Royal Thai Navy
1990s (What If) พัฒนาการกองทัพเรือไทยยุคเก้าศูนย์
ก่อนเข้าสู่เนื้อหาผู้เขียนขออธิบายเล็กน้อย
นี่คือบทความสายมโน สายกาว หรือสายจิตนาการ ซึ่งไม่เป็นความจริงแม้แต่ประโยคเดียว เขียนขึ้นมาเพื่อสนองความต้องการตัวเองล้วนๆ
ในเมื่อเข้าใจตรงกันแล้วก็ลุยกันเลยครับ
เรือหลวงรัตนโกสินทร์เข้าประจำการวันที่ 26 กันยายน 1986 เป็นเรือรบลำแรกของไทยที่ติดตั้งอาวุธครบ 3 มิติอย่างแท้จริง และเป็นนางเอกเงาในบทความสายกาวประจำปี 2020 นั่นคือไม่มีบทบาทแต่ถูกกล่าวถึงตลอดเวลา
แผน 11
ปี
ปี
1985
สงครามเย็นที่เคยเงียบสงบสักพักใหญ่ เริ่มร้อนระอุอีกครั้งจากการเมืองภายในสหภาพโซเวียต
เมื่อมิคาอิล กอร์บาชอฟ ขึ้นมาเป็นผู้นำแทนคอนสแตนติน เคอร์เชนโก นโยบายปฏิรูปของเขาไม่ถูกใจบรรดาท่านนายพล
จึงถูกปฏิเสธที่จะทำตามคำสั่งจากวังเครมลิน
มีข่าวลือเรื่องการทำรัฐประหารค่อนข้างหนาหู มีการเคลื่อนกำลังพลจำนวนมากออกจากโซเวียต
ประกอบไปด้วยเครื่องบิน เรือรบ เรือดำน้ำ รถถังปืนใหญ่ มายังฐานทัพต่างๆทั่วโลกรวมทั้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เครื่องบิน Mig-29 จำนวน
36 ลำถูกส่งมาประจำการในฐานทัพเวียดนาม อันเป็นประเทศมหามิตรนอกกลุ่มวอร์ซอของโซเวียต
เรือดำน้ำชั้น Kilo กับ Tango จำนวนหนึ่งลอยลำอยู่ในอ่าวคัมรานห์
เวียดนามเข้าประจำการเรือดำน้ำมือสองชั้น Foxtrot จำนวน
4 ลำ กับเรือฟริเกตมือสองชั้น Krivak จำนวน 6 ลำ ซึ่งแม้จะเป็นรุ่นเก่าแต่มีประสิทธิภาพพอสมควร
เวลาเดียวกันมีการค้นพบแหล่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย
สามารถส่งออกทำรายได้ก้อนโตให้กับประเทศ สร้างความอิจฉามายังเพื่อนบ้านซึ่งอยู่ติดกัน
ส่งผลให้พื้นที่ใกล้เคียงแหล่งขุดเจาะกลางอ่าวไทย ชาวประมงพบกล้องตาเรือของเรือดำน้ำค่อนข้างบ่อยครั้ง
ตรวจสอบคร่าวๆ เป็นเรือดำน้ำสร้างในโซเวียต รวมทั้งในปี 1982
เริ่มมีการใช้งานกฎหมายเขตเศรษฐกิจจำเพาะ ครอบคลุมพื้นที่ถัดจากอาณาเขตบนฝั่งออกไปสองร้อยไมล์ทะเล
ด้วยเหตุผลมากมายที่ได้กล่าวถึง
ราชนาวีไทยจำเป็นต้องมีกองเรือใหญ่โตกว่าเดิม เพื่อช่วยปกป้องคุ้มครองน่านน้ำจากภัยร้ายทั้ง
3
มิติ ผู้บัญชาการกองทัพเรือได้ผุดแผนการสำคัญ
ขยายกองเรือปราบเรือดำน้ำเป็นกองเรือฟริเกตที่1 กับกองเรือฟริเกตที่
2 ปรับปรุงเรือเก่าให้ทันสมัยกว่าเดิม และรีบจัดหาเรือรบรุ่นใหม่เข้าประจำการ
โดยใช้เรือชั้นเรือหลวงรัตนโกสินทร์เป็นระบบพื้นฐาน เรือลำอื่นๆ ต้องติดตั้งอาวุธใกล้เคียงเรือลำนี้
เพื่อสร้างมาตรฐานในการใช้งานและซ่อมบำรุง
โครงการดังกล่าวใช้ชื่อว่า
‘แผน 11 ปี’
ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ปี 1986 ถึงปี 1996
เริ่มต้นจากโครงการขนาดเล็กเป็นการจั่วหัว แบ่งเป็นสร้างเรือคอร์เวตภายในประเทศจำนวน
3 ลำ ใช้งบประมาณตั้งแต่ปี 1986 ถึง 1990 (ในภาพกราฟิกคือสีส้มแถวบนสุด) ต่อด้วยปรับปรุงเรือเดิมให้ทันสมัย 2
โครงการจำนวน 3 ลำ (ในภาพคือสีเขียว 2 ลำกับสีชมพู1 ลำ) ใช้งบประมาณตั้งแต่ปี 1986 ถึง 1990 ทั้งสามโครงการใช้อู่ต่อเรือภายในประเทศ
นอกจากนี้ยังมีโครงการใหญ่เมกกะโพรเจ็กต์
คือการจัดหาเรือฟริเกตจากประเทศจีนจำนวน 6 ลำ
แบ่งเป็นเฟสที่หนึ่งจำนวน 2 ลำ ใช้งบประมาณตั้งแต่ปี 1989
ถึง 1992 (ในภาพคือสีเหลือง) เฟสที่สองจำนวน 2
ลำ ใช้งบประมาณตั้งแต่ปี 1991 ถึง 1994 (ในภาพคือสีฟ้า) และเฟสที่สามจำนวน 2 ลำ
ใช้งบประมาณตั้งแต่ปี 1993 ถึง 1996 (ในภาพคือสีเหลืองล่างสุด)
ที่แสดงในภาพมีเพียงโครงการเรือผิวน้ำขนาดใหญ่
ไม่นับรวมโครงการเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ อากาศยานชนิดอื่นๆ
เรือตรวจการณ์ขนาดต่างๆ รวมทั้งเรือดำน้ำราคาแพงสุดโหด
จากภาพจะเห็นนะครับว่างบประมาณปี 1989 ถึง 1990 มีโครงการถึง 3 โครงการดำเนินการพร้อมกัน จุดนี้เองสร้างผลกระทบขึ้นมาภายหลัง
ส่วนจะเป็นเช่นไรนั้นตามผู้เขียนมาเลย
โครงการเรือคอร์เวตปราบเรือดำน้ำชั้นเรือหลวงคำรณสินธุ
เรือหลวงรัตนโกสินทร์จัดเป็นเรือคอร์เวตอาวุธนำวิถี
ติดตั้งอาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยาน Aspide ทันสมัยที่สุดในย่านอาเซียน เข้าประจำการวันที่ 26 กันยายน 1986 เป็นเรือรบลำแรกของไทยที่ติดตั้งอาวุธครบ
3 มิติอย่างแท้จริง โดยใช้แบบเรือ PFMM Mk.16 จากอู่ต่อเรือ Tacoma
ประเทศอเมริกา ลูกประดู่ไทยสั่งซื้อจำนวน 2 ลำและนิยมชมชอบมาก
จากข้อมูลหนังสือ Conway's All the World's Fighting Ships 1947–1995 ได้ระบุไว้ว่า ไทยต้องการสร้างเรือลำที่สามขึ้นเองภายในประเทศ
ทว่าโครงการถูกยกเลิกก่อนการก่อสร้างเริ่มต้น
จุดนี้เองผู้เขียนขอนำมาสานต่อตามจินตนาการ
ปลายปี
1984
ขณะที่เรือหลวงรัตนโกสินทร์กำลังก่อสร้าง กองทัพเรือได้ริเริ่มโครงการเรือคอร์เวตปราบเรือดำน้ำ
ระบุให้ใช้แบบเรือ PFMM Mk.16 จากประเทศอเมริกา ติดตั้งระบบปราบเรือดำน้ำไว้อย่างครบครัน
และมีพื้นที่สำหรับติดตั้งอาวุธนำวิถีปราบเรือรบ รัฐบาลกำหนดให้สร้างขึ้นเองในประเทศ
โดยอู่ต่อเรือสัญชาติไทยร่วมมือกับพาทเนอร์ต่างชาติ
ต่อมากลางปี
1985
มีการประกาศผลผู้ชนะเลิศโครงการ ปรากฏว่าบริษัทอิตัลไทย มารีนจำกัดร่วมกับบริษัท
Vosper Thornycroft ประเทศอังกฤษ
เอาชนะบริษัทอู่กรุงเทพซึ่งจับมือกับบริษัท Bremer Vulkan ประเยอรมันตะวันตก
ได้รับสัญญาสร้างเรือคอร์เวตจำนวน 3 ลำไปครอบครอง
เรือจึงถูกติดตั้งเรดาร์กับระบบอำนวยการรบจากอังกฤษ โดยใช้อาวุธใกล้เคียงเรือหลวงรัตนโกสินทร์มากที่สุด
ต้องเข้าใจนะครับว่าเรายังไม่เคยสร้างเรือรบแท้ๆ
(กระทั่งปี 2020 ก็ยังไม่เคย)
จำเป็นต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างชาติ และ Vosper Thornycroft ยินดีถ่ายทอดเทคโนโลยีต่างๆ ให้เรา ระหว่างปี 1970 ถึง
1990 เป็นช่วงเวลาที่เรือส่งออกอังกฤษขายดีระเบิดเถิดเทิง ขายเรือได้อย่างมากมายเป็นขาใหญ่ตัวจริงเสียงจริงที่แท้จริง
หลังใช้เวลาร่วมกับราชนาวีไทยเพื่อปรับปรุงแบบเรือ
ต้นปี 1986
บริษัทอิตัลไทย มารีนจำกัดเริ่มก่อสร้างเรือลำแรกของโครงการ เรือมีระวางขับน้ำปกติ
870 ตัน ระวางเต็มที่ 962 ตัน ยาว 76.8
เมตร กว้าง 9.6 เมตร กินน้ำลึกสุด 4.1 เมตร ติดปืนใหญ่ Oto
76/62 mm IROF (Improve Rate of Fire) อัตรายิงสูงสุด 100 นัดต่อนาที (เหมือนเรือหลวงรัตนโกสินทร์) ถัดมาเป็นจรวดปราบเรือดำน้ำ Bofor
375 mm.ลำกล้องแฝด (เหมือนเรือคอร์เวตชั้น Fatahillah ของอินโดนีเซีย) โดยมีแมกาซีนใต้ดาดฟ้าเรือจำนวนหนึ่ง
อาวุธชนิดนี้ได้รับความนิยมพอสมควร มีลูกจรวดยิงได้ไกลสุดถึง 3.6 กิโลเมตร
กลางเรือติดปืนกล
20
มม.GAM-BO1 กราบเรือละ 1 กระบอก (ปืนรุ่นนี้แปลกพิกล ต่างชาติเรียกว่ารุ่น GAM-BO1 กราบ แต่ไทยแลนด์เรียกรุ่น GAM-CO1) ถัดไปเป็นแท่นยิงตอร์ปิโดเบาปราบเรือดำน้ำแบบแฝดสาม
สำหรับตอร์ปิโด Stingray จากอังกฤษ
แท่นยิงอาวุธนำวิถีปราบเรือรบ Harpoon จากอเมริกา และปืนกล Otobreda
40 mm DARDO จากอิตาลี ซึ่งมีอัตรายิงสูงสุดอยู่ที่ 600 นัดต่อนาที ใช้เป็นระบบป้องกันตนเองระยะประชิดหรือ CIWS ได้ดีในระดับหนึ่ง
ท้ายเรือรองรับการติดตั้งโซนาร์ลากท้าย
Variable
Depth Sonar หรือ VDS ทำงานในโหมด Active แต่ยังไม่มาเพราะเงินหมดเสียก่อน ใช้ระบบอำนวยการรบ NAUTIS-P มีเรดาร์ตรวจการณ์ทางอากาศ Plessey AWS-6
ระยะตรวจจับไกลสุดถึง 180 กิโลเมตร มีเรดาร์ควบคุมการยิง Marconi
ST-802 จำนวน 2 ตัว ระยะทำการ 30 กิโลเมตรมีกล้องโทรทัศน์ติดตั้งมาด้วย ทันสมัยกว่าเรดาร์ควบคุมการยิง Sea
Archer 1A Mod 2s
ซึ่งใช้งานบนเรือ ต.99 กับเรือหลวงสุรินทร์
รีดประสิทธิภาพปืนกล Otobreda 40 mm DARDO ในการป้องกันภัยทางอากาศได้อย่างดีเยี่ยม
ระบบสงครามอิเล็กทรอนิกส์ประกอบไปด้วย
ระบบตรวจจับสัญญาณเรดาร์หรือ ESM รุ่น Elettronica
ELT 211ทำงานร่วมกับท่อยิงเป้าลวงหกท่อยิง Mk 36 SRBOC จำนวน 4 แท่นยิง ไม่มีระบบก่อกวนสัญญาณเรดาร์หรือ ECM นะครับ ส่วนระบบเป้าลวงตอร์ปิโดไม่มีเช่นกัน ยุคเก้าศูนย์เป้าลวงตอร์ปิโดยังไม่ค่อยนิยมแพร่หลาย
หรือพูดอีกอย่างก็คือยังพัฒนาไม่สำเร็จ
ของชาติตะวันตกส่วนใหญ่เป็นแบบลากท้ายติดบนเรือขนาด 3,000
ตันขึ้นไป
เมื่อเริ่มก่อสร้างเรือลำแรกประสบปัญหาทันที
เรดาร์ตรวจการณ์ทางอากาศ Plessey AWS-6
ซึ่งคาดจะพร้อมขายในปี 1990 ปรากฏว่าโดนโรคเลื่อนไม่มีกำหนดจู่โจม
รวมทั้งยังไม่มีชาติอื่นสั่งเรดาร์ใหม่เอี่ยมไปใช้งาน กองทัพเรือตัดสินใจเลือกเรดาร์ตรวจการณ์ทางอากาศ
Plessey AWS-4 ซึ่งเป็นรุ่นเก่ากว่ามีระยะตรวจจับไกลสุด 110
กิโลเมตรทดแทน
ต่อมาในปี
1989
เกิดปัญหาใหญ่เรื่องงบประมาณ เนื่องจากมีถึง 3 โครงการดำเนินงานพร้อมกัน อาวุธนำวิถีปราบเรือรบ Harpoon ซึ่งมีกำหนดส่งมอบปี 1992 ถูกยกให้กับเรือฟริเกตเฟสที่หนึ่งกับเฟสที่สอง
ส่วนเรือคอร์เวตปราบเรือดำน้ำต้องรอไปก่อน โซนาร์ VDS ราคาแพงยังไม่มาเช่นกัน
พื้นที่ว่างใช้ติดตั้งรางระเบิดลึกไปก่อน ฉะนั้นเรือจริงจึงมีหน้าตาประมาณนี้
โดยส่วนตัวผู้เขียนชอบมากแม้ไม่อันดับหนึ่ง
เพราะมีอาวุธครบครันป้องกันได้ครบ 360 องศา มีทั้งปืนใหญ่
76/62 มม.หัวเรือ ปืนกล 40 มม.ลำกล้องแฝดท้ายเรือ และปืนกล 20 มม.สองกราบเรือ ระบบปราบเรือดำน้ำมีทั้งตอร์ปิโด Stingray จรวดปราบเรือดำน้ำขนาด 375 มม.รวมทั้งระเบิดลึกซึ่งเสริมเข้ามาท้ายสุด ที่ว่างท้ายปืนกลติดแพซูชีพเพิ่มเติมเข้าไป
เรือคอร์เวตทั้ง
3
ลำกำหนดให้ใช้ชื่อเรือหลวงคำรณสินธุ (443)
เรือหลวงทยานชล (444) และ เรือหลวงล่องลม (445) ส่งมอบระหว่างปี 1990 ถึง 1991 เข้าประจำการระหว่างปี 1991 ถึง 1992 ท้ายเรือว่างไปก่อนรอความหวังในอนาคต กระทั่งต่อมาในปี 1997 เกิดวิกฤตการเงินหรือต้มยำกุ้งขึ้นในเมืองไทย ส่งผลให้โซนาร์ VDS กับ Harpoon ไม่มาอย่างแน่นอน
กองทัพเรือทดลองยุทธวิธีรูปแบบใหม่
ให้เรือหลวงคำรณสินธุทำภารกิจปราบทุ่นระเบิด โดยการติดตั้งตู้คอนเทนเนอร์ท้ายปืนกล
40
มม.ใช้เป็นห้องทำงานรวมทั้งห้องพักผ่อนเจ้าหน้าที่
จากนั้นจึงถอดรางระเบิดฝั่งซ้ายมือ เพิ่มพื้นที่รองรับยานใต้น้ำทำลายทุ่นระเบิด
ใช้งานกับรอกประจำเรือที่อยู่กราบซ้ายมือ (ในภาพใส่ไว้ด้านขวาเพื่อโชว์ออปชันเฉยๆ
แต่ใช้งานจริงไม่สะดวกติดสะพานขึ้นลงเรือ) ปรากฏว่าทำงานได้ดีพอสมควร
แต่เป็นเพียงทดลองไม่ได้ติดตั้งถาวร และในปี 1998 มีการปรับปรุงเรือเล็กน้อย
โดยการใส่เรดาร์เดินเรือตัวที่สอง กับจานรับสัญญาณดาวเทียมหรือ SATCOM ซึ่งถือเป็นลำแรกสุด
ผลจากโครงการสร้างเรือรบภายในประเทศ
แม้มีอุปสรรคอยู่บ้างแต่แล้วก็สำเร็จลุล่วง ราชนาวีไทยมีเรือคอร์เวตชั้น PFMM
Mk.16 ถึง 5 ลำ เป็นเรือคอร์เวตอาวุธนำวิถี
(หรือเรือคอร์เวตสมรรถนะสูง) จำนวน 2 ลำ
กับเรือคอร์เวตปราบเรือดำน้ำอีก 3 ลำ สังกัดกองเรือฟริเกตที่
2 ซึ่งมีจำนวน 7 ลำ
ทว่าในความเป็นจริงเป็นเรือคอร์เวตทุกลำ
โครงการปรับปรุงเรือคอร์เวตชั้นเรือหลวงตาปี
หนึ่งในรายละเอียดโครงการสร้างเรือคอร์เวตปราบเรือดำน้ำ
โดยใช้แบบเรือ PFMM Mk.16 จากประเทศอเมริกา
นั่นคือผู้ได้รับคัดเลือกต้องปรับปรุงเรือหลวงตาปีกับเรือหลวงคีรีรัฐ
ให้ใช้ระบบอำนวยการรบ ระบบเรดาร์ รวมทั้งระบบอาวุธมาตรฐานเดียวกับเรือสร้างใหม่ เรือทั้ง
5 ลำจะได้ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
ผลพวงจากสิ่งนี้ทำให้บริษัทอิตัลไทย
มารีนจำกัดกับบริษัท Vosper Thornycroft ประเทศอังกฤษ
ได้งานปรับปรุงเรือมาทำเพิ่มอีกสองลำ กำหนดเวลาตั้งแต่ปี 1986 ถึง 1988 เพราะต้องสลับกันปรับปรุงให้อีกลำได้ทำภารกิจ
นอกจากต้องการสร้างมาตรฐานเดียวกันแล้ว
ยังถือเป็นการซ้อมใหญ่ก่อนติดตั้งอุปกรณ์บนเรือลำใหม่ อู่ต่อเรือเมืองไทยในปี 1986
ไม่เคยทำงานใหญ่มาก่อน ถ้ามีประสบการณ์ตรงจะช่วยให้งานถัดไปง่ายกว่าเดิม
ถือเป็นแผนการที่ค่อนข้างดีพอสมควร
เราจะได้เรือคอร์เวต 5 ลำมีอุปกรณ์ต่างๆ
ใกล้เคียงกัน และด้วยเหตุนี้ทำให้เรือหลวงตาปีกับเรือหลวงคีรีรัฐ
ใช้ระบบอำนวยการรบ NAUTIS-P มีเรดาร์ตรวจการณ์ทางอากาศ Plessey
AWS-4 มีเรดาร์ควบคุมการยิง Marconi ST-802 จำนวน
2 ตัว พร้อมเรดาร์เดินเรืออีก 2 ตัว
และโซนาร์หัวเรือ DSQS–21C จากเยอรมัน
สามารถส่งความถี่ไกลได้สุดถึง 29 กิโลเมตร มีระยะตรวจจับหวังผลประมาณ 12 กิโลเมตร รูปร่างหน้าตาหลังปรับปรุงเป็นไปตามนี้
มาดูระบบอาวุธกันบ้างครับ เรือหลวงตาปีติดตั้งท่อยิงตอร์ปิโดเบาปราบเรือดำน้ำกับรางระเบิดลึกอยู่แล้ว ฉะนั้นไม่ต้องทำอะไรกับส่วนท้ายเรือ แต่จรวดปราบเรือดำน้ำ Hedgehog จากยุคสงครามโลก ต้องถอดออกแทนที่ด้วยท่อยิงเป้าลวง Mk 36 SRBOC จำนวน 4 แท่นยิง ทำงานคู่กันระบบตรวจจับสัญญาณเรดาร์หรือ ESM รุ่น Elettronica ELT 211
อาวุธปืนบนเรือมาจากยุคสงครามโลกเช่นกัน
จึงถูกถอดออกนำไปใช้งานบนเรือตรวจการณ์ ทดแทนด้วยอาวุธใหม่ขนาดเท่ากัน
จำนวนลำกล้องเท่ากัน ติดตั้งในตำแหน่งเดียวกัน เริ่มจากปืนใหญ่ 76/50
Mk22 Mod 0 แทนที่ด้วยปืนใหญ่ Oto 76/62 Compact ซึ่งมีอัตรายิง 85 นัดต่อนาที
ที่เลือกรุ่นนี้เพราะต้องใช้ถึง 2 กระบอกติดหัวท้าย
ส่วนปืนกล Bofors 40/60 มม.ลำกล้องแฝด แทนที่ด้วยปืนกล
Otobreda 40 mm DARDO ลำกล้องแฝดเช่นเดียวกัน
เรือหลวงตาปีปับปรุงใหม่ทั้งดุดันสวยสง่าและทรงประสิทธิภาพ ใช้งานเรดาร์กับอาวุธเหมือนเรือใหม่ทั้งลำ
ให้บังเอิญว่าแผนนี้มีปัญหาเล็กน้อย เรือหลวงตาปีสร้างจากแบบเรือ PF-103 ประเทศอเมริกา อันเป็นแบบเรือส่งออกยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
อเมริกาหวงแหนสำหรับมหามิตรอย่างไทยกับอิหร่านเท่านั้น โชคร้ายออกแบบให้ติดอาวุธบนดาดฟ้าเรือเท่านั้น
แต่ 76/62 Compact กับ 40 Twin DARDO ใช้พื้นที่ใต้ดาดฟ้าเรือสำหรับแมกาซีนกระสุนปืน
ทำตามแผนต้องเจาะดาดฟ้ายึดครองพื้นที่จำนวนหนึ่ง
หรือสร้าง Superstructure ขึ้นมาหนึ่งชั้นรองรับแมกาซีน
ซึ่งอาจทำให้จุดโน้นถ่วงเรือเปลี่ยนแปลงจากเดิม
ราชนาวีไทยไม่อยากปวดหัวรวมทั้งไม่อยากเสี่ยง บริษัทอิตัลไทย
มารีนจึงได้เสนอแบบเรือที่สอง ซึ่งบริษัท Vosper Thornycroft ช่วยออกแบบโครงสร้างตัวเรือตามกฎของลอยด์
และให้สถาบันลอยด์แห่งอังกฤษตรวจรับรองแบบโครงสร้างใหม่ คณะกรรมการปรับปรุงเรือเห็นเข้าชอบใจทุกราย
แบบเรือใหม่ใช้ปืนใหญ่ Bofor 57 mm Mark 1เหมือนเรือเร็วโจมตีอาวุธนำวิถีชั้นเรือหลวงปราบปรปักษ์ ซึ่งเป็นรุ่นเก่ามีหลงเหลือโกดังจำนวนหนึ่ง Bofors ขายให้ในราคาซื้อ 3 แถม 1 พร้อมกระสุนปืนจำนวนหนึ่ง ปืนรุ่นนี้อัตรายิงสูงสุด 200 นัดต่อนาที มีกระสุนพร้อมยิง 40 นัดในแมกาซีน หมดแล้วต้องเปลี่ยนแมกาซีนด้วยมือลำบากเล็กน้อย ขณะที่รุ่นใหม่ Mark 2 มีแมกาซีน 3 อันภายในป้อมปืน (รวมเป็น 120 นัด) กระสุนหมดระบบจะสลับแมกาซีนให้เอง แต่ต้องใช้เวลารอคอยสักพักหนึ่ง ต่างจาก 76/62 Compact มีแมกาซีนใต้ป้อมปืน สามารถบรรจุกระสุนเพิ่มได้อย่างสะดวก
Bofor
57 mm Mark 1 ไม่ใช้พื้นที่ใต้ดาดฟ้าเรือ
เป็นอันว่าแก้ปัญหาไปได้หนึ่งเรื่อง ให้บังเอิญปืนรองกองทัพเรือไทยต้องการ 40
Twin DARDO เพราะมีประสิทธิภาพสูงไว้รับมือ Mig-29 ไม่ปรากฏสัญชาติ จึงได้มีการต่อเติม Superstructure ท้ายเรือเพิ่มขึ้น
3.64 เมตร เพื่อติดตั้งระบบป้องกันตัวเองระยะประชิดจากอิตาลี
ทำงานร่วมกับเรดาร์ควบคุมการยิงของอังกฤษ ห้อยเรือยางท้องแข็งไว้ด้านข้างด้วย 2
ลำ เรือชั้น PF-103 มีเรือเล็กแค่เพียงกราบซ้ายลำเดียว
นอกจากนี้มีการปรับปรุงเล็กๆ
น้อยๆ อาทิเช่นเสริมเสากระโดงเรือให้แข็งแรงขึ้น เปลี่ยนระบบสื่อสารเป็นรุ่นทันสมัย
รวมทั้งเตรียมติดตั้งระบบ Link ต่างๆ เพิ่มภายหลัง
เรือลำนี้ผู้เขียนค่อนข้างชื่นชอบเป็นพิเศษ สาเหตุก็คือเรือลำจริงปรับปรุงได้แบบร้องยี้
เห็นภาพถ่ายทีไรขัดอกขัดใจมันเสียทุกที กลายเป็นพ่อสูงชะลูดตูดปอดไปเสียนั่น
เรือหลวงมกุฎราชกุมารเป็นเรือฟริเกตรุ่นใหม่เพียงลำเดียวของราชนาวีไทย
สร้างโดยอู่ต่อเรือ Yarrow Shipbuilder ในสกอตแลนด์
เข้าประจำการวันที่ 7 พฤษภาคม 1973 โดยใช้แบบเรือฟริเกตรุ่นส่งออกเหมือนเรือฟริเกต
KD Rahmat ของมาเลเซีย ซึ่งเข้าประจำการก่อน 2 ปีมาปรับปรุงเพิ่มเติม
เป็นเรือรบลำแรกของไทยที่ติดอาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยาน
ครั้นเข้าสู่ปี
1988
จรวด Sea Cat หมดอายุการใช้งาน
จรวดปราบเรือดำน้ำ Limbo ล้าสมัยเกินไป รวมทั้งในปี 1984
เกิดไฟไหม้ใหญ่ในห้องเครื่องยนต์ ส่งผลให้ปืนใหญ่ 4.5 กระบอกท้ายได้รับความเสียหาย นอกจากนี้ยังเกิดภัยคุกคามขนาดใหญ่จากสหภาพโซเวียตกับเวียดนาม
ลูกประดู่ไทยมีแผนจัดหาเรือฟริเกตทันสมัยเพิ่มเติมก็จริง แต่กว่าจะพร้อมรบจริงๆ
ก็ปาเข้าไปปี 1997 ถึง 1998 ฉะนั้นแล้วเรือหลวงมกุฎราชกุมารต้องเป็น
‘เดอะแบก’ ไปก่อนสักพักหนึ่ง
การปรับปรุงเรือทำโดยกรมอู่ทหารเรือ
โดยมีบริษัท Vosper Thornycroft ส่งที่ปรึกษามาช่วยเหลือ
เริ่มต้นจากติดตั้งแท่นยิงแฝดสี่อาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยาน Aspide Mk.1 แทนที่จรวด Sea Cat จรวดรุ่นใหม่ทันสมัยกว่าเดิมพอสมควร
ระยะยิงไกลสุดเพิ่มจาก 5 กิโลเมตรเป็น 13 กิโลเมตร มีใช้งานบนเรือชั้นเรือหลวงรัตนโกสินทร์อยู่แล้ว ถือเป็นมาตรฐานเดียวกันตามความต้อง
จากนั้นปรับปรุงเรดาร์ควบคุมการยิง WM22 mod 61 ให้เป็นรุ่น WM25 โดยใช้ไข่ใบเดิมแต่ใส้ในรื้อออกทั้งหมด
ระบบเรดาร์บนเรือเหมือนเรือหลวงรัตนโกสินทร์อยู่แล้วเช่นกัน
มีการปรับปรุงระบบอำนวยการรบ SEWACO (FORESEE-TH) ให้รองรับจรวด
Aspide ติดตั้งระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลทางยุทธวิธี Link
Y Mk.1 เพื่อสื่อสารกับเรือหลวงรัตนโกสินทร์และลำอื่นๆ ติดตั้งท่อยิงเป้าลวงหกท่อยิง
Mk 36 SRBOC จำนวน 4 แท่นยิง
ทำงานร่วมกับระบบตรวจจับสัญญาณเรดาร์หรือ ESM รุ่น Elettronica
ELT 211 และระบบก่อกวนสัญญาณเรดาร์หรือ ECM รุ่น
ELT 318 ซึ่งมีอยู่แล้ว
เมื่อได้ลูกยาวไว้ป้องกันตัวจาก
Mig-29 เป็นที่เรียบร้อย อาวุธชนิดอื่นๆ ต้องเปลี่ยนใหม่หมดเช่นกัน เริ่มจากปืนใหญ่
4.5 นิ้ว Mk 8 หัวเรือ
ถูกแทนที่ด้วยปืนใหญ่ Oto 76/62 mm IROF อัตรายิงสูงสุด 100
นัดต่อนาที ต่อด้วยปืนกลขนาด 40/60 มม.ป้อมปืนอังกฤษที่อยู่กลางเรือ กรมอู่ทหารเรือตั้งใจติดตั้งปืนกล Otobreda
40 mm DARDO ลำกล้องแฝดเหมือนดั่งเรือคอร์เวต โดยการสร้าง Superstructure
เพิ่มเติมสองกราบเรือ สำหรับพื้นที่จัดเก็บแมกาซีนกระสุน 40 มม.
ว่ากันตามตรงสมควรใช้
DARDO แหละครับ แต่ให้บังเอิญพื้นที่ตรงนั้นค่อนข้างจำกัดจำเขี่ย
ไม่สามารถนำปืนกล 40 มม.ลำกล้องแฝดมายัดลงไปได้
ตอนนั้นทีมงานปรับปรุงเรือพากันถอดใจ อาจใส่ปืนกล Bofor 40/70 บรรจุกระสุนด้วยมือเข้าไปทดแทน แต่ให้บังเอิญครั้งที่สองในปี 1998 บริษัท Breda ของอิตาลีพัฒนาปืนกล 30 มม.ลำกล้องแฝดขึ้นมาสำเร็จ ขนาดกะทัดรัดหนักเพียง 4
ตันมีกระสุนพร้อมยิง 1,000 นัด ใช้ปืน Mauser
MK-30 Model F จากเยอรมันอัตรายิง 600 นัดต่อนาทีต่อกระบอก
มีคำสั่งซื้อจากราชนาวีอิตาลีกับฝรั่งเศสเป็นที่เรียบร้อย
ปืนกล
30
มม.ได้ถูกคัดเลือกจากทีมงาน ทว่ายังติดปัญหาเรื่องเรดาร์ควบคุมการยิง
ติดเรดาร์/ออปทรอนิกส์ควบคุมการยิง LIROD-8 ตำแหน่งเดิมเรดาร์ควบคุมการยิงจรวด Sea Cat ได้ก็จริง
แต่เกิดมุมบอดที่หัวเรือค่อนข้างมาก จำเป็นต้องพึ่งพา WM25
ซึ่งอาจเจอปัญหาตอนยิงจรวด Aspide ใส่เครื่องบินข้าศึกในวลาเดียวกัน
บนเรือมี
Target
Designstion Sight ใช้เป็นระบบควบคุมการยิงสำรองก็จริง ทว่าความแม่นยำย่อมลดน้อยถอยลงไปด้วย
ให้บังเอิญครั้งที่สามบริษัท Breda กำลังพัฒนาปืนกล 30
มม.ลำกล้องแฝดรุ่น Sea Cobra โดยการติดตั้งเรดาร์ควบคุมการยิง Marconi 440 series บนป้อมปืน และโฆษณาว่าเป็นระบบป้องกันตัวเองระยะประชิดราคาประหยัด
ในที่สุด Sea Cobra จึงถูกคัดเลือกให้มาลงเรือฟริเกตสร้างจากอังกฤษลำนี้
ชมท้ายเรือกันบ้างดีกว่า
ปืนใหญ่ 4.5
นิ้วซึ่งได้รับความเสียหายถูกถอดออก จรวดปราบเรือดำน้ำ Limbo ลำกล้องแฝดสามถูกถอดออก สร้างลานจอดเฮลิคอปเตอร์แบบเต็มพื้นที่ขึ้นมาแทน
พร้อมโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์แบบพับเก็บได้ สำหรับเก็บตอร์ปิโดปราบเรือดำน้ำ โซโนปุย หรืออุปกรณ์ต่างๆ
ใต้ลานจอดติดแท่นยิงตอร์ปิโดเบาปราบเรือดำน้ำแฝดสาม สำหรับตอร์ปิโด Stingray จากอังกฤษ ทำงานร่วมกับโซนาร์หัวเรือ DSQS–21C
จากเยอรมัน
แบบเรือตามแผนจะติดอาวุธตามนี้ครับ
ครั้นพอเข้าสู่ปี 1989 เริ่มนำเรือเข้าอู่เพื่อปรับปรุง
มีเหตุการณ์สำคัญสองเรื่องส่งผลกระทบต่อโครงการ เรื่องแรกปืนกล 30 มม.ลำกล้องแฝดรุ่น Sea Cobra มีการทดสอบยิงครั้งแรกต่อหน้าสื่อมวลชน
ปรากฏว่ากระสุนไม่โดนเป้าหมาย…ใช่ครับยิงข้ามคานหน้าตาเฉย
ทำให้ทุกชาติที่ให้ความสนใจพากันส่ายหัว โครงการ Sea Cobra ต้องล้มคว่ำในเวลาต่อมา
(เรื่องจริงครับแต่วันเวลาคลาดเคลื่อน) ราชนาวีไทยไม่กล้าเสี่ยงไปด้วยอีกราย
ปัญหาสำคัญเรื่องที่สองก็คือ
โครงการจัดหาเรือฟริเกตจากประเทศจีนเฟสหนึ่งกับเฟสสอง
มีการปรับปรุงแบบเรือใหม่หมดก่อนเซ็นสัญญา ราคาเรือขยับสูงขึ้นกว่าเดิมพอสมควร
กระทบมายังโครงการปรับปรุงเรือหลวงมกุฎราชกุมาร ซึ่งนอกจากต้องเป็นเดอะแบกไปอีก 6
ถึง 8 ปีแล้ว ยังต้องรับหน้าที่เรือฝึกให้กับเรือใหม่จากจีนอีกหนึ่งหน้าที่
บทสรุปของโครงการนี้ก็คือ
ปืนใหญ่ 4.5 นิ้วหัวเรือยังคงติดตั้งที่เก่า ส่วนปืนกล 40/60 มม.ถูกแทนที่ด้วยปืนกล 20 มม.GAM-BO1 รวมทั้งขอเช่าเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ Lynz HAS.3 จำนวนสองลำจากราชนาวีอังกฤษ เพื่อใช้ฝึกหัดนักบินให้มีความชำนาญ
พร้อมใช้งานเฮลิคอปเตอร์ Super Lynx Mk.110 หรือ Super
Lynx 300 ในอนาคต
เรือหลวงมกุฎราชกุมารกลายเป็นเรือลำแรกของไทย ที่มีลานจอดกับโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ ทำภารกิจปราบเรือดำน้ำเป็นหลักเรือฝึกเป็นรอง ความทันสมัยอาจไม่ตรงตามแผนการก็จริง แต่ตามแผน 11 ปีหลังปี 1998 หรือช้าสุดไม่เกินปี 2000 เมื่อเรือฟริเกตจากจีนทั้ง 6 ลำพร้อมรบอย่างเต็มที่ เรือหลวงมกุฎราชกุมารจะถูกถอยจากเรือ Tier 1 ไปเป็นเรือ Tier 2
โครงการซื้อเรือฟริเกตชั้นเจียงหูจากประเทศจีน
โครงการใหญ่เมกกะโพรเจ็กต์ของราชนาวีไทยในยุคเก้าศูนย์
คือการจัดหาเรือฟริเกตจากประเทศจีนจำนวน 6 ลำ
แบ่งเป็นเรือฟริเกตปราบเรือดำน้ำจำนวน 4 ลำ
กับเรือฟริเกตสมรรถนะสูงอีก 2 ลำ วิธีการจัดหาแบ่งออกเป็น 3
เฟสๆ ละ 2 ลำตามแบบเรือย่อย ใช้งบประมาณ 8
ปีตั้งแต่ปี 1989 ถึง 1996 แบ่งเป็นจัดหาเรือ 4 ลำแรกด้วยงบประมาณ 4 ปี กับจัดหาเรือ 2 ลำสุดท้ายด้วยงบประมาณอีก 4
ปี โดยเรือทุกลำเข้าประจำการกองเรือฟริเกตที่ 1
อู่ต่อเรือ
China
State Shipbuilding Corperation (CSSC)
ประเทศจีนได้รับสัญญาซื้อเรือฟริเกตปราบเรือดำน้ำจำนวน 4 ลำ
แบ่งเป็นรุ่น Type 053HT มีปืนใหญ่หัวและท้ายจำนวน 2 ลำ กับรุ่น Type 053HTH มีลานจอดเฮลิคอปเตอร์จำนวน 2
ลำ โดยใช้แบบเรือชั้นเจียงหูหรือ Type 053 ประเทศจีน
ซึ่งพัฒนามาจากเรือฟริเกตชั้น Riga ของสหภาพโซเวียต
ไม่ทันสมัยสักเท่าไรแต่มีราคาค่อนข้างถูก นำมาใส่ระบบอาวุธกับระบบเรดาร์ลูกผสม
ระหว่างยุโรปกับจีนได้อย่างผสมผสานลงตัว คำพูดสุดท้ายเจ้าของบริษัท CSSC เขาว่าไว้นะครับ เท็จจริงเช่นไรเดี๋ยวคงได้รู้กันในอีกไม่นาน
เรือมีระวางขับน้ำเต็มที่
1,924
ตัน ยาว 10.87 เมตร กว้าง 11.36 เมตร กินน้ำลึก 3.7 เมตร ติดตั้งปืนใหญ่ Oto 76/62 Super Rapid เป็นลำแรกของประเทศไทย เรือเฟสแรกมีปืนใหญ่
2 กระบอกหน้าหลัง ส่วนเรือเฟสสองมีลานจอดเฮลิคอปเตอร์จึงมีแค่กระบอกเดียว
หน้าสะพานเดินเรือติดตั้งแท่นยิงตอร์ปิโดเบาปราบเรือดำน้ำแฝดสาม สำหรับตอร์ปิโด Stingray จากอังกฤษ กลางเรือติดอาวุธนำวิถีปราบเรือรบ C-801 จำนวน
8 นัดจีนพัฒนาขึ้นมาเอง
ท้ายเรือติดตั้งปืนกล
37
มม.ลำกล้องแฝดรุ่น Type 76A จีนพัฒนาขึ้นมาเองเช่นเดียวกัน โดยการทำปืนกล 37 มม.รุ่น 70-K ของโซเวียตมาใส่ป้อมปืนแบบเต็ม ปรับปรุงให้ทำงานอัตโนมัติด้วยระบบไฟฟ้า
ทำงานคู่กับเรดาร์ควบคุมการยิงรุ่นใหม่ อัตรายิง 375 นัดต่อนาทีต่อหนึ่งกระบอก
มีประสิทธิภาพสูงไม่แตกต่างจาก DARDO ของอิตาลี
เรือไทยติดระบบอำนวยการรบ
Poseidon
2.5 ของจีน ซึ่งแปลงร่างมาจาก SADOC Mk.2 ของอิตาลี
ติดเรดาร์ตรวจการณ์ Type360 ของจีน ซึ่งแปลงร่างมาจากเรดาร์ RAN-10S ของอิตาลี โดยมีเรดาร์เดินเรือ DECCA 1229 อีก 1 ตัว ติดเรดาร์ควบคุมการยิง Type 347G Rice Bow จำนวน 2 ตัว
จีนผลิตเองแต่แปลงร่างมาจากเรดาร์ควบคุมการยิง RTN-20X ของอิตาลีอีกแล้ว ติดโซนาร์หัวเรือ SJD-7A ของจีน ซึ่งแปลงร่างมาจากโซนาร์ DE-1164 ของอิตาลี
ซึ่งแปลงร่างมาจากโซนาร์ AN/SQS-56 ของอเมริกาอีกที
เพราะฉะนั้นเรือฟริเกตทั้ง 4 ลำของไทย
ใช้โซนาร์รุ่นเดียวกับเรือฟริเกต Oliver Hazard Perry ของอเมริกา
อิตาลีทั้งลำกันเลยหรือนั่น?
ไม่ใช่ครับ…มีของโซเวียตด้วย เพราะใช้เรดาร์ควบคุมการยิงจรวด C-801 รุ่นType 352 Square Tie ซึ่งแปลงร่างมาจากเรดาร์ MR-331 Rangout ของโซเวียต ใช้ระบบตรวจจับสัญญาณเรดาร์หรือ
ESM รุ่น Type 923-1 Jug Pair
ซึ่งแปลงร่างมาจากระบบตรวจจับสัญญาณ Nakat-M Watch Dog
ของโซเวียต มีเพียงระบบก่อกวนสัญญาณเรดาร์แบบ noise jammer Type 981-2 เพียงรุ่นเดียวเท่านั้น
ที่ผู้เขียนยังหาไม่เจอว่าจีนเอามาจากรุ่นไหนของโซเวียต
ข้อมูลส่วนใหญ่ของเรือทั้ง
2
รุ่นเป็นไปตามนี้ เมื่อราชนาวีไทยเห็นครั้งแรกจึงอุทานว่า…อ่าห์ ก่อนโทรศัพท์ทางไกลกลับไปพูดคุยกับจีนว่า “ไหนๆ
ก็อิตาลีทั้งลำแล้ว ไอขอติดจรวด Aspide ไว้ยิงเครื่องบินมิกจะได้ไหมเอ่ย
เอาแค่แท่นยิงแฝดสี่ขนาดกะทัดรัดก็พอ ไอคงไม่มีเงินซื้อจรวดมาใส่ท่อยิงสักเท่าไร”
จีนรีบตอบกลับมาว่า
”ไม่ได้…ถ้ายูอยากได้ไอจะติดจรวด HQ-7 ที่ไอพัฒนาขึ้นมาเอง (จริงๆ คือจรวด Crotale ของฝรั่งเศส)
แต่ต้องเปลี่ยนมาใช้ระบบอำนวยการรบ Poseidon 3.5
ที่ไอพัฒนาขึ้นมาใหม่เอี่ยมอ่อง (จริงๆ เป็นรุ่น TAVITAC ของบริษัท
Thomson-CSF ฝรั่งเศส) ราคาจะเรือแพงขึ้นเล็กน้อยแค่ 25
เปอร์เซ็นต์เท่านั้นเอง”
เท่านั้นเองผู้บัญชาการกองทัพเรือไทยเม้งแตก
ตัดสินใจปรับเปลี่ยนสัญญาอย่างปุบปับ โดยให้บริษัท CSSC ของจีนสร้างเฉพาะตัวเรือเท่านั้น ก่อนนำมาติดตั้งอาวุธภายในประเทศด้วยตัวเอง
โดยใช้อาวุธและเรดาร์จากชาติตะวันตก โครงการนี้แบ่งๆ กันไประหว่างบริษัทอิตัลไทย
มารีนจำกัดกับบริษัทอู่กรุงเทพ แบบเรือลำที่สร้างจริงเป็นตามภาพนี้เลยครับ
กองทัพเรือใส่ทุกอย่างเหมือนเรือหลวงรัตนโกสินทร์
จริงอยู่ว่าในปี 1990 ระบบพวกนี้ชักเริ่มล้าสมัย
มีของใหม่กว่าประสิทธิภาพสูงกว่าเข้ามาแทนที่ แต่ด้วยงบประมาณที่มีจึงตัดสินใจได้ไม่ยาก
เรือทั้ง 4 ลำใช้ระบบอำนวยการรบ SEWACO (FORESEE-TH) บนสุดเสากระโดงหลักเป็นเรดาร์ควบคุมการยิง WM25
มีเรดาร์ตรวจการณ์ระยะใกล้ ZW06 บนเสากระโดงหลัก กับเรดาร์ตรวจการณ์ระยะกลาง
DA05 บนเสากระโดงรอง แล้วใส่เรดาร์เดินเรือ DECCA 1229 เพิ่มเข้ามาหนึ่งตัว เสริมทัพด้วย Target Designstion Sight หรือ TDS ใช้เป็นระบบควบคุมการยิงสำรองจำนวน 1
ถึง 2 ตัว
ระบบสงครามอิเล็กทรอนิกส์ประกอบไปด้วย
ระบบตรวจจับสัญญาณเรดาร์หรือ ESM รุ่น Elettronica
ELT 211 และระบบก่อกวนสัญญาณเรดาร์หรือ ECM รุ่น
ELT 318 ทำงานร่วมกับ ท่อยิงเป้าลวงหกท่อยิง Mk 36 SRBOC จำนวน 4 แท่นยิง
ขณะที่ระบบปราบเรือดำน้ำประกอบไปด้วย แท่นยิงตอร์ปิโดเบาปราบเรือดำน้ำแฝดสามสำหรับตอร์ปิโด
Stingray ทำงานร่วมกับโซนาร์หัวเรือ DSQS–21C ท้ายเรือมีพื้นที่ว่างติดโซนาร์ลากท้ายขนาดเล็กได้
แต่ยังไม่เงินขอละไว้ก่อนฐานที่เข้าใจ
มีระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลทางยุทธวิธี
Link
Y Mk.1 ราชนาวีไทยตั้งใจใช้ลิงก์ตัวนี้กับเรือรบสำคัญๆ ทุกลำ
ที่ขาดไม่ได้ก็คือแท่นยิงแฝดสี่อาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยาน Aspide Mk.1 ขนาดค่อนข้างเล็กและเบาติดอยู่หน้าสะพานเดินเรือ
นอกจากเสากระโดงรองสร้างเพิ่มเติมขึ้นมาแล้ว
ยังมี Suerstructure
หลังปล่องระบายความร้อนอีกหนึ่งจุด สำหรับเรือชั้น Type
053HT ใช้เป็นห้องพักผ่อนเก็บกระสุน 20 มม.รวมทั้งตอร์ปิโดปราบเรือดำน้ำ ส่วนเรือชั้น Type 053HTH ในเฟสสองเป็นห้องควบคุมอากาศยาน มีจุดติดตั้งระบบป้องกันตนเองระยะประชิดรุ่นไม่เจาะดาดฟ้า
แต่ยังไม่มีเงินจึงติดปืนกล 20 มม.GAM-BO1 จำนวน 2 กระบอกไปก่อนอย่าคิดมาก ไว้ขุดน้ำมันได้เยอะกว่าเดิมค่อยถอย
Phalanx ป้ายแดงมาใช้งาน
ผู้เขียนเกือบลืมไปเลย…อาวุธนำวิถีปราบเรือรบ C-801 ซึ่งจีนผลิตขึ้นมาเอง ถูกแทนที่ด้วย
Harpoon ของดีเกรดหนึ่งจากอเมริกา ซึ่งขโมยมาจากเรือคอร์เวตปราบเรือดำน้ำชั้นเรือหลวงคำรณสินธุ
ด้วยจำนวนเรือติดตั้งอาวุธนำวิถีปราบเรือรบมีมากเกินพอแล้ว
เรือคอร์เวตสร้างในไทยทั้ง 3 ลำจึงไม่ได้ติดตั้ง Harpoon
ตลอดไป
หลังผ่านความชุลมุนวุ่นวายครั้งใหญ่
เรือหลวงเจ้าพระยากับเรือหลวงบางปะกงติดอาวุธครบถ้วนในปี 1992
กับ 1993 เข้าประจำการปี 1993 กับ 1994 ตามลำดับ เรือหลวงกระบุรีกับเรือหลวงสายบุรีส่งมอบในปี
1994 กับ 1995 และเข้าประจำการปี 1995
กับ 1996 ตามลำดับ ส่วนเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ
Super Lynx 300 กองทัพเรือสั่งซื้อจำนวน 6 ลำ ก่อนลดลงเหลือ 4 ลำส่งมอบระหว่างปี 1994 ถึง 1996 และขอซื้อต่อเฮลิคอปเตอร์ Lynz
HAS.3 จำนวน 1 ลำไว้ใช้ฝึกนักบินบนเรือหลวงมกุฎราชกุมาร
เท่ากับว่ากองทัพเรือมีเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ 4+1=5 ลำ
โครงการซื้อเรือฟริเกตสมรรถนะสูงจากประเทศจีน
หนึ่งในความต้องการกองทัพเรือยุคเก้าศูนย์ก็คือ
เรือฟริเกตขนาด 3,000 ตันติดเรดาร์กับอาวุธทันสมัยใหม่รุ่นล่าสุด
สามารถป้องกันตนเองรวมทั้งกองเรือได้ในระดับหนึ่ง
อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากความต้องการในอดีต
ตอนนั้นลูกประดู่ไทยหวาดเกรงเครื่องบินมิกเวียดนาม
มีความต้องการเรือป้องกันภัยทางอากาศมือสอง รวมทั้งอาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยานระยะกลาง
SM-1MR ซึ่งมีระยะยิง 19 ไมล์ทะเลหรือ 30.6 กิโลเมตร โดยยิงได้สูง 80,000 ฟุตที่ความเร็ว 2.5
มัค และเรือมือสองที่หมายตาหมายใจไว้ได้แก่ เรือพิฆาตอาวุธนำวิถีชั้น
Charles F. Adams ของอเมริกาซึ่งได้รับความนิยมพอสมควร เยอรมันตะวันตกกับออสเตรเลียยังซื้อไปใช้งาน
ถ้าไม่ได้จะเอาเรือฟริเกตอาวุธนำวิถีชั้น Brooke ของอเมริกาเช่นกัน
ลำนี้มีขนาดค่อนข้างเล็กใส่จรวด SM-1 ได้เพียง 16 นัด ใกล้ปลดระวางแล้วถือเป็นโอกาสที่ดีมากสำหรับเรา
เมื่อคณะครม.ให้ความเห็นชอบโครงการ กองทัพเรือรีบสอบถามมาที่กรุงวอชิงตัน
ปรากฏว่าอเมริกาไม่ยอมขายเรือทั้งสองลำ อ้างว่าภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่มีภัยคุกคาม
เป็นอันว่าไทยแลนด์แห้วรับประทานครั้งแรก ครั้นถึงต้นปี 1988 รัฐบาลอังกฤษติดต่อมายังรัฐบาลไทย แจ้งว่าอยากขายเรือฟริเกตชั้น Type
22 Batch II ชื่อ F96 Sheffield กับ F98 Coventry เพิ่งสร้างเสร็จยังไม่ได้เข้าประจำการ
โดยขายในราคาตุ้นทุนลำละ 150 ล้านปอนด์ หรือ 7,000 ล้านบาท
รัฐบาลค่อนข้างชื่นชอบเพราะได้รับข้อมูลมาว่า
ระหว่างสงครามฟอคแลนด์เรือฟริเกต Type 22 Batch
I จำนวนสองลำเข้าร่วมกองเรือ ทำหน้าที่ประกบเรือบรรทุกเครื่องบินในระยะชิดใกล้
เพื่อใช้อาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยาน Sea Wolf ช่วยคุ้มภัยจากเครื่องบินอาเจนตินา
ปรากฏว่าเรือทั้งสองลำทำหน้าที่ได้อย่างดีเยี่ยม ยิงเครื่องบินข้าศึกที่เล็ดลอดเข้ามาได้ถึง
5 ลำ โดยที่ตัวเองโดนกระสุนปืนกลอากาศบ้าง โดนสะเก็ดระเบิดบ้างได้แผลเล็กน้อยเป็นที่ระลึก
เรือฟริเกตชั้น
Type
22 Batch II ติดจรวด Sea Wolf จำนวน 12 นัด มากเพียงพอกับความต้องการและกระเป๋าสตางค์
โชคร้ายมีระยะยิงสั้นน้อยนิดเพียง 6 กิโลเมตร ใช้เป็นเรือป้องกันภัยทางอากาศไม่ได้แน่นอน
ผบ.ทร.จำเป็นต้องบอกปัดข้อเสนออังกฤษ
เวลาเดียวกันสถานการณ์ในอ่าวไทยร้อนระอุกว่าเดิม เมื่อโซเวียตนำเครื่องบินขับไล่รุ่นใหม่ล่าสุด
Su-27 มาบินเล่นในเวียดนาม Su-27 มีระยะปฏิบัติการไกลกว่า
Mig-29 ใช้ระบบเอวิโอนิส์ทันสมัยกว่า
รวมทั้งแบกอาวุธได้มากกว่า
ระหว่างปี
1989
หลังกองทัพเรือเซ็นสัญญาซื้อเรือฟริเกตจากจีน 4 ลำแรก มีความพยายามดิ้นรนเป็นครั้งสุดท้าย โดยการโทรเลขไปที่อเมริกาซึ่งเพิ่งได้ประธานาธิบดีใหม่
(จากโรนัลด์ เรแกนเป็นจอร์ท บุทคนพ่อ) ว่าไทยต้องการซื้อเรือฟริเกตชั้น
Oliver Hazard Perry จากกองทัพเรือยู 2 ลำ
พร้อมจรวด SM-1 อีก 40 นัดจะได้หรือไม่
จอร์ท บุทคนพ่อตอบกลับมาว่าไม่ได้ ถ้ายูต้องการจริงๆ ไอจะขายเรือฟริเกตชั้น Knox ให้ เรือลำนี้มีจรวดปราบเรือดำน้ำ ASROC เป็นไม้เด็ดไพ่ตาย
แม่ทัพเรือรับแฟกซ์ข้อเสนออย่างเป็นทางการ
นำมาใช้เป็นกระดาษรองแก้วกาแฟทรีอินวัน ขณะอุทานในใจไม่ให้ใครได้ยินว่า
“ท่านจอร์ทต้องเมายาม้าแน่นอน ข้าพเจ้าจะเอาจรวด ASROC ยิงเครื่องบินได้เช่นไร”
ว่าแล้วจึงตัดสินใจซื้อเรือฟริเกตจากจีนอีก 2 ลำในเฟสสาม
โดยเลือกแบบเรือ Type 25T ผ่านการปรับปรุงตรงตามความต้องการ
แน่นอนที่สุดอู่ต่อเรือ CSSC ของจีนสร้างให้เฉพาะตัวเรือ นำมาติดอาวุธกับเรดาร์ทันสมัยจากชาติตะวันตกในประเทศไทย
หมายเหตุ
:
ต้นปี 1992 หรือถัดมาเพียง 3 ปี จอร์ท บุทคนพ่อกริ๊งกร๊างมายังแม่ทัพเรือคนปัจจุบันว่า “ยูยังอยากได้เรือชั้นเพอรี่อีกหรือไม่
เดี๋ยวไอจัดโพรโมชันซื้อสองแถมหนึ่งให้ แต่ยูต้องโทรสั่งภายในสิบห้านาที บลา บลา บลา…” ทั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ทำให้สมาชิกนาโต้ต้องลดกำลังพลโดยถ้วนหน้า
วันนั้นแม่ทัพเรือไทยตอบปฏิเสธอย่างนุ่มนวลกลับไปว่า “ถ้าไอรู้ว่าโซเวียตจะบ้านแตกสาแหรกขาด
ไอคงไม่ซื้อเรือจีนราคาแพงมาใช้หรอกยูจ๋า”
ที่มาที่ไปของโครงการผ่านพ้นไปแล้ว
ชมภาพเรือฟริเกตลำสุดท้ายในโครงการ 11 ปีกันบ้าง
แบบเรือ Type 25T เป็นเรือส่งออกจากประเทศจีน
มีแฝดผู้พี่ขนาดใหญ่กว่าชื่อแบบเรือ EF-6 (มีโอกาสผู้เขียนจะวาดภาพเรือลำนี้)
เรือมีระวางขับน้ำปรกติ 2,800 ตัน ระวางขับน้ำเต็มที่ 2,985
ตัน ยาว 120.5 เมตร กว้าง 13.7 เมตร กินน้ำลึกสุดประมาณ 6 เมตร หัวเรือติดปืนใหญ่
Oto 76/62 Super Rapid ต่อด้วยแท่นยิงอาวุธนำวิถีต่อสู้เรือรบ
Harpoon จำนวน 8 ท่อยิง
กลางเรือมีแท่นยิงตอร์ปิโดเบาปราบเรือดำน้ำแฝดสาม ปิดท้ายด้วยปืนกล Otobreda
40 mm DARDO ใช้เป็นระบบป้องกันตัวเองระยะประชิด
ทีเด็ดทีขาดของเรืออยู่ด้านหน้าปืนกล
40
มม.ลำกล้องแฝด สิ่งนั้นคือแท่นยิงแนวดิ่ง Mk48
Mod 1 จำนวน 16 ท่อยิง
สำหรับอาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยาน Sea Sparrow หรือ RIM-7M
NSSM ที่จอร์ท บุทคนพ่อขายให้เรา 40 นัด ทำงานร่วมกับเรดาร์ควบคุมการยิง
l STIR 1.8 จำนวน 2 ตัว
ได้เรดาร์ตรวจการณ์ 3 มิติ MW08 กับเรดาร์ตรวจการณ์อากาศระยะไกล
LW08 ช่วยค้นหาเป้าหมาย มาพร้อมระบบอำนวยการรบรุ่นใหม่ล่าสุด
TACTICOS Baseline 0 เริ่มใช้งานบนเรือฟริเกต Meko
200 ของตุรกีเป็นชาติแรกในปี 1993 ทุกอย่างที่เขียนถึงมาจากบริษัท
Signaal เจ้าเดิม ซึ่งถูกควบรวมกับบริษัทฝรั่งเศสกลายเป็น Thomson-CSF
Signaal ก่อนเปลี่ยนมาใช้ชื่อ Thales Group ในปี
1990 (ส่วน Signaal เปลี่ยนมาใช้ชื่อ Thales
Nederland)
ที่กองทัพเรือเลือก
Sea
Sparrow แทนที่จะเป็น Aspide เนื่องจากระยะยิงไกลกว่ากันเล็กน้อยคือ
19 กิโลเมตรกับ 15 กิโลเมตร
แต่มีการพัฒนาแตกต่างกันพอสมควร Aspide 2000 ซึ่งกำลังพัฒนาระยะยิงเพิ่มขึ้นเป็น 25
กิโลเมตร ทว่ายังใช้แท่นยิงรุ่นเดิมอนุรักษนิยม
ขณะที่อเมริกานำจรวดมาใส่ท่อยิงแนวดิ่ง กำลังพัฒนารุ่นใหม่ RIM-7R Evolved
Sea Sparrow หรือ ESSM ระยะยิงเพิ่มขึ้นเป็น 40
กิโลเมตร ยิงอาวุธนำวิถีต่อสู้เรือรบได้
สามารถติดตั้งในแท่นยิงแนวดิ่ง Mk48 Mod 1ได้
มาดูระบบอื่นบนเรือกันบ้าง
ปืนกล Otobreda
40 mm DARDO8 ควบคุมการยิงด้วยเรดาร์ออปทอนิกส์ควบคุมการยิง LIROD
8 เหมือนเรือหลวงรัตนโกสินทร์กับเรือหลวงชลบุรี ใช้โซนาร์หัวเรือ DSQS–21C อันเป็นรุ่นมาตรฐาน พร้อมโซนาร์ลากท้าย
Variable Depth Sonar หรือ VDS Thomson
Sintra TSM 2064 ใช้ระบบเป้าลวง Mk 36 SRBOC
จำนวน 4 แท่นยิง ทำงานร่วมกับระบบก่อกวนสัญญาณเรดาร์หรือ ECM
รุ่น APECS-II/AR-700 และระบบตรวจจับสัญญาณเรดาร์หรือ
ESM รุ่น Vigile APX
มีระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลทางยุทธวิธี Link Y Mk.1
Target Designstion Sight มีหรือ TDS
ใช้เป็นระบบควบคุมการยิงสำรองของปืนใหญ่ 76/62 มม.จำนวน 1 ตัว ทั้งหมดที่เขียนถึงมาจาก Signaal เจ้าเดิม
เรือหลวงนเรศวรกับเรือหลวงตากสินส่งมอบในปี 1996 กับ 1997 เข้าประจำการระหว่างปี 1997 ถึง 1998 ช่วงเกิดต้มยำกุ้งพอดี แรกสุดกองทัพเรืออยากได้เรดาร์ 3 มิติตัวแรงอย่าง Smart-S บังเอิญราคาแพงเลือดสาดจำเป็นต้องยอมตัดใจ ไว้รออีก 15-20 ปีค่อยหาเรดาร์ตัวใหม่มาใส่ พร้อมปรับเปลี่ยนมาใช้จรวด RIM-7R ESSM ซึ่งเป็นชื่อในตอนพัฒนาอาวุธ
บทสรุปโครงการ 11 ปี
นี่คือภาพเงาเรือทุกลำในปี
1998
แบ่งเป็นกองเรือฟริเกตที่ 1
ประกอบไปด้วยเรือฟริเกตชั้นเจียงหูจำนวน 4 ลำในแถวหนึ่ง
เรือหลวงกุฎราชกุมารกับเรือฟริเกตสมรรถนะสูงอีก 2 ลำในแถวสอง
เรือทุกลำมีโซนาร์หัวเรือ DSQS–21C กับตอร์ปิโด
Stingray ใช้รับมือเรือดำน้ำข้าศึก
เรือทุกลำมีอาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยาน (Aspide 5 ลำกับ Sea
Sparrow 2 ลำ) เรือทุกลำมีระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลทางยุทธวิธี Link
Y Mk.1 เรือ 6 ลำมีอาวุธนำวิถีต่อสู้เรือรบ Harpoon
เรือ 5 ลำมีลานจอดเฮลิคอปเตอร์ เรือ 3 ลำมีโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ เรือ 2 ลำมีปืนใหญ่ 76/62
หน้าหลังสองกระบอก และเรือ 2 ลำมีโซนาร์ลากท้ายรุ่น
VDS
ถัดมาที่สองแถวล่างเป็นกองเรือฟริเกตที่
2
ประกอบไปด้วยเรือคอร์เวตชั้น PF-103 จำนวน 2
ลำ กับเรือคอร์เวตชั้น PFMM Mk.16 จำนวน 5
ลำ แบ่งเป็นรุ่นปราบเรือดำน้ำ 3 ลำ และรุ่นสมรรถนะสูงอีก
2 ลำ ลำ เรือทุกลำมีโซนาร์หัวเรือ DSQS–21C กับตอร์ปิโด Stingray
เรือทุกลำมีระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลทางยุทธวิธี Link Y Mk.1
เรือทุกลำมีปืนกล Otobreda 40 mm DARDO รุ่นลำกล้องแฝด
ใช้ป้องกันภัยทางอากาศและจัดการอาวุธนำวิถีต่อสู้เรือรบ เรือ 5 ลำมีปืนใหญ่ Oto 76/62 mm ที่หัวเรือ เรือ 2 ลำมีปืนใหญ่ Bofor 57 mm Mark 1หน้าหลังสองกระบอก เรือ
2 มีอาวุธนำวิถีต่อสู้เรือรบ Harpoon
เรือ 2 ลำมี อาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยาน Aspide เรือ 5 ลำมีรางปล่อยะะเบิดลึกท้ายเรือ และเรือ 2
ลำมีจรวดปราบเรือดำน้ำ Bofors 375 mm.
เรือทั้ง
14 ลำมีระบบเป้าลวงอาวุธนำวิถี และเรือทุกลำใช้โซนาร์หัวเรือกับตอร์ปิโดปราบเรือดำน้ำรุ่นเดียวกัน
ภาพนี้ถือเป็นบทสรุปของบทความนี้ แต่ยังไม่จบครับ…ผู้เขียนขอพากลับไปยังปี
1986 อันเป็นจุดเริ่มต้นโครงการ 11 ปี
ราชนาวีไทยวางแผนรับมือโซเวียตกับเวียดนามไว้ตามภาพ
เรือรบแถวแรกหรือ Tier 1 ประกอบไปด้วย
เรือฟริเกตปราบเรือดำน้ำจากจีนจำนวน 4 ลำ
เรือฟริเกตสมรรถนะสูงจากจีน (หรือเรือมือสองอเมริกา) จำนวน 2 ลำ มีเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำอีก 4 ลำ
เรือทุกลำติดอาวุธครบ 3 มิติพร้อมทำภารกิจ เป็นด่านแรกในการป้องกันน่านน้ำด้านอ่าวไทย
เรือรบแถวสองหรือ
Tier
2 ประกอบไปด้วย เรือหลวงมกุฎราชกุมารปรับปรุงใหม่
กับเรือคอร์เวตชั้น PFMM Mk.16 จำนวน 5 ลำ ลอยลำไม่ไกลจากชายฝั่งเกิน 100 ไมล์ทะเล
มีเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำจำนวน 2 ลำ
บินออกมาจากฐานทัพบนชายฝั่ง ถ้าจำเป็นต้องเติมน้ำมันให้ลงจอดบนเรือหลวงมกุฎราชกุนาร
ซึ่งตรงจุดนี้ถูกตัดงบประมาณจัดหาตามแผนไม่ได้
มีเพียงเฮลิคอปเตอร์มือสองสำหรับฝึกนักบินทำหน้าที่ทดแทน 1
ลำ
อ้าว…แล้วเรือหลวงตาปีกับเรือหลวงคีรีรัฐหายไปไหน เรือทั้งสองลำถูกโยกมาดูแลทะเลฝั่งอันดามัน
ซึ่งในปี 1986 มีอันตรายค่อนข้างน้อยมาก มาเลเซียเตรียมรับมือโซเวียตกับเวียดนามเช่นกัน
สิงคโปร์มีเรือคอร์เวตยาว 62 เมตรลำใหญ่ที่สุด
ส่วนพม่ามีแต่เรือเก่ายุคสงครามโลกครั้งที่สอง ไม่จำเป็นต้องนำเรือฟริเกตมาประจำการฝั่งนี้
แผนการรับมือเกิดขึ้นในปี
1986
จุดเริ่มต้นโครงการ ครั้นถึงปี 1998 เมื่อเรือทุกลำเข้าประจำการ
อาจต้องปรับเปลี่ยนอีกครั้งให้ทันสถานการณ์ปัจจุบัน
อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการล่มสลายของโซเวียต ทั้ง Mig-29 กับ
Su-27 บินกลับประเทศรัสเซีย เรือดำน้ำชั้น Kilo กับ Tango ไม่โผล่ในอ่าวคัมรานห์อีกต่อไป เรือดำน้ำชั้น
Foxtrot กับเรือฟริเกตชั้น Krivak ของเวียดนาม
ขาดแคลนเงินซ่อมบำรุงไม่อยู่ในสภาพพร้อมรบ
จำเป็นต้องจอดที่ท่าเรือให้เพรียงเกาะเล่น เหมือนดั่งคำคมของคุณแตงกวาแห่งพันทิป
ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นเน็ตไอดอลคนสำคัญของผู้เขียน
บทความเรื่องพัฒนาการกองทัพเรือไทยยุคเก้าศูนย์
ต้องขออำลาแต่เพียงเท่านี้เนื่องจากหมดมุกแล้ว พบกับบทความสายกาวได้ใหม่อีกครั้งระหว่างปี
2021
สวัสดีครับผม
ภาคผนวก
:
แผนการปรับปรุงเรือหลวงมกุฎราชกุมารระหว่างปี 1990
ข้อมูลจากนิตยสารสงครามฉบับที่
419
ประจำวันที่ 10 เมษายน 2533 หรือปี 1990 ในบทความเรื่อง ‘ระบบป้องกันภัย
(จาก) ASM ประจำเรือรบ’
ได้มีการเผยแพร่ภาพวาดเรือหลวงมกุฎราชกุมาร เวอร์ชันปรับปรุงใหม่ครั้งใหญ่โตมโหฬาร
นี่คือการปรับปรุงแบบพลิกฟ้าถล่มแผ่นดินนานๆ ถึงจะเกิด มีวงเล็บว่าเป็นเพียงข้อเสนอให้ราชนาวีไทยพิจารณา
โครงการปรับปรุงใหญ่มีสาเหตุที่มาที่ไป
ทั้งนี้เนื่องมาจากอาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยาน Sea Cat ซึ่งถูกติดตั้งบนเรือหมดอายุไขเสียแล้ว
กองทัพเรือมีความต้องการเช่นไรผู้เขียนไม่อาจทราบ
แต่ทว่าจากข้อเสนอเป็นการเพิ่มเติมประสิทธิภาพ ทำให้เรือหลวงมกุฎราชกุมารสามารถสู้รบได้ครบทั้ง
3 มิติ จากข้อมูลที่ได้รับผู้เขียนนำมาวาดภาพเรือเวอร์ชัน Neverbuilt
อันที่จริงวาดตั้งแต่ปีที่แล้วเพียงแต่เพิ่งนำมาใส่ในบทความ รายละเอียดการปรับปรุงเป็นเช่นไรตามมาเลยครับ
อันดับที่หนึ่งเปลี่ยนจากปืนใหญ่ขนาด
4.5
นิ้ว Mk 8 หัวเรือ เป็นปืนใหญ่ขนาด 76/62
มม.รุ่นใหม่ล่าสุด Super Rapid มีอัตรายิงเร็วสุดถึง 120 นัดต่อนาที ในเอกสารระบุว่าสามารถยิงกระสุน CCS ได้
กระสุน CCS (Course Corrected Shell) คือกระสุนนำวิถีรุ่นบุกเบิกนั่นเอง
บริษัท OTO Melara จับมือกับ BAE ช่วยกันพัฒนาในปี
1985 โดยใช้ชื่อว่าโครงการ ‘CORRCTTO’ สรุปง่ายๆ
ก็คือเรดาร์ควบคุมการยิงสั่งเปลี่ยนวิถีกระสุนได้ หัวกระสุนเป็นจรวดลูกเล็กๆ
จำนวนมาก สำหรับยิงสกัดกั้นอาวุธนำวิถีต่อสู้เรือรบ ทว่าโครงการไปไม่รอดเพราะมีปัญหามากมาย
อาทิเช่นเรดาร์ควบคุมการยิงหาเป้าหมายเจอแต่หากระสุนไม่เจอ
โครงการนี้จึงล่มสลายก่อนปี 1990 ไม่แน่ใจเหมือนกันทำใมผู้วาดภาพใส่เข้ามา
(อาจแค่โชว์เหนือกระมัง)
การปรับปรุงอันดับสองคือเรดาร์ควบคุมการยิง
STIR 180 สำหรับอาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยาน Aspide ติดไว้สองตัวหน้าหลังฉะนั้นยิงจรวดได้พร้อมกันสองนัด
ส่วนตัวผู้เขียนคิดว่าหนึ่งตัวก็มากเพียงพอ เรดาร์ STIR 180 ของ
SIGNAAL (หรือ Thomson-CSF Signaal ในปี
1990) ราคาแพงพอสมควร
แต่ในเมื่อเป็นข้อเสนอย่อมต้องวาดตามนั้นว่ากันไม่ได้
อันดับสามเปลี่ยนระบบเป้าลวงจาก
Sippican
Mk 33 RBOC เป็น DAGAIE
เหมือนเรือหลวงรัตนโกสินทร์ สามารถกระดกแท่นยิงเป้าลวงตามทิศทางที่ต้องการได้
อันดับสี่ถอดปืนกลขนาด 40/60 มม.ป้อมปืนอังกฤษออก
ใส่แท่นยิงอาวุธนำวิถีต่อสู้เรือรบ Harpoon จากอเมริกาเข้าไปแทน
จำนวนมากสุดคือฝั่งละ 4 นัดรวมเป็น 8
นัด สำหรับจุดนี้ต้องมีการเสริมความแข็งแรงสักเล็กน้อย ตำแหน่งอาจดูแปลกๆ ไปบ้าง
แต่เรือยุคเก้าศูนย์ติดแบบนี้หลายลำทั้งเรือเดนมาร์กหรืออเมริกา
อันดับที่ห้าถอดแท่นยิงอาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยาน
Sea
Cat ออก แทนที่ด้วยระบบป้องกันตัวเองระยะประชิด Phalanx ซึ่งไม่ต้องเจาะใต้ดาดฟ้าเรือ หรืออาจเป็น GoldKeeper ซึ่งต้องเจาะใต้ดาดฟ้าเรือสำหรับแมกาซีนกระสุน 30 มม.ถ้ามาจริงตามนี้จะเป็นเรือลำแรกของไทยที่ติดตั้ง CIWS เพราะเรือหลวงรัตนโกสินทร์มีแต่จุดติดตั้ง Phalanx ไม่มาตามนัด
อันดับที่หกถอดปืนใหญ่ขนาด
4.5
นิ้ว Mk 8 ท้ายเรือ แทนที่ด้วยแท่นยิง ALBRTROSS รุ่น 8 ท่อยิง สำหรับอาวุธอาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยาน Aspide
แท่นยิงรุ่นนี้อิตาลีซื้อลิขสิทธิ์แท่นยิง Mk 29 ของอเมริกามาใช้งาน
ส่วนจรวดรุ่นนี้อิตาลีซื้อลิขสิทธิ์จรวด Sea Sparrow ของอเมริกามาพัฒนาต่อเช่นกัน
ระยะยิงไกลสุดอาจสั้นกว่ากันเล็กน้อย ราคาอาจถูกกว่ากันสักนิดหน่อย
มีใช้งานบนเรือคอร์เวตจำนวน 2 ลำของเราแล้ว เพราะฉะนั้นผู้เขียนคิดว่าสมควรจัดหาตามนี้
อันดับที่เจ็ดถอดจรวดไม่นำวิถีปราบเรือดำน้ำ
Limbo
จากอังกฤษออก
เจาะกราบเรือด้านข้างเพื่อติดตั้งแท่นยิงตอร์ปิโดเบาปราบเรือดำน้ำแบบแฝดสาม
สำหรับตอร์ปิโด Stingray จากอังกฤษเช่นกัน
อันดับแปดถอดรางปล่อยระเบิดลึกท้ายเรือออกไป สร้าง Superstructure ขึ้นมาสำหรับจัดเก็บโซนาร์ลากท้าย Tower Array System Sonar หรือ TASS ทำงานในโหมด Passive โดยมีแผนสองก็คือโซนาร์ลากท้าย Variable Depth Sonar หรือ VDS ทำงานในโหมด Active
อันดับที่แปดซึ่งเป็นอันดับสุดท้ายก็คือ
ติดตั้งระบบตรวจจับสัญญาณเรดาร์หรือ ESM รุ่นใหม่
ถ้ามีเงินเหลือให้ติดตั้งระบบก่อกวนสัญญาณเรดาร์หรือ ECM รุ่นใหม่เพิ่มเติม
อย่างที่บอกนี่คือการปรับปรุงแบบพลิกฟ้าถล่มแผ่นดิน อาวุธทุกชนิดยกเว้นปืนกล 12.7
มม.ถูกถอดออก ใส่เรดาร์ควบคุมการยิงกับระบบสงครามอิเล็กทรอนิกส์รุ่นใหม่
ระบบปราบเรือดำน้ำก็ใหม่เอี่ยมอ่องยกชุด ค่าปรับปรุงเรือย่อมแพงกว่าค่าต่อเรือในปี
1973 อย่างแน่นอน
-------------------------------
อ้างอิงจาก
https://base.mforos.com/1139583/5292349-armada-de-ecuador/?pag=2
https://en.wikipedia.org/wiki/Ratanakosin-class_corvette
https://www.radartutorial.eu/19.kartei/07.naval/karte042.en.html
http://www.shipbucket.com/forums/viewtopic.php?t=5340
https://en.wikipedia.org/wiki/Ratanakosin-class_corvette
http://www2.fleet.navy.mi.th/frigate2/index.php/today/detail/content_id/60
http://thaimilitary.blogspot.com/2017/02/royal-thai-navy-anti-submarine-weapon_25.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น