วันเสาร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Thailand F-16 Mid-Life Upgrade (MLU) โครงการปรับปรุงในช่วงครึ่งชีวิตF-16A/B ของกองทัพอากาศไทย

 โครงการปรับปรุงในช่วงครึ่งชีวิตF-16A/B ของกองทัพอากาศไทย มีจุดเริ่มต้นจากข่าวในหนังสือพิมพ์บางกอกโพส วันที่26 มกราคม 2010 ก่อนหน้านี้เคยมีข่าวออกมาบ้างว่ากองทัพอากาศอาจเลือกปรับปรุงนิดหน่อยกับเครื่องบินF-16จำนวน2-3ฝูง แต่จากข่าวนี้มีความชัดเจนว่าเลือกปรับปรุงแค่1ฝูง18ลำแต่ใช้งบประมาณราวๆ2หมื่นล้านบาท นั่นก็คือเลือกที่จะปรับปรุงให้เครื่องบินมีประสิทธิภาพสุงทัดเทียมเครื่องบินรุ่นใหม่ๆนั่นเอง


RTAF seeks B20bn jet fleet budget
* Published: 26/01/2010 at 12:00 AM

The air force is seeking cabinet approval to buy six more Gripen jet fighters and upgrade six F-16 fighters at a combined cost of more than 20 billion baht.
Royal Thai Air Force deputy spokesman Monthon Satchukorn yesterday said a proposal had been submitted to cabinet to buy the Gripens for about 15.4 billion baht and upgrade the F-16 fighters at a cost of about 6.9 billion baht.
The air force hopes the submission will be approved by the cabinet today.
Gp Capt Monthon said the RTAF wanted the cabinet to approve the two projects in principle first so it had enough time to prepare its 2011 fiscal budget, which will be considered in May.
The two projects have been on hold since they were withdrawn from a cabinet meeting in May last year.
Gp Capt Monthon said: "If we cannot buy the Gripen fighters under the 2011 fiscal budget, this will affect the air force's operations planning."
He said the air force originally planned to upgrade 18 F-16 fighters at a cost of more than 20 billion baht.
The project was revised and will now be carried out in three phases of upgrading six F-16 fighters each time at a cost of 6.9 billion baht.
F-16 A/B fighters from Nakhon Sawan-based Wing 4 would be upgraded in the first phase, Gp Capt Monthon said.
"The air force is badly in need of the two projects," he said.
A military source said air force commander Itthaporn Subhawong met Deputy Prime Minister Suthep Thaugsuban on Friday to discuss the two projects.
The source said Mr Suthep reassured ACM Itthaporn the cabinet would approve the projects in principle with the budget arranged and disbursed later.
The air force had hoped to decommission its 12 US-made F-5 E/F fighters, in operation at the Surat Thani-based Wing 7 for 30 years, once it took commission of 12 new Gripen 39 C/D fighter jets.



หลังจากนั้นอีก8เดือนคือในเดือนกันยายน2010 รัฐบาลสหรัฐได้แจ้งต่อสภาคองเกรสในประเด็นการปรับปรุงช่วงครึ่งอายุ (MLU) ของ F-16 ให้กับทอ.ไทย

DSCA หรือ Defense Security Cooperation Agency (สำนักงานความร่วมมือทางทหารและความปลอดภัย) ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐที่รับผิดชอบในการขายอาวุธให้กับต่างประเทศ ได้แจ้งต่อสภาคองเกรสเมื่อวันที่ 30 กันยายนน 2553 ที่ผ่านมา ในความเป็นไปได้ที่จะขายอุปกรณ์ที่ใช้ในการปรับปรุงในช่วงครึ่งชีวิตหรือ MLU (Mid-Life Upgrade) ให้กับ F-16A/B Block 15 ของกองทัพอากาศไทยทั้ง 18 ลำ ในระยะเวลา 3 ปี มูลค่าสูงสุดราว 700 ล้านเหรียญสหรัฐ

ทั้งนี้ กฏหมายของสหรัฐมีเงื่อนไขให้รัฐบาลสหรัฐต้องแจ้งต่อสภาคองเกรสเมื่อรัฐบาล สหรัฐตัดสินใจขายอาวุธให้กับประเทศใดและในสัญญามีมูลค่ามากกว่า 50 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ยังมิได้หมายความว่าสัญญาถูกลงนามแล้ว โดยถ้าสภถาคองเกรสไม่เห็นด้วยกับการขายนั้น สภาคองเกรสมีเวลา 30 วันในการคัดค้านการขาย (แต่ในประวัติศาสตร์นั้นการคัดค้านขากคองเกรสเกิดขึ้นน้อยมาก) ซึ่งหลังจากช่วง 30 วันไปแล้ว รัฐบาลสหรัฐและประเทศลูกค้าก็สามารถทำการลงนามในสัญญาได้

โดยในการปรับปรุงเครื่องบินครั้งนี้ เป็นการรื้อออกมาทั้งลำแล้วประกอบกับเข้าไปใหม่ด้วยอุปกรณ์ทันสมัยที่ซื้อมาเปลี่ยนประกอบไปด้วย
- ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมภารกิจ (Modular Mission Computer)
- ระบบเรดาร์แบบ APG-68(V)9 Improved Multimode Fire Control Radar - ระบบพิสูจน์ฝ่ายแบบ APX-113 Combined Interrogator and Transponder
- ระบบจัดการสงครามอิเล็กทรอนิกส์แบบ ALQ-213 Electronic Warfare Management System
- ระบบเป้าลวงอัตโนมัติแบบ ALE-47 Countermeasures Dispenser System - อะไหล่ อุปกรณ์สนับสนุน เอกสาร ข้อมูลทางเทคนิค การฝึกเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์การฝึก และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการส่งกำลังบำรุง

Media/Public Contact:
Charles Taylor (703) 601-3859 / Paul Ebner (703) 601-3670
Transmittal No:
10-54
WASHINGTON, September 30, 2010 – The Defense Security Cooperation Agency notified Congress Sept. 29 of a possible Foreign Military Sale to Thailand of a three-phased program to upgrade 18 F-16A/B Block 15 aircraft with the Mid-Life Upgrade (MLU) and associated parts, equipment, and logistical support for a complete package worth approximately $700 million.
The Government of Thailand has requested a possible sale of a three-phased program to upgrade 18 F-16A/B Block 15 aircraft with the Mid-Life Upgrade (MLU). Each phase will upgrade six aircraft over a three-year period, with each phase overlapping by one year. The MLU with Modular Mission Computer includes APG-68(V)9 Radar, APX-113 Combined Interrogator and Transponder, ALQ-213 Electronic Warfare Management System, ALE-47 Countermeasures Dispenser System, spare and repair parts, tools and support equipment, publications and technical data, personnel training and training equipment, U.S. Government and contractor engineering and technical support services, and other related elements of logistics support. The estimated cost is $700 million.
This proposed sale will contribute to the foreign policy and national security of the United States by helping to improve the security of a major non-NATO ally.
Thailand needs this MLU program in order to upgrade its aging F-16 fleet and to increase air sovereignty fighter aircraft effectiveness and interoperability with U.S. forces. The proposed sale will enhance the Royal Thailand Air Force’s capability to conduct day, night, and adverse weather air defense operations. Thailand, which already has F-16s in its inventory, will have no difficulty absorbing these upgrades into its armed forces.
The proposed sale of this equipment and support will not alter the basic military balance in the region.
The prime contractor will be Lockheed Martin Aeronautics Company in Fort Worth, Texas. There are no known offset agreements proposed in connection with this potential sale.
Implementation of this proposed sale will not require the assignment of any additional U.S. Government or contractor representatives to Thailand.
There will be no adverse impact on U.S. defense readiness as a result of this proposed sale.
This notice of a potential sale is required by law and does not mean the sale has been concluded.




 วันที่18 ตุลาคม 2010 เครื่องบินF-16จากฝูงบิน403จำนวน1ลำได้ประสบอุบัติเหตุตกระหว่างการฝึกตามปรกติ จึงทำให้เหลือเครื่ิองบินแค่เพียง17ลำ มีการคาดหมายกันว่าจะนำเครื่องบินจากฝูงบิน103จำนวน1ลำโยกมาที่นี่เพื่อปรับปรุงแล้วเข้าประจำการแทน แต่ก็เป็นเพียงการคาดหมายนะครับ



วันที่14กุมภาพันธ์ 2011เครื่องบิน F-16 ADF จากฝูงบิน102จำนวน2ลำประสบอุบัติเหตุระหว่างการซ้อมรบร่วมกับกองทัพอเมริกา




วันที่16กุมภาพันธ์ 2011 รัฐบาลท่านนายกอภิสิทธิ์ได้อนุมัติการปรับปรุงเครื่องบินเฟสแรกเป็นที่เรียบร้อย คิดเป็นมูลค่า6,900ล้านบาท


งัดงบ เฉียด 7 พันล้าน ซ่อม F-16
วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ 2554
ทัพอากาศ ชี้ เป็นตาม แผน ซ่อม

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี วานนี้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ชี้แจงถึงเหตุการณ์เครื่องบินรบเอฟ 16 ของ กองทัพอากาศตกในที่ประชุม จากนั้นพล.อ.ประวิตร ได้มีการเสนอวาระเพื่อพิจารณาเป็นเรื่องลับ ขออนุมัติงบประมาณเพื่อดำเนินโครงการซ่อมแซมและปรับปรุงระบบการบินเครื่อง บินรบเอฟ 16  รุ่น A/B 6 ลำ ซึ่งเป็นเครื่องบินรบเอฟ 16 รุ่นเก่า โดยขออนุมัติงบประมาณปรับปรุงซ่อมแซมและโมดิฟายด์ระบบการบิน พร้อมทั้งอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่ในเครื่องบินรบดังกล่าว

ทั้งนี้ ใช้งบประมาณรวมทั้งสิ้นกว่า 6,900 ล้านบาท แยกเป็นค่าปรับปรุงซ่อมแซมเครื่องบินพร้อมอุปกรณ์กว่า 6,562 ล้านบาทและอาคารประกอบโรงซ่อมกว่า 300 ล้านบาท  โดยใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายปี 2554  พร้อมทั้งขอผูกพันงบประมาณ 3 ปีตั้งแต่ปีงบประมาณ 2554-2556  ซึ่งที่ประชุมครม.ก็อนุมัติให้ไปตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ

ขณะเดียวกันด้าน พล.อ.ต.มณฑล สัชฌุกร โฆษกกองทัพอากาศ  ชี้แจงกรณี ครม.อนุมัติงบประมาณ เพื่อปรับปรุงสมรรถนะเครื่องบินเอฟ 16 เป็นไปตามพระราชบัญญัติ พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่าย โดยเรื่องดังกล่าวเป็นงบที่ ครม.ได้อนุมัติ ตั้งแต่วันที่ 26 มกราคม 2553 ดังนั้น ทอ. จึงได้เสนอครม.ตามโครงการ ตามพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย ซึ่งทางครม.ได้อนุมัติงบตามที่ร้องขอให้สามารถก่อหนี้งบผูกพันงบประมาณได้

ขณะที่ มูลค่าเงินที่สูง ทอ.จึงได้แบ่งการปรับปรุงเครื่องบินเอฟ 16 เป็น 3 ช่วง โดยช่วงที่ 1 ดำเนินการ ระยะเวลาปี 2554-2556/ช่วงที่ 2 ในปี 2556-2558 /ช่วงที่  3 ในปี 2558-2560

อย่างไรก็ตาม โครงการดังกล่าว ทอ.ได้ดำเนินการเจรจากับกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา เพื่อดำเนินการปรับปรุงเอฟ 16 ด้วยระบบ การจัดซื้อขายอาวุธระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาลสหรัฐด้วยระบบ(FOREIGN MILITARY SALES) หรือเอฟเอ็มเอส เพื่อปรับปรุงเครื่องบินเอฟ 16 จำนวน 3 ช่วง ครั้งละ 6 ลำ โดยช่วงที่ 1 ใช้งบประมาณ 6,900 ล้านบาท ทั้งนี้ เมื่อครม.ได้อนุมัติงบประมาณแล้วก็สามารถดำเนินการจัดจ้างปรับปรุงเครื่อง บินเอฟ 16 ได้ทัน โดยทางทอ.สหรัฐได้ตกลงที่จะดำเนินการปรับปรุงให้เครื่องบินเอฟ 16 ให้ประเทศไทยแล้ว

ทั้งนี้  พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ยังได้รายงานสรุป ถึงเหตุการณ์เครื่องบินขับไล่รุ่น F16  2 ลำ ตกระหว่างการฝึกร่วมคอบร้าโกลด์ ที่ จ.ชัยภูมิ โดยเครื่องบินรุ่นที่ตก รุ่น ADF ปี 2545 เป็นเครื่องเก่าผ่านการปรับปรุง ส่วนสาเหตุนั้นเป็นอุบัติเหตุระหว่างการฝึกบิน ซึ่งกระทรวงกลาโหมได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนแล้ว



หลังครม.อนุมัติงบประมาณเฟสแรกจำนวน6.900ล้านบาทไปแล้วอีก1ปีนิดๆถึงมี ความเคลื่อนไหว เดือนมีนาคม2012 บริษัท Northrop Grumman ขายเรดาร์AN/APG-68v9ให้ประเทศไทยจำนวน6ชุดตามโครงการFMS หมายเลข FA8615-12-C-6047 ซึ่งในดีลนี้จะรวมกับประเทศอื่นๆด้วย ถ้าว่ากันตรงก็คือเรดาร์สำหรับF-16 เฟสแรกจำนวน6ลำนั่นเอง

March 14/12: Radars. Northrop Grumman Electronic Systems in Linthicum Heights, MD receives an $87.8 million dollar firm-fixed-price Foreign Military Sales (FMS) program contract, to provide 43 AN/APG-68v9 radar systems to the Republic of Iraq (22), the Royal Air Force of Oman (15), and the Royal Thai Air Force (6). The 6 Thai radars are enough to cover 1 phase of the 3-phase F-16 modernization program (vid. Sept 30/10 entry).

The AN/APG-68v9 is the standard radar for new F-16C/D aircraft. Northrop Grumman cites external link a 33% increase in air-to-air detection range over earlier versions, plus ground-looking synthetic aperture radar with mapping and 2-foot point target response. They also claim that the radar’s reduced weight, power, and cooling help contribute to 25%-45% lower support costs, though their baseline comparison for those costs isn’t clear.

Work will be performed in Linthicum Heights, MD, and is expected to be complete by March 3/15. The ASC/WWMK at Wright Patterson AFB, OH manages this contract (FA8615-12-C-6047).



ในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2012 พล.อ.อ.มานิต สพันธุพงษ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด รับเอกสารประจำเครื่อง บ.F-16 จากนาวาอากาศเอก กฤษฎา สุพิชญ์ ผู้บังคับการกองบิน 4 ในพิธีส่งมอบ บ.F-16 เครื่องแรกเข้ารับการปรับปรุงขีดความสามารถตามโครงการ F-16 Mid Life Update โดยมีตัวแทนจากกองทัพอากาศ บริษัท Lockheed Martin Aero และบริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด เข้าร่วมพิธี ณ ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานตาคลี บริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด จ.นครสวรรค์



วันที่ 12 มีนาคม.2013ก็มีข่าวดีอีกครั้งเมื่อครม.อนุมัติเฟส2เป็นที่เรียบร้อย ถึงตอนนี้เครื่องบิน6ลำของเราเข้ารับการปรับปรุงอยู่แต่ยังไม่แล้วเสร็จ  น่ายินดีที่การปรับปรุงทั้งหมดทำภายในประเทศ จึงเสียค่าใช้จ่ายน้อยลงบ้างและคนของเราได้รับความรู้ใหม่ๆมากขึ้น


ครม.อนุมัติ5.9ล้านบาท อัพเกรดF-16 เอ/บี เฟสสอง

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอนุมัติงบประมาณพัฒนาศักยภาพเครื่องบินขับไล่เอฟ-16 วงเงิน 5,700 ล้านบาท...

เมื่อวันที่ 12 มี.ค.2013 พล.อ.ต.มณฑล สัชฌุกร โฆษกกองทัพอากาศ กล่าวถึงกรณีที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณผูกพันข้ามปี 2556-2558 โครงการพัฒนาขีดความสามารถเครื่องบินแบบ 19 ว่า โครงการดังกล่าวเป็นการพัฒนาขีดความสามารถเครื่องบินขับไล่ เอฟ -16 เอ/บี ระยะที่ 2 วงเงิน 5,700 ล้านบาท ตามที่กองทัพอากาศ โดยกระทรวงกลาโหมเป็นผู้เสนอ

สำหรับโครงการดังกล่าวถือเป็นแผนงานระยะยาวในการพัฒนายืดอายุการใช้งาน ของเครื่องบินรบที่ประจำการที่ฝูงบิน 403 กองบิน 4 อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ และที่กองทัพอากาศได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีในภาพรวมเมื่อปี 2554 เพื่อ MLU (Mid-life update) เครื่องบินรุ่นดังกล่าว จำนวน 1 ฝูง 18 ลำ ทั้งนี้ถือเป็นโครงการต่อเนื่องที่ต้องใช้งบประมาณผูกพันข้ามปี ซึ่งตามระเบียบแล้วหากวงเงินเกินกว่า 1 พันล้านบาท ต้องขอความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี            

โดยคณะรัฐมนตรีในสมัยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้อนุมัติโครงการรวมงบประมาณ 19,000 ล้านบาท ซึ่งระยะแรกใช้งบประมาณปี 54-56 จำนวน 6 ลำ จำนวน 6,900 ล้านบาท ในครั้งนี้เป็นการอนุมัติในระยะที่ 2 ปีงบประมาณ 56-58  อีก 6 ลำ จำนวน 5,900 ล้านบาท และจะเสนอในระยะที่ 3 อีก 6 ลำในปีงบประมาณ 58-60 ทั้งนี้กองทัพอากาศได้ว่าจ้างบริษัท TAI ให้ดำเนินการปรับปรุงภายใต้โครงการ MLU จำนวน 18 ลำ โดยการดำเนินงานอยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท Lockheed Martin ซึ่งเป็นผู้จัดหาอุปกรณ์ให้กับ TAI

พล.อ.ต.มณฑล กล่าวว่า ตามรายละเอียดของเอกสารที่แจ้งต่อสภาคองเกรสระบุว่า กองทัพอากาศไทยร้องขอการขายชุดอุปกรณ์ในการทำ MLU ให้กับ เอฟ -16 เอ/บี ทั้ง 18 ลำ โดยการดำเนินงานจะแบ่งการลงนามในสัญญาเป็น 3 เฟส เฟสละ 1 ปี รวมมูลค่าทั้งหมด 700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีรายนามอุปกรณ์ที่แจ้งต่อคองเกรส เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมภารกิจ, ระบบเรดาร์แบบ APG-68(V)9 , ระบบพิสูจน์ฝ่าย, ระบบจัดการสงครามอิเล็กทรอนิกส์, ระบบเป้าลวงอัตโนมัติ, อะไหล่ อุปกรณ์สนับสนุน เอกสาร ข้อมูลทางเทคนิค การฝึกเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์การฝึก และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการส่งกำลังบำรุง.



วันที่10 มิถุนายน 2013 Northrop Grumman ขายเรดาร์AN/APG-68v9ให้ประเทศไทยจำนวน16ชุดตามโครงการFMS หมายเลข FA8615-13-C-6018 ถ้านับตามรายการจะเห็นว่าเราสั่งเรดาร์ไปแล้ว6ตัวสำหรับเฟสแรก และมีการนำเครื่องทยอยเข้ารับการปรับปรุงแล้วเช่นกัน และในเฟสที่2มีการสั่งเรดาร์16ชุด(รวมเรดาร์ทั้งหมดจำนวน22ชุด) แต่เราเหลือเครื่องบินที่จะเข้ารับการปรับปรุงอีกแค่เพียง12ลำ(รวมทั้งหมด18ลำ)นั่นหมายถึงมีเกินมาเป้นจำนวน4ชุด อาจเป็นได้ว่าสั่งมาไว้เป็นอะไหล่หรืออาจจะนำไปติดเพิ่มเติมกับเครื่องบินF-16ที่ยังเหลืออยู่ ข้อมูลตรงนี้ไม่แน่ใจเลยต้องขอตรวจสอบให้นานกว่านี้ก่อนครับ


June 10/13: Radars. Northrop Grumman Electronic Systems in Linthicum Heights, MD receives a maximum $115 million firm-fixed-price contract to provide 38 AN/APG-68(V)9 radar systems: 16 for the Royal Thai Air Force and 22 for the Republic of Iraq. This foreign military sale also includes spares for F-16 operators Egypt, Morocco, and Pakistan.

The 16 radars seems to cover the next 2 phases of Thailand’s modernization program, and leads one to wonder the 2-plane Feb 14/11 crash (q.v.) brought eligible F-16 numbers down from 18 to 16, or if Thailand is stopping short of 18 for other reasons.

This is a sole-source buy, as it must be, and $51.4 million is committed immediately. Work will be performed in Linthicum, MD, and is expected to be complete by Dec 20/17. The USAF Life Cycle Management Center/WWMK at Wright-Patterson AFB, OH, acts as the FMS agent for these orders (FA8615-13-C-6018).



 อุปกรณ์สำคัญชิ้นหนึ่งในการปรับปรุงก็คือเรดาร์ AN/APG-68(V)9 ซึ่งจะเป็นหนึ่งในระบบเรดาร์ที่ทันสมัยที่ สุดของกองทัพอากาศไทย โดยเรดาร์แบบ APG-68(V)9 นั้นมีระบบสร้างภาพความละเอียดสูงของพื้นดิน (Synthetic Aperture Radar: SAR) เพิ่มพิสัยในการตรวจจับให้มากขึ้นอีก 33% และลดค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการลง 25% - 45% เป็นต้น ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการปฏิบัติการเป็นอย่างมากแล้ว ยังทำให้ F-16 จากฝูง 403 ของกองทัพอากาศไทยที่จะเข้ารับการปรับปรุงช่วงครึ่งชีวิตนี้สามารถใช้อาวุธ ปล่อยที่ทันสมัยได้หลายแบบขึ้น

The AN/APG-68 radar is a long range (up to 296 km)[1] Pulse-doppler radar designed by Westinghouse (now Northrop Grumman) to replace AN/APG-66 radar in the F-16 Fighting Falcon. The AN/APG-68(V)9 radar system consists of the following line-replaceable units:

    Antenna
    Modified Dual Mode Transmitter (MDT)
    Modular Receiver/Exciter (MoRE)
    Common Radar Processor (CoRP)
Specifications
    Frequency: Starting Envelope frequency around 9.86 GHz.
    Under AIS Testing as high as 26 GHz
    Range: 296.32 km, 184 miles
    Search cone: 120 degrees × 120 degrees
    Azimuth angular coverage: ±10 degrees / ± 30 degrees / ± 60 degrees



จนถึงวันที่เขียน(28ธันวาคม2013)ยังไม่มีภาพเครื่องบินที่ปรับปรุงเสร็จแล้วหลุดออกมาซักลำ จึงยังไม่แน่ใจว่าเฟสแรก6ลำเสร็จไปแล้วมากน้่อยแค่ไหน ถ้าโครงการนี้มีความเคลื่อนไหวเพิ่มเติมผมจะนำข้อมูลมาใส่เพิ่มให้นะครับ ขอบคุณที่ติดตามสวัสดีปีใหม่ที่แสนหนาวเหน็บ




http://www.thaiarmedforce.com/taf-military-news/55-rtaf-news/193-f16-mlu-update-oct-2010.html
http://http://news.mthai.com/headline-news/103620.html
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=warfighter&month=28-03-2008&group=1&gblog=7
 http://www.bangkokpost.com/news/local/31734/rtaf-seeks-b20bn-jet-fleet-budget
http://www.dsca.mil/sites/default/files/mas/thailand_10-54_0.pdf
http://www.defenseindustrydaily.com/thailand-moving-to-upgrade-its-f-16-fleet-06597/
http://www.taithailand.com/News/News2012/news13112012.html
http://www.thairath.co.th/content/pol/331994
http://www.thaiarmedforce.com/taf-military-news/55-rtaf-news/534-first-f-16-go-to-mlu.html

วันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เรือฟริเกต Emden F 210 (F122 Bremen class) ปลดประจำการแล้วในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2556


        หลังจากเคยตามข่าวเรือฟริเกตุชั้น F-122 ของเยอรมันที่ทยอยปลดประจำการไปเรื่อยๆ วันนี้ถึงคิวของ เรือฟริเกตEmden F 210 แล้วครับ เธอปลดปรจำการในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2556 เวลา9.00น. รวมเวลาประจำการทั้งสิ้น30ปีพอดี ในขั้นต้นเรือจะยังคงจอดสำรองราชการอยู่โดยอาจมีการถอดอาวุธบางอย่างไปใช้ กับเรือลำอื่น (ram,ปืน27มม.) แต่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าจะทำลายเป็นเศษเหล็ก ขายต่อเฉพาะเรือเปล่า หรือrebuild แล้วขายเป็นเรือพร้อมรบมือ2

http://www.ndr.de/regional/niedersachsen/oldenburg/fregatteemden101.html
http://www.ndr.de/fernsehen/sendungen/niedersachsen_1800/ndsmag13187.html#

Class: F122
Callsign / ID: DRAT / F 210
Type of ship: Bremen
Development / Boatyard: Thyssen Nordsee Werke, Emden (final outfitting at Bremer Vulkan AG)
Yard numbers: 464/1023
Keel laid: 23 June 1980
Launched: 17 December 1980
Commissioning: 7 October 1983
Decommissioning: 29 November 2013 at 9.00
Association membership 4 Frigate Squadron in Wilhelmshaven




      แนะนำสเป็กเรือนิดหนึ่งครับ เอามาจากวิกิทั้งยวง ใกล้เคียงกับเรือDSMEของเรามากทั้งขนาดและระวางขับน้ำ เรือคุณภาพเยอรมันติดอาวุธมาตราฐานนาโต้ เป็นอีก1ตัวเลือกที่เราเคยพูดถึงเรือฟริเกตมือ2ของกองทัพเรือไทย แต่ก็แค่พูดถึงแหละครับโอกาสจะได้มาคงยากพอสมควร

Displacement: 3,680 tonnes
Length: 130.50 m
Beam: 14.60 m
Draft: 6.30 m
Propulsion: CODOG (Combined diesel or gas)
2 × MTU 20V956 TB92 diesel engines, 8.14 MW total
2 × General Electric LM2500 gas turbines, 38 MW total
2 × Renk STG 150-50 gearboxes, 10:1 (diesel) and 720:47 (turbine)
2 × propeller shafts, controllable pitch, five-bladed Sulzer-Escher propellers, later replaced with seven-bladed ones from Wegemann & Co. ("Bremen" only)
4 × Deutz MWM diesel-generators, 750 kW
Speed: 30 knots
Range: more than 4,000 nautical miles (7,000 km) at 18 knots
Complement: 202 crew plus 20 aviation
Sensors and
processing systems:
1 × EADS TRS-3D air search radar (three dimensional)
1 × WM 25 combined surface search and fire control radar I/J band
1 × Thales Nederland STIR 180 fire-control radar I/J/K band
1 × Kelvin Hughes Nucleus 5000 I band navigation radar
1 × STN Atlas DSQS-23BZ hull-mounted sonar
Electronic warfare
& decoys:
ESM/ECM EADS FL 1800S
2 × SCLAR decoys
SLQ-25 Nixie torpedo decoy
Armament:
Aircraft carried: Place for 2 Sea Lynx Mk.88A helicopters equipped with torpedoes, air-to-surface missiles Sea Skua, and/or heavy machine gun.







http://www.thaifighterclub.org/webboard/18005/%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%9F%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%95-Emden-F-210--F122-Bremen-class--%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%8830-%E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%A9%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%99-2556.html

     กระทู้เก่าที่เคยคุยไปก่อนหน้านี้  ถึงตอนนี้เรือฟริเกตรุ่นนี้ปลดประจำการไปแล้ว3จาก4ลำตามแผน และจะเหลือประจำการ4ลำไปเรื่อยๆจนกว่าจะต่อเรือF125มาแทนที่ทั้งหมด (แต่ก็แค่4ลำ)

- F211 Köln ปลดประจำการในวันที่ July 31, 2012    สถานะถอดอาวุธออกไปแล้วทั้งลำ
- F209 Rheinland-Pfalz ปลดประจำการในวันที่ March 22, 2013 สถานะ น่าจะยังจอดปรกติดีสำรองราชการไปก่อน
-Emden F 210 ปลดประจำการในวันที่ November 29, 2013 สถานะ จอดปรกติดีสำรองราชการไปก่อน
-F 207 Bremen มีแผนที่จะปลดประจำการในวันที่ March 31, 2014



     เรือลำนี้เมื่อเทียบกับOHPแล้ว เรือจะติดอาวุธครบ3มิติมีเครื่องยนต์ดีเซลด้วยเหมาะเป็นเรื่องฟริเกตเอนก ประสงค์มากกว่า ส่วนOHPมีระบบปราบเรือดำน้ำที่ทันสมัยกว่าและมีโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ถึง2ลำ จึงเหมาะกับอีกภาระกิจ(โดยที่เรือสามารถลงทุนเพิ่มเพื่อใช้ในภาระกิจป้องกัน ภัยทางอากาศได้)

     แม้อาวุธที่ติดตั้งจะน้อยกว่า แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเรือOHPจะมีราคาถูกกว่ากันพอสมควร และเรือF122ยังไม่มีความแน่นอนในการขาย ทั้งราคาและรูปแบบของเรือว่าจะติดอาวุธตามภาพหรือไม่ เพียงแต่ถ้ากองทัพเรือต้องการเรือฟริเกตคุณภาพสุงเพิ่มโดยใช้อุปกรณ์และ อาวุธแบบเดียวกับที่เรามี นี่คือโอกาสทองฝังเพชรเลยครับ น่าสนใจกว่าเรืออเมริกาและอิตาลีแต่ต้องใช้ความพยายามมากจนถึงมากที่สุด ผมแนะนำว่าโทรไปจองเรือลำนี้Emden F 210และF 207 Bremen ที่จะปลดประจำการมีนาคมปีหน้าโดยขอซื้อทั้งลำรวมอุปกรณ์และอาวุธเท่าที่เขา จะขายได้ แผนนี้น่าจะเข้าท่ามากที่สุดครับแต่ราคาก็คงแพงเหมือนกัน อย่างน้อยก็ลำหละ100ล้านเหรียญขึ้นนะผมว่า









 

ตามรอยโครงการเรือฟริเกตสมรรถนะสุง แล้วแบบเรือที่เสนอเข้ามาอีก4รายจะหน้าตาเป็นอย่างที่ผมคิดไหมนะ

กองทัพเรือได้แต่งตั้งคณะกรรมการฯ ขึ้นมาดำเนินการ โดยได้เชิญชวนอู่เรือของประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย ยุโรป และอเมริกา จำนวน 13 ราย ซึ่งรวมถึงอู่เรือจากสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ด้วย เพื่อเปิดกว้างให้มีการแข่งขันให้ ทร. ได้รับประโยชน์สูงสุด โดยมีผู้เสนอแบบเรือ 5 ราย ได้แก่ อู่เรือจากสาธารณรัฐอิตาลี ราชอาณาจักรสเปน สาธารณรัฐเกาหลี (2 ราย) และสาธารณรัฐประชาชนจีน หลังจากนั้นได้ดำเนินการคัดเลือกแบบตามแนวทางการจัดหายุทโธปกรณ์หลักของกอง ทัพเรือ โดยผลการพิจารณาปรากฏว่า แบบเรือของบริษัท Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering Co., Ltd. (DSME) สาธารณรัฐเกาหลี สามารถตอบสนองภารกิจของกองทัพเรือได้ดีที่สุด และเป็นแบบเรือที่ตรงตามความต้องการของกองทัพเรือมากที่สุด จึงได้รับการคัดเลือก



ในโครงการเรือฟริเกตสมรรถนะสุงจำนวน2ลำมูลค่า30,000ล้านบาท ซึ่งผลการตัดสินอู่เรือแดวูจากเกาหลีใต้ได้รับการคัดเลือกนั้น เพื่อนๆเคยสงสัยกันบ้างไหมครับว่าแบบเรือฟริเกตจากอู่เรือประเทศอิตาลี สเปน จีน และเกาหลีใต้จะน่าตาเป็นอย่างไรกันบ้างนะ วันนี้ผมจึงรวบรวมข้อมูลเรื่องดังกล่าวมานำเสนอบทความให้ทุกคนอ่านกันพอขำๆ ในช่วงวันหยุดยาว ตรงบ้างไม่ตรงบ้างก็ว่ากันไปนะครับ

ริ่มจากง่ายไปยากแล้วกัน ลำแรกก็คือเรือจากสาธารณรัฐประชาชนจีน Type 054T Jiangkai นั่นเอง เรือมีระวางขับน้ำสุงสุดที่4,000ตัน ยาว 134 เมตร กว้าง16 เมตร ข้อมูลของลำนี้ไม่ได้มีความลึกลับอะไรซักนิด เพราะสื่อมวลชนจากจีนออกข่าวเรื่องโครงการเรือของเราเป็นเจ้าแรกๆก่อนประเทศ อื่น ข้อเสนอจากจีนก็ดังก้องไปทั่วโลกนั่นคือเรือฟริเกตจำนวน3ลำเฮลิคอปเตอร์ปราบ เรือดำน้ำZ-9ECอีก6ลำ เรียกว่ามากทั้งขนาดและปริมาณก็ว่าได้มาทีเดียวเต็มท่าเรือเลย ช่วงนั้นในTFCมีการถกเถียงกันมากว่าเรือเขาจะลดสเป็กไหมนะ ได้ระบบVLSแบบในภาพหรือเปล่า สามารถติดตั้งอาวุธตามความต้องการของทร.ได้จริงหรือไม่ และคุณภาพเรือจีนเป็นอย่างไรแล้ว

เรือลำนี้มีการสร้างขึ้นมาเพื่อใช้งานจริงอยู่แล้วจึงผ่านกฎข้อนี้แบบ สบายมาก ก่อนมีการประกาศผลการตัดสินไม่กี่วันมีข่าวลือออกมาว่าจีนยื่นข้อเสนอเพิ่ม ด้วยการสร้างอู่ต่อเรือขนาดใหญ่ในไทยให้อีกด้วย เรือลำนี้จึงเรียกความฮือฮามาได้โดยตลอดหัวโค้งแต่สุดท้ายก็ไปไม่ถึงฝั่งฝัน สร้างความผิดหวังให้กองเชียร์จำนวนมากไปแทน




เรือลำที่2จากสาธารณรัฐเกาหลีประเทศเดียวกับแดวูที่ได้รับคัดเลือก แต่เป็นเรือจากอู่ฮุนไดที่ใหญ่เป็นอันดับ1ของโลกในเวลานี้ แบบเรือลำนี้ง่ายมากครับเพราะขนาดเรือ3,000-4,000ตันที่ทร.กำหนดเขามีอยู่ แค่แบบเดียวคือ FFX-I Incheon-class frigate ตัวเรือมีระวางขับน้ำสุงสุดที่3,251ตัน ยาว 114 เมตร กว้าง14 เมตร ซึ่งดูเล็กเกินไปและติดอาวุธไม่ครบตามที่เราต้องการ

แบบเรือที่นำเสนอจริงๆจึงน่าจะเพิ่มความยาวด้านหน้าหอบังคับการเพื่อติด ตั้งระบบVLS ทำการออกแบบเสากระโดงหลักให้ใหญ่ขึ้น เพิ่มจุดติดตั้งเรดาร์ระยะไกลด้านหลังปล่องไฟ และถ้าปิดช่องว่างข้างเรือให้เรียบร้อยซะเราจะได้ฝาแฝดสยามน้องแท้ๆในไส้ของ เรือจากแดวูเลยทีเดียว เนื่องจากเกาหลีใต้มีการแชร์พิมพ์เขียวของเรือกันทุกอู่ ลานจอดเฮลิคอปเตอร์เรือเราจะเหมือนกับในภาพไม่มีผิดเพี๊ยน และปล่องท่อไอเสียรุ่นเดชไอ้อ้วนก็เหมือนกันกับเรือลำนี้มากจริงๆ

เรือลำนี้มีการสร้างขึ้นมาเพื่อใช้งานจริงอยู่แล้วจึงผ่านกฎข้อนี้แบบ สบายมาก แต่ที่ไปไม่ถึงฝั่งก็อาจจะเป็นเรื่องข้อเสนอต่างๆและการยอมรับในเงื่อนไข ต่างๆของทร.สู้ไม่ได้หรือเปล่า ซึ่งข้อมูลตรงนี้ยากเกินคาดเดาไปมากผมขอละไว้แล้วกันนะครับ




เรือลำนี้ที่3จากประเทศสเปนคืออู่เรือ Navantia ถ้าเข้าไปดูสินค้าของเขาจะพบว่าไม่มีเรือฟริเกตขนาด3,000-4,000ตันเลย โดยจะมีเรือF-100, F-310ซึ่งขนาดใหญ่เกินไปมากแล้ว จากนั้นจะลดลงมาเป็นเรือตระกูลAvanteซึ่งเป็นเรือOPVและเรือฟริเกตเบาขนาด ไม่เกิน2,500ตัน มีการคาดเดากันว่าเขาอาจจะเสนอเรือAFCONที่ติดเรดาร์ทันสมัยมากและขยายขนาด ตัวเรือให้ใหญ่ขึ้นมาอีกนิด แต่ผมคิดว่าลำบากครับเพราะเรือAFCONเองแม้มันจะคือAvanteแปลงร่างผ่านกฎข้อ นี้ได้ แต่ขนาดของเธอเล็กเกินไปและผิดวัตถุประสงค์ในการใช้งานของเราไปบ้าง เรือลำนี้ถูกเสนอให้อิสราเอลและบัลกาเรียแต่ไม่ได้รับการจัดซื้อแต่อย่างใด ผมจึงคิดว่าไม่ใช่เรือลำนี้หรอกเนื่องจากNavantiaยังมีเรือให้เลือกอีก ถึง3แบบด้วยกัน



แบบแรกที่เป็นไปได้คือรุ่น F-310C ซึ่งเป็นญาติสนิทมากๆกับเรือ Fridtjof Nansen (F-310) ของนอร์เวย์ เป็นเรือฟริเกตปราบเรือดำน้ำแท้ๆที่มีระวางขับน้ำ 4,350ตัน ยาว127เมตร กว้าง16เมตร แบบเรือทันสมัยสวยงามมีการสร้างขึ้นมาเพื่อใช้งานจริงอยู่แล้ว ติดแค่เพียงว่าตัวเรือมีขนาดใหญ่ไปหน่อยจึงอาจจะมีต้นทุนในการสร้างที่สุ งเกินไป แบบเรือที่เสนอกับเราจริงๆจึงอาจจะDownsideลงมาบ้างเพื่อความประหยัด สำหรับเรือF-310Cลำนี้เกิดขึ้นมาเพื่อชิลีโดยเฉพาะ แต่เดี๋ยวผมจะเล่าให้ฟังพร้อมเรือจากอิตาลีก็แล้วกัน




แต่ถ้าไม่ใช่ F-310C หละผมก็ยังมีเรือให้เลือกอยู่ นี่คือภาพเรือF-100ในช่วงยุค90ซึ่งมีขนาด3.500ตันและออกแบบเป็นเรือฟริเก ตปราบเรือดำน้ำโดยเฉพาะอีกด้วย แต่ผลสืบเนื่องมาจากการล่มสลายของ Nato Frigate NFR-90 Project ทำให้ทุกประเทศที่เป็นสมาชิกต้องพัฒนาเรือฟริเกตป้องกันภัยทางอากาศกัน เองอย่างเร่งด่วน นั่นแหละครับจึงเป็นที่มาของเรือติดเรดาร์ APAR+SMART-L ใช้จรวด SM-2ในหลายๆประเทศ ขณะที่อีกหลายประเทศก็เลือกเรดาร์ EMPAR และใช้จรวดASTER30 แทน สเปนเองก็เช่นกันเขาต้องขยายร่างเรือF-100โดยด่วนและตัดสินใจเลือกเรดาร์ SPY-1 กับจรวดSM-2เพื่อใช้กับเรือตัวเอง แต่แบบเรือเก่าก็ยังมีอยู่นี่ครับและทันสมัยเอามากๆเสียด้วย Navantiaสามารถปรับปรุงนำมาขายกับเราได้อย่างสบายมากเลย 3,500ตันขนาดไล่เรี่ยกับเรือแดวูไม่มีผิดเพี๊ยน



เรือลำที่3ที่เขาอาจจะนำเสนอก็คือ F-590 Series (มีทั้ง F-590A , F-590B  และF-592) เรือลำนี้ออกแบบขึ้นมาเพื่อการส่งออกโดยมีลูกค้าสำคัญคือแอฟริกาใต้ ในช่วงปี2002เขาต้องการเรือฟริเกตใหม่จำนวนถึง4ลำด้วยกัน แม้เรือF-590BจะขยายขนาดมาจากเรือตระกูลAvanteแต่ก็มีขนาดถึง3,100ตัน และยาว109เมตรเลย

แต่ผลการตัดสินไม่ได้เป็นอย่างที่หวังเรือMeko A200จากเยอรมันได้รับการคัดเลือก ถึงจะเคยผิดหวังมาก่อนแต่แบบเรือลำนี้ทันสมัยมากติดอาวุธตามความต้องการของ ลูกค้าได้เลยซึ่งเหมาะกับเราดี ถ้าเสนอมาจริงๆอาจจะเพิ่มขนาดของเรือขึ้นมาอีกนิดเพื่อรองรับความต้องการที่ มากขึ้น เรือจากอู่สเปนผมชอบมากเป็นพิเศษนะครับน่าเสียดายที่ได้แค่เพียงที่2เท่า นั้นเอง




 เรือลำสุดท้ายจากประเทศอิตาลี เรื่องนี้ผมแปลกใจมากเพราะไม่เคยได้ยินข่าวว่าเขาส่งเข้าประกวดด้วยมาก่อน เลย แม้กระทั่งทร.ลงข่าวแล้วผมยังคิดว่าเป็นสิงคโปร์หรือเยอรมันอยู่เลยนะ จนได้กลับมาอ่านอีกครั้งจึงรู้ว่าเป็นอิตาลีและเป็นแรงจุงใจให้เขียนบทความ เรื่องนี้ขึ้นมา สนุกมากครับประเทศนี้ไม่เหมือนฟุตบอลที่เอาแต่อุดท่าเดียว


เรือจากอิตาลีขนาดใกล้เคียงกับที่เราต้องการก็เห็นจะมีแค่ Mosaic240จากOSNที่ขยายร่างมาจากเรือOPVเท่านั้น(แต่ก้แค่2,500ตันเอง)  แต่อิตาลีก็มีเรือฟริเกตสำหรับส่งออกนะครับ ในยุดปี90บริษัท Fincantieri - Cantieri Navali Italiani S.p.A. มีโครงการ F-3000และ F-1700 เพื่อตลาดส่งออกโดยเฉพาะ ผมเห็นภาพครั้งแรกนี่มันเรือ Meko A200 ของแอฟริกาใต้ชัดๆเลยนะเพราะสวยงามผิดไปจากเพื่อนร่วมรุ่นเป็นอย่างมาก  FincantieriนำเรือฟริเกตMaestraleของอิตาลีมาปรับปรุงเสียใหม่จนสวยงามมาก และทันสมัยขึ้นจมหูนำเทคโนโลยีStealthถูกนำเข้ามาใช้งานเป็นรายแรกๆลดความสุ งและเพิ่มความกว้างนับว่าทันสมัยไม่เบาเลยครับ

เรือF-3000ในภาพมีขนาด3,100ตัน ยาว112.5เมตรและกว้าง14.5เมตร ด้านหน้าเรือสามารถติดVLSได้ถึง24 ลานจอดและโรงเก็บรองรับเฮลิคอปเตอร์ขนาด10ตัน ส่วน F-1700 มีขนาด1,710ตัน ยาว90เมตร กว้าง12.6เมตรด้านหน้าเรือสามารถติดVLSได้ถึง16ท่อ ลานจอดและโรงเก็บรองรับ เฮลิคอปเตอร์ขนาด7ตัน ภาพโมเดลทั้ง2เกิดขึ้นในปี1989นับย้อนไปแล้วกันครับว่ากี่ปี




เมื่อมีเรือแล้วก็ต้องมีการขายสิ ในปี1993อิหร่านมีความต้องการเรือดำน้ำชั้นกิโลจากรัสเซีย ทำให้UAEต้องการเรือคอร์เวตปราบเรือดำน้ำเพื่อใช้ป้องกันไปด้วย(คล้ายๆกับ บ้านเราเหมือนกันนะครับ) F-1700ถูกปรับปรุงให้เข้ากับประเทศนี้โดยมีชื่อว่าใหม่ว่าFALCO-1700 (ภาพบนสุด) ตัวเรือติดระบบอาวุธและโซนาร์ที่ทันสมัยรวมทั้งลานจอดและโรงเก็บ เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำอีกด้วย ช่วงเวลานั้นเรือที่มีโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ต้องใหญ่มากกว่า3,000ตันแทบทั้ง สิ้นจึงนับเป็นเรือที่ทันสมัยมากๆ เรือเพิ่มความStealthมากขึ้นแม้จะสวยน้อยกว่าต้นแบบไปบ้างก็ตามที ถึงเรือดำน้ำของอิหร่านจะมาจริงๆแต่สุดท้ายUAEก็ไม่ได้จัดหาFALCO-1700มา ประจำการแต่อย่างใด

ลิขิตฟ้าหรือจะสู้มานะตน Fincantieriยังไม่ยอมแพ้จึงนำเรือนี้มาพัฒนาปรับปรุงต่อจนกลายเป็นโครงการ NUMC (New Minor Combatant) และอิตาลีได้สั่งสร้างเป็นเรือจริงรุ่น Commandante Class จำนวน4ลำในอีก9ปีต่อมา  แบบเรือ Commandante-1500 ยังไปตรงกับความต้องการของUAEอีกครั้งเขาจึงซื้อแบบเรือไปสร้างเป็นเรือ Baynunah-class corvette หรือชื่อใหม่ว่า Abu Dhabi Class จำนวนถึง6ลำ (ภาพล่างสุด)

สรุปตอนท้าย FincantieriสามารถปิดดีลUAEได้สำเร็จอย่างสวยงามมากแม้จะต้องใช้เวลานานถึง16ปีก็ตาม



ขณะเดียวกันเรือF-3000ก็ถูกพัฒนาแบบคู่ขนาดกันไปด้วยและถูกส่งเข้า ประกวดในเวลาต่อมา ปี1999ชิลีมีโครงการ tridente frigate ขึ้นมาโดยต้องการเรือฟริเกตทันสมัยถึง6ลำแบ่งเป็น2เฟส เฟส1เป็นเรือฟริเกตทั่วไปจำนวน4ลำก่อน และเฟสที่2เป็นเรือฟริเกตป้องกันภัยทางอากาศที่ขยายขนาดใหญ่ขึ้นและติดอาวุธ จรวดSM-2ที่ทันสมัย ปี2002เปิดให้มีการส่งแบบ เรือF-310CจากNavantiaที่ผมกล่าวถึงไปแล้วจึงถือกำเนิดขึ้นมาเพื่อการนี้โดย เฉพาะ ด้วยแบบเรือที่ใหญ่และทันสมัยจึงนับเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวมาก อิตาลีส่งFalco3000ขนาด 3,600ตันที่ออกแบบอย่างดีเยี่ยมเข้ามาประกบโดยหวังผลชัยชนะกลับไปเท่านั้น นอกจากนี้ก็ยังสู้ต่อในเฟส2ด้วยการเสนอเรดาร์EMPARเข้ามาควบคุมจรวดSM-2ให้ ด้วยเพราะทร.ตัวเองกำลังจะทำอยู่เช่นเดียวกัน

ลิขิตฟ้าหรือจะสู้มานะตนผลการตัดสินปรากฎว่าเรือ Meko 200 Triton (ไม่ใช่รถกระบะนะ) จากเยอรมันได้รับการคัดเลือกในเฟสแรก ส่วนเฟสสองเรดาร์ SPY-1F รุ่นส่งออกควบคุมโดย 9LV CMS ทำท่าจะเข้าวินแบบนิ่มๆ นั่นหมายถึงภายในเวลาไม่ถึงปีเยอรมันได้รับออเดอร์ให้สร้างเรือฟริเก ตถึง10ลำเข้าไปแล้ว (Meko A200 4ลำ Meko 200 6ลำ) โบนัสปลายปีของพนักงานที่เกี่ยวข้องคงมากพอจะซื้อบ้านได้เป็นหลังเลยทีเดียว นะครับ

แต่มานะตนหรือจะสู้ความจนในกระเป๋า แค่เพียงปีเดียวเท่านั้นรัฐบาลชิลีก็ถังแตกเข้าจนได้ พวกเขาต้องซื้ออาวุธจำนวนหลายอย่างแต่มีเงินไม่มากพอจึงตัดสินใจซื้อF-16 C/D1ฝูงต่อแต่ยกเลิกโครงการเรือฟริเกตไปแทน ทร.ชิลีจึงต้องไปซื้อเรือฟริเกตมือ2จากอังกฤษมาใช้ไปพลางๆก่อนจนถึงทุก วันนี้ เป็นอันว่าประเทศในยุโรปที่แข่งกันแทบเป็นแทบตายกินแห้วกันหมด อเมริกาขายอาวุธได้น้อยลงไปบ้างและอังกฤษอยู่เฉยๆคว้าพุงปลาไปกินเพียงคน เดียว

ผลพวงจากสงครามในครั้งนี้สร้างบาดแผลให้ทุกคนโดยถ้วนหน้า เยอรมันยังคงขายเรือตัวเองได้แต่ไม่มีดีลขนาดใหญ่แบบนี้อีกแล้ว สเปนยังโชดดีที่ขายF-100ให้ออสเตรเลียและF-310ให้นอร์เวย์ได้อยู่ แต่อิตาลีมีแต่ทรงกับทรุดลงไปเรื่อยๆมากขึ้นทุกวัน ตั้งแต่ปี1990เป็นต้นมา Fincantieri จากอิตาลีซึ่งมีอู่ต่อเรือและบริษัทลูกในเครือจำนวนมาก (รวมถึง OSN - Orizzonte Sistemi Navali S.p.A. ที่เน้นเรือขนาดเล็กไม่เกิน2,500ตัน) ได้รับออดอร์ให้ต่อเรือรบขนาดใหญ่และเรือดำน้ำแค่เพียง10ลำเท่านั้นเอง(ของ ทร.อิตาลีเองทั้งหมด) เขาต้องจับตลาด cruise ship และFerry Ship มาทดแทนจำนวนมากกลายมาเป็นผู้นำอันดับ1ทางด้านนี้ไปแล้ว เมื่อรู้แบบนี้จึงไม่น่าแปลกใจที่มีอิตาลีในรายชื่อผู้ส่งแบบเรือเข้าประกวด ด้วย เพราะเขาต้องการทวงตลาดเรือฟริเกตคืนกลับมาบ้างเช่นกัน

F-3000 หรือ Falco-3000หรือ Commandante-3000เหมาะสมที่จะเป็นแบบเรือที่ส่งเข้าประกวดมากที่สุด เขามีพี่สาวตัวเล็กคือ Commandante-1500จำนวนถึง10ลำ และถ้าเรือฟริเกตของเราคือKDX-Iจำแลง เรือลำนี้ก็ต้องเป็นMaestraleจำแลงเหมือนกันด้วย เป็นอันว่าตอนนี้ผมหาแบบเรือได้ครับทุกประเทศแล้วแต่ผิดถูกยังไงไม่ทราบคำ ตอบเหมือนกัน



ปัจจุบันประเทศใหญ่ๆจะใช้เรือขนาดไม่เกิน2,500ตันและข้าม ไป4,000-5,000ตันกันเลย เรือส่งออกของพวกเขาจึงต้องมีขนาดตามนี้ไปด้วย เรืออเนกประสงค์ขนาดเล็กถ้าติดอาวุธน้อยจะเป็นOPVที่กำลังฮิตมากและถ้าติด อาวุธมากจะเป็นฟริเกตเบาหรือเรือคอร์เวตใหญ่แล้วแต่จะเรียกกัน เรือขนาดนี้ขายดีมากในประเทศแถบตะวันออกกลาง แอฟริกา ลาตินอเมริกาและอาเซี่ยนบ้านเรา ถ้าเจาะลึกลงไปอีกจะพบว่าเรือตระกูลSigmaจากฮอลแลนด์ขายดีมากและน่าสนใจที เดียว ผมเคยคิดว่าเขาจะเสนอรุ่นขยายร่างให้กับเรานะแต่ดันถอดใจไปก่อนเหมือน เยอรมันและอเมริกา อาจจะเป็นเพราะขนาดเรือไม่ตรงตามความต้องการทร.เสนอมาคิดว่าสู้ไม่ได้ก็เลย ถอยไป

เพราะเราต้องการเรือฟริเกตขนาด3,000-4,000ตันซึ่งมีขายน้อยมาก ช่องว่างที่เกิดขึ้นทำให้หลายๆประเทศจากเอเชียเร่งพัฒนาแบบเรือและส่งเข้า ชิงชัยกันถ้วนหน้า จีน เกาหลี สิงค์โปร์ ทุกคนเริ่มมีลูกค้ารายแรกๆกันแล้วต่อไปจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนอีกหลายประเทศในเอเชียก็เริ่มอุตสาหกรรมเรือรบในประเทศตัวเองรวมทั้งไทย แลนด์ของเราที่เริ่มนับ1ได้แล้วเหมือนกัน

แต่ก็ยังมีประเทศใหญ่ที่ทำตลาดเรือขนาดนี้อยู่นะครับ Meko Delta (D) จากเยอรมันยังไงหละครับเรือที่พวกเราทุกคนฝันถึงและยกให้เป็นอันดับ1ของรุ่น เลย น่าเสียดายอย่างมากที่สุดถ้าทร.เราจัดหามาจริงๆจะเป็นประเทศแรกๆที่ใช้เรือ แบบนี้ บทความของผมจบแล้วครับ ถ้ามีข้อมูลที่ผิดพลาดหรือเขียนผิดไวยากรณ์ต้องขออภัยด้วย พอดีไม่ค่อยสบายเป็นไข้หวัด มีอะไรตรงไหนผิดพลาดบอกได้เลยนะครับแล้วผมจะมาแก้ไขให้อีกที

http://www.betasom.it/forum/index.php?showtopic=28499
http://z11.invisionfree.com/shipbucket/ar/t774.htm
http://z11.invisionfree.com/shipbucket/ar/t794.htm
http://forum.keypublishing.com/showthread.php?77827-Spanish-and-other-navies-Never-where-ships

Siroco (S 72) เรือดำน้ำชั้นAgostaจากสเปน ที่”เกือบจะ”และ”อาจจะ”เข้าประจำการในกองทัพเรือไทย



Siroco (S 72) เรือดำน้ำชั้นAgostaจากสเปน ที่เกือบจะและอาจจะเข้าประจำการในกองทัพเรือไทย

ประวัติส่วนตัว
      Siroco (S 72) เป็นเรือดำน้ำชั้น Agosta เข้าประจำการในกองทัพเรือสเปนวันที่ 5 ธันวาคม 1983 ตัวเรือยาว67เมตร กว้าง6เมตร ระวางขับน้ำปรกติ1,500ตัน ระวางขับน้ำเต็มที่1,760ตัน สามารถดำน้ำลึก300เมตร มีอาวุธเป็นตอร์ปิโดขนาด21นิ้ว4ท่อ สามารถบรรทุกตอร์ปิโดไปได้16นัด ความเร็วสุงสุดขณะลอยลำ12น็อตขณะดำใต้น้ำ22.5น็อต

      ทร.สเปนสร้างเข้าประจำการ4ลำโดยที่ Siroco (S 72) เป็นลำดับที่ 2 ประเทศอื่นที่สร้างเข้าประจำการด้วยก็คือทร.ฝรั่งเศส4ลำ (ปลดระวางหมดแล้วแทนที่ด้วยเรือดำน้ำสกอร์เปี้ยน) ปากีสถาน 5ลำ โดยเป็นรุ่น Agosta 90Bจำนวน3ลำและ2ลำสุดท้ายต่อเองในประเทศ ถึงปัจจุบันสายการผลิตยังคงเปิดอยู่ปากีสถานมีสิทธิบัตรสามารถส่งออกไปขาย ต่างประเทศได้ด้วย




        

ผมงานในอดีตที่เคยปรากฎ

      เรือยังเข้าประจำการไม่ถึง2ปีดีก็มีวีรกรรมเป็นที่ปรากฎเสียแล้ว วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน 1985 เรือSiroco ได้ร่วมซ้อมรบกับเรืออื่นตามปรกติ เรือพิฆาต Valdes D-23ตามภาพล่างอยู่ไม่ห่างมากนัก เมื่อถึงเวลาที่กำหนด Sirocoจึงลอยขึ้นผิวน้ำในระดับส่องกล้องเปอร์ริสโคป ส่วนเรือValdesก็กลับหลังหัน180องศาตามโปรแกรมที่ได้รับ เรือทั้ง2ลำเข้าใกล้กันมากเกินไปจนหักหลบไม่ทัน ส่วนหนึ่งของหอบังคับการเรือดำน้ำใหม่เอี่ยมเสียหายตามภาพจึงจำเป็นต้องเข้า โรงซ่อมโดยด่วน

     ส่วนผู้ก่อเหตุอีกรายคือเรือพิฆาต Valdes D-23 ที่มีความยาว114เมตร กว้าง12เมตร ระวางขับน้ำ3,100ตัน เกิดความเสียหายอย่างหนักจนต้องปลดระวางในปีถัดไปทันที ผมล้อเล่นครับเธอได้รับความเสียหายนิดหน่อยเท่านั้นเอง แต่เนื่องจากรับใช้ชาติมานานถึง29ปีแล้วจึงถึงเวลาพักผ่อนเสียที การเฉี่ยวชนกับเรือดำน้ำชั้นAgostaถือเป็นผลงานครั้งสุดท้ายก็ว่าได้   Destructor Almirante Valdés D-23 (1959-1986)

      เรือรบจากประเทศยุโรปและอเมริกาส่วนมากจะประจำการไม่เกิน30ปีทั้งนั้น ฝรั่งเศสประจำการเรือดำน้ำชั้นAgostaแค่เพียง20ปีเท่านั้นเอง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเขาสามารถสร้างเรืออุปกรณ์ต่างๆและอาวุธได้เอง เรือที่สร้างจึงมีราคาที่ไม่แพงและเป็นการสร้างงานให้คนในชาติอีกด้วย 



วีกรรมครั้งสุดท้าย
  
     ปี2010ภายใต้การปฎิบัติการของนาโต้ Sirocoถูกส่งไปสังเกตุการณ์นอกชายฝั่งประเทศซีเรีย วันที่2มีนาคมใกล้ท่าเรือ Tartusเขาสามารถจับภาพเรือต้องสงสัยได้ บนเรือลำนั้นบรรทุกอาวุธที่คาดว่าจะเป็นจรวด Scuds และ M-600ที่กำลังขนออกนอกประเทศ แม้ซีเรียจะปฎิเสธเสียงแข็งมาโดยตลอดว่าไม่เคยให้ความช่วยเหลือกองกำลังติด อาวุธHezbollahในเลบานอนเลยก็ตาม แต่ภาพถ่ายของเรือ Siroco นี้สามารถยืนยันคำตอบทุกอย่างได้เป็นอย่างดี การลักลอบขนจรวดและอาวุธแบบนี้ยังคงมีจากฝั่งอิหร่านอีกด้วยทำให้สถานการณ์ ความรุนแรงระหว่างเลบานอนกับอิสราเอลไม่เคยลดลงไปแม้แต่น้อย

   จากกรณีนี้จะเห็นได้ว่า นี่คืออีก1ภาระกิจสำคัญ(มาก)ที่เรือดำน้ำสามารถทำได้ เป็นงานจารกรรมสุดคลาสิคด้วยเรือดำน้ำครั้งล่าสุดของโลกและเป็นภาระกิจสุด ท้ายของเรือลำนี้ด้วยเช่นกัน


การปลดประจำการ

     ในปี2012 รัฐบาลสเปนประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจครั้งยิ่งใหญ่ทำให้ต้องตัดลดค่าใช้จ่าย ทางทหารลงจำนวนมาก เรือ Siroco จำเป็นต้องเข้ารับการปรับปรุงซ่อมแซมทั้งภายนอกและภายในตัวเรือนับเป็นมูล ค่าสุงถึง25ล้านยูโร สัญญาที่ทำไว้กับ Navantia ถูกยึดออกไปเรื่อยๆและในที่สุดพวกเขาก็ตัดสินใจปลดประจำการเธอ ช่วงเวลานั้นรัฐบาลสเปนพยายามเสนอขายเรือลำนี้ไปยังประเทศ ตุรกี ปากีสถานและประเทศไทย แต่ผลการเจรจาไม่เป็นที่ประสบความสำเร็จ วันที่ 29 มิถุนายน 2012 เรือดำน้ำ Siroco (S 72) จึงปลดประจำการ หลังจากรับใช้ประเทศมาเป็นเวลาเกือบ29ปีเต็ม โดยมีภารกิจจริงทั้งในประเทศและต่างประเทศรวมกว่า 33,000 ชั่วโมง นับเป็นเวลามากถึง2,200 วันในทะเล   

Submarino Siroco S-72 (1983-2012)



Siroco (S 72) กับกองทัพเรือไทยในอดีต

     ข่าวเรือดำน้ำ Siroco ลำนี้ผมรวบรวมข้อมูลจากฝั่งสเปนอย่างเดียวนะครับแน่ใจว่าสื่อมวลชนในไทยเคย มีการเผยแพร่บ้างหรือไม่ ในช่วงเวลา2-3ปีที่ผ่านมากองทัพเรือไทยมีความต้องการจัดหาเรือดำน้ำมือ2เข้า ประจำการ นอกจากข่าวกับเรือU206Aแล้วทร.ไทยยังมีความสนใจในเรือลำนี้อีกด้วย จากวิกิได้บอกว่าสเปนแจ้งความจำนงในการขายเรือไปยังหลายประเทศและมีเพียง Tailandia เท่านั้นที่สนใจติดต่อกลับมา

     ปลายปี2011 สื่อมวลชนจากสเปนออกข่าวเยอรมันประสบความสำเร็จในการขายเรือดำน้ำ มือ2ชั้นU206Aจำนวน2ลำให้กับประเทศไทยมีมูลค่ารวม220ล้านเหรียญ (แต่ข่าวในบ้านเราคือเรือดำน้ำ4ลำและเรือดำน้ำอะไหล่อีก2ลำ) นั่นทำให้โอกาสสุดท้ายที่สเปนจะขายเรือลำนี้หลุดออกไปเสียแล้ว ในข่าวยังมีการเปรียบเทียบเรือทั้ง2แบบและบอกว่าเรือสเปนใหญ่กว่าใหม่กว่า ทันสมัยกว่าดำน้ำลึกกว่า ซึ่งเป็นเรื่องปรกติของสื่อมวลชนที่ดีที่จะต้องเขียนถึงประเทศตัวเองในทาง ที่ดีโดยตลอด
ปี2012ทร.ยื่นเรื่องซื้อเรือU206Aกับกระทรวงกลาโหม นับเป็นการเล็งเป้าหมายที่ใหญ่ที่สุดน่าสนใจที่สุดและน่าจะดีที่สุดสำหรับ เรา แต่พวกเขาทำพลาดไม่มีการส่งเรื่องต่อไปยังคณะรัฐมนตรี โครงการนี้จึงต้องยุติลงเป็นการชั่วคราวไปก่อน

     ทีนี้เรามาคุยเรื่องสมมุติกันดูบ้างนะครับ ถ้าทร.เลือกเรือจากสเปนจะต้องเสียค่าซ่อมเรือให้กลับมาใหม่เอี่ยมพร้อมใช้ งานไปอีก10-15ปีเป็นเงิน 25ล้านยูโร ผมไม่แน่ใจนะครับว่ารัฐบาลสเปนจะขายเราในราคาเท่าไหร่แต่คิดมั่วๆไปว่าราคา การขนส่งการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่และฝ่ายซ่อมบำรุง รวมไปถึงอะไหล่จำนวนหนึ่งที่ทำให้เรือใช้งานได้อย่างน้อยที่สุดก็อีก25ล้าน ยูโร รวมแล้วเป็นเงินขั้นต่ำ25+25=50ล้านยูโรหรือ ประมาณ2000ล้านบาท ถ้าเรื่องทุกอย่างเป็นไปได้ด้วยดีเราจะมีเรือดำน้ำขนาด1,500ตันที่ซ่อมแซม ใหม่หมด ใช้สำหรับฝึกหัดและเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับเรือดำน้ำรุ่นใหม่สมรรถนะสุ งในอนาคตจำนวน1ลำ และเธอน่าจะพร้อมเข้าประจำการได้อย่างช้าที่สุดก็ปลายปีนี้แหละ



Siroco (S 72)
กับกองทัพเรือไทยในอนาคต

     แม้โครงการจัดหาเรือดำน้ำของทร.ไทยจะหยุดชะงักไปเกือบปีแต่ไม่ได้หมาย ความว่ามันจะยุติไปเลยนี่ ยังมีโครงการนี้อยู่และในเฟส1นี้ทร.ต้องการเรือสำหรับฝึกหัดในระดับประถม นับเป็นความคิดที่ผมเห็นด้วยมากครับพวกเขาเรียนรู้สิ่งที่เคยเกิดและก้าว ผ่านมันไปได้แล้ว แปลไทยเป็นไทยก็คือทร.ต้องการเรือดำน้ำมือ2จำนวนหนึ่งก่อนจะมีการจัดหาเรือ ดำน้ำใหม่เอี่ยมเข้าประจำการอีกที

   ภาพแรกเป็นภาพจากเว็บบล็อกท่านหนึ่งที่ลงข่าวเรือ Sirocoในวันที่เธอปลดประจำการ ภาพระบุชื่อว่าเป็นเรือS-72แต่ในวันนั้นจริงๆเรือยังอยู่ในทะเลตามรูปอยู่ เลย ผมก็เลยไม่แน่ใจว่าตกลงเป็นรูปเรือลำนี้จริงไหมช่วงเวลาไหนหรือเป็นเพียงภาพ ประกอบกันแน่ ผมจึงขอตั้งสมมูติฐานเอาไว้ว่าเรือลำนี้ยังคงสภาพดีอยู่ขณะเดียวกัน เรือU206Aอีก2ลำก็ยังไม่โดนทุบทิ้ง เรือดำน้ำเฟส1ของเราจะเป็นนัดล้างตาของเรือเยอรมันกับเรือสเปนได้เลย

    เรือสเปน1ลำ50ล้านยูโรได้เรือฝึก1ลำซ่อมแซมใหม่เอี่ยมใช้งานได้ ประมาณ10-15ปี(ไม่แน่ใจว่าซ่อมอะไรบ้างแต่น่าจะเยอะ) หรือเรือเยอรมัน2ลำ50ล้านยูโรได้เรือฝึก2ลำที่ผ่านการปรับปรุงมาแล้วระยะ หนึ่งสามารถใช้งานได้ประมาณ10ปี มีดีกันคนหละแบบครับอยู่ที่ว่าทร.ต้องการแบบไหนมากกว่ากัน แต่ราคาน่าจะถูกว่าU209จากเกาหลีใต้(ที่ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องการขาย นอกจากข่าวลือไปเอง)มากพอสมควร
     
     แต่ถ้าในความเป็นจริงทั้งSirocoและU206Aหมดสภาพไปแล้วหละ จะยังมีเรือลำไหนมาเปรียบเทียบกับU209เกาหลีใต้อีกหรือเปล่า สเปนมีแผนการสร้างเรือดำน้ำ S-80 Classจำนวน4ลำมูลค่าลำละประมาณ700ล้านเหรียญ อย่าลืมว่าเขาต่อเองราคาจึงถูกกว่าเราเป็นคนไปซื้อนะครับ เรือลำแลกจะส่งมอบในปี2014แล้วเข้าประจำการในปีถัดไป และเรือจะมาแทนที่ Siroco (S 72)ที่เราคุยกันมาโดยตลอดนั่นเอง
      
มาดูพี่น้องอีก3ลำของเธอกันบ้างครับ Mistral (S 73) ที่เข้าประจำการในปี1985 ณ.เวลานี้กำลังได้รับการปรับปรุงครั้งใหญ่และจะกลับเข้าประจำการในเดือนพฤษ จิกายน 2013 ส่วน Galerna (S 71)ที่เข้าประจำการในปี1983 และ Tramontana (S 74) ที่เข้าประจำการในปี1985 ทั้ง2ลำจะมีโปรแกรมการปลดประจำการในปี 2015 และรัฐบาลสเปนพร้อมจะขายให้กับชาติที่สนใจอย่างแน่นอน โครงการจัดหาเรือดำน้ำเฟส1ของเรายังมีโอกาสนี้อยู่ ถ้าสนใจจริงๆควรจะรีบติดต่อสเปนล่วงหน้าได้เลยนะครับ
100ล้านยูโรสำหรับเรือฝึก2ลำที่ปรับปรุงใหม่หมดสามารถใช้งานได้10-15ปี แล้วจากนั้นค่อยว่ากัน หรือจะลดราคาลงไปครึ่งหนึ่งเพื่อเรือสำหรับฝึก2ลำที่ใช้งานได้ประมาณ8ปีก่อน จะก้าวไปยังเรือดำน้ำใหม่เอี่ยมต่อไป ถ้าพลาด2ลำนี้ยังมี Mistral ที่ปรับปรุงใหม่เอี่ยมรอตบท้ายอยู่อีกลำนะครับ เรือดำน้ำS-80ต้องเข้าประจำการทั้งหมดภายในปี2020และสเปนจำเป็นต้องปลดประจำ การเรือMistralอย่างเลี่ยงไม่ได้ โอกาสเป็นของผู้ที่ไม่ยอมแพ้ครับ ผมแค่หาข้อมูลมาบอกแต่คนสานฝันต้องทำมันต่ออีกที



การจัดหาเรือดำน้ำเข้าประจำการของกองทัพเรือมาเลเซีย

    Ouessant (S623) เป็นเรือดำน้ำชั้น Agosta จากฝรั่งเศสที่ปลดประจำการไปแล้วตั้งแต่ปี2001 แต่ในปี2005เธอถูกส่งต่อมายังมาเลเซียเพื่อฝึกหัดและเตรียมความพร้อมให้กับ เจ้าหน้าที่จำนวนหนึ่ง 5ปีต่อมาเมื่อเรือดำน้ำสกอร์เปี้ยนที่ใหม่เอี่ยมและทันสมัยส่งมอบมายังมาเล ย์เซียแล้ว Ouessant (S623) จึงถูกปลดประจำการเป็นครั้งที่2 อีก2ปีให้หลังเธอได้รับการแปลงโฉมให้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์เรือดำน้ำให้ทุกคนเข้ามาเยี่ยมชม ถ้าใครเคยไปเที่ยวที่มะละกาอาจจะเห็นภาพเรือลำนี้ผ่านตาบ้างก็ได้ครับ

    ส่วนการจัดหาเรือดำน้ำของประเทศไทยจะออกมารูปแบบไหนเราคงได้ทราบกันในไม่ ช้านี่แหละ เรือดำน้ำชั้น Agosta จากประเทศสเปนเป็นเรือเก่าที่ทำการรบรูปแบบใหม่ไม่ดีนัก แต่เธอยังคงมีคุณค่าในการฝึกสอนลูกประดู่ไทยทุกคนให้มีความพร้อมสำหรับอนาคต ต่อไป