ปัจจุบันภัยคุกคามจากฟากฟ้ามีความน่ากลัวมากกว่าเดิม
นอกจากกองเรือจะต้องเผชิญหน้าเครื่องบินขับไล่/โจมตีและอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้เรือรบเหมือนในอดีต
ยังมีอากาศยานไร้คนขับติดอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศ-สู่-พื้นระยะใกล้ อากาศยานไร้คนขับพลีชีพทั้งขนาดเล็กและใหญ่
จรวดนำวิถีหลายลำกล้องระยะกลางและระยะไกล รวมทั้งระเบิดนำวิถีรุ่นใหม่ทันสมัยขนาดต่างๆ
ที่มีความแม่นยำมากกว่าเดิม นอกจากนี้ในอนาคตจะมีอากาศยานไร้คนขับเครื่องยนต์ไอพ่นเข้าประจำการ
มาพร้อมอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศ-สู่-พื้นระยะกลางและระเบิดนำวิถี
ภัยคุกคามต่างๆ
ที่ผู้เขียนแนะนำให้รู้จักแค่พอคร่าวๆ
ต้องใช้ระบบป้องกันภัยทางอากาศบนเรือในการรับมือ
อาวุธที่เหมาะสมที่สุดในปัจจุบันคืออาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้อากาศยาน
ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องใช้งานระบบตรวจจับทันสมัยประสิทธิภาพสูงควบคู่กันไป
ถ้าเรดาร์ตรวจจับเป้าหมายไม่เจออาวุธราคาแพงย่อมไร้ประโยชน์โดยสิ้นเชิง
ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนซึ่งประเทศไทยเป็นหนึ่งในสมาชิก
กองทัพเรือสิงคโปร์มีระบบป้องกันภัยทางอากาศยอดเยี่ยมอันดับหนึ่งแบบไร้คู่แข่ง
เรามาชมรายละเอียดกันสักเล็กน้อย
1.เรือฟริเกตชั้น
Formidable จำนวน 6 ลำ ติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้อากาศยานตระกูล
Aster ระยะยิง 30-100 กิโลเมตรจำนวน 32
นัด ทำงานร่วมกับเรดาร์ตรวจการณ์ 3 มิติ Herakles
2.เรือคอร์เวตชั้น
Victory จำนวน 6 ลำ
ติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้อากาศยาน Barak 1 ระยะยิง 12
กิโลเมตร จำนวน 16 นัด ทำงานร่วมกับเรดาร์ตรวจการณ์
3 มิติ Sea Giraffe AMB
3.เรือตรวจการณ์
LMV ชั้น Independence จำนวน 8 ลำ ติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้อากาศยาน VL MICA ระยะยิง
20 กิโลเมตร จำนวน 12 นัด ทำงานร่วมกับเรดาร์ตรวจการณ์
4 มิติ NS 100
4.เรือยกพลขึ้นบกชั้น
Endurance จำนวน 8 ลำ
ติดตั้งติดตั้งแท่นยิง Simbad จำนวน 2
แท่นยิง สำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้อากาศยาน Mistral ระยะยิง
7 กิโลเมตร โดยมีเรดาร์ตรวจการณ์ 3 มิติ
EL/M-2238 STAR
ช่วยค้นหาและติดตามเป้าหมาย
เท่ากับว่าเรือรบสำคัญๆ ของสิงคโปร์มีระบบป้องกันภัยทางอากาศและระบบตรวจจับเป้าหมายผู้เขียนขอใช้คำว่า
‘ยอดเยี่ยมกระเทียมดอง’
สมกับเป็นอันดับหนึ่งอาเซียนไม่มีใครตามทันภายใน 20 ปีอย่างแน่นอน
อันดับสองของอาเซียนประเทศไทยทิ้งห่างอันดับสามสองเสาไฟ
รวมทั้งถูกอันดับหนึ่งทิ้งห่างอย่างเหนือชั้นสองไฟแดง
ระบบป้องกันภัยทางอากาศบนเรือรบลูกประดู่ไทยประกอบไปด้วย
1.เรือหลวงนเรศวร 421 เรือหลวงตากสิน
422 และเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช 471 ติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้อากาศยาน ESSM
ระยะยิง 50 กิโลเมตร
2.เรือหลวงรัตนโกสินทร์ 441 ติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้อากาศยาน Aspide
2000 ระยะยิง 25 กิโลเมตร
3.เรือหลวงจักรีนฤเบศร 911 ติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้อากาศยาน Mistral
ระยะยิง 7 กิโลเมตร
กองทัพเรือไทยมีเรือรบติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้อากาศยานจำนวน
5
ลำ เท่าจำนวนสมาชิกขบวนการมนุษย์ไฟฟ้าพอดิบพอดี แต่น้อยเกินไปเมื่อเทียบกับพื้นที่ที่กองเรือต้องรับผิดชอบ
บทความนี้คือการปรับปรุงระบบป้องกันภัยทางอากาศราชนาวีไทย
แต่เป็นการปรับปรุงทิพย์หรือ What If สนองความต้องการตัวเองเท่านั้น
ระบบป้องกันภัยทางอากาศ
C-Dome
ตามแผนเดิมการปรับปรุงระบบป้องกันภัยทางอากาศจะเริ่มต้นหลังได้รัฐบาลใหม่
บังเอิญการเมืองยังไม่นิ่งเลือกตั้งเสร็จหลายเดือนแล้วยังหานายกรัฐมนตรีคนที่ 30
ไม่ได้ นายโจนาธารในฐานะรักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ตัดสินใจเสริมจุดอ่อนให้กับกองทัพเรือด้วยวิธีการง่ายๆ ราคาไม่แพง
สามารถเคลื่อนย้ายได้ โดยการจัดหาระบบป้องกันภัยทางอากาศ C-Dome รุ่น Mission Mudule จากอิสราเอลจำนวน 2 ระบบ
C-Dome
รุ่น Mission Mudule ประกอบไปด้วย
1.ห้องควบคุมในตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 20 ฟุตจำนวน 1
ตู้ ติดตั้งเรดาร์ตรวจจับและติดตามเป้าหมาย AESA จำนวน 4 ตัวกับกล้องออปโทรนิกส์อีก 1 ตัว ใช้เป็นห้องควบคุมการยิงระบบต่อสู้อากาศยาน
ทำงานแยกต่างหากจากระบบอำนวยการรบเรือที่ติดตั้งระบบป้องกันภัยทางอากาศ
2.แท่นยิงแนวดิ่งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้อากาศยาน Iron Dome ระยะยิง 70 กิโลเมตรจำนวน 20 ท่อยิง
Iron
Dome หนึ่งนัดราคา 100,000-150,000 เหรียญ
เทียบกับ ESSM ราคานัดละ 1 ล้านเหรียญถูกกว่ากันชนิดหน้ามือหลังมือ
ยิงเป้าหมายบนอากาศได้ทุกชนิดยกเว้นอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้เรือรบบินเรี่ยน้ำ เนื่องจาก
Iron Dome ถูกออกแบบให้มีความเร็วต่ำเพียง 2.2 มัค เน้นจัดการเป้าหมายราคาถูกแต่มีปริมาณค่อนข้างมาก
ถ้าใช้งานอย่างถูกต้อง
C-Dome
จะช่วยคุ้มครองกองเรือจากภัยคุกคามทางอากาศได้อย่างยอดเยี่ยม
เรือที่นายโจนาธารกำหนดให้ติดตั้ง
C-Dome ประกอบไปด้วย
1.เรือฟริเกตชั้น Type 053HTH จำนวน 2 ลำ ได้แก่เรือหลวงกระบุรี 457 และเรือหลวงสายบุรี 458
2.เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชั้น River Batch 2 จำนวน 2
ลำ ได้แก่เรือหลวงกระบี่ 551 และเรือหลวงประจวบคีรีขันธ์
552
C-Dome
จำนวน 2 ระบบเข้ามาปิดจุดอ่อนกองเรือไทยได้ในระดับหนึ่ง
แท่นยิงแนวดิ่ง
Mk
56
การปิดจุดอ่อนให้กับกองทัพเรือของนายโจนาธารจากพรรคเพื่อนไทย
ในฐานะรักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมยังไม่สิ้นสุด หลังการจัดหาระบบป้องกันภัยทางอากาศ
C-Dome
รุ่น Mission Mudule จากอิสราเอลมาใช้งาน
เรือหลวงกระบี่ 551 เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชั้น River
Batch 2 ลำแรกเดินทางเข้าอู่ลอย
เพื่อปรับปรุงเป็นเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งป้องกันภัยทางอากาศลำแรกของราชนาวีไทย
โดยที่เรือยังคงทำภารกิจหลักคือลาดตระเวนตรวจการณ์ ตรวจสอบเรือพาณิชย์และเรือประมง
ในน่านน้ำ 200 ไมล์ทะเลจากชายฝั่งได้ตามปรกติ
การปรับปรุงเรือประกอบไปด้วย
1.ปรับปรุงระบบอำนวยการรบ TACTICOS เป็นรุ่นใหม่ล่าสุด
Baseline 2
2.ติดตั้งเรดาร์ตรวจการณ์ 4 มิติ NS50 AESA ตรวจจับเป้าหมายบนอากาศได้ไกลสุด 180 กิโลเมตร
ตรวจจับเป้าหมายพื้นน้ำได้ไกลสุด 80 กิโลเมตร
3.ติดตั้งเรดาร์ควบคุมการยิง STIR 1.2 สำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้อากาศยานและอาวุธปืน
4.ติดตั้งออปโทรนิกส์ควบคุมการยิง Miradar
สำหรับปืนใหญ่ 76 มม.กับปืนกล 30
มม.
5.ติดตั้งระบบสงครามอิเล็กทรอนิกส์ใช้ระบบดักจับสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ VIGILE
Mk2 R-ESM
6.ติดตั้งแท่นยิงเป้าลวง SKWS DL-12T ขนาด 12 ท่อยิงจำนวน 2 แท่นยิง
6.ติดตั้งแท่นยิงแนวดิ่ง Mk 56 สำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้อากาศยาน
ESSM จำนวนมากสุด 12 นัด
แท่นยิงแนวดิ่ง
Mk
56 สามารถฝังใต้ดาดฟ้าเรือได้ทั้งครึ่งหนึ่งและทั้งหมด การใช้งานบนเรือหลวงกระบี่เราจะตั้งแท่นยิงหลังปล่องระบายความร้อนโดยไม่ฝังเพราะฝังไม่ได้
รวมทั้งต้องมีการเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับจุดติดตั้งอาวุธก่อน ติดกันง่ายๆ
เหมือนเรือหลวงประจบคีรีขันธ์ติด Harpoon นั่นแหละครับ
เรือหลวงกระบี่กลับเข้าประจำการอีกครั้งปลายปี
2024
กลายเป็นเรือลำที่ 4 ที่สามารถใช้งานอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้อากาศยาน
ESSM ระยะยิง 50 กิโลเมตร วิธีใช้งาน ESSM
ร่วมกับแท่นยิงแนวดิ่ง Mk 56 ค่อนข้างง่ายไม่ยุ่งยาก
เพราะไม่จำเป็นต้องซื้อกล่อง Mk 25 บรรจุ ESSM เหมือนตอนใช้งานแท่นยิง Mk 41
เรือหลวงกระบี่ยังสามารถติดตั้งระบบป้องกันภัยทางอากาศ
C-Dome
รุ่น Mission Mudule
เพิ่มเติมบนลานจอดเฮลิคอปเตอร์ ซึ่งจะทำให้เรือมี ESSM จำนวน
8 นัดกับ Iron Dome จำนวน 20 นัดใช้งาน กลายร่างเป็นอภิมหาเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งป้องกันภัยทางอากาศ
ทันทีที่เรือกลับเข้ามาประจำการและทดสอบติดตั้ง C-Dome กองทัพเรือสหรัฐอเมริกา อังกฤษ จีน รวมทั้งสิงคโปร์รีบส่งคนมาดูงานที่สัตหีบทันที
ระบบป้องกันภัยทางอากาศ
Mistral 1X
วันที่
28
พฤษภาคม 2024 นายพีต้าจากพรรคกว้างไกล ได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอย่างเป็นทางการ
งานแรกที่ท่านผู้นำคนที่ 30 ทำคือการปรับปรุงเรือฟริเกตชั้น Type
053HT กาลครั้งหนึ่งคุณพ่อนายพีต้าเคยเป็นจุ่มโพ่เรือหลวงเจ้าพระยาถึง
5 ปี ท่านนยกมีความคุ้นเคยเรือลำนี้และอยากให้เรือใช้งานได้อย่างยาวนาน
โดยมีระบบอาวุธและอุปกรณ์ต่างๆ เพียงพอในการป้องกันตัวเอง
แผนแรกนายพีต้าต้องการปรับปรุงเรือด้วยระบบอาวุธและเรดาร์จากตะวันตก
ให้เหมือนเรือที่นักวาดภาพชาวไทยคนหนึ่งเคยปรับปรุงเรือแบบคนเมากาวหลายครั้ง
บังเอิญนายโจนาธารรองนายกกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงเขามาเคลียร์ใจและขอขมา บอกว่าช่วงที่ตัวเองเป็นรักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
เขานำงบประมาณกองทัพเรือส่วนใหญ่มาปรับปรุงเรือหลวงกระบี่เหลือไว้ให้รัฐมนตรีตัวจริงเพียงน้อยนิด
นายพีต้ารู้สึกกลุ้มใจมากอยากปรับพรรคเพื่อนไทยออกจาก
8
พรรคร่วม ติดอยู่แค่เพียงตัวเองเซ็น MOU ไปแล้วว่าเราสองคนจะรักกันชั่วฟ้าดินสลาย
นายกหนุ่มกินไม่ได้นอนไม่หลับจนคุณพ่อต้องเดินมาสอบถาม เมื่อได้รับทราบความจริงอดีตจุ่มโพ่เรือหลวงเจ้าพระยาให้คำแนะนำว่า
นักวาดภาพชาวไทยที่เคยปรับปรุงเรือแบบคนเมากาวมีแนวคิดใหม่ล่าสุด หมอนี่ติดตั้งระบบป้องกันภัยทางอากาศแบบ
Mission Mudule กาวมากๆ เลยลูก
คำแนะนำจากผู้ให้กำเนิดนายพีต้าทำตามทันที
เขารีบติดต่อกับฝรั่งเศสผ่านกุนซือตัวเองซึ่งสนิทกับคนในกองทัพ
มีการจัดหาระบบป้องกันภัยทางอากาศ Mistral 1X (Mistral 3 + Sea Giraffe 1X ) แบบ Mission Mudule จำนวน 2 ระบบ
มาใช้งานบนเรือหลวงเจ้าพระยา 455 กับเรือหลวงบางปะกง 456
อุปกรณ์
Mistral 1X แบบ Mission Mudule ประกอบไปด้วย
1.ตู้คอนเทนเนอร์ขนาด
20 ฟุตใบที่หนึ่งวางหลังเสากระโดง
บนหลังคาติดตั้งแท่นยิงแฝดหก Sadral ที่นายพีต้ารีดไถจากกองทัพเรือฝรั่งเศส
นำมาปรับปรุงใหม่ใช้ระบบตรวจจับรุ่นใหม่ประสิทธิภาพสูง
ทำงานร่วมกับอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้อากาศยาน Mistral 3
รุ่นใหม่ล่าสุดระยะยิง 7 กิโลเมตร
ในตู้คอนเทนเนอร์คือคลังแสงจัดเก็บ Mistral 3 มากสุด 15
นัด การบรรจุใส่ท่อยิงสามารถใช้งานเครนยกเรือยางท้องแข็งเป็นเครื่องมือทุ่นแรง
2.ตู้คอนเทนเนอร์ขนาด
20 ฟุตใบที่สองวางหลังปล่องระบายความร้อน
บนหลังคาติดตั้งเรดาร์ตรวจการณ์ 3 มิติระยะใกล้ Sea
Giraffe 1X ระยะตรวจจับ 100 กิโลเมตร ในตู้คอนเทนเนอร์คือห้องเรดาร์กับห้องควบคุมการยิง
ทำงานแยกเป็นอิสระจากระบบอำนวยการรบของเรือ
ต้องการแค่เพียงพลังงานไฟฟ้าผ่านเครื่องแปลงแรงดัน แต่ถึงกระนั้นก็ตามข้อมูลจาก Sea
Giraffe 1X จะถูกส่งต่อให้กับห้องยุทธการ เรือหลวงเจ้าพระยา 455 ซึ่งถอดเรดาร์ตรวจการณ์ประเทศจีนออกแล้วจึงมีหูตาแพรวพราวกว่าเดิมไปด้วย
ระบบป้องกันภัยทางอากาศ Mistral 1X ถอดไปใช้งานบนเรือลำอื่นได้ก็จริง ทว่ากองทัพเรือกำหนดให้ติดตั้งบนเรือฟริเกตชั้น
Type 053HT จำนวน 2 ลำเท่านั้น
ในกรณีมีปัญหาเร่งด่วนสามารถถอดออกมาใช้งานบนฝั่งได้ ประสิทธิภาพอาจไม่เทียบเท่า C-Dome
บนเรือฟริเกตชั้น Type 053HTH แต่มีจุดเด่นเรื่องราคาไม่แพง
ขนาดเล็กน้ำหนักเบา เข้ากันได้ดีกับเรือฟริเกตตัวท็อปที่ใช้ระบบ SAAB รวมทั้งเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ซึ่งใช้งานแท่นยิงแฝดหก Sadral กับอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้อากาศยาน Mistral รุ่นเก่า
เรือหลวงเจ้าพระยา
455
ปรับปรุงใหม่เข้าประจำการปี 2024 ส่วนเรือหลวงบางปะกง
456 ปรับปรุงใหม่เข้าประจำการปี 2025 อาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้เรือรบจากจีนถูกถอดออกทั้งสองลำ
ได้อาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้อากาศยานระยะยิง 7 กิโลเมตรจำนวน 6
นัดกับเรดาร์ 3 มิติระยะตรวจจับ 100 กิโลเมตรเข้ามาแทน
อาจไม่ดีที่สุดแต่อดีตจุ่มโพ่เรือหลวงเจ้าพระยาค่อนข้างพอใจ
นายพีต้าจึงพอใจตามบิดาและปิดงานของตัวเองแค่เพียงเท่านี้
เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์อาวุธนำวิถี
บ่ายวันที่
2
ธันวาคม 2024 เกิดสภาวะแปรปรวนครั้งใหญ่ที่สุดในรอบหลายร้อยปี
สึนามิขนาดมหึมาในมหาสมุทรแปซิฟิกบุกโจมตีแผ่นดินอย่างรุนแรง
ส่งผลให้เมืองตามชายฝั่งประเทศสหรัฐอเมริกา เม็กซิโก โคลัมเบีย เปรู และชิลี
ถูกกวาดลงสู่ท้องทะเลเกิดความเสียหายระดับร้ายแรง หมู่เกาะเล็กหมู่เกาะน้อยแถวนั้นสูญหายไป
มีผู้ประสบภัยจำนวนมากกว่าหนึ่งร้อยล้านชีวิตต้องการความช่วยเหลือ
หลังเกิดเหตุมีการระดมความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากทั่วโลก
แต่เนื่องมาจากจุดเกิดเหตุกินพื้นที่ตั้งแต่อเมริกาเหนือถึงอเมริกาใต้
สหประชาชาติจึงได้ร้องขอความช่วยเหลือมายังรัฐบาลไทย ให้ส่งเรือบรรทุกเครื่องบินเดินทางมายังอเมริกาใต้เป็นเวลาสองเดือน
เนื่องจากที่นั่นมีเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์บราซิลเพียงลำเดียวที่สามารถบรรทุกอากาศยานปีกหมุนจำนวนมาก
เรือประเทศอื่นบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ได้มากสุดเพียง 2 ลำ เรือสนับสนุนการยกพลขึ้นบกอเมริกาที่เคยสัญญาว่าจะเดินทางมาช่วยเหลือ
ถูกประธานาธิบดีโจ ไบเดนสั่งให้หันหัวเรือกลับมาดูแลแคลิฟอร์เนียซึ่งเจอของแข็งเข้าไปเต็มเหนี่ยว
เรือจากยุโรปก็ดันติดขัดปัญหาเรื่องภัยสงครามเดินทางมาไม่ได้
นายกพีต้ากับรองนายกโจนาธารตัดสินใจทำตามคำร้องขอ
เรือหลวงจักรีนฤเบศรได้รับคำสั่งพร้อมเดินทางอย่างเร่งด่วนภายใน 48
ชั่วโมง เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดชได้รับคำสั่งทำหน้าที่เรือคุ้มกัน
เรือหลวงสิมิลันได้รับคำสั่งพร้อมเดินทางเช่นกัน บังเอิญรัฐบาลอเมริกาติดต่อรัฐบาลไทยแจ้งว่าใช้เรือส่งบำรุงกำลังของตัวเองได้
ลูกเรือเรือหลวงสิมิลันจึงถูกยกเลิกคำสั่งแยกย้ายกลับไปนอนบ้านใครบ้านมัน
ก่อนเดินทางพบปัญหาชวนหนักใจเล็กน้อย
เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดชมีอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้อากาศยานเ ESSM
เพียง 8 นัด ระบบป้องกันตัวเองระยะประชิด Phalanx
ทำงานได้บ้างไม่ได้บ้าง ส่วนอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้อากาศยาน Mistral
บนเรือหลวงจักรีนฤเบศรเป็นรุ่นเก่าประสิทธิภาพต่ำ
บังเอิญเย็นวันนั้นอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้อากาศยาน Mistral 3
จำนวน 20 นัดที่กองทัพเรือจัดหามาใช้งานบนเรือฟริเกตชั้น
Type 053HT เดินทางมาถึงอ่าวไทยพอดิบพอดี นายกพีต้าจึงมีคำสั่งให้นำ
Mistral 3 ทั้ง 20 นัดมาใช้งานบนเรือหลวงจักรีนฤเบศร
เรือหลวงเจ้าพระยากับเรือหลวงบางประกงใช้งาน Mistral รุ่นเก่าไปก่อนแล้วจะซื้อมาเพิ่มให้ในปีถัดไป
ได้อาวุธใหม่เอี่ยมจากฝรั่งเศสมาแล้วนายกพีต้ายังไม่มั่นใจ
เวลาสองเดือนอาจเกิดภัยคุกคามกับเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ตอนไหนก็ได้ ESSM
จำนวน 8 นัดกับ Mistral 3 จำนวน 20 นัดไม่เพียงพอแน่นอน
รองนายกโจนาธารให้คำแนะนำสนใจสินค้าอิสราเอลหรือไม่
แล้วนำเสนอระบบป้องกันภัยทางอากาศ C-Dome รุ่น Mission Mudule ที่ตัวเองจัดหามาใช้งานดตอนเป็นรักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
นายกพีต้าเห็นผลงานจากคลิปวิดีโอส่งตรงจากอิสราเอลแล้วชอบใจทันที
บอกว่าข้าพเจ้าเคยเห็นคลิปนานแล้วแต่ไม่รู้ว่าเรามีใช้งาน ว่าแล้วจึงเซ็นคำสั่งถอด
C-Dome จากเรือหลวงสายบุรีมาใส่บนเรือหลวงจักรีนฤเบศร
ห้องควบคุมในตู้คอนเทนเนอร์ขนาด
20 ฟุตพร้อมเรดาร์ตรวจจับและติดตามเป้าหมาย AESA
กับแท่นยิงแนวดิ่งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้อากาศยาน Iron Dome จำนวน
20 ท่อยิง ถูกติดตั้งบริเวณจุดรับส่งอากาศยานปีกหมุนจุดที่ห้ากราบขวาเรือ
อันเป็นจุดที่ตรวจสอบชัดเจนแล้วว่าไม่รบกวนการทำงานส่วนอื่น จุดรับส่งอากาศยานปีกหมุนสี่จุดบริเวณกราบซ้ายทำงานได้ตามปรกติ
ลิฟต์ขนส่งอากาศยานทั้งสองตัวทำงานได้ตามปรกติ ลิฟต์ขนของทำงานได้ตามปรกติ
เครนยกของทำงานได้ตามปรกติ โรงเก็บอากาศยานทำงานได้ตามปรกติ ทุกอย่างบนเรือทำงานได้ตามปรกติโดยมีออปชันพิเศษเพิ่มเติมเข้ามา
ข้อมูลจากเรดาร์ตรวจจับและติดตามเป้าหมาย
AESA ทั้ง 4 ตัวของระบบ C-Dome จะถูกต่อมาที่ห้องยุทธการเรือซึ่งใช้ระบบอำนวยการรบของ
SAAB การตรวจจับเป้าหมายของเรือย่อมดีกว่าเดิมไม่มากก็น้อย
แต่การตรวจจับและติดตามเป้าหมายให้กับอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้อากาศยาน Mistral 3 บนแท่นยิง Sadral ขนาด 6
ท่อยิงทั้ง 3 แท่นยิง ต้องพึ่งพาเรดาร์ตรวจการณ์
3 มิติ Sea Giraffe AMB บนเสากระโดงตามปรกติ
วันที่
6
ธันวาคม 2024 กองเรือช่วยเหลือจากประเทศไทยออกเดินทาง
ในโรงเก็บเรือหลวงจักรีนฤเบศรมีเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ S-70B เพียง 2 ลำ ถึงที่หมาย S-70B
ลำที่ติดตั้งโซนาร์ชักหย่อนจะย้ายมาประจำการบนเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช ส่วน S-70B อีกลำถูกกำหนดเป็นเครื่องสำรองไม่มีการใช้งาน
การค้นหาผู้ประสบภัยจะใช้งานเฮลิคอปเตอร์จากกองทัพเรือโคลัมเบีย เปรู และชิลี
สมทบด้วยหน่วยยามฝั่งสหรัฐอเมริกา
ตามแผนการกองเรือไทยจะหยุดพักเกาะกวมเป็นเวลาหนึ่งวัน
ก่อนออกเดินทางกองทัพเรือใส่อาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้อากาศยาน Iron
Dome ในท่อยิงเพียง 2 นัดกันผีหลอก เนื่องจากสหรัฐอเมริกาต้องการสนับสนุนการปฏิบัติการกู้ภัยของกองทัพเรือไทย
ประธานาธิบดีโจ ไบเดนจึงอนุมัติให้แบ่ง Iron Dome
ของนาวิกโยธินซึ่งมีอยู่ที่เกาะกวมจำนวน 1 กองร้อย มาใส่เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์หมายเลข
911 กองทัพเรือไทยจำนวน 10 นัด
เท่ากับว่าการเดินทางไปยังอเมริกาใต้ของเรือหลวงจักรีนฤเบศรและเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช
มี C-Dome
ระยะยิง 70 กิโลเมตรจำนวน 12 นัด ESSM ระยะยิง 50 กิโลเมตรจำนวน
8 นัด และ Mistral 3 ระยะยิง 7 กิโลเมตรจำนวน 20 นัดไว้ป้องกันตัว
ส่วน Phalanx ซึ่งใช้งานได้บ้างไม่ได้บ้างทดไว้ในใจไม่ต้องพูดถึง
โครงการปรับปรุงเรือชั้นเรือหลวงปัตตานี
การติดตั้งระบบป้องกันภัยทางอากาศรายการสุดท้ายของนายกพีต้ากับรองนายกโจนาธาร
คือการปรับปรุงครึ่งอายุการใช้งานเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชั้นเรือหลวงปัตตานี
เริ่มจากเรือหลวงปัตตานี 511 เข้ารับการปรับปรุงกลางปี
2024 กลับเข้าประจำการกลางปี 2025 ต่อด้วยเรือหลวงนราธิวาส
512 เข้ารับการปรับปรุงกลางปี 2025 กลับเข้าประจำการกลางปี
2026
รายละเอียดการปรับปรุงครึ่งอายุการใช้งานเรือประกอบไปด้วย
1.ระบบอำนวยการรบและระบบเรดาร์ยังคงใช้รุ่นเดิมเพื่อความประหยัด
2.ติดตั้งปกรณ์ตรวจจับคลื่นอิเล็กทรอนิกส์หรือ ESM รุ่น
ES-3601 ของบริษัท L3HARRIS บนเสากระโดง
3.ติดตั้งแท่นยิงเป้าลวง SKWS DL-12T ขนาด 12 ท่อยิงจำนวน 2 แท่นยิงใกล้จุดติดตั้งปืนรอง
4.เปลี่ยนปืนรองเป็นปืนกล DS-3OM Mark2 ขนาด 30
มม.พร้อมออปโทรนิกส์ควบคุมการยิง
(เหมือนเรือตรวจการณ์ปราบเรือดำน้ำชั้นเรือหลวงคำรณสินธุ)
เสริมความแข็งแกร่งให้กับจุดติดตั้งและสร้างระเบียงรูปทรงทันสมัยเพิ่มเติม
เพื่อเพิ่มพื้นที่สำหรับแท่นยิงรวมทั้งให้ลูกเรือสามารถเดินผ่านได้
5.ติดตั้งแท่นยิง Simbad-RC ขนาด 2 ท่อยิงจากฝรั่งเศสจำนวน 1 ท่อยิงเหนือโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์
สำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้อากาศยาน Mistral 3
มีการเสริมความแข็งแกร่งให้กับจุดติดตั้งแม้ Simbad-RC
น้ำหนักเบามากก็ตาม Mistral 3 ระยะยิง 7 กิโลเมตรเพียง 2 นัดอาจไม่ถูกใจมิตรรักแฟนเพลง
แต่มากที่สุดเท่าเรือตรวจการณ์สร้างโดยประเทศจีนสามารถติดตั้งได้
และดีเพียงพอในการป้องกันภัยทางอากาศระดับไม่ร้ายแรง
เท่ากับว่ากองทัพเรือมีอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้อากาศยาน
Mistral 3 ใช้งานบนเรือหลวงเจ้าพระยา เรือหลวงบางปะกง
เรือหลวงปัตตานี เรือหลวงนราธิวาส รวมทั้งเรือหลวงจักรีนฤเบศรที่จะต้องปรับปรุงแท่นยิง
Sadral หลังเดินทางกลับจากอเมริกาใต้
6.ติดแท่นยิงอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้เรือรบ NSM ระยะยิง
185 กิโลเมตรจำนวน 8 ท่อยิงกลางเรือ
เหตุผลที่นายกพีต้ากับรองนายกโจนาธารเลือกเรือชั้นนี้เพราะใช้ระบบตะวันตกทั้งลำ
ส่วนเรือหลวงเจ้าพระยาใช้ระบบจีนทั้งลำต้องปรับปรุงเยอะเกินไปไม่คุ้มค่าเพราะเรือเก่าแล้ว
หลังการปรับปรุงเรือหลวงปัตตานีกับเรือหลวงนราธิวาส
จะกลายร่างเป็นเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งสมรรถนะสูงลำหนึ่งของอาเซียน
บทสรุปหลังสิ้นสุดโครงการ
หลังปิดโครงการปรับปรุงระบบป้องกันภัยทางอากาศในช่วงกลางปี
2026
ราชนาวีไทยมีเรือรบติดระบบป้องกันภัยทางอากาศทันสมัยเทียบเท่าสิงคโปร์ประกอบไปด้วย
1.เรือที่สามารถติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้อากาศยาน
ESSM ระยะยิง 50 กิโลเมตรประกอบไปด้วย
เรือหลวงนเรศวร 421 เรือหลวงตากสิน 422 เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช 471 และเรือหลวงกระบี่ 551 ตามภาพประกอบแถวบนสุด
2.เรือที่สามารถติดตั้งระบบป้องกันภัยทางอากาศ
C-Dome ระยะยิง 70 กิโลเมตรประกอบไปด้วย
เรือหลวงกระบุรี 457 เรือหลวงสายบุรี 458 เรือหลวงกระบี่ 551
และเรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ 552 ตามภาพประกอบแถวที่สอง
3.เรือที่สามารถติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้อากาศยาน
Mistral 3 ระยะยิง 7 กิโลเมตร ไปด้วย เรือหลวงเจ้าพระยา
455 เรือหลวงบางปะกง 456 เรือหลวงปัตตานี 511 และเรือหลวงนราธิวาส 512
ตามภาพประกอบแถวที่สาม
4.เรือที่สามารถติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้อากาศยาน
Mistral ทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ และระบบป้องกันภัยทางอากาศ C-Dome ได้แก่ เรือหลวงจักรีนฤเบศร 911 ตามภาพประกอบแถวที่สี่
5.เรือที่สามารถติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้อากาศยาน ESSM และระบบป้องกันภัยทางอากาศ C-Dome ได้แก่ เรือหลวงกระบี่
551 ตามภาพประกอบแถวที่สี่
6.เรือที่สามารถติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้อากาศยาน Aspide 2000 ระยะยิง 25 กิโลเมตรได้เรือ เรือหลวงรัตนโกสินทร์ 441 ตามภาพประกอบแถวที่สี่
กองทัพเรือมีเรือติดตั้งระบบป้องกันภัยทางอากาศระยะยิง
7 ถึง 70 กิโลเมตรจำนวน 13 ลำ
แต่ติดตั้งติดตั้งระบบป้องกันภัยทางอากาศได้มากสุด 12 ลำ
เพราะมีระบบป้องกันภัยทางอากาศ C-Dome เพียง 2 ระบบ
ผู้โชคร้ายที่ถูกคัดออกได้แก่...เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ เนื่องจากผู้เขียนรู้สึกหมั่นไส้เล็กน้อยถึงปานกลาง
ไม่ใช่…เพราะเรือแบก Harpoon block 2 จนหลังแอ่น ลานจอดเฮลิคอปเตอร์รองรับ
S-70B ได้เหมือนเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช ควรทำลานจอดเฮลิคอปเตอร์ให้ว่างเข้าไว้จะเหมาะสมกว่า
นอกจากนี้เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ยังมีภารกิจตามเก็บทุ่นเตือนภัยสึนามิ
สรุปความได้ว่าให้เรือลำอื่นใช้งาน C-Dome ดีกว่าเนอะ…
อ้างอิงจาก
https://thaimilitary.blogspot.com/2023/06/river-class-batch-3.html
https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_ships_of_the_Republic_of_Singapore_Navy
https://www.seaforces.org/wpnsys/SURFACE/Mk-56-missile-launcher.htm
https://www.asiatraveltips.com/news19/119-SaabGiraffe1X.shtml
https://twitter.com/xaviervav/status/1631688854624247808
https://www.seaforces.org/wpnsys/SURFACE/KDS-Naval-Strike-Missile.htm
https://web.facebook.com/photo.php?fbid=738767854920975&set=pb.100063633005696.-2207520000.&type=3
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น