิคอปเตอร์สั้นกว่าเดิมนิดหน่อย โดยที่ตัวเรือมีความยาวรวมเพิ่มขึ้นประมาณ 4 เมตร


          เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ติด Harpoon ได้มากสุด 8 นัด เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งขนาด 94 เมตรติด Harpoon ได้เพียง 4 นัด จำนวนอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้เรือรบที่น้อยลงครึ่งหนึ่ง มีผลกระทบการทำภารกิจของเรือมากน้อยแค่ไหน?

          ความเห็นส่วนตัวผู้เขียนคิดว่า Harpoon 4 นัดมากเพียงพอแล้ว ตั้งแต่เรือเข้าประจำการจนปลดประจำการตีว่า 40 ปีเต็ม โอกาสที่เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งจะยิง Harpoon ใส่เรือผิวน้ำไม่ทราบฝ่ายแทบเป็นไปไม่ได้

-ทะเลฝั่งอ่าวไทย: ด่านแรกในการเข้าปะทะคือ RBS-15 บนเครื่องบิน Gripen และ Harpoon จากเครื่องบิน Fokker F27 ด่านสองคือ Harpoon จากเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช เรือหลวงนเรศวร และเรือหลวงตากสิน ด่านสามคือ C-802A จากเรือหลวงกระบุรี และ Harpoon จากเรือหลวงรัตนโกสินทร์กับเรือหลวงสุโขทัย เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งทุกลำถูกจัดอยู่ในด่านสี่

-ทะเลฝั่งอันดามัน: ด่านแรกในการเข้าปะทะคือ RBS-15 บนเครื่องบิน Gripen และ Harpoon จากเครื่องบิน Fokker F27 ด่านสองคือ C-802A จากเรือหลวงสายบุรี เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งทุกลำถูกจัดอยู่ในด่านสาม แต่ดูเหมือนว่าความขัดแย้งทะเลฝั่งนี้จะอยู่ใต้น้ำมากกว่า โอกาสที่เรือประมงจะวิ่งชนเรือดำน้ำลึกลับสูงกว่าบังเอิญมองเห็นเรือผิวน้ำไม่ทราบฝ่าย

แต่ถึงกระนั้นก็ตามการติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้เรือรบจำนวน 8 นัดสามารถทำได้เช่นกัน โดยการติดตั้งแท่นยิงทั้งสองฝั่งในตำแหน่งตรงกัน ให้ท้ายแท่นยิงเผชิญหน้ากันหันปากแท่นยิงออกสองกราบเรือ ความกว้าง 13.5 เมตรมากเพียงพอในการติดตั้งวิธีการนี้ เพียงแต่ว่าอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้เรือรบควรมีขนาดกะทัดรัดใช้พื้นที่น้อย ยกตัวอย่างเช่น Naval Strike Missile (NSM) หรือ Marte ER น้ำหนักรวมจะได้ไม่มากเกินไปจนอาจส่งผลกระทบมาถึงเรือ

ตลาดส่งออกเรือรุ่นใหม่

เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชั้นเรือหลวงกระบี่จากบริษัทอู่กรุงเทพ เคยมีข่าวความเคลื่อนไหวเกี่ยวข้องกับชาติอื่นจำนวน 3 ครั้งด้วยกัน เริ่มจากหน่วยยามฝั่งมาเลเซียขึ้นโครงการเรือตรวจการณ์ขนาดใหญ่  เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งสร้างโดยคนไทยมีชื่อเข้าร่วมโครงการแบบเงียบๆ และจากไปแบบเงียบๆ อาจเป็นเพราะช่วงนั้นยังเป็นมือใหม่หัดขาย

ผลการคัดเลือกในปี 2017 ปรากฏว่าแบบเรือ Damen OPV1800 ได้รับการคัดเลือก บริษัท THE-Destini อู่ต่อเรือในประเทศเป็นผู้สร้างเรือสองลำแรกในเฟสแรก และจะทำพิธีปล่อยเรือลำที่หนึ่งลงน้ำในวันที่ 13 กันยายน 2022 หรือวันอังคารหน้า

ชาติถัดไปที่มีชื่อเข้ามาเกี่ยวข้องคือศรีลังกา  พวกเขาต้องการเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งรุ่นใหม่จำนวน 3 ลำ

ศรีลังกาซื้อเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง 3 ลำจากประเทศไทย!

ข่าวนี้โผล่ขึ้นมาในวันที่ 9 ตุลาคม 2018 เมื่อคณะผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมเดินทางมาเยือนไทย รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมประเทศไทยเป็นผู้ต้อนรับขับสู้ บริษัทอู่กรุงเทพออกมาให้ข่าวในช่วงเวลานั้นว่า ได้เสนอโครงการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งจำนวน 3 ลำในวงเงิน 12,000 ล้านบาทให้กับกองทัพเรือศรีลังกา ข่าวนี้สร้างความฮือฮาต่อมิตรรักแฟนเพลงชาวไทยสักพักใหญ่ ไม่ทราบเหมือนกันว่าปัจจุบันยังมีคนนิยมชมชอบอยู่อีกหรือไม่

ทว่าในความเป็นจริงรัฐบาลหรือกองทัพเรือศรีลังกาไม่เคยพูดถึงเรื่องซื้อเรือจากไทย แต่รับโอนเรือฟริเกต Type 053H2G ขนาด 2,250 ตันจากประเทศจีน มาใช้งานร่วมกับเรือตรวจการณ์ขนาดใหญ่ซื้อจากอินเดีย เรือมีระวางขับน้ำ 2,350 ตัน มีโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ใหญ่เบ้อเริ่มเทิ่ม นอกจากนี้ยังมีเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งมือสองชั้น Hamilton ขนาด 3,250 ตันจากอเมริกาจำนวน 2 ลำ เรือตรวจการณ์ขนาด 1,890 ตันอีก 1 ลำ เท่ากับว่าตอนนี้ศรีลังมีเรือขนาดใหญ่มากถึง 6 ลำ ไม่จำเป็นต้องจ่ายเงิน 12,000 ล้านบาทเพื่อซื้อเรือเพิ่มเติม

ชาติที่สามคือเพื่อนรักเพื่อนแค้นกับแผน Horizon ที่ผู้อ่านน่าจะคุ้นเคยเป็นอย่างดี กองทัพเรือฟิลิปปินส์ตั้งโครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งจำนวน 6 ลำรวดเดียว โดยตั้งวงเงินเริ่มต้นไว้ที่ประมาณ 550 ล้านเหรียญนี่คือโครงการที่บริษัทสร้างเรือระดับโลกจำนวนมากทุ่มสุดตัวเพื่อหวังคว้าชัย

บริษัทอู่กรุงเทพเสนอแบบเรือชั้นเรือหลวงกระบี่เหมือนเช่นเคย โดยทำอย่างเป็นขั้นเป็นตอนและถูกต้องตามหลักการทุกประการ เพราะคนฟิลิปปินส์เป็นพวกสายแข็งทำตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด กาลครั้งหนึ่งพวกเขาเคยตัดสิทธิ์บริษัทจากอินเดียผู้ชนะเลิศโครงการเรือฟริเกตมาแล้ว อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากบริษัทไม่ผ่านการตรวจสอบเรื่องการเงิน การคัดเลือกแบบเรือก็กำหนดคุณลักษณะต่างๆ ไว้อย่างชัดเจน และที่สำคัญสามารถบริหารโครงการสำเร็จลุล่วงมาแล้วหลายครั้ง โดยใช้งบประมาณที่มีอย่างจำกัดจำเขี่ยได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด

โครงการนี้เต็งหามนอนมาพระสวดคือออสเตรเลีย ทว่าผลการตัดสินในเดือนมิถุนายน 2022 บริษัท Hyundai Heavy Industries จากเกาหลีใต้กลายเป็นผู้ชนะเลิศ ได้รับสัญญาสร้างเรือจำนวน 4 ลำมูลค่า 573 ล้านเหรียญไปครอบครอง ปล่อยให้ม้าตัวเต็งจากออสเตรเลียกับม้าตัวเก็งจากไทยแลนด์ กินแห้วบ๊วยระกำคลุกน้ำตาจนอิ่มหมีพลีหมันร่วมกันทั้งสองฝ่าย

อดีตที่ผ่านบริษัทอู่กรุงเทพยังขายเรือไม่ได้แม้แต่ลำเดียว อนาคตข้างหน้าใช้คำว่า มันจบแล้วนาย ก็คงไม่ผิดสักเท่าไร ทว่าหลังจากจัดแสดงแบบเรือรุ่นใหม่ในงาน Defense & Security 2022 บังเอิญมีชาติหนึ่งให้ความสนใจแบบเรือรุ่นใหม่มากเป็นพิเศษ ชาติที่ให้ความสนใจคือปากีสถานเพื่อนรักหักเหลี่ยมโหดของอินเดีย

ผู้เขียนเคยเขียนบทความถึงชาตินี้หลายครั้งด้วยกัน ทบทวนอีกครั้งก็คือกองทัพเรือปากีสถานต้องการขยายกำลังรบ ตามแผนการจะมีเรือผิวน้ำจำนวน 50 ลำ แบ่งเป็นเรือฟริเกตกับเรือคอร์เวตจำนวน 20 ลำ ที่เหลือคือเรือตรวจการณ์ขนาดใหญ่หรือเรือเร็วโจมตีอาวุธนำวิถี โดยจะไม่รวมเรือตรวจการณ์ขนาดเล็กหรือปานกลางเข้ามาใน 50 ลำ เนื่องจากมีการจัดตั้งหน่วยยามฝั่งแยกออกไปนานพอสมควรแล้ว

ปัจจุบันปากีสถานมีโครงการจัดหาเรือฟริเกตกับเรือคอร์เวตจำนวน 14 ลำ อนาคตจะมีโครงการจัดหาเรือฟริเกตชั้น Jinnah อีกจำนวน 6 ลำ เท่ากับว่าครบถ้วน 20 ลำตามแผนการพอดิบพอดี และในปัจจุบันปากีสถานตั้งใจขึ้นโครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ขนาดใหญ่ กำหนดให้เรือมีลานจอดกับโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ ติดตั้งอาวุธทันสมัยรวมทั้งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้เรือรบ โดยมีระบบป้องกันตนเองระยะประชิด FL-3000N ระยะยิง 9 กิโลเมตรจากประเทศจีนไว้ป้องกันภัยจากฟากฟ้า

หลังการจัดงาน Defense & Security 2022 ข่าววงในรายหนึ่งแอบกระซิบข้างหูผู้เขียนว่า กองทัพเรือปากีสถานสนใจแบบเรือจากบริษัทอู่กรุงเทพ โครงการนี้มีความต้องการเรือจำนวน 5 ลำด้วยกัน

ยังขายเรือให้กับปากีสถานไม่ได้นะครับ ต้องเข้าร่วมการแข่งขันเหมือนกับโครงการอื่น

โอกาสที่จะขายได้ย่อมมีน้อยกว่าเจ้าใหญ่ที่มีความเชี่ยวชาญ หากข่าวนี้เป็นความจริงในอนาคตไม่ใกล้ไม่ไกล อู่กรุงเทพต้องทุ่มสุดตัวเพื่อคว้าชัยระดับชาติเป็นครั้งแรก โดยใช้แบบเรือรุ่นใหม่ที่ดูเข้าตาลูกค้ากระเป๋าหนัก

นอกจากปากีสถานผู้เล่นหน้าใหม่ยังมีมาเลเซียอีกหนึ่งชาติ ตามแผน 15 to 5 ทัพเรือเสือเหลืองต้องการเรือ New Generation Patrol Vessel หรือ PV จำนวน 18 ลำ ปัจจุบันพวกเขามีเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง Meko 100 จากเยอรมันจำนวน 6 ลำ เหลือส่วนแบ่งเรือ PV อีก 12 ลำให้บริษัทสร้างเรือทั่วโลกเข้ามาแย่งชิง 

มาเลเซียจะทยอยสั่งซื้อเรือไปเรื่อยๆ ครั้งละ 3 ลำบ้าง 6 ลำบ้าง จนกว่าจะถึงปี 2050 ก็จะครบ 18 ลำตามแผนการ ระหว่างปี 2026-2030 พวกเขาต้องการจัดหาเรือ PV จำนวน 6 ลำ และนี่ก็คือโอกาสของบริษัทอู่กรุงเทพกับแบบเรือรุ่นใหม่ทั้งน้องเล็ก 91 เมตร พี่กลาง 94 เมตร และพี่ใหญ่ 111 เมตร

นอกจากสองชาติในเอเชียที่อาจสั่งสินค้าลอตใหญ่ ยังมีอีกหนึ่งหนทางในการขายเรือผ่านคนกลางอีกหนึ่งทอด อาทิเช่นบริษัท BAE Systems ขายเรือตรวจการณ์ 94m OPV ให้กับยูเครนจำนวน 4 ลำ และได้ส่งงานให้บริษัทอู่กรุงเทพช่วยสร้างเรือจนเสร็จสมบูรณ์ ก่อนส่งมอบให้กับยูเครนโดยไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับบริษัทแม่ ประเทศไทยค่าแรงถูกกว่าประเทศอังกฤษพอสมควร สร้างเรือในเมืองไทยย่อมกดราคาได้ต่ำกว่าสร้างในอังกฤษหรือสกอตแลนด์ กรณีนี้จะคล้ายคลึงบริษัท Damen สร้างเรือคอร์เวตให้ปากีสถานโดยใช้อู่ต่อเรือโรมาเนีย

ผู้อ่านพอมองเห็นทิศทางตลาดส่งออกกันบ้างแล้ว ผู้เขียนขอพามาชมภาพวาดประกอบเฉพาะกิจประจำบทความ ในกรณีเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งขนาด 94 เมตรถูกสั่งซื้อไปใช้งานโดยลูกค้าต่างชาติ


ภาพบนคือเรือตรวจการณ์ชั้น Hang-Tuah แห่งกองทัพเรือมาเลเซีย ติดตั้งระบบอาวุธและระบบเรดาร์ตามมาตรฐานเสือเหลือง หัวเรือคือปืนใหญ่ Bofors 57 mm Mk3 ทำงานร่วมกับกระสุนฉลาด 3P ปืนรองเป็นปืนกลอัตโนมัติ DS30M Mk2 จำนวน 2 กระบอก มีปืนกล 12.7 มม.อีก 2 กระบอก ส่วนอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้เรือรบใช้ NSM จำนวน 8 ท่อยิง ตั้งแท่นยิงขนานสองฝั่งหันท้ายใส่กันหันหัวออกกราบเรือ เนื่องจาก NSM มีน้ำหนักเบาเพียง 410 กิโลกรัมเท่านั้น ส่วนแท่นยิงขนาดเล็กกะทัดรัดสามารถติดตั้งได้มากสุดถึง 8 นัด

เรือติดตั้งระบบอำนวยการรบ Atlas COSYS-110  M1/ARGOS เรดาร์ตรวจการณ์ EADS TRS-3D/16ES เรดาร์ควบคุมการยิง Rheinmetall TMX/EO Mk2 ควบคุมปืนได้ 3 กระบอก ออปโทรนิกส์ควบคุมการยิง Rheinmetall TMEO Mk2 ควบคุมปืนได้ 3 กระบอกเช่นกัน นี่คือคอมโบเซตจากเยอรมันที่มาเลเซียใช้งานกับเรือตรวจการณ์ในปัจจุบัน

ภาพล่างเรือตรวจการณ์ชั้น Tariq แห่งกองทัพเรือปากีสถาน ผู้เขียนนำระบบอาวุธและระบบเรดาร์รุ่นส่งออกชุดคอมโบเซต จากจีนมาใส่บนเรือลำนี้ หัวเรือคือปืนใหญ่ H/PJ-26 ขนาด 76 มม. ปืนรองเป็นปืนกลอัตโนมัติ H/PJ-17 ขนาด 30 มม.ติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้เรือรบ C-802A จำนวน 4 นัด บนหลังคาโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ติดตั้งระบบป้องกันตนเองระยะประชิด FL-3000N รุ่น 8 ท่อยิง

เรือติดตั้งระบบอำนวยการรบ ZKJ-5 รุ่นใหม่ล่าสุดของจีน เรดาร์ตรวจการณ์ 3 มิติรุ่นส่งออก SR2410C เหมือนเรือฟริเกต Type054/AP ของตัวเอง เรดาร์ควบคุมการยิง Type 347G เหมือนเรือหลวงกระบุรี ระบบสงครามอิเล็กทรอนิกส์ ระบบสื่อสาร หรือระบบอื่นๆ ใช้อุปกรณ์ตามมาตรฐานกองทัพเรือปากีสถาน

โอกาสที่เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งขนาด 94 เมตร จะถูกสั่งซื้อโดยกองทัพเรือมาเลเซียและปากีสถานอาจมีไม่มาก ทว่าอย่างน้อยที่สุดบริษัทอู่กรุงเทพก็มีหมัดเด็ดเข้าร่วมการแข่งขัน ตัดสินกันที่ผลการให้คะแนน ตัดสินกันที่ประสิทธิภาพของตัวเรือ ตัดสินกันที่ราคาเรือ ไม่ใช่ลงสนามไปเพื่อได้ชื่อว่ามีผลงานระดับโลกกับเขาเช่นกัน

ไล่ตามความฝันให้สุดกำลังสุดความสามารถ อาจไม่ถึงดวงจันทร์แต่อย่างน้อยยังอยู่ท่ามกลางดวงดาว ทว่าความฝันต้องอ้างอิงกับความเป็นจริงกับโลกความจริง อย่านำความฝันมาอ้างอิงกับการเมืองกับตัวบุคคล

การบริหารโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ

          เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ราคาสร้างเรือเท่ากับ 5,428 ล้านบาท หากการคัดเลือกเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำใหม่ของราชนาวีไทย แบบเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งขนาด 94 เมตรจากบริษัทอู่กรุงเทพได้รับการคัดเลือก ราคาสร้างเรือย่อมแพงกว่าเรือหลวงประจวบคีรีขันธ์แน่ๆ เพราะฉะนั้นกองทัพเรือสมควรจัดหาเรือรวดเดียว 4 ลำ แบ่งเป็นเฟสแรกปีงบประมาณ  2023-2027 หรือจำนวน 5 ปี บริษัทที่ผ่านการคัดเลือกต้องส่งมอบเรือ 2 ลำแรก แล้วต่อด้วยเฟสสองปีงบประมาณ  2028-2032 บริษัทที่ผ่านการคัดเลือกต้องส่งมอบเรือ 2 ลำสุดท้าย

          หากใช้วิธีการนี้ในปี 2032 ลูกประดู่ไทยจะมีเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งขนาด 94 เมตรที่เหมือนกันทุกอย่างจำนวน 4 ลำ ประกอบไปด้วย OPV 553, OPV 554, OPV 555 และ OPV 556 อาจดูเหมือนจะยากแต่จริงๆ แล้วไม่ยาก โครงการเรือดำน้ำจากประเทศจีนใช้เวลา 11 ปียังสามารถทำได้ โครงการนี้สร้างเรือเองในประเทศสมควรได้รับการผลักดันมากกว่า ผู้เขียนอยากให้เก็บไปพิจารณาอีกสักครั้งขอบคุณล่วงหน้าครับ

          กลับมาที่บริษัทผู้ได้รับการคัดเลือกในโครงการ อย่างที่ทราบกันดีว่าบริษัทอู่กรุงเทพไม่มีอู่ต่อเรือขนาดใหญ่ โครงการเรือหลวงมาตราเรือน้ำมันลำใหม่ล่าสุดของราชนาวีไทย ใช้พื้นที่บริษัทมาร์ซันแถวๆ บางนาในการสร้างเรือ โครงการนี้สำเร็จลุล่วงด้วยดีไม่มีปัญหาน้อยใหญ่ ส่วนโครงการเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งเฉลิมพระเกียรติทั้ง 2 ลำ ทหารเรือสร้างเองโดยใช้สถานที่อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ สำหรับโครงการนี้เกิดความล่าช้านิดหน่อยจากปัญหาต่างๆ นานา สร้างเรือลำที่สองก็ยังประสบปัญหาเดิมๆ เพียงแต่น้อยกว่าลำแรก

การบริหารจัดการโครงการใหญ่อาจต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการเพื่อความเหมาะสม

-วิธีการที่หนึ่ง: ใช้อู่ต่อเรือ 2 แห่งสร้างเรือ 2 ลำ แบ่งกันสร้างไปเลยลำใครลำมันผลงานใครผลงานมัน ลำไหนมีปัญหาจะได้ไม่ลุกลามไปถึงอีกลำ อย่างน้อยที่สุดจะได้มีเรือส่งมอบให้ทร.สัก 1 ลำ อาทิเช่นให้บริษัทมาร์ซันสร้าง OPV 553 และให้บริษัทอิตัลไทยมารีนสร้าง OPV 554 ครั้นถึงโครงการเฟสสองให้ทำเหมือนเดิมต่อไป

-วิธีการที่สอง: ใช้อู่ต่อเรือหลายแห่งแบ่งกันสร้างชิ้นส่วนเรือ เสร็จเรียบร้อยจึงนำมาประกอบร่างเป็นเรือลำจริง อาทิเช่นอู่ทหารเรือธนบุรีสร้างหรือเรือกับสะพานเดินเรือ จากนั้นให้นำหัวเรือล่องแม่น้ำเจ้าพระยามาถึงบางนา เพื่อประกอบชิ้นส่วนกับกลางเรือและท้ายเรือสร้างโดยบริษัทมาร์ซัน เสร็จเรียบร้อยค่อยทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำต่อไป


          ชมภาพประกอบเป็นตัวอย่างสักนิด ภาพบนคือโครงการเรือฟริเกต AH140PL ของกองทัพเรือโปแลนด์ โครงการนี้อู่ต่อเรือ PGZ Stocznia Wojenna (PGZ Naval Shipyard) จะสร้างชิ้นส่วนเรือสำคัญตามสีเขียว อู่ต่อเรือ REMONTOWA SHIPBUILDING S.A.จะสร้างชิ้นส่วนเรือตามสีแดง ก่อนนำชิ้นส่วนมาประกอบร่างกลายเป็นเรือฟริเกต โดยมีบริษัท Babcock กับ Thales เป็นผู้ช่วยเหลือให้โครงการใหญ่สำเร็จลุล่วง

          ภาพล่างคือโครงการเรือคอร์เวต K130 เฟสสองของกองทัพเรือเยอรมัน เรือจำนวน 5 ลำถูกแบ่งให้กับอู่ต่อเรือหลายแห่งช่วยกันจัดการ หัวเรือ 2 ลำสร้างโดย Lürssen shipyard ที่ Bremen หัวเรืออีก 3 ลำสร้างโดย GNYK shipyard ที่ Kiel ท้ายเรือทั้ง 5 ลำสร้างโดย Peene-Werft ที่ Wolgast เสร็จเรียบร้อยจึงล่องเรือมาประกอบร่างรวมตัวในอู่ต่อเรือ Lürssen Blohm+Voss ที่เมือง Hamburg

          เท่ากับว่าโครงการสร้างเรือคอร์เวต K130 เฟสสองจำนวน 5 ลำ มีอู่ต่อเรือเข้าร่วมในโครงการถึง 4 แห่ง เพราะฉะนั้นโครงการเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งทร.ไทยจำนวน 4 ลำ ใช้วิธีลอกการบ้านจากเยอรมันเพื่อนรักได้เลย

นี่คือวิธีสร้างงานให้กับอู่ต่อเรือเอกชนยาวนาน 10 ปีเต็ม ผู้เขียนคิดว่านายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีไม่ว่ามาจากพรรคการเมืองไหนก็ตาม ต้องยินดีและเต็มใจผลักดันให้โครงการสำเร็จลุล่วง กองทัพเรือกับบริษัทผู้ได้รับการคัดเลือกไม่ว่ารายไหนก็ตาม แค่จัดเตรียมโครงการให้รัดกุมแน่นหนาและถูกต้องเท่านั้นก็เพียงพอ

การบริหารโครงการเรือส่งออกอย่างมีประสิทธิภาพ

          เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ราคาสร้างเรือเท่ากับ 5,428 ล้านบาท หากการคัดเลือกเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำใหม่ของราชนาวีไทย แบบเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งขนาด 94 เมตรจากบริษัทอู่กรุงเทพได้รับการคัดเลือก ราคาสร้างเรือย่อมแพงกว่าเรือหลวงประจวบคีรีขันธ์แน่ๆ เพราะฉะนั้นกองทัพเรือสมควรจัดหาเรือรวดเดียว 4 ลำ แบ่งเป็นเฟสแรกปีงบประมาณ  2023-2027 หรือจำนวน 5 ปี บริษัทที่ผ่านการคัดเลือกต้องส่งมอบเรือ 2 ลำแรก แล้วต่อด้วยเฟสสองปีงบประมาณ  2028-2032 บริษัทที่ผ่านการคัดเลือกต้องส่งมอบเรือ 2 ลำสุดท้าย

หากใช้วิธีการนี้ในปี 2032 ลูกประดู่ไทยจะมีเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งขนาด 94 เมตรที่เหมือนกันทุกอย่างจำนวน 4 ลำ ประกอบไปด้วย OPV 553, OPV 554, OPV 555 และ OPV 556 อาจดูเหมือนจะยากแต่จริงๆ แล้วไม่ยาก โครงการเรือดำน้ำจากประเทศจีนใช้เวลา 11 ปียังสามารถทำได้ โครงการนี้สร้างเรือเองในประเทศสมควรได้รับการผลักดันมากกว่า ผู้เขียนอยากให้เก็บไปพิจารณาอีกสักครั้งขอบคุณล่วงหน้าครับ

กลับมาที่บริษัทผู้ได้รับการคัดเลือกในโครงการ อย่างที่ทราบกันดีว่าบริษัทอู่กรุงเทพไม่มีอู่ต่อเรือขนาดใหญ่ โครงการเรือหลวงมาตราเรือน้ำมันลำใหม่ล่าสุดของราชนาวีไทย ใช้พื้นที่บริษัทมาร์ซันแถวๆ บางนาในการสร้างเรือ โครงการนี้สำเร็จลุล่วงด้วยดีไม่มีปัญหาน้อยใหญ่ ส่วนโครงการเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งเฉลิมพระเกียรติทั้ง 2 ลำ ทหารเรือสร้างเองโดยใช้สถานที่อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ สำหรับโครงการนี้เกิดความล่าช้านิดหน่อยจากปัญหาต่างๆ นานา สร้างเรือลำที่สองก็ยังประสบปัญหาเดิมๆ เพียงแต่น้อยกว่าลำแรก

การบริหารจัดการโครงการใหญ่อาจต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการเพื่อความเหมาะสม

-วิธีการที่หนึ่ง: ใช้อู่ต่อเรือ 2 แห่งสร้างเรือ 2 ลำ แบ่งกันสร้างไปเลยลำใครลำมันผลงานใครผลงานมัน ลำไหนมีปัญหาจะได้ไม่ลุกลามไปถึงอีกลำ อย่างน้อยที่สุดจะได้มีเรือส่งมอบให้ทร.สัก 1 ลำ อาทิเช่นให้บริษัทมาร์ซันสร้าง OPV 553 และให้บริษัทอิตัลไทยมารีนสร้าง OPV 554 ครั้นถึงโครงการเฟสสองให้ทำเหมือนเดิมต่อไป

-วิธีการที่สอง: ใช้อู่ต่อเรือหลายแห่งแบ่งกันสร้างชิ้นส่วนเรือ เสร็จเรียบร้อยจึงนำมาประกอบร่างเป็นเรือลำจริง อาทิเช่นอู่ทหารเรือธนบุรีสร้างหัวเรือกับสะพานเดินเรือ จากนั้นให้นำหัวเรือล่องแม่น้ำเจ้าพระยามาถึงบางนา เพื่อประกอบชิ้นส่วนกับกลางเรือและท้ายเรือสร้างโดยบริษัทมาร์ซัน เสร็จเรียบร้อยค่อยทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำต่อไป

ชมภาพประกอบเป็นตัวอย่างสักนิด ภาพบนคือโครงการเรือฟริเกต AH140PL ของกองทัพเรือโปแลนด์ โครงการนี้อู่ต่อเรือ PGZ Stocznia Wojenna (PGZ Naval Shipyard) จะสร้างชิ้นส่วนเรือสำคัญตามสีเขียว อู่ต่อเรือ REMONTOWA SHIPBUILDING S.A.จะสร้างชิ้นส่วนเรือตามสีแดง ก่อนนำชิ้นส่วนมาประกอบร่างกลายเป็นเรือฟริเกต โดยมีบริษัท Babcock กับ Thales เป็นผู้ช่วยเหลือให้โครงการใหญ่สำเร็จลุล่วง

ภาพล่างคือโครงการเรือคอร์เวต K130 เฟสสองของกองทัพเรือเยอรมัน เรือจำนวน 5 ลำถูกแบ่งให้กับอู่ต่อเรือหลายแห่งช่วยกันจัดการ หัวเรือ 2 ลำสร้างโดย Lürssen shipyard ที่ Bremen หัวเรืออีก 3 ลำสร้างโดย GNYK shipyard ที่ Kiel ท้ายเรือทั้ง 5 ลำสร้างโดย Peene-Werft ที่ Wolgast เสร็จเรียบร้อยจึงล่องเรือมาประกอบร่างรวมตัวในอู่ต่อเรือ Lürssen Blohm+Voss ที่เมือง Hamburg

เท่ากับว่าโครงการสร้างเรือคอร์เวต K130 เฟสสองจำนวน 5 ลำ มีอู่ต่อเรือเข้าร่วมในโครงการถึง 4 แห่ง เพราะฉะนั้นโครงการเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งทร.ไทยจำนวน 4 ลำ ใช้วิธีลอกการบ้านจากเยอรมันเพื่อนรักได้เลย

นี่คือวิธีสร้างงานให้กับอู่ต่อเรือเอกชนยาวนาน 10 ปีเต็ม ผู้เขียนคิดว่านายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีไม่ว่ามาจากพรรคการเมืองไหนก็ตาม ต้องยินดีและเต็มใจผลักดันให้โครงการสำเร็จลุล่วง กองทัพเรือกับบริษัทผู้ได้รับการคัดเลือกไม่ว่ารายไหนก็ตาม แค่จัดเตรียมโครงการให้รัดกุมแน่นหนาและถูกต้องเท่านั้นก็เพียงพอ

การบริหารโครงการเรือส่งออกอย่างมีประสิทธิภาพ

การสั่งซื้อเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งรวดเดียว 4 ลำแบ่งออกเป็น 2 เฟส นอกจากเป็นการประหยัดงบประมาณรวมทั้งสร้างงานให้กับคนในชาติ ยังเป็นการสร้างความมั่นใจต่อลูกค้าต่างชาติผู้มีเงินถุงเงินถังว่า เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งขนาด 94 เมตรมีอนาคตสดใสเรืองรองอย่างแน่นอน ไม่ใช่เป็นแค่เรือกระดาษ เรือเทพเจ้ายูทูป หรือมีแค่เพียงลำเดียวในโลกใบนี้ พวกเขาเหล่านั้นถึงได้กล้าซื้อเรือจากประเทศไทยไปใช้งาน

ถ้ามาเลเซียจัดหาเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งขนาด 94 เมตรจำนวน 6 ลำ เป็นไปได้สูงว่าต้องการสร้างเองทุกลำหรืออย่างน้อยที่สุด 4 ลำ ประเทศนี้มีอู่ต่อเรือขนาดใหญ่ 2-3 รายด้วยกัน สามารถสร้างเรือฟริเกตและเรือตรวจการณ์ขนาดใหญ่พร้อมกันได้ โดยไม่ติดขัดปัญหาใดๆ ยกเว้นเรื่องงบประมาณเพียงอย่างเดียว

บริษัทอู่กรุงเทพต้องหาคิวแทรกสร้างเรือเพิ่มเติมไม่เกิน 2 ลำ กับส่งวิศวกรมือดีไปช่วยอู่ต่อเรือเอกชนมาเลเซียสร้างเรือ จะทำเช่นนั้นได้ต้องสร้างคนอบรมคนของตัวเองให้เก่งกล้าสามารถเสียก่อน

ถ้าปากีสถานจัดหาเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งขนาด 94 เมตรจำนวน 5 ลำ เป็นไปได้สูงว่าจะสร้างเรือในไทยทั้งหมดหรืออย่างน้อยสุด 3 ลำ ประเทศนี้มีอู่ต่อเรือขนาดใหญ่แค่เพียงรายเดียว ตอนนี้กำลังสร้างเรือคอร์เวตชั้น Babur ขนาด 108 เมตรจำนวน 2 ลำ อนาคตต้องสร้างเรือฟริเกตชั้น Jinnah ขนาด 119 เมตรอีกจำนวน 6 ลำ นอกจากนี้ปากีสถานยังประสบปัญหาน้ำท่วมใหญ่ กระทบมายังอุตสาหกรรมสร้างเรือในประเทศอย่างเลี่ยงไม่ได้

บริษัทอู่กรุงเทพต้องหาคิวแทรกสร้างเรืออย่างน้อยสุด 3 ลำมากสุด 5 ลำ ถ้าสร้างแค่ 3 ลำต้องส่งวิศวกรมือดีไปช่วยอู่ต่อเรือเอกชนปากีสถานสร้างเรือ จะทำเช่นนั้นได้ต้องสร้างคนอบรมคนของตัวเองให้เก่งกล้าเพิ่มเติม จำนวนวิศวกรและพนักงานชาวไทยที่มีส่วนเกี่ยวข้องโครงการ ย่อมเพิ่มจำนวนมากขึ้นตามจำนวนเรือที่ขายได้

เห็นไหมครับนี่คือการต่อยอดจากการสั่งซื้อเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งรวดเดียว 4 ลำ

อุตสาหกรรมสร้างเรือในประเทศจะเดินหน้าแบบก้าวกระโดด มีการสร้างคน สร้างระบบ สร้างตลาด สร้างโน่นนั่นนี่นุ่นแน่เยอะแยะไปหมด ขอเพียงแค่กองทัพเรือสั่งซื้อเรือรวดเดียว 4 ลำ รวมทั้งรัฐบาลไม่ว่าใครก็ตามช่วยผลักดันอย่างเต็มที่ โดยการช่วยอำนวยความสะดวกเรื่องโน้นเรื่องนี้ ง่ายๆ แค่นี้เองใครเป็นรัฐบาลก็สามารถทำได้

ทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดขึ้นสาเหตุมาจากแบบเรือรุ่นใหม่ทันสมัย ถ้าสินค้าไม่ดีย่อมขายไม่ได้เป็นธรรมดา เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งขนาด 94 เมตรจากบริษัทอู่กรุงเทพ มีคุณสมบัติมากเพียงพอที่จะทำให้ทุกอย่างเกิดขึ้นจริง


กองเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งในอนาคต       

 ผู้เขียนทำภาพประกอบกองเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งในปี 2033 ประกอบไปด้วยเรือตรวจการณ์ชั้นปัตตานีจำนวน 2 ลำแถวบนสองลำฝั่งซ้าย ได้แก่เรือหลวงปัตตานี OPV 511 กับเรือหลวงนราธิวาส OPV 511 ส่วนแถวบนสองลำฝั่งขวาคือเรือตรวจการณ์ชั้นกระบี่ ได้แก่เรือหลวงกระบี่ OPV 551 กับเรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ 552

แถวล่างจำนวน 4 ลำคือเรือตรวจการณ์ชั้นกระบี่ความยาว 94 เมตร ประกอบไปด้วย OPV 553, OPV 554, OPV 555 และ OPV 556 ครบ 8 ลำตามความต้องการ ยุทธศาสตร์กองทัพเรือ พ.ศ.2560-2579และเพื่อให้การใช้งบประมาณมีประสิทธิภาพมากที่สุด โครงการปรับปรุงเรือตรวจการณ์ชั้นปัตตานีจำนวน 2 ลำถูกยกเลิกถาวร เพื่อนำงบประมาณมาลงกับโครงเรือตรวจการณ์รุ่นใหม่จำนวน 4 ลำ

เท่ากับว่าเรามีเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งติดอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้เรือรบจำนวน 5 ลำ เรือจำนวน 6 ลำมีโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ขนาด 7 ตัน เรือจำนวน 6 ลำใช้ระบบเรดาร์กับระบบอำนวยการรบจาก Thales และเรือจำนวน 6 ลำใช้อะไหล่ร่วมกันได้เกือบทั้งหมด อาจไม่ยอดเยี่ยมที่สุดแต่ก็ดีที่สุดเท่าสามารถจัดการได้

ปี 2033 เรือหลวงปัตตานีกับเรือหลวงนราธิวาสจะมีอายุครบ 28 ปี กองทัพเรือแค่พักโครงการนี้ไปสักประมาณ 5 ปี แล้วเริ่มเฟสสามสร้างเรือตรวจการณ์ชั้นกระบี่ความยาว 94 เมตรอีก 2 ลำ กำหนดให้ OPV 557 กับ OPV 558 เข้าประจำการระหว่างปี 2043 เพื่อทดแทนเรือหลวงปัตตานีกับเรือหลวงนราธิวาสที่มีอายุ 38 ปี

บทสรุปปิดท้าย

เรือที่ผู้เขียนวาดเป็นเพียงภาพประกอบบทความนี้ เพื่อให้ผู้อ่านสามารถมองเห็นสิ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ในอนาคตหากผู้เขียนได้รับแปลนเรือ เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งขนาด 91 เมตร เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งขนาด 94 เมตร และเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งขนาด 111 เมตรที่ถูกต้องชัดเจน จะกลับมาเขียนบทความถึงอีกครั้งพร้อมภาพประกอบที่ถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์ สำหรับบทความนี้ขอกล่าวคำว่าลาก่อนจนกว่าจะพบกันใหม่ J

+++++++++++++++++++++

อ้างอิงจาก

https://thaidefense-news.blogspot.com/2010/11/opv-offshore-patrol-vessel.html

https://thaimilitary.blogspot.com/2020/03/type-31e-general-purpose-frigate.html

https://web.facebook.com/profile.php?id=100032359376872

https://www.janes.com/defence-news/news-detail/defense-security-2022-bangkok-dock-proposes-modified-krabi-class-opv-to-thai-navy

https://www.trusteddocks.com/shipyards/7849-peene-werft-gmbh-co-kg

 

 

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2565

RAF Gripen Maintenance Program

 

โครงการพัฒนาขีดความสามารถการส่งกำลังบำรุงเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์แบบที่ 20/

เครื่องบินขับไล่แบบที่ 20/ก หรือ JAS 39 Gripen C/D เข้าประจำการกองทัพไทยเฟสแรกจำนวน 6 ลำในวันที่ วันที่ 7 กรกฎาคม 2554 เท่ากับว่าตอนนี้มีอายุการใช้งาน 11 ปีเต็มเรียบร้อยแล้ว ทำให้ผู้เขียนเกิดความสงสัยขึ้นมาเล็กน้อยในใจว่า มีปัญหาสำคัญเกิดขึ้นกับเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์รุ่นใหม่ทันสมัยหรือไม่ เนื่องจากนี่คือครั้งแรกที่กองทัพอากาศไทยจัดหาเครื่องบินจากสวีเดนมาใช้งาน เพื่อนบ้านที่อยู่ในย่านอาเซียนเหมือนกันก็ไม่มีชาติไหนเคยใช้มาก่อน จึงไม่อาจนำปัญหาที่พวกเขาเคยเผชิญมาเป็นตัวช่วยในการดูแลเครื่องบินตัวเอง

เพราะความอยากรู้อยากเห็นผู้เขียนดิ้นรนขวนขวายด้วยตัวเอง โดยการค้นหาข้อมูลจากสมุดปกขาวกองทัพอากาศ พ.ศ.2563 หรือ RTAF White Paper 2020 กระทั่งพบเจอบางอย่างที่น่าสนใจจนตัวเองต้องเขียนบทความ สิ่งนั้นก็คือโครงการพัฒนาขีดความสามารถการส่งกำลังบำรุงเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ บ.ข. ๒๐/ก อันหนึ่งในหกโครงการสำคัญประจำปีงบประมาณ 2564

เมื่อเจอบางอย่างที่น่าสนใจแล้ว คำถามถัดไปก็คือโครงที่ว่านี้คืออะไร?

ผู้เขียนเข้าไปค้นหาโครงการนี้จากเอกสารออนไลน์กองทัพอากาศ ได้รับคำอธิบายตามภาพประกอบ

โครงการพัฒนาขีดความสามารถการส่งกำลังบำรุงเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ บ.ข. ๒๐/ก (บ.Gripen 39 C/D) ระยะที่ ๑

๙.หลักการและเหตุผล

๙.๑ กล่าวทั่วไป

กองทัพอากาศได้จัดหาเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ บ.ข. ๒๐/ก (บ.Gripen 39 C/D) ซึ่งเป็นเครื่องบินที่มีความทันสมัยและมีศักยภาพในการปฏิบัติทางอากาศสูง ซึ่งจะสอดคล้องกับการเตรียมและใช้กำลังทางอากาศ โดยดำรงไว้ซึ่งขีดความสามารถในการป้องกันประเทศ และรักษาผลประโยชน์ของชาติ

เนื่องจากเครื่องบินดังกล่าวเป็นเครื่องบินที่มีเทคโนโลยีสูง และมีความสลับซับซ้อนด้านการส่งกำลังบำรุงประกอบกับที่ผ่านมากองทัพอากาศประสบปัญหาด้านการซ่อมบำรุงอากาศยานอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากข้อจำกัดหลายประการ เช่น การใช้ระยะเวลายาวนานในการซ่อมบำรุง เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นพัสดุที่ต้องส่งซ่อมในต่างประเทศ ต้องผ่านขบวนการต่างๆ หลายขั้นตอนกว่าจะได้พัสดุกลับมาใช้งานได้อีก การจัดหาอุปกรณ์ชิ้นส่วนอะไหล่สำหรับการซ่อมบำรุงยาก เนื่องจากมีผู้ผลิตน้อยรายและบางชนิดยกเลิกสายการผลิตแล้ว รวมทั้งปัญหาข้อจำกัดทางด้านงบประมาณในด้านการซ่อมบำรุงอากาศยานที่ได้รับการจัดสรรประจำปีน้อยกว่าความต้องการใช้งานจริง

ข้อจำกัดต่างๆ เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของปัญหาในการส่งกำลังและซ่อมบำรุงอากาศยานของกองทัพอากาศ ดังนั้นกองทัพอากาศจึงได้วางแผนการส่งกำลังบำรุง เพื่อใช้ซ่อมบำรุง บ.Gripen 39 C/D ในลักษณะการซ่อมบำรุงแบบรวมการ (Pool Services) ซึ่งเป็นลักษณะของการส่งกำลังบำรุง โดยการสนับสนุนเครื่องยนต์ อุปกรณ์และอะไหล่ที่สามารถถอดสับเปลี่ยนได้ในระดับฝูงบิน ซึ่งดำเนินการในลักษณะแบบรวมกลุ่มสมาชิกใช้เครื่องยนต์อุปกรณ์และอะไหล่ร่วม

โดยสมาชิกสามารถส่งเครื่องยนต์ อุปกรณ์และอะไหล่ที่สามารถถอดสับเปลี่ยนหมุนเวียนได้ในระดับฝูงบิน (Line Replaceable Unit : LRU) ไปซ่อม หรือเปลี่ยนเครื่องยนต์ อุปกรณ์และอะไหล่ใหม่มาทดแทน และมีการดำเนินการสำรองเครื่องยนต์ อุปกรณ์และอะไหล่ที่สามารถถอดสับเปลี่ยนหมุนเวียนได้ในระดับฝูงบินไว้สำหรับการซ่อมบำรุงให้กับสมาชิกภายในกลุ่ม รวมทั้งสนับสนุนชิ้นอะไหล่ พัสดุสิ้นเปลืองคู่มือเอกสารเทคนิคและการบริการทางด้านเทคนิค การบริการธุรการทางด้านการบิน การฝึกอบรม จนท.ช่างให้มีขีดความสามารถในการซ่อมบำรุงให้เป็นไปตามมาตรฐานกำหนด และบริการด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบินของ บ.Gripen 39 C/D ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะทำให้การซ่อมบำรุงเกิดความแน่นอน รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ทำให้กองทัพอากาศมีความพร้อมปฏิบัติการของ บ.Gripen 39 C/D ที่จะสามารถตอบสนองภารกิจในการเตรียมและใช้กำลังทางอากาศได้อย่างเต็มขีดความสามารถ

ข้อมูลจากกองทัพอากาศเปิดเผยปัญหาที่เกิดขึ้นกับเครื่องบินรุ่นใหม่ประกอบไปด้วย

-หนึ่ง: ใช้ระยะเวลายาวนานในการซ่อมบำรุงเพราะส่งไปซ่อมต่างประเทศ

-สอง: จัดหาอุปกรณ์ชิ้นส่วนอะไหล่สำหรับการซ่อมบำรุงยากเพราะผู้ผลิตน้อยรายและบางชนิดไม่ผลิตแล้ว

-สาม: ปัญหาข้อจำกัดทางด้านงบประมาณในด้านการซ่อมบำรุงอากาศยาน

การซ่อมบำรุงแบบรวมการ (Pool Services) จึงเป็นทางออกในการแก้ปัญหาให้ดีกว่าเดิม ผู้เขียนอ่านแล้วเข้าใจได้ว่ากองทัพอากาศไทยจะเข้าร่วมกับสมาชิกชาติอื่น เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการซ่อมบำรุงให้เป็นไปตามมาตรฐาน สมาชิกที่เข้าร่วมย่อมมีกองทัพอากาศสวีเดนเป็นตัวยืนอย่างแน่นอน

ข้อมูลจากต่างประเทศระบุไว้ว่า โดยปรกติแล้วการซ่อมบำรุง JAS 39 Gripen C/D กองทัพอากาศไทยมีการเซ็นสัญญาระยะยาวหลายปีกับบริษัท SAAB ในราคาคงที่ตามชั่วโมงบินโดยใช้เจ้าหน้าที่จากกองทัพอากาศกับ TAI แตกต่างจากช่วงเริ่มเข้าประจำการที่ต้องใช้เจ้าหน้าที่จากสวีเดนจำนวน 10 ลำ แต่ถึงกระนั้นยังมีเจ้าหน้าที่จากสวีเดนจำนวนหนึ่งประจำอยู่ที่กองบิน 7 เพื่อทำหน้าที่ช่วยเหลือเรื่องการส่งกำลังบำรุงรวมทั้งช่วยวางแผนการต่างๆ

หมายเหตุ: นี่คือข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างประเทศแห่งหนึ่ง ฉะนั้นแล้วอาจมีบางอย่างคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง

การซ่อมบำรุงเครื่องบินทุกขั้นตอนต้องทำภายในโรงเก็บ  เนื่องจากสนามบินอยู่ใกล้ทะเลความชื้นค่อนข้างสูง คลังอะไหล่ถูกจัดเก็บอยู่ภายในกองบิน 7 การขนส่งอะไหล่ใช้เครื่องบินพลเรือนยกเว้นอะไหล่สำคัญกับอาวุธใช้เครื่องบินทหาร  ว่ากันตามจริงค่อนข้างมีความรัดกุมและเป็นแบบแผนชัดเจน แต่ถึงกระนั้นในปัจจุบันได้กลายเป็นปัญหาให้กองทัพอากาศปวดหัว จนต้องตั้งโครงการพัฒนาขีดความสามารถการส่งกำลังบำรุงให้ดีกว่าเดิม

โครงการนี้มีความสำคัญกับกองทัพอากาศพอสมควร มีการจัดตั้งโครงการในปี 2563 และเริ่มต้นดำเนินการในปีงบประมาณ 2564 เริ่มต้นด้วยการเดินหน้า โครงการพัฒนาขีดความสามารถการส่งกำลังบำรุงเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ บ.ข. ๒๐/ก (บ.Gripen 39 C/D) ระยะที่ ๑  (ช่วงที่ ๒.๑)  หรือการปรับปรุงขีดความสามารถเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ แบบที่ 20/ก ให้เป็นเวอร์ชัน 20 (MS 20)  รุ่นใหม่ล่าสุดเหมือนกองทัพอากาศสวีเดน เป็นเพียงการปรับปรุงระบบซอฟต์แวร์เครื่องบินให้เป็นรุ่นใหม่ล่าสุดเท่านั้น การซ่อมบำรุงแบบรวมการ (Pool Services) น่าจะตามมาหลังจากโครงการระยะที่ ๑  ช่วงที่ ๒.๑ สำเร็จเรียบร้อย

ก่อนหน้านี้ในช่วงเดือนมีนาคม 2563 กองทัพอากาศขึ้นโครงการ จ้างเหมาบริการสนับสนุนการส่งกำลังบำรุงสำหรับ บ.Gripen 39 C/D จำนวน ๑๑ เครื่อง และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง โดยวิธีเฉพาะเจาะจง วงเงินราคากลาง ๓,๒๗๔,๑๐๓,๗๐๐ บาทโครงการนี้คือการเซ็นสัญญาซ่อมบำรุงกับบริษัท SAAB ตามปรกติ ไม่เกี่ยวข้องกับโครงการตามบทความแต่อย่างใด

โครงการพัฒนาขีดความสามารถการส่งกำลังบำรุงเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ บ.ข. ๒๐/ก ยังไม่ทันเป็นรูปเป็นร่าง เกิดเรื่องดราม่าสไตล์ไทยแลนด์โอนลี่ขึ้นมาเสียก่อน เมื่อสื่อมวลชนรายหนึ่งเปิดเผยข้อมูลการจัดหาอาวุธที่ไม่ปรกติเท่าไร

ระหว่างเดือนเมษายน 2563 คณะอนุกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต ทำหนังสือถึงอธิบดีกรมบัญชีกลาง เพื่อขอหารือการใช้อำนาจในการยกเว้นผ่อนผันของคณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต กรณีได้รับหนังสือจากกองทัพอากาศและกองทัพบก ขอยกเว้นผ่อนผันไม่ปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการ ค.ป.ท. เรื่องแนวทางและวิธีการในการดำเนินงานโครงการร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐแบบของข้อตกลงคุณธรรมที่กำหนดไว้ว่า เมื่อหน่วยงานของรัฐ ได้รับความเห็นชอบวงเงินงบประมาณที่จะใช้ในการจัดซื้อจัดจ้างจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือผู้มีอำนาจในการพิจารณางบประมาณแล้ว ให้แจ้งข้อมูลโครงการที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไปต่อคณะกรรมการ ค.ป.ท.ภายใน 15 วันทำการ นับตั้งแต่วันที่ได้รับความเห็นชอบวงเงินงบประมาณ เพื่อพิจารณาคัดเลือกให้จัดทำข้อตกลงคุณธรรม

การแจ้งข้อมูลดังกล่าวให้จัดทำตามแบบและวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด ซึ่งในการดำเนินโครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรมจะให้ผู้เกี่ยวข้องดำเนินการให้ผู้สังเกตการณ์เข้าร่วมสังเกตการณ์ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐตลอดระยะเวลาและทุกขั้นตอน ซึ่งปัจจุบัน องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ACT) เป็นผู้ส่งผู้สังเกตการณ์ภาคเอกชนเข้าไปสังเกตการณ์

ก่อนหน้านี้คณะกรรมการ ค... ได้มีการนำเรื่องนี้เข้าสู่การประชุมเพื่อพิจารณา โดยฝ่ายเลขานุการ มีความเห็นว่า สืบเนื่องจากเรื่องนี้กองทัพมีความจำเป็นและมีเหตุผล ไม่สามารถดำเนินการจัดให้มีการจัดทำข้อตกลงคุณธรรมตามโครงการความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างได้ เพราะมีกฎหมายหรือสัญญากับเอกชนกำหนดไว้ว่าไม่ให้เปิดเผยข้อมูลความลับแก่บุคคลที่ 3 พร้อมกับเสนอเรื่องไม่คัดเลือกโครงการจัดซื้อจัดจ้างยุทโธปกรณ์ทั้ง 4 โครงการ ของกองทัพอากาศและกองทัพบกเข้าร่วมการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม

โครงการจัดหายุทโธปกรณ์ ของ กองทัพอากาศ และกองทัพบก  ประจำปีงบประมาณ พ..2563 จำนวน 4 โครงการใหญ่มูลค่าหลายพันล้านบาท  ที่ไม่ต้องการเข้าร่วมการจัดทำข้อตกลงคุณธรรมประกอบไปด้วย

1. โครงการพัฒนาขีดความสามารถการส่งกำลังบำรุงเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์เครื่องบินขับไล่แบบที่ 20/ (เครื่องบิน Gripen 39 C/D) ระยะที่ 1 (ช่วง 2) ของ กองทัพอากาศ

2. โครงการจัดหาเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น (ระยะที่ 4) ของ กองทัพอากาศ

3. โครงการจัดหาเครื่องบินฝึกทดแทนเครื่องบินแบบที่ 19 ของ กองทัพอากาศ

4. โครงการจัดหาเครื่องบินใช้งานทั่วไป ของกองทัพบก

โครงการเครื่องบิน Gripen 39 C/D ไม่เข้าร่วมการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม หรือ ACT ดราม่าเรื่องนี้สิ้นสุดเช่นไรคงไม่สำคัญอีกต่อไป เพราะกองทัพอากาศเริ่มต้นเดินหน้าทำตามแผนการไปตามปรกติ มีความเคลื่อนไหวต่างๆ เกิดขึ้นหลังจากนั้นประกอบไปด้วย

-วันที่ 20 พฤษภาคม 2565

สำนักงานบริหารโครงการพัฒนาขีดความสามารถการส่งกำลังบำรุงเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ บ..20/ (Gripen 39 C/D) ระยะที่ 1 (Gripen Logistics Improvement Program (GLIP)) ได้จัดประชุมด้านเทคนิค (Technical Conference :TC) ของ บ..20/ (Gripen 39 C/D) ร่วมกับ จนท.สวีเดน และหน่วยเกี่ยวข้อง ณ ห้องประชุม กบ.ทอ.โดยมี น..สันติ แก้วสนธิ รองผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน กรมส่งกำลังบำรุงทหารอากาศเป็นประธานในการประชุม

-วันที่ 26 พฤษภาคม 2565

กองบิน 7 ให้การต้อนรับประธานคณะกรรมการตรวจรับพัสดุและคณะ  พลอากาศโท ภูวเดช สว่างแสง ประธานคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ และคณะ เดินทางมาประชุมและติดตามผลในโครงการพัฒนาขีดความสามารถการส่งกำลังบำรุงเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์แบบที่ 20/ก (Gripen39 C/D) ระยะที่ 1 (ช่วงที่ 2.1) โดยปรับปรุงขีดความสามารถเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ แบบที่ 20/ก (Gripen39 C/D) เป็นเวอร์ชัน 20 (MS 20) 

โอกาสนี้ นาวาอากาศเอก พุทธพงศ์  ผลชีวิน ผู้บังคับการกองบิน 7 มอบหมายให้ นาวาอากาศเอก กฤษณะ  สุขดี รองผู้บังคับการกองบิน 7 และเสนาธิการกองบิน 7  ให้การต้อนรับ ณ ท่าอากาศยานทหาร กองบิน 7 และรับฟังบรรยายสรุป ณ อาคารกองบังคับการ ฝูงบิน 701 กองบิน 7

-วันที่ 9 มิถุนายน 2565

สื่อมวลชนต่างประเทศรายงานว่ากองทัพอากาศไทย เริ่มต้นเดินหน้าปรับปรุงขีดความสามารถเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ แบบที่ 20/ก (Gripen39 C/D) ให้เป็นเวอร์ชัน 20  หรือการปรับปรุงระบบซอฟต์แวร์ บนเครื่องบินให้เป็นเวอร์ชัน MS 20 นั่นเอง โดยใช้งบประมาณ 18.28 ล้านเหรียญหรือ 631,730,000 บาท มากกว่าวงเงินราคากลางโครการระยะที่ 1 ที่ถูกเปิดเผยในวันที่ 13 มกราคม 2564 ไม่กี่ล้าน (ราคากลางเท่ากับ 629,224,200 บาท) การปรับปรุงน่าจะแล้วเสร็จครบทุกลำภายในปี 2025

การปรับปรุงระบบซอฟต์แวร์บนเครื่องบิน 11 ลำใช้เวลา 3 ปีผู้เขียนไม่ทราบว่านานหรือไม่ เกี่ยวข้องกับการพัฒนาขีดความสามารถการส่งกำลังบำรุงเครื่องบินผู้เขียนไม่ทราบเช่นกัน เหตุผลที่ไม่เข้าร่วมการจัดทำข้อตกลงคุณธรรมผู้เขียนยิ่งไม่ทราบไปกันใหญ่ ทว่าโครงการนี้เดินหน้าเต็มตัวแล้วผู้เขียนขอให้สำเร็จลุล่วงแคล้วคลาดจากปัญหาทั้งปวง

โครงการพัฒนาขีดความสามารถการส่งกำลังบำรุงเครื่องบินจะมีปัญหาหรือไม่?

ส่วนตัวผู้เขียนมองว่าถ้าไม่ถูกตัดงบประมาณก็คงไม่มีปัญหา เนื่องจากกองทัพอากาศทำทุกอย่างตามคำแนะนำบริษัทผู้ผลิต ไม่ใช่อยู่ดีๆ จัดตั้งกลุ่มสมาชิกเพื่อการซ่อมบำรุงแบบรวมการ (Pool Services) ขึ้นมาเองเสียหน่อย

ปัญหาสำคัญที่อาจเกิดขึ้นกับ Gripen39 C/D ต้องนับไปอีก 10 -15 ปีครับ

สมาชิกที่มี Gripen39 C/D ประจำการและไม่มีปัญหาประกอบไปด้วย สวีเดน 158 ลำ ไทยแลนด์ 11 ลำ และฮังการี 14 ลำ ส่วนสาธารณรัฐเชกเช่าไปใช้งาน 14 ลำก็จริง ทว่าเมื่อสิ้นสุดสัญญาพวกเขาจะเปลี่ยนไปซื้อ F-35A จากอเมริกา ส่วนแอฟริกาใต้มีเครื่องบิน 26 ลำสภาพค่อนข้างใหม่ โชคร้ายประสบปัญหางบประมาณต้องจอดทิ้งไว้เฉยๆ หลายปีแล้ว ส่วนอังกฤษมีเครื่องบินแค่เพียงลำเดียวผู้เขียนขอข้ามไปเลยแล้วกัน

เท่ากับว่ากลุ่มสมาชิกเพื่อการซ่อมบำรุงแบบรวมการมีแค่สวีเดน ไทยแลนด์  และฮังการี นับจากนี้ไปอีก 10 ปีเมื่อฮังการีหมดสัญญาเช่าซื้อจะเหลือเพียง 2 ชาติ นับเพิ่มไปอีก 5 ปีสวีเดนทยอยปลดประจำการ Gripen39 C/D ของตัวเองไปเรื่อยๆ  ฉะนั้น Gripen39 C/D ของไทยซึ่งมีอายุ 25 ปีจะมีปัญหาใหญ่เรื่องการส่งกำลังบำรุงเครื่องบิน

อันที่จริงเรื่องนี้เป็นประเด็นสำคัญตั้งแต่ก่อนซื้อเครื่องบินแล้ว เพียงแต่กองทัพอากาศอาจไม่คาดคิดว่า Gripen39 C/D จะขายไม่ออกเลย เครื่องบินที่บราซิลจัดหาไปใช้งาน 36 ลำก็เป็นรุ่นใหม่ขนาดใหญ่กว่าใช้อะไหล่ต่างกัน ปัญหาเรื่องการส่งกำลังบำรุงเครื่องบินเลยพลอยใหญ่โตกว่าเดิมไปด้วย

ปัญหานี้จะเกิดขึ้นกับเครื่องบิน F-35A หรือไม่? เรามาไล่ตรวจสอบทีละประเด็นไปพร้อมๆ กัน

-หนึ่ง: ใช้ระยะเวลายาวนานในการซ่อมบำรุงเพราะส่งไปซ่อมต่างประเทศ

ปรกติเครื่องบินรบอเมริกาจะซ่อมบำรุงในประเทศลูกค้าเลย เพราะตัวเองมีลูกค้าทั่วโลกจะให้มาต่อคิวในอเมริกาที่เดียวคงไม่ไหว เพียงแต่ผู้รับผิดชอบโครงการอาจเป็นบริษัทผู้ผลิตเครื่องบิน หรือบริษัทคู่ค้าที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากบริษัทผู้ผลิต เพราะฉะนั้นปัญหาเรื่องระยะเวลาจึงมีค่อนข้างน้อย

-สอง: จัดหาอุปกรณ์ชิ้นส่วนอะไหล่สำหรับการซ่อมบำรุงยากเพราะผู้ผลิตน้อยรายและบางชนิดไม่ผลิตแล้ว

ปัจจุบันเครื่องบินตระกูล F-35 กำลังขายดีขึ้นหิ้ง ยอดขายเพียง 1 ปีแซงหน้ายอดขาย Gripen39 C/D ทุกลำบนโลกไปแล้ว เพราะฉะนั้นปัญหาเรื่องจัดหาอุปกรณ์ชิ้นส่วนอะไหล่จึงมีค่อนข้างน้อย

-สาม: ปัญหาข้อจำกัดทางด้านงบประมาณในด้านการซ่อมบำรุงอากาศยาน

เรื่องนี้แหละที่กองทัพอากาศต้องเจออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อันเป็นที่มาของการลดจำนวนเครื่องบินให้น้อยลงกว่าเดิม บังเอิญตอนนี้ยังไม่มีเครื่องบิน F-35A เพราะฉะนั้นผู้เขียนขอข้ามไปก่อน

เมื่อโครงการพัฒนาขีดความสามารถการส่งกำลังบำรุงเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ บ.ข. ๒๐/ก เสร็จสิ้นสมบูรณ์ตามแผนการ ถึงตอนนั้นต้องมาตรวจสอบกันอีกครั้งว่า ปัญหาที่เคยเกิดขึ้นได้รับการแก้ไขมากน้อยแค่ไหน แก้ไขปัญหาได้ถูกต้องชัดเจนหรือไม่ รวมทั้งในอนาคต 10-15 ปีข้างหน้ากองทัพอากาศวางแผนรับมือรัดกุมแค่ไหน

+++++++++++++++++++++

อ้างอิงจาก

 

https://ocg.rtarf.mi.th/e-book/project/mobile/index.html#p=14

https://web.facebook.com/wing7RTAF

https://www.flightglobal.com/analysis/analysis-how-gripen-became-prize-thai-fighter/130853.article

https://web.facebook.com/wing7RTAF/posts/5171222802966052

http://www.dae.rtaf.mi.th/index.php/2017-02-01-02-07-02/2017-02-01-02-08-41/1116-gripen-39-c-d

http://119.46.201.14/index.php/left-egp?start=330

http://dae.rtaf.mi.th/index.php/left-egp?start=135

https://logist.rtaf.mi.th/index.php/page-main/2-uncategorised/344-2022-05-20-02-59-17

https://thaidefense-news.blogspot.com/2018/07/royal-thai-air-force-gripen-39-cd-weapon.html