ผู้เขียนบังเอิญค้นพบบทความเก่าเขียนโดยนายทหารเรือ
เกี่ยวข้องกับระบบป้องกันภัยทางอากาศเรือหลวงจักรีนฤเบศร จึงนำมาเผยแพร่ต่อเพื่อป้องกันไม่ให้ข้อมูลเหล่านี้สูญหายไปจากอินเทอร์เน็ต
แบ่งเป็น
2 บทความประกอบไปด้วย ‘การติดตั้งระบบอาวุธปล่อยนำวิถี
SADRAL’ กับ ‘การยิงอาวุธปล่อยนำวิถี
MISTRAL’ บทความมีข้อมูลค่อนข้างละเอียดจึงมีความยาวพอสมควร
ขอให้ผู้เขียนทุกคนอดทนอ่านจนจบนะครับ ^_*
1.การติดตั้งระบบอาวุธปล่อยนำวิถี
SADRAL ร.ล.จักรีนฤเบศร
นาวาเอก ชาลี ส่องสว่างธรรม
มีผู้รู้กล่าวว่า
การติดตั้งระบบควบคุมการยิง หรือระบบอาวุธ ดูแล้วมันง่ายเหมือนปอก กล้วยเข้าปาก
หรือบางท่านว่ามันง่ายเหมือนการต่อ Jigsaw บางท่านก็ว่าเหมือนการต่อ Lego (ของเด็กเล่น)
บางท่านที่รู้คอมพิวเตอร์ก็ว่ามันเป็น Plug&Play เสียบปลั๊กก็เล่นได้
"จริงๆแล้ว มันง่ายเช่นว่าปานนั้นเชียวหรือ"
ผู้เขียนมีส่วนร่วมในการติดตั้งระบบอาวุธปล่อยนำวิถี
SADRAL
ร.ล.จัก รีนฤเบศร จึง ขอถ่ายทอดประสบการณ์เป็นบทความ เพื่อให้เข้าใจถึงความยุ่งยากในการติดตั้งระบบอาวุธฯ
โดยภาพรวม เน้นตั้งแต่การเริ่มติดตั้ง จนถึงการทดลองระบบฯ ในทะเล
ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านมอง เห็นภาพของการติดตั้งระบบควบคุมการยิง
ระบบอาวุธต่างๆว่า..."มันไม่ง่ายอย่างที่ท่านคิด"
กองทัพเรือได้จัดหาระบบอาวุธปล่อยนำวิถี
SADRAL
จากบริษัท Matra Defense ประเทศฝรั่งเศส ๓
ระบบ เพื่อติดตั้งให้กับเรือหลวงจักรีนฤเบศร ระบบที่ ๑ บริเวณหัวเรือกราบ
ขวาและได้พิจารณาแต่งตั้ง "คณะกรรมการติดตั้งระบบอาวุธปล่อยนำวิถี SADRAL
ร.ล. จักรีนฤเบศร " (กตจ.) และอนุกรรมการ (อกตจ.๑ และอกตจ.๒)
เพื่อดำเนินการติดตั้งระบบฯ ให้แล้วเสร็จ จนสามารถรับใช้ราชการได้
อกตจ.๑
มีหน้าที่ติดตั้ง PLATFORM (ดาดฟ้ายื่นออกนอกตัวเรือ)
เพื่อรองรับแท่นยิง อาวุธปล่อยนำวิถี ทั้ง ๓ แห่งซึ่ง กรมอู่ทหารเรือ (อร.)
เป็นหน่วยรับผิดชอบออกแบบ และสร้าง โดย กรมโรงงานฐานทัพเรือสัตหีบ (กรง.ฐท.สส.)
สำหรับ อกตจ.๒ กรมสรรพาวุธทหารเรือ (สพ.ทร.) เป็นหน่วยรับผิดชอบ ติดตั้งแท่นฐาน
ระบบอาวุธ และการเชื่อมต่อกับระบบควบคุม การยิง โดย กองโรงงานไฟฟ้าอาวุธ
(กฟอ.สพ.ทร.) เป็นหน่วยรับผิดชอบการติดตั้งทั้งหมด ยก
เว้นเฉพาะการติดตั้งคลังอาวุธปล่อยพร้อมใช้บนเรือ ซึ่งกองอาวุธปล่อยนำวิถี
(กอว.สพ.ทร.) เป็นผู้รับผิดชอบ สำหรับผู้เขียนมีหน้าที่รับผิดชอบงานมอบหมายของ
กฟอ.สพ.ทร. และยังเป็น อนุกรรมการและเลขานุการ อกตจ. ๒ ด้วย
กฟอ.สพ.ทร.
มีสถานที่ตั้งอยู่ที่ อู่ทหารเรือพระจุลจอมเกล้า กรมอู่ทหารเรือ (อจปร.อร.)
ขึ้นการบังคับบัญชากับ สพ.ทร. เป็นสายวิทยาการ กรมอิเล็กทรอนิกส์ทหารเรือ (อล.ทร.)
รับผิด ชอบซ่อมทำและติดตั้งระบบอาวุธการยิง (คคย.) และระบบอาวุธให้แก่
กองเรือยุทธการ (กร.) หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง (สอ./รฝ.)
และหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน (นย.) กฟอ.สพ.ทร. เป็นหน่วยงานระดับโรงงานเล็กๆ
แต่มีผลงานที่พิสูจน์ได้เกินตัวระดับกรม มีประ
สบการณ์หลากหลายในการติดตั้งระบบอาวุธ (เริ่มตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๒๖) อาทิ
ระบบควบคุมการยิง จำนวน ๑๘ ระบบ ระบบปืน ๒๔ ระบบ (ร่วมกับ กทว.สพ.ทร.)
ระบบอาวุธปล่อยนำวิถี SADRALเป็นระบบที่ ๑๙-๒๑
ที่เพิ่งแล้วเสร็จล่าสุด ซึ่งประหยัดงบประมาณให้ ทร. ได้ไม่น้อย กว่า ๕๐ ล้านบาท
และในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๒ ต้องติดตั้งสถานีตรวจสนามแม่เหล็ก
ตัวเรือและเสียงใต้น้ำ (FACDAR)ทดแทนสถานีเดิมที่ชำรุด
ตั้งแต่เมื่อประมาณ ๒๐ ปีก่อน
ระบบปล่อยอาวุธนำวิถี
SADRAL
ทั้ง ๓ ระบบ จะทำงานอิสระจากกัน โดยแต่ละระบบ
จะรับผิดชอบย่านพื้นที่ป้องกันอาวุธปล่อยนำวิถีของข้าศึกตามสถานที่ติดตั้ง
ดังรูปที่ ๑ โดยมี ส่วนประกอบย่อยในแต่ละระบบฯ ดังนี้
๑.ตู้
CONTROL
CONSOLE ควบคุมการทำงานของระบบโดยรวม และเชื่อมต่อกับ ระบบอื่นๆ
ติดตั้งในห้องศูนย์ยุทธการ จำนวน ๓ ตู้
๒.ตู้
SERVO
CONTROL UNIT ควบคุมการหัน กระดกแท่นยิงทั้ง ๓ ตามคำสั่ง
ควบคุมจากตู้ CONTROL CONSOLE ซึ่งติดตั้งในห้องเซอร์โวหัว ๒
ตู้ (สำหรับแท่นยิงหัว เรือขวาและซ้าย) และห้องเซอร์โวท้าย ๑ ตู้
(สำหรับแท่นยิงท้ายเรือ)
๓.แท่นยิง
(LAUNCHER)
ติดตั้งบริเวณหัวเรือกราบขวา หัวเรือกราบซ้ายและท้าย เรือ ขวา
แต่ละแท่นยิง ประกอบด้วยท่อยิง ๖ ท่อยิง ซึ่งหมายถึงสามารถต่อสู้ด้วยระยะประชิด
ป้องกันอาวุธปล่อยนำวิถีฝ่ายข้าศึกได้ถึง ๑๘ ลูก ในเวลาใกล้เคียงกัน
(เกือบพร้อมกัน) มีกล้อง โทรทัศน์และกล้องอินฟราเรดติดตั้งบนแท่นยิง (ไม่มีกล้อง LASER
RANGE FINDER)
๔.อาวุธปล่อยนำวิถี
"MISTRAL"
(อย่าสับสนกับระบบควบคุมการยิง SADRAL) ปกติจะเก็บไว้ในคลังพร้อมใช้บนเรือ
กอว.สพ.ทร. รับผิดชอบติดตั้งคลังดังกล่าว
๕.กล่องห้ามยิง
(VERTO
BOX) สำหรับผบ.เรือ ๒ ชุด ใช้ยกเลิกสัญญาณการยิง อัตโนมัติของอาวุธปล่อยนำวิถี
ปกติแล้วจะพร้อมยิงตลอดเวลา ติดตั้งบริเวณที่นั่งสั่งการ ผบ.เรือ
ที่ห้องศูนย์ยุทธการ และสะพานเดินเรือ
ระบบอาวุธปล่อยนำวิถี SADRAL
มีหน้าที่อย่างไร
เมื่อร.ล.จักรีนฤเบศร
ถูกโจมตีจากข้าศึกโดยยิงอาวุธปล่อยนำวิถีต่างๆ จากเรือผิวน้ำ เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์
และเรือดำน้ำ เมื่อระบบอาวุธปล่อยนำวิถี SADRAL อยู่ในสถาพพร้อม รบ ลูกอาวุธปล่อยนำวิถี MISTRAL จะวิ่งออกจากแท่นยิงโดยอัตโนมัติ
ตรงเข้าหาอาวุธปล่อย นำวิถีของข้าศึก และระเบิดตัวเอง
เพื่อให้ลูกปรายขนาดเล็กจำนวนมากระเบิดทำลายอาวุธ ปล่อยนำวิถีข้าศึกนั้นให้ตกก่อนที่จะวิ่งถึง
ร.ล.จักรีนฤเบศร
เมื่อระบบอำนวยการรบของเรือชี้เป้า
(Target
Designation)แท่งยิงจะหันและ
กระดกไปยังเป้าอาวุธปล่อยนำวิถีข้าศึกนั้นโดยอัตโนมัติ กล้องโทรทัศน์
และกล้องอินฟราเรด บนแท่นยิง จะจับเป้าเห็นภาพเป้าบนจอ เมื่อเป้าเข้าใกล้ระยะที่ IR
SEEKER ในหัวลูกอาวุธปล่อยสามารถทำงานได้
จะเริ่มติดตามเป้าอัตโนมัติควบคุมแท่นยิงให้หันกระดก ตามเป้านั้น
เมื่อได้ระยะยิงลูกอาวุธปล่อยนำวิถีจะออกจากท่อยิงวิ่งเข้าหาเป้า และทำลายเป้าใน
ที่สุด
การติดตั้งระบบอาวุธปล่อยนำวิถี SADRAL
ในการติดตั้งระบบควบคุมการยิง
หรือระบบอาวุธใดๆรวมทั้งการติดตั้งระบบอาวุธปล่อย ฯ SADRALนี้ด้วยแบ่งออกเป็น ๕ ขั้นตอนใหญ่ๆ ดังนี้
๑.การติดตั้งแท่นฐาน
(FOUNDATION)
หมายรวมถึงแท่นฐานของแท่นยิง หรือระบบปืนแท่นฐานตู้ต่างๆ (SEATING)
จะต้อง เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดของแต่ละ บริษัทผู้ผลิต
๒.การเดินสายและเข้าหัวสาย
(CABLING)
เป็นการเดินสายระหว่างตู้ต่างๆ ผ่านที่ ต่างๆ ตามตัวเรือ
จะต้องออกแบบเส้นทางเดินของสายไฟ การเข้าหัวสาย (CONNECTING) ซึ่งต้องอาศัยเทคนิคต่างๆและประสบการณ์มาก และต้องการความประณีตสูงมาก
๓.STW/SIT
(SETING TO WORK/SYSTEM INTEGRATION TEST) เป็น
การเริ่มการเชื่อมต่อระหว่างตู้ต่างๆของระบบ ตรวจสอบการจ่ายไฟต่างๆ เข้าระบบ
ตรวจสอบ อุปกรณ์หรือระบบอื่นๆ ที่ทำงานร่วมกันกับระบบอาวุธนั้น
เชื่อมต่อกันเพื่อรับ/ส่งสัญญาณต่างๆ มีการตรวจสอบเป็นรายการย่อยต่างๆ
ตามที่บริษัทผู้ผลิตได้กำหนดไว้
๔.HAT
(HARBOUR ACCEPTANCE TEST) ขั้นตอนนี้เป็นการตรวจสอบการ
ทำงานของระบบว่าสามารถทำงานตามขีดความสามารถต่างๆของระบบนั้นได้หรือไม่
ตรวจสอบการทำงาน/การประมวลผลข้อมูลของคอมพิวเตอร์ควบคุมการยิง รวมทั้งโปรแกรม
เป็นการตรวจสอบเมื่อเรือจอดหน้าท่า อย่างไรก็ตาม
ยังไม่ได้เป็นการทำงานจริงๆของระบบ อย่างแท้จริง
๕.SAT(SEA
ACCEPTANCE TEST/TRIAL) ขั้นตอนนี้เป็นการตรวจสอบ/
ทดลองการทำงานของระบบในทะเล ว่าสามารถทำงานตามขีดความสามารถจริงต่างๆ ของ ระบบ
นั้นได้หรือไม่ กล่าวคือจะต้องพยายามให้เหมือนจริงมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ซึ่งถือว่าเป็น ขีดความสามารถ/การทำงานอย่างสมบูรณ์ของระบบนั้นๆอย่างแท้จริง
ในบางระบบจะต้องมีการ ทดลองการยิงต่อเป้าสมมติหรือจำลอง เช่น
การยิงอากาศยานลากท้ายเครื่องบิน (ติด MDI) การยิงเป้าพื้นน้ำลากท้ายเรือลากเป้า
เพื่อวัดความแม่นยำ ของระบบอาวุธนั้น บริษัทผู้ผลิตมัก จะไม่ยอมผูกพันการยิงทดสอบฯ
นี้ไว้ในสัญญาฯ เพราะโอกาสผ่านเกณฑ์ตรวจรับยากและยุ่ง ยากมาก
การติดตั้งระบบอาวุธประเภทในส่วนของระบบตรวจจับ
(SENSOR)
ของระบบควบคุม การยิงและระบบอาวุธ ต้องติดตั้งตามหลักการ
"การขนาน" (PARALLELISM) กล่าวคือ ทั้งทางหัน (TRAINNING)
ของทุกอุปกรณ์ต้องขนานกัน และในทางกระดก (ELEVATION) ของทุกอุปกรณ์ก็ต้องขนานกัน
ประสิทธิภาพและความถูกต้องแม่นยำในการยิงทำลายเป้าของ ระบบอาวุธต่างๆ
ขึ้นกับคุณภาพและความประณีตในการติดตั้งขึ้นตอนนี้
การติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถี
SADRAL
ร.ล.จักรีนฤเบศร เป็นการติดตั้งระบบฯ
ที่ยุ่งยากมากที่สุดเท่าที่เคยประสบมาของกฟอ.สพ.ทร.
ผู้เขียนได้รับมอบหมายให้ติดตั้งระบบฯ
ควบคุมและกำกับให้เป็นไปตามแผนที่ได้กำหนดการส่งมอบให้ กร.
ทั้งนี้การเริ่มงานติดตั้ง ระบบฯ ช้ากว่าแผนที่กำหนดไว้ ๒ เดือนครึ่ง จึงจำต้องระดมศักยภาพและทรัพยากรเท่าที่มีอยู่ทั้งหมด
เพื่อให้แล้วเสร็จตามเป้าหมายสำหรับกำหนดแผนงาน
ขึ้นตอนการติดตั้งระบบอาวุธปล่อยนำวิถี
SADRAL
ในตอนต้นของบทความได้กล่าวนำความเป็นมาของระบบอาวุธปล่อยนำวิถี
SADRALพอสมควร หลังจากนี้จะเน้นเนื้อหาการติดตั้งระบบอาวุธปล่อยนำวิถี SADRAL
โดยเฉพาะ เพื่อให้เป็นตามจุดประสงค์ของบทความนี้
ผู้เขียนจึงขอเรียบเรียงเป็นลำดับดังนี้
๑.ระบบอาวุธปล่อยนำวิถี
SADRAL
เป็นผลงานการติดตั้งระบบควบคุมการยิง (คคย.) ระบบอาวุธในลำดับที่ ๑๙
- ๒๑ ของกฟอ.สพ.ทร. ผู้เขียนจึงมั่นใจว่าการติดตั้งฯ จะเป็น ไปด้วยความเรียบร้อย
และเสร็จทันตามแผนที่กำหนด แต่นับได้ว่าเป็นการติดตั้งระบบ คคย. ที่
มีความยุ่งยากมากที่สุดเท่าที่เคยประสบมา กล่าวคือ
เป็นการติดตั้งระบบฯขณะเรือลอยน้ำ
ซึ่งมีอาการโคลงตามปกติการติดตั้งระบบอาวุธจะต้องทำในอู่แห้งเท่านั้น การติดตั้งระบบ
ดังกล่าวในครั้งนี้เรือยังคงปฏิบัติราชการตามปกติ
แทนที่จะงดปฏิบัติราชการเช่นเรืออื่นๆ
ทางเรือมีบทบาทในการพิจารณาเกี่ยวกับการติดตั้งมากที่สุด
มีหลายหน่วยงานที่รับผิดชอบ ซึ่งต้องประสานงานอย่างดี ติดตั้งพร้อมกันทั้ง ๓ ระบบ
ในห้วงเวลาอันสั้นประมาณ ๖ เดือน และติดตั้งนอกพื้นที่อจปร.อร. ซึ่งเป็นที่ตั้งของ
กฟอ.สพ.ทร. เป็นครั้งแรก
๒.อร.ออกแบบ
PLATFORM
ดาดฟ้าติดตั้งแท่นยิงทั้ง ๓ แห่ง โดย กรง.ฐท. สส. สร้างตามแบบนั้น
หลังจากสร้าง PLATFORM ทั้ง ๓ เสร็จเรียบร้อย
พบว่ามีปัญหาเนื่องจาก ความแข็งแรง และความสั่นสะเทือนที่หัวเรือกราบขวา
และกราบซ้าย สำหรับทางท้ายเรือ กราบขวายอมรับได้ จึงต้องเสียเวลาแก้ไขช่วงหนึ่ง
เป็นผลให้การเริ่มติดตั้งระบบฯ งานในความ รับผิดชอบของกฟอ.สพ.ทร.
ช้ากว่าแผนที่กำหนด ๒ เดือนครึ่ง โดยที่กำหนดเสร็จสิ้นโครงการ ยังเหมือนเดิม
นับว่าเป็นปัญหาใหญ่สำหรับผู้เขียนที่จะต้องทำให้ได้ เมื่อพิจารณาโดยรวมจึง
เริ่มงานติดตั้งแท่นฐานท้ายก่อน ทั้งนี้เพื่อให้เสร็จสมบูรณ์ ๑ ระบบ
เพื่อใช้เป็นเครื่องช่วยฝึก อบรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของทร. ในต้นเดือนมีนาคม
พ.ศ.๒๕๔๒ ตามข้อตกลงกับบริษัท MATRA
๓.ติดตั้งระบบอาวุธปล่อยนำวิถี
SADRAL
กำหนดมาตรฐาน การติดตั้งระบบฯไว้ สูงมาก และสูงกว่าทุกระบบฯ
ที่กฟอ.สพ.ทร. ได้เคยติดตั้งมาก่อนแล้ว เช่น
๓.๑
ในการติดตั้งอาวุธหรือเรดาร์ต่างๆทั้งลำ จะต้องติดตั้งขนานกับแผ่น MASTER
DATUM ซึ่งติดตั้งที่กระดูกงูและเป็นพื้นระนาบอ้างอิงของเรือโดยอาศัยหลักการ
"การขนาน" สำหรับอาวุธปล่อยนำวิถี SADRAL กำหนดให้ค่าความเอียงของแท่นฐานกับแผ่น
MASTER DATUM ของเรือยอมให้มีอัตราผิดได้ไม่เกิน ๓ ลิปดา (MINUTE)
ซึ่งเทียบเท่ากับการติดตั้ง ระบบปืน ๗๖/๖๒ ในอู่แห้ง ในขณะที่
ร.ล.จักรีนฤเบศร ลอยน้ำสามารถวัดอาการโคลงได้ ๖๐ ลิปดา นี้ ทำให้ยิงเป้าระยะ ๑
กิโลเมตร จะทำให้ยิงผิดทางสูง/ข้าง ๑ เมตร ถือว่าเป็นเรื่องไม่ เล็กน้อย
สำหรับระบบนี้จะมีผลกับการติดตามเป้าอัตโนมัติ
๓.๒
ในการติดตั้งระบบอาวุธหรือเรดาร์ต่างๆทั้งลำ จะต้องติดตั้งศูนย์ทางหันของ อุปกรณ์
ให้ขนานกับเส้นกลางลำของเรือ (CENTER LINE) ซึ่งเป็นเส้นอ้างอิงทางหันเรือ
โดยอาศัย หลักการ "การขนาน" ระบบอาวุธปล่อยนำวิถี SADRAL กำหนดให้แนวเส้นศูนย์ทางหัน
ของแท่นยิงจะต้องขนานกับเส้นกึ่งกลางลำยอมให้มีอัตราผิดได้ไม่เกิน ๑๐ ลิปดา
(มีผลกระทบ กับการติดตามเป้าทางแบริ่ง) ในการทำต้องใช้กล้อง THEODOLITE ซึ่งใช้ใน การสำรวจ ถนนได้รับผลกระทบจากเรือโคลงอย่างมาก
ต้องรอจังหวะที่เรือนิ่งที่สุดเท่าที่จะทำได้ จะต้อง
ถ่ายเส้นอ้างอิงหลักอยู่ที่แผ่น MASTER DUTAM ที่กระดูกงู
นำขึ้นมาไว้ที่ดาดฟ้า ลานบิน แล้วถ่ายลงที่ PLATFORM ทั้งสามอีกทีหนึ่งและต้องควบคุมอัตราผิดปกติให้อยู่ใน
เกณฑ์ ให้ได้ ถ้าเรามีกล้อง GYRO THEODOLITE สักตัวคงไม่ลำบากแบบนี้ผู้อ่านคง
เห็นภาพว่า มันยุ่งยากเพียงใด
๓.๓
แท่นฐานที่จะติดตั้งสายอากาศเรดาร์ อุปกรณ์ตรวจจับ (SENSOR)
ต่างๆแท่น ปืน แท่นยิงระบบอาวุธต่างๆจะต้องมีผิวหน้าเรียบมาก (FLATNESS)
ทั้งนี้เพื่อให้ติดตั้งกับแท่นฐานได้อย่างมั่นคง
+++++++++++++++++++++++
2.การยิงอาวุธปล่อยนำวิถี
MISTRAL ครั้งแรกของกองทัพเรือไทย
โดย ต้นเรือ ร.ล.จักรีนฤเบศร
อาวุธปล่อยนำวิถี
MISTRAL
ถือเป็นอาวุธที่สำคัญของ ร.ล.จักรีนฤเบศร นับตั้งแต่ติดตั้งเมื่อ พ.ศ.2542 จนถึงปัจจุบัน
ยังไม่มีการทดสอบการยิงจริง เนื่องจากขาดความพร้อมในด้านต่างๆ เช่น
เป้าที่ใช้ในการทดสอบ และการรักษาความปลอดภัยของสนามยิง เป็นต้น ในปี พ.ศ.2552
ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการได้กำหนดนโยบายให้มีการฝึกยิงทดสอบอาวุธประเภทต่างๆ
ของเรือในกองเรือยุทธการ รวมถึงอาวุธปล่อย MISTRAL ของ ร.ล.จักรีนฤเบศร
ต่อมาในเดือน ก.ค.52 ทร.ได้มีโอกาสฝึกร่วมกับ ทร.สหรัฐฯ ในการฝึก CARAT 2009 ซึ่งทาง ทร.ได้อนุญาตให้มีการฝึกยิงทดสอบระบบอาวุธปล่อยนำวิถี MISTRAL
จึงเป็นโอกาสที่ดีที่เราสามารถทดสอบความพร้อมรบ
และความเชื่อมั่นต่อระบบอาวุธปล่อยนำวิถีฯ
ในบทความนี้จะกล่าวถึงประสบการณ์ในการฝึกยิงอาวุธปล่อย
มาถ่ายทอดให้กับผู้อ่านได้รับทราบ ก่อนอื่นจะปูพื้นฐานให้ทราบถึงรายละเอียด
และคุณลักษณะที่สำคัญของระบบอาวุธปล่อยนำวิถีฯ การเตรียมความพร้อมในการฝึกยิง
ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จ และสุดท้ายการปฏิบัติและบรรยากาศในวันฝึกยิงจริง
รายละเอียดและคุณลักษณะที่สำคัญของระบบอาวุธปล่อย
ระบบอาวุธปล่อยนำวิถีป้องกันตนเองระยะประชิดแบบ
SADRAL เป็นระบบอาวุธปล่อยนำวิถีป้องกันตนเองระยะประชิด
ชนิดพื้นสู่อากาศ (SURFACE TO AIR MISSILE) ใช้ลูกอาวุธปล่อยนำวิถีมิสทราล
(MISTRAL) เป็นลูกอาวุธปล่อย
เป็นแบบนำวิถีเข้าสู่เป้าด้วยตนเอง (FIRE AND FORGET) ติดตั้งบนเรือรบผิวน้ำ
ออกแบบมาเพื่อใช้ต่อต้านภัยคุกคามประเภทอาวุธปล่อยนำวิถี
และอากาศยานข้าศึกที่เข้าโจมตีในระดับต่ำ ในระยะประมาณ 6 กม. (3.23ไมล์ทะเล)
ซึ่งคำว่า SADRAL ย่อมาจาก Close Air Fight Self-Defence
Light System (Systemed Autodefense RAPROCHEE Anti-aerien Leger)
ระบบอาวุธปล่อยนำวิถี
SADRAL
ได้เริ่มใช้ประจำการในกองทัพประเทศต่างๆ ใน ปี ค.ศ. 1989
และในปัจจุบันได้ถูกประจำการอยู่ในกองทัพต่างๆ ของ 25 ประเทศ ซึ่งระบบอาวุธปล่อยฯ
สามารถขายได้มากกว่า16,000 ชุด ทั่วโลกในส่วนของกองทัพเรือไทย
ได้จัดหาและติดตั้งบน ร.ล.จักรีนฤเบศร ตั้งแต่ พ.ศ. 2542 จนถึงปัจจุบัน
คุณลักษณะที่สำคัญของลูกอาวุธปล่อย
คุณลักษณะของลูกอาวุธปล่อยที่สำคัญ
ประกอบด้วย
-ขนาดของลูกอาวุธปล่อย มีความยาว 186 ซม.
น้ำหนัก 18.4 กก.
-หัวรบของลูกอาวุธปล่อย ประกอบด้วย ดินระเบิด TNT
น้ำหนัก 3 กก. ภายในบรรจุลูกปืนทังสเตน จำนวน 1,500 ลูก
ระบบนำวิถีเป็นแบบ Infrared
passive การขับเคลื่อนเป็นแบบเชื้อเพลิงแข็ง
-ขีดความสามารถของลูกอาวุธปล่อย
สามารถทำความเร็วได้ 2.5 มัค ระยะยิง 5,300 เมตร และความสูง 3,000 เมตร
ขั้นตอนการยิงอาวุธปล่อยนำวิถีฯขั้นตอนในการใช้อาวุธปล่อยนำวิถีฯ
เริ่มตั้งแต่ตรวจจับเป้าหมาย เมื่อ ร.ล.จักรีนฤเบศร
ถูกโจมตีด้วยยิงอาวุธปล่อยนำวิถีประเภทต่างๆ จากเรือผิวน้ำ เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์
และเรือดำน้ำ จากฝ่ายตรงข้ามพนักงานตรวจจับและติดตามเป้าของระบบอำนวยการรบจะติดตามเป้าหมายตั้งแต่ระยะไกล
เมื่อเป้าเข้ามาระยะที่เหมาะสม จะส่งมอบเป้าหมายให้กับระบบควบคุมอาวุธปล่อยนำวิถีฯ
แท่นยิงจะหันไปยังเป้าหมายโดยอัตโนมัติ กล้องโทรทัศน์ และกล้องอินฟราเรดที่แท่นยิง
จะจับเป้าหมายเห็นภาพเป้าหมายบนจอ พนักงานจะเลือกให้ลูกอาวุธปล่อยฯเริ่มทำงาน
เมื่อเป้าหมายเข้าใกล้ระยะที่
IR
SEEKER ในหัวลูกอาวุธปล่อยนำวิถีฯ
สามารถติดตามรังสีอินฟาเรดที่แพร่ออกมาจากความร้อนของเป้าหมายได้
อาวุธปล่อยจะเริ่มติดตามเป้าหมายควบคุมแท่นยิงให้หันและกระดก
อัตโนมัติตามเป้าหมายนั้น พนักงานควบคุมจะเป็นผู้กดปุ่มยิง หลังจากที่ลูกอาวุธปล่อยพ้นจากแท่นยิง
ลูกอาวุธปล่อยจะวิ่งเข้าหาเป้าหมาย
ในการระเบิดของลูกอาวุธปล่อยอาจเป็นแบบเฉียดเป้าระเบิดตัวเอง
เพื่อให้ลูกปรายขนาดเล็กจำนวนมากระเบิดทำลายเป้าหมาย
หรืออาจจะกระทบกับเป้าหมายระเบิด
การเตรียมความพร้อมในการฝึกยิง
ปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญในการฝึกยิง
คือการเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการฝึกยิง
และการฝึกซ้ำๆหลายครั้งให้เหมือนจริงมากที่สุด
เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าไม่เกิดข้อผิดพลาดในการฝึกยิง
ทางผู้บังคับบัญชาของกองเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ทุกระดับชั้นได้ผลักดันให้ส่วนต่างๆ
ที่เกี่ยวข้อง ดำเนินสนับสนุนในการเตรียมความพร้อมการฝึกยิง
ผลทำให้การฝึกยิงเป็นไปด้วยความเรียบร้อย การเตรียมความพร้อมประกอบด้วย
ด้านองค์บุคคล ด้านองค์วัตถุ
และองค์ยุทธวิธี โดยมีการปฏิบัติแบ่ง เป็น 3 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่
1 การเตรียมความพร้อม เป็นการวางแผนการทำงานเพื่อเตรียมพร้อมเบื้องต้นในการฝึกยิง
การตรวจสอบความพร้อมของลูกอาวุธปล่อยนำวิถีฯ และระบบอาวุธปล่อยฯ โดย สพ.ทร.
และการซ่อมทำระบบอาวุธปล่อยนำวิถีฯ บนเรือ เช่น ระบบควบคุมการทำงาน
ตู้ควบคุมการหันและกระดกของแท่นยิง รวมทั้งแท่นยิงอาวุธปล่อย
ช่วงที่
2 การตรวจสอบและทดลองระบบ เป็นการตรวจสอบการทำงานของระบบควบคุม การทำงานของแท่นยิง
และจัดการประชุมวางแผนแนวทางและแผนการยิงร่วมกับหน่วยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
รวมทั้งมีการฝึกการปฏิบัติงานของพนักงานในฝึกยิง การควบคุมและสั่งการ
และวางแนวทางในการป้องกันอันตรายต่างๆ
ช่วงที่
3 การฝึกอาวุธปล่อยนำวิถีฯ ในทะเล โดยการปฏิบัติฝึกกับเป้าอากาศยาน
ฝึกการเคลื่อนย้ายและติดตั้งลูกอาวุธปล่อยฯของเจ้าหน้าที่
การทดสอบระบบควบคุมของลูกอาวุธปล่อยฯ การควบคุมและสั่งการในการยิงอาวุธปล่อยฯ
และทบทวนข้อระมัดระวังและอันตรายจากลูกอาวุธปล่อยฯ
การฝึกยิงอาวุธปล่อยในการฝึก CARAT
2009
การฝึก
CARAT
ในประเทศไทย เป็นการฝึกร่วมของกำลังทางเรือระหว่าง ทร.ไทยกับ
ทร.สหรัฐฯ ซึ่งจัดให้มีการฝึกทุกปี ในปี 2009 กำลังทางเรือฝ่ายไทยที่สำคัญ
ประกอบด้วย ร.ล.จักรีนฤเบศร ร.ล.นเรศวร ร.ล.มกุฏราชกุมาร ร.ล.คีรีรัฐ และ
ร.ล.สุโขทัย กำลังทางเรือฝ่ายสหรัฐฯ ที่สำคัญ ประกอบด้วย เรือ USS Harpers
Ferry เรือ USS Chafee และ USS
Crommelin โดยทาง ทร.เสนอให้มีการฝึกการปฏิบัติการทางเรือในหลายสาขา
ในการนี้ได้บรรจุการฝึกที่สำคัญ คือการฝึกยิงอาวุธปล่อยนำวิถีฯ ของ
ร.ล.จักรีนฤเบศร เป้าที่ใช้ในการฝึกยิง
ในการฝึกยิงอาวุธปล่อยนำวิถีฯ
ปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่ง
คือเป้าที่ใช้ในการยิงจะต้องมีคุณลักษณะใกล้เคียงกับเป้าในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงมากที่สุด
เป้าจะต้องมีขนาดและความเร็ว
รวมทั้งความร้อนที่ปล่อยออกมาใกล้เคียงกับลูกอาวุธปล่อยนำวิถี
ซึ่งเป้าดังกล่าวรวมกับระบบควบคุมเป้ามีราคาค่อนข้างสูงในการจัดหาและใช้เป้าได้ครั้งเดียวในการฝึกยิงเป็นเป้าของอาวุธปล่อยนำวิถี
ในการฝึก
ทร.สหรัฐฯ ให้การสนับสนุนเป้าอากาศยานบังคับวิทยุ (Drone) แบบ BQM-74E ซึ่ง ในปี 2552
ประเทศแคนาดา ได้จัดซื้อเป้าละประมาณ 13 ล้านบาท เป้า Drone มีขนาดเล็กเท่ากับลูกอาวุธปล่อยนำวิถีฮาร์พูน
ความเร็วเท่ากับความเร็วเดินทางของเครื่องบินขับไล่
ควบคุมการทำงานด้วยการบังคับทางวิทยุ คุณลักษณะของเป้าที่สำคัญ คือ ความยาวของเป้า
3.94 ม. ความกว้างของปีก 1.76 ม. น้ำหนัก 123 กก.
และใช้เครื่องยนต์เทอร์โบเจตในการขับเคลื่อน ด้วย แรงขับ 240 ปอนด์
ซึ่งมีขีดความสามารถในการทำความเร็วได้สูงสุด 927 กม.ต่อชม.และบินได้นาน 68 นาที
สถานการณ์การฝึกยิงในวันจริง
ในวันที่
13 ก.ค.52 เวลา 1100 เป็นเวลาที่กำหนดไว้ในการปล่อยเป้า
แต่เกิดปัญหาจากสภาพอากาศในพื้นที่ฝึกมีคลื่นค่อนข้างแรง และความเร็วลมประมาณ
30-35 น็อต ซึ่งเกินขีดจำกัดในการปล่อยเป้าขึ้นจากเรือ
และเรือควบคุมอาจจะไม่สามารถควบคุมการโคจรของเป้าได้
ซึ่งทางผู้บัญชาการกองเรือร่วมทั้งสองฝ่ายจึงขอเลื่อนการฝึกออกไปจนกว่าความเร็วลมจะมีความเหมาะสม
ในสถานการณ์ดังกล่าวผมมีความรู้สึกว่าทางผู้บังคับบัญชาที่มาเยี่ยมชมการฝึก
และกำลังพลประจำเรือต่างๆ ที่เฝ้ารอการฝึกยิงอาวุธปล่อยนำวิถีฯต่างก็มีความกังวล
และผิดหวัง ในใจของทุกคนแล้วคงภาวนาขอให้ความเร็วลมลดลง เพื่อสามารถทำการฝึกยิงได้
ในความคิดของผมแล้วถ้าไม่สามารถฝึกยิงได้ การเตรียมการในการฝึกยิงจริงต่างๆ
ที่ผ่านมา จะไม่ปรากฏผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม และการฝึกยิงอาวุธนำวิถี MISTRAL
ครั้งแรก ก็จะยังคงเป็นความหวังต่อไป
ต่อมาในเวลาประมาณ
1600 ความเร็วลมเริ่มลดลงสามารถที่จะปล่อยเป้าได้
ทางผู้บัญชาการกองเรือร่วมทั้งสองฝ่ายจึงสั่งให้ฝึกยิงอาวุธได้ ทำให้ความหวังที่พวกเรารอคอยได้มาถึง
ซึ่งตามแผน เป้า Drone ลูกแรก
ใช้สำหรับการยิงปืนใหญ่ประจำเรือของเรือร่วมฝึก
และการฝึกยิงอาวุธปล่อยนำวิถีเอสปิเด้ ของ ร.ล.สุโขทัย ส่วนเป้า Drone ลูกที่สองใช้สำหรับการฝึกยิงอาวุธปล่อยนำวิถี MISTRAL แต่ได้ปรับแผนให้เป้า Drone ลูกแรก สำหรับการยิงอาวุธปล่อยนำวิถีฯ
ของ ร.ล.จักรีนฤเบศร
ในการฝึกเรือในกระบวนเรือจัดรูปกระบวนเรียงตามกัน
กำลังพลประจำเรือ ร.ล.จักรีนฤเบศร ได้ยินประกาศทางระบบประกาศคำสั่ง “ประจำสถานีรบ” พร้อมกับเสียงสัญญาณการประจำสถานี
เป็นสิ่งบ่งบอกว่าการฝึกได้เริ่มขึ้นแล้ว การประจำสถานีรบซึ่งเป็นการเตรียมขั้นความพร้อมสูงสุดของเรือในการเผชิญกับภัยคุกคามต่างๆ
ผู้รับผิดชอบความปลอดภัยของสนามยิงรายงานให้ผู้อำนวยการฝึกทราบว่า “สนามยิงปลอดภัย” ผู้อำนวยการฝึกจึงได้สั่ง “เริ่มเที่ยว”
เวลา
1718 เรือ ทร.สหรัฐฯ ปล่อยเป้า Drone และบังคับเป้าให้บินตามวงจรการบินที่กำหนดไว้
ระหว่างนั้นสายตาทุกคู่บนสะพานเดินเรือพยายามค้นหาเป้าว่าบินอยู่ตำบลที่ใด
แต่ไม่สามารถพบเห็นด้วยสายตาได้ ที่ห้องศูนย์ยุทธการ
กล้องโทรทัศน์ที่แท่นยิงท้ายสามารถตรวจจับและติดตามเป้าได้ รายงาน “ตรวจพบเป้า Drone ในแบริ่ง..........” แต่ไม่มีมุมยิง กล้องโทรทัศน์ที่แท่นยิงหัว สามารถจับเป้า Droneได้ พนักงานควบคุมแท่นยิง รายงาน “พบเป้า” พร้อมกับควบคุมแท่นยิงหันและกระดกไปยังเป้าหมาย
พนักงานกดปุ่มเลือกลูกอาวุธปล่อยฯ
จากนั้น IR
SEEKER ในหัวลูกอาวุธปล่อยสามารถติดตามรังสีอินฟาเรดที่แพร่ออกมาจากความร้อนของเป้าหมายได้
พนักงานควบคุมแท่นยิง รายงาน “Lock on” ระบบได้ควบคุมแท่นยิงให้หันและกระดกติดตามเป้าโดยอัตโนมัติ
นายทหารการอาวุธสั่ง “แท่นยิง 1 ระวัง......ยิง” พนักงานควบคุมกดปุ่ม “ยิง” ที่สะพานเดินเรือ
ได้ยินเสียงจุดระเบิดที่แท่นหมายเลข 1 ทางหัวเรือขวา
เห็นควันสีขาวพุ่งออกจากแท่นหัว อาวุธปล่อยพุ่งจากแท่นยิงและเข้าหาเป้าประดุจลูกไฟ
วิ่งไปทางทิศ 200 ทางหัวเรือขวา ด้วยความรวดเร็ว
ประมาณ 4 วินาที เห็นกลุ่มประกายไฟและควันจำนวนมาก ที่ระยะ 2 ไมล์ และเห็นเป้าสีส้มระเบิดในเวลาต่อมา
ลูกอาวุธปล่อยนำวิถีฯชนถูกเป้า ผลทำให้เป้าระเบิดและตกลงไปในทะเล
จากบรรยากาศความเครียดในการฝึกกลายเป็นอาการปิติและการแสดงความยินดีในความสำเร็จในการยิง
บรรยากาศภายในเรือเต็มไปด้วยรอยยิ้มและการแสดงความยินดี
แตกต่างจากบรรยากาศก่อนยิงอาวุธโดยสิ้นเชิง กำลังพลประจำเรือได้ เสริฟแชมเปญ ให้กับ ผู้บังคับบัญชา
และนายทหารสัญญาบัตรที่ร่วมชมการฝึก
เพื่อเป็นการแสดงความยินดีต่อความสำเร็จในการยิงอาวุธปล่อยฯในครั้งนี้
พล.ร.ต.ไชยยศ
สุนทรนาค ผู้อำนวยการฝึกกองอำนวยการฝึกผสม CARAT 2009
ได้ชมเชยการปฏิบัติว่า “ขอชมเชยการปฏิบัติของ
ร.ล.จักรีนฤเบศร.....ที่ได้มีการเตรียมการและการปฏิบัติในการยิงอาวุธปล่อยนำวิถี...ต่อเป้า
Drone จนทำให้การยิงอาวุธปล่อยนำวิถี...ประสบความสำเร็จ”
ในส่วนของกำลังพลประจำเรือแล้ว
ผมเชื่อว่าความยากลำบาก และความเหนื่อยล้า จากการเตรียมความพร้อมของระบบอาวุธปล่อย
และความพร้อมในการฝึกยิงได้มลายหายไปสิ้นเชิงหลังจากที่พวกเราเห็นอาวุธปล่อยฯ
วิ่งชนเป้า
การฝึกยิงอาวุธปล่อยฯของเรือในวันนี้
ได้ถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของกองทัพเรือว่า
การฝึกยิงอาวุธปล่อยนำวิถี MISTRAL ครั้งแรกของ
ทร.ไทย สำเร็จอย่างงดงามตามความมุ่งหมายที่กำหนดไว้ทุกประการ
บทส่งท้าย
อาวุธปล่อยนำวิถี
MISTRAL
ถือว่าเป็นอาวุธหลักที่สำคัญของ ร.ล.จักรีนฤเบศร
ในการป้องกันภัยต่อภัยคุกคามที่จะเข้ามาทำอันตรายต่อเรือในขณะที่เรือออกปฏิบัติราชการในพื้นที่ปฏิบัติการ
ในการฝึกยิงอาวุธปล่อยนำวิถี MISTRAL ของ ร.ล.จักรีนฤเบศร
จุดมุ่งหมายหลักเป็นทดสอบความพร้อมรบของเรือ
และความเชื่อมั่นต่อระบบอาวุธปล่อยนำวิถีฯ
ผลการฝึกอาวุธปล่อยฯชนถูกเป้าได้อย่างแม่นยำ
ซึ่งการฝึกดังกล่าวได้ถูกบันทึกลงในประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของกองทัพเรือ
โดยเป็นการฝึกที่สร้างชื่อเสียงให้แก่เรือ และกองทัพเรือ อันเป็นที่น่าภาคภูมิใจต่อข้าราชการของ
ร.ล.จักรีนฤเบศร และกองทัพเรือ ส่งผลทำให้เกิดความมั่นใจต่อขีดความสามารถ
และความพร้อมรบของเรือ ในการปฏิบัติการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล
ที่เป็นภารกิจที่สำคัญยิ่งของกองทัพเรือ
+++++++++++++++++++++++
อ้างอิงจาก
http://web.archive.org/web/20090910081830/www.navy.mi.th/cvh911/911update27.html