วันที่
26
กุมภาพันธ์ 1985 กองทัพเรือเนเธอร์แลนด์เริ่มต้นเดินหน้าโครงการ
M-frigate โดยการทำพิธีวางกระดูกงูเรือฟริเกต Karel
Doorman F827 ซึ่งเป็นลำแรกจากจำนวนแปดลำ
หน้าที่หลักของเรือคือการปราบเรือดำน้ำโซเวียตและสมาชิกกลุ่มวอร์ซอ
ซึ่งมีจำนวนมหาศาลเป็นปัญหาใหญ่หากเกิดสงครามระหว่างสองฝ่าย
M-frigate จำนวน 8 ลำมากเพียงพอให้กองทัพเรือเนเธอร์แลนด์ทำภารกิจได้อย่างเหมาะสม
วันที่
1
ตุลาคม 1991 มีการทำพิธีวางกระดูกงูเรือฟริเกต
Jan Van Speyk F828 ซึ่งเป็นลำสุดท้ายจากจำนวนแปดลำ
ถัดมาในวันที่ 26 ธันวาคม 1991 สหภาพโซเวียตล่มสลายกลายเป็นหลายประเทศ
สมาชิกกลุ่มวอร์ซอทั้งหมดแตกซ่านคนละทิศคนละทาง
ภัยคุกคามลดลงแบบฮวบฮาบภายในระยะเวลาสามเดือน
ตอนนั้นเอง
M-frigate หรือเรือฟริเกตชั้น Karel Doorman เพิ่งเข้าประจำการได้เพียง
2 ลำ อีก 6 ลำวางกระดูกงูแล้วไม่อาจยกเลิกการก่อสร้าง
จำเป็นต้องเดินหน้าสร้างให้แล้วเสร็จตามแผนเดิมอย่างเลี่ยงไม่ได้
วันที่
7
กันยายน 1995 กองทัพเรือเนเธอร์แลนด์ประจำการเรือฟริเกตปราบเรือดำน้ำชั้น
Karel Doorman ครบ 8 ลำ
แต่เรือดำน้ำโซเวียตหรือสมาชิกกลุ่มวอร์ซอไม่มีให้ปราบอีกต่อไป
เนเธอร์แลนด์ทนแบกค่าใช้จ่ายซ่อมบำรุงเรือจนถึงปี 2004 จึงตัดสินใจขายเรือฟริเกตชั้น
Karel Doorman ลำหนึ่งให้กับชิลี ปี 2006 ขายให้ชิลีอีก 1 ลำ ขายให้เบลเยียมจำนวน 2 ลำ ปี 2007 กับ 2009 ขายให้โปรตุเกสจำนวน
2 ลำ
ท้ายที่สุดกองทัพเรือเนเธอร์แลนด์ประจำการเรือฟริเกตปราบเรือดำน้ำชั้น
Karel
Doorman เพียง 2 ลำ ประกอบไปด้วย Jan
Van Speyk F828 ซึ่งเป็นลำสุดท้ายกับ Jan
Van Amstel F831 ซึ่งเป็นลำที่สี่
M-frigate จำนวน 2 ลำมากเพียงพอให้กองทัพเรือเนเธอร์แลนด์ทำภารกิจได้อย่างเหมาะสม
ทว่า
M-frigate ทั้ง 2 ลำจะมีอายุการใช้งานมากขึ้นตามระยะเวลา
กองทัพเรือเนเธอร์แลนด์จำเป็นต้องเตรียมพร้อมไว้แต่เนิ่นๆ
โดยการศึกษาแบบเรือที่เหมาะสมกับการใช้งานในอนาคตข้างหน้า
Royal Netherlands Navy M-frigate
replacement study
กลางเดือนพฤศจิกายน
2013
มีการเผยแพร่ข้อมูลแบบเรือฟริเกตทดแทน M-frigate ต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรก ภายใต้ชื่อโครงการ ‘Royal Netherlands
Navy M-frigate replacement study’
เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการสร้างเรือฟริเกตรุ่นใหม่ รบกวนผู้อ่านทุกคนดูภาพประกอบที่หนึ่งไปพร้อมกัน
แบบเรือมีความยาวประมาณ
145
เมตร ใช้ลูกเรือประมาณ 120 นาย
หัวเรือติดปืนใหญ่ OTO 76/62 Super Rapid ป้อมปืนปรกติ
ถัดไปเป็นแท่นยิงแนวดิ่ง Mk.41 จำนวน 2 ระบบ 16 ท่อยิง
สำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้อากาศยาน ESSM จำนวน 64 นัด หน้าสะพานเดินเรือติดปืนกลอัตโนมัติ Marlin ขนาด
30 มม. ที่กราบซ้ายและ Hitrole
ขนาด 12.7 มม.ที่กราบขวา
สะพานเดินเรือค่อนข้างเตี้ยแต่เสากระโดงเรือค่อนข้างสูงใหญ่ เพราะเป็นเสากระโดง I-mast 500
I-mast 500 ติดตั้งระบบเรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำ SEAMASTER
400 กับเรดาร์ตรวจการณ์ 3 มิติ APAR Block
2 AESA ฝังสี่มุมนำวิถีให้ ESSM ได้ มีออปโทรนิกส์ตรวจการณ์ Gatekeeper มุมมอง 360
องศา มีระบบดักจับคลื่นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ ESM ไว้พร้อมสรรพ ทำงานร่วมกับเรดาร์ตรวจการณ์ 3 มิติระยะไกล
SMART-L EWC ได้ทันทีเพราะมาจากบริษัท Thales เช่นเดียวกัน
พื้นที่ว่างกลางเรือสำหรับเรือยางท้องแข็งหรือยานผิวน้ำไร้คนขับจำนวน
4 ลำ ถัดไปเป็นแท่นยิงอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้เรือรบจำนวน 8 นัด
ถัดไปเล็กน้อยสร้างจุดรับ-ส่งอากาศยานไร้คนขับปีกแข็งขนาดเล็ก
เหนือโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ติดปืนกลอัตโนมัติ Hitrole ขนาด 12.7 มม.กราบขวาเป็นปืนกลอัตโนมัติ Marlin ขนาด
30 มม.ส่วนกราบซ้ายคืออุปกรณ์รบกวนการเผยแพร่คลื่นอิเล็กทรอนิกส์ Sabre ECM
suite
ระบบป้องกันตนเองระยะประชิด
Goalkeeper
ใช้ปืนกล 30 มม.หกลำกล้องอยู่บนแท่นยิงสูงๆ
ตรงกลางระหว่างปล่องระบายความร้อน ด้านหลังปืนกลอัตโนมัติ Hitrole ขนาด 12.7 มม.เพียงแต่ไม่ค่อยเหมือนสักเท่าไหร่ขนาดผู้เขียนยังเข้าใจผิด
แบบเรือ
V1
ค่อนข้างธรรมดาไม่มีอะไรหวือหวา ทว่าแนวคิดแบกเรือยางท้องแข็งหรือยานผิวน้ำไร้คนขับจำนวน
4 ลำถือว่าล้ำสมัยมาก
หลังจากนั้นเพียงไม่กี่ปีเรือฟริเกตยุโรปจะถูกแช่น้ำมันก๊าดให้ใหญ่กว่าเดิม
รวมทั้งต้องมียางท้องแข็งหรือยานผิวน้ำไร้คนขับอย่างน้อยที่สุดจำนวน 3 ลำบนเรือ
เพียงแต่อากาศยานไร้คนขับปีกแข็งถูกอากาศยานไร้คนขับปีกหมุนถีบตกคลองแสนแสบไม่ได้แจ้งเกิดเสียแล้ว
Future Royal Netherlands Navy &
Belgian Naval Component
ต้นเดือนเมษายน
2018
เนเธอร์แลนด์กับเบลเยียมจับมือกับจัดตั้ง 2 โครงการใหญ่
ประกอบไปด้วยเรือฟริเกตอเนกประสงค์รุ่นใหม่จำนวน 4 ลำแบ่งกันชาติละ
2 ลำ นำมาทดแทนเรือฟริเกตชั้น Karel Doorman และเรือกวาดทุ่นระเบิดรุ่นใหม่จำนวน 12 ลำแบ่งกันชาติละ
6 ลำ
นำมาทดแทนเรือกวาดทุ่นระเบิดชั้น Tripartite
มีการเผยแพร่แบบเรือฟริเกตรุ่นใหม่ผู้เขียนของเรียกว่า
V2
ตามภาพประกอบที่สอง
สำหรับโครงการเรือฟริเกตจะสร้างให้กับเบลเยียม
2
ลำก่อน เข้าประจำการระหว่างปี 2024-2026
เสร็จเรียบร้อยจึงถึงคิวเนเธอร์แลนด์
อนาคตจะใช้แบบเรือลำนี้ทดแทนเรือฟริเกตป้องกันภัยทางอากาศชั้น Zeven
Provincien ของกองทัพเรือเนเธอร์แลนด์
ผู้เขียนเข้าใจว่าต้องนำไปแช่น้ำมันก๊าดให้บวมกว่าเดิมอย่างแน่นอน
เรือมีระวางขับน้ำมากกว่า
3,000
ตันขึ้นไป ยาว 140-145 เมตร ใช้ลูกเรือ 110
นายและมีพื้นที่รองรับอีก 70 นาย
หัวเรือใช้ปืนใหญ่ OTO 76/62 Sovraponte ถัดไปเป็นแท่นยิงแนวดิ่ง
Mk.41 จำนวน 2 ระบบ 16 ท่อยิง สำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้อากาศยาน ESSM เหมือนเดิม
แต่อาจมีอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้อากาศยาน SM-3 กับอาวุธปล่อยนำวิถีปราบเรือดำน้ำ
VL-ASROC ตามมาในภายหลัง
เรือยังคงใช้เสากระโดง
I-mast 500 ตามปรกติ ติดปืนกลอัตโนมัติ Marlin ขนาด 30 มม.ที่หัวเรือจำนวน 1
กระบอก ปืนกลอัตโนมัติ Hitrole ขนาด 12.7
มม.กลางเรือจำนวน 2 กระบอก
มีอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้เรือรบ NSM หรือ LRASM จำนวน 8 นัด เหนือโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ติดปืนใหญ่ OTO
76/62 Sovraponte กระบอกที่สอง ระบบเป้าลวงเปลี่ยนมาใช้งาน MASS จากเยอรมัน ติดตั้งเรดาร์/ออปโทรนิกส์ควบคุมการยิง Pharos ทำงานร่วมกับ OTO 76/62 Sovraponte
ในการเผด็จศึกอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้เรือรบฝ่ายตรงข้าม
เท่ากับว่าเนเธอร์แลนด์ใช้
Sovraponte เป็นระบบป้องกันตนเองระยะประชิดแทนที่ Goalkeeper
ที่น่าสนุกยิ่งกว่านั้นก็คือ
ด้านหน้า Pharos คือแท่นยิง Mk.49 ขนาด 21 ท่อยิง สำหรับระบบป้องกันตนเองระยะประชิด RAM
Block 2 ระยะยิงประมาณ 10 กิโลเมตร
ในภาพประกอบอาจมองเห็นไม่ชัดเจน
ระบบป้องกันตนเองระยะประชิด
Goalkeeper ของ Thlaes อายุมากพอสมควร
แต่ไม่มีการพัฒนาปรับปรุงเพิ่มเติมเหมือนคู่แข่ง Phalanx จากอเมริกา
จึงถูก Thales ถอดออกจากโบรชัวร์ขายสินค้าแบบเงียบๆ กองทัพเรือเนเธอร์แลนด์เพิ่งมากำหนดให้ใช้งาน
RAM Block 2 กับปืนใหญ่ OTO 76/62 มม.แทนที่ Goalkeeper ประมาณปลายปี 2020 เท่ากับว่าแบบเรือ V2 สปอยล์เนื้อหาล่วงหน้าโดยที่คนทั่วโลกไม่ทันรู้ตัว
แต่
Sovraponte จำนวน 2 กระบอกกับ RAM Block 2 อีก 21 นัดก็เยอะเกินไป
ที่สำคัญแพงเกินไปจะซื้อกันไม่ไหวเนี่ยสิ แบบเรือ V2 สวยและทันสมัยกว่า
V1 พอสมควร ผู้เขียนติดใจแค่บันไดขึ้นเรือเพียงอย่างเดียว
นำไปวางข้างลานจอดเฮลิคอปเตอร์ความสวยลดลง 20 เปอร์เซ็นต์ทันที
ท้ายเรือฝั่งหนึ่งติดตั้งโซนาร์ลากท้ายรุ่นใหม่ทันสมัย
ท้ายเรืออีกฝั่งเป็นช่องปล่อยเรือยางท้องแข็งหรือยานผิวน้ำไร้คนขับขนาด 11
เมตร (เท่ากับว่าแบบเรือ V2 มีเรือเล็กจำนวน 3 ลำ)
สังเกตนะครับว่าเรดาร์ APAR Block 2 จำนวน 2 ตัวย้ายไปติดด้านหลังปล่องระบายความร้อน (หน้า Sovraponte กระบอกที่สอง) ส่วนจะย้ายไปเพื่ออะไรผู้เขียนใบ้รับประทานเหมือนกัน
ปล่อยให้เสากระโดง I-mast 500
ว่างสองฝั่งต้องมีเหตุผลที่เราไม่รู้สิน่า
เท่ากับว่าตอนนี้เนเธอร์แลนด์กับเบลเยียมเดินหน้าโครงการเรือฟริเกตอเนกประสงค์จำนวน
4
ลำกับเรือกวาดทุ่นระเบิดจำนวน 12 ลำเรียบร้อยแล้ว
นอกจากแบบเรือ V2 ที่ปรากฏตัวพร้อมการเปิดตัวโครงการ บริษัทสร้างเรือยักษ์ใหญ่ในเนเธอร์แลนด์ยังได้เสนอแบบเรือรุ่นใหม่ล่าสุดเข้าร่วมชิงชัย
Damen - M-Frigate / Omega Future
Multi-Mission Frigate
ต้นเดือนธันวาคม 2018 ในการแสดงอาวุธ IndoDefence
2018 ที่ประเทศอินโดนีเซีย บริษัท Damen นำแบบเรือฟริเกต Omega
มาจัดแสดงเป็นครั้งแรก โดยให้ข้อมูลว่าเป็นแบบเรือที่บริษัทเสนอในโครงการเรือฟริเกตอเนกประสงค์กองทัพเรือเนเธอร์แลนด์กับเบลเยียม
นอกจากนี้บริษัทจะเสนอแบบเรือ Omega เข้าร่วมชิงชัยโครงการเรือฟริเกต
MKS 180 กองทัพเรือเยอรมันเช่นกัน
สินค้าใหม่เอี่ยมจาก
Damen นำตัดเรือฟริเกตป้องกันภัยทางอากาศชั้น Zeven Provincien มาปรับปรุงใหญ่ ระวางขับน้ำประมาณ 6,100 ตัน
ยาว 144 เมตร กว้าง 18.8
เมตร ใช้เครื่องยนต์ดีเซล 4 ตัว
ความเร็วสูงสุด 29 นอต ระยะปฏิบัติการไกลสุด 5,000 ไมล์ทะเลที่ความเร็ว 18 นอต ออกทะเลได้นานสุด 30
วัน ใช้ลูกเรือ 122 นาย มีพื้นที่รองรับมากสุด
160 นาย บรรทุกเรือยางท้องแข็งหรือยานผิวน้ำไร้คนขับขนาด 12
เมตรได้ 3 ลำ
และมีโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ขนาดกลางจำนวน 2 ลำ
ภาพประกอบที่สามคือแบบเรือฟริเกต Omega สำหรับกองทัพเรือเนเธอร์แลนด์ แล่นเคียงข้างเรือกวาดทุ่นระเบิดขนาด 80 เมตรที่ Damen ส่งเข้าร่วมชิงชัยเช่นเดียวกัน หัวเรือติดปืนใหญ่ OTO 127/64 ยิงกระสุนนำวิถีต่อระยะได้ ถัดไปเป็นแท่นยิงแนวดิ่ง Mk.41 จำนวน 4 ระบบ 32 ท่อยิง สะพานเดินเรือกับเสากระโดงหลักรวมอยู่ด้วยกันคล้ายเรือพิฆาตล่องหน Zumwalt ของอเมริกา ฝังเรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำ SEAMASTER 400 จำนวน 3 ตัว กับเรดาร์ตรวจการณ์ 3 มิติ APAR Block 2 จำนวน 1 ตัว มีปล่องระบายความร้อนตัวแรกรวมอยู่ในเสากระโดง
ที่ว่างกลางเรือติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้เรือรบ
RBS-15
Mk3 จำนวน 8 นัด กับตู้คอนเทนเนอร์ Multi
Mission จำนวน 2 ตู้ ถัดไปคือเสากระโดงรองกับปล่องระบายความร้อนตัวที่สอง
ฝังเรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำ SEAMASTER 400 จำนวน 1 ตัว กับเรดาร์ตรวจการณ์ 3 มิติ APAR Block 2 จำนวน 3 ตัว
เรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำ
SEAMASTER
400 บริษัท Thales เคลมว่าตรวจจับได้ไกลสุด 450
กิโลเมตร ส่วนเรดาร์ตรวจการณ์ 3 มิติ
APAR Block 2 บริษัท Thales เคลมว่านำวิถีให้ ESSM
กับ SM-2 ได้ Omega
ติดตั้งเรดาร์ตรวจการณ์รุ่นปรกติได้อาทิเช่น Thales NS200
แต่น่าจะขี้เหร่พอสมควรไปเข้ากับการดีไซน์สักนิดเดียว
หลังคาโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ติดตั้งปืนกลอัตโนมัติ
Marlin
ขนาด 30 มม.จำนวน 2
กระบอก มีแท่นยิงเป้าลวง MASS จากเยอรมันจำนวน
4 แท่นยิง หัวเรือใช้โซนาร์ Kingklip ท้ายเรือใช้โซนาร์
Captas-4 ใช้ออปโทรนิกส์ควบคุมการยิง Mirador จำนวน 2 ตัว แต่ไม่มีระบบป้องกันตนเองระยะประชิดหรือ
CIWS
แบบเรือฟริเกต
Omega ที่นำมาจัดแสดงแตกต่างจากเวอร์ชันเนเธอร์แลนด์
ผู้เขียนเข้าใจว่าเป็นรุ่นปรกติส่วนเวอร์ชันเนเธอร์แลนด์เป็นรุ่นปรับปรุง หน้าสะพานเดินเรือมีจุดติดตั้งระบบป้องกันตนเองระยะประชิด
Millenium Gun หลังคาโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ติดตั้งปืนใหญ่
OTO 76/62 Sovraponte เป็น CIWS ตัวที่สอง
ทำให้เรือดุดันกว่า ป้องกันตนเองได้ดีกว่า และราคาแพงกว่าอย่างไม่ต้องสงสัย
แบบเรือฟริเกต
Omega ยังมีเวอร์ชันติดตั้งปืนใหญ่ OTO 76/62 Sovraponte
ที่หัวเรือ กับแท่นยิงแนวดิ่ง Mk.41 จำนวน 3 ระบบ 24 ท่อยิง
โดยมีระบบป้องกันตนเองระยะประชิดแบบเลเซอร์หน้าสะพานเดินเรือ เข้าใจว่า Damen
พยายามเสนอความหลากหลายเพราะยังไม่รู้ความต้องการอย่างชัดเจน
สำหรับแบบเรือกวาดทุ่นระเบิดขนาด
80
เมตรผู้เขียนขอข้ามนะครับ
สปอยล์เนื้อหานิดเดียวเรือทั้งสองลำไม่ได้รับการคัดเลือกจากเนเธอร์แลนด์กับเบลเยียม
ทว่าแบบเรือฟริเกต Omega ได้รับการคัดเลือกโครงการเรือฟริเกต
MKS 180 กองทัพเรือเยอรมัน ที่ปัจจุบันเปลี่ยนมาใช้ชื่อโครงการเรือฟริเกต
F126 ต่อจาก F125 นั่นเอง
Anti-Submarine Warfare Frigate
เดือนมิถุนายน
2020
โครงการเรือฟริเกตอเนกประสงค์กองทัพเรือเนเธอร์แลนด์กับเบลเยียมถูกตั้งชื่อใหม่ว่า
Anti-Submarine Warfare Frigate หรือ ASWF แปลเป็นภาษาไทยว่าเรือฟริเกตปราบเรือดำน้ำน่าจะเหมาะสมที่สุด
มีการเปิดเผยข้อมูลจากรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมเนเธอร์แลนด์เป็นครั้งแรก
รวมทั้งมีการเผยแพร่แบบเรือใหม่ล่าสุดผู้เขียนขอเรียกว่า V3 ตามภาพประกอบที่สี่
เรือมีความยาวประมาณ 130 เมตร ระวางขับน้ำประมาณ 5,500 ตัน หัวเรือติดตั้งปืนใหญ่ OTO 76/62 Sovraponte ทำงานร่วมกับกระสุนนำวิถีต่อสู้อากาศยาน DART เรือเนเธอร์แลนด์มีแท่นยิงแนวดิ่ง Mk.41 จำนวน 2 ระบบ 16 ท่อยิง ส่วนเรือเบลเยียมมีแท่นยิงแนวดิ่ง Mk.41 แค่ 1 ระบบ 8 ท่อยิง อาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้เรือรบยังไม่ได้ระบุรุ่น ใช้ตอร์ปิโดเบาปราบเรือดำน้ำ Mk-54 รุ่นใหม่จากอเมริกา ระบบเป้าลวงตอร์ปิโดทั้งแบบ Softkill ในปัจจุบันและ Hard-kill ในอนาคต ระบบป้องกันตนเองระยะประชิด RIM-116 RAM Block 2 มาแน่นอน เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ NH90 NFH จำนวน 1 ลำ กับอากาศยานไร้คนขับปีกหมุนอีกจำนวนหนึ่ง
แบบเรือ
V3
เสากระโดง I-mast 500
ถูกถอดออกไป สร้างเสากระโดงหลักทรงสูงแหลมกับเสากระโดงรองทรงเตี้ยอ้วน
และดูเหมือนว่าจะติดตั้งเรดาร์ตรวจการณ์ 4 มิติ Sea
Fire 500 รุ่นใหม่ล่าสุดของ Thales แต่ยังไม่มีการเปิดเผยข้อมูลอย่างชัดเจนผู้เขียนจึงไม่กล้ายืนยัน
หัวเรือใช้โซนาร์ Kingklip ท้ายเรือใช้โซนาร์ Captas-4 มีออปโทรนิกส์ควบคุมการยิง Mirador จำนวน 1
ตัว กับเรดาร์/ออปโทรนิกส์ควบคุมการยิง Pharos อีก 1 ตัว ใช้แท่นยิงเป้าลวง NGDS จำนวน 4 แท่นยิง บันไดขึ้นเรือวางข้างลานจอดเฮลิคอปเตอร์เหมือนเดิม
ที่น่าสนใจมากที่สุดก็คือ…ปืนกลอัตโนมัติ Marlin ขนาด 30 มม.ถูกแทนที่ด้วยปืนกลอัตโนมัติ Marlin 40 ขนาด 40 มม.จากบริษัทเดียวกัน
การเปลี่ยนแปลงขนาดปืนกลมีความสำคัญมากน้อยแค่ไหน รบกวนผู้อ่านคาดเดาด้วยความคิดตัวเองสักพักหนึ่งก่อน
ผู้เขียนจะมาเฉลยช่วงท้ายของบทความโปรดรอสักครู่
ปืนกล
40
มม.กำลังจะกลับมา แต่เรือยางท้องแข็งหรือยานผิวน้ำไร้คนขับลดลงมาเหลือเพียง
2 ลำ
แบบเรือที่กองทัพเรือเนเธอร์แลนด์
กองทัพเรือเบลเยียม และบริษัท Damen Schelde Naval Shipbuilding
ร่วมกันออกแบบค่อนข้างสวยและใกล้สมบูรณ์แบบ
ปรับปรุงแก้ไขเพียงเล็กน้อยก็สร้างจริงได้แล้ว
Green light for the construction
ระหว่างปลายปี
2019
ถึงกลางปี 2022 เกิดโรคระบาดร้ายแรงทั่วโลก
ทำให้โครงการเรือฟริเกต ASWF
เกิดความล่าช้าไม่แตกต่างจากโครงการอื่น
แต่แล้วเมื่อความสงบสุขกลับมาเยือนพร้อมสงครามรัสเซีย-ยูเครน
ทุกโครงการเริ่มเดินหน้าอีกครั้งรวมทั้งโครงการระหว่างกองทัพเรือเนเธอร์แลนด์กับเบลเยียม
วันที่
3
เมษายน 2023 การสร้างเรือฟริเกต ASWF จำนวน 2 ลำสำหรับกองทัพเรือเบลเยียมได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลเนเธอร์แลนด์
บริษัท Damen จะส่งมอบเรือลำแรกภายในปี 2029 ช้ากว่าตอนตั้งโครงการในปี 2018 ถึง 5 ปี มูลค่ารวมการสร้างเรือเท่ากับ 2 พันล้านยูโรหรือลำละ
1 พันล้านยูโร แพงกว่าตอนตั้งโครงการในปี 2018 ถึงลำละ 400 ล้านยูโร โดยที่เนเธอร์แลนด์จะลงทุนในอุตสาหกรรมเบลเยียมกลับคืน
355 ล้านยูโร
ก่อนการสั่งซื้อเกิดดราม่าเล็กน้อยเรื่องราคาเรือ
แค่ไม่กี่วันก็ซาไปเองเพราะจุดไฟไม่ติด
เรือฟริเกตขนาด
5,500
ตันลำละ 1 พันล้านยูโรไม่แพงหรอกครับ
เรือฟริเกต FDI ที่กรีซซื้อจากฝรั่งเศสขนาด 4,500 ตันราคาใกล้เคียงกันมาก เบลเยียมอยากได้เรือลำละ 600 ล้านยูโรต้องซื้อเรือขนาด 3,500 ตัน
ถอดเรดาร์ตรวจการณ์ 4 มิติ Sea Fire 500 ออก ถอดอาวุธทันสมัยออกให้หมดเหลือแค่เพียงป้องกันตัว
มีการเผยแพร่แบบเรือสร้างจริงประกอบข่าวเบลเยียมสั่งซื้อเรือ
ภาพประกอบที่ห้าคือเรือฟริเกต ASWF รุ่น Real
Design ผู้เขียนจะใส่ข้อมูลที่มีการเปิดเผยทั้งหมดให้ผู้อ่านรับรู้ไปพร้อมกัน
เรือมีระวางขับน้ำ 5,865 ตัน ยาว 134.5 เมตร กว้าง 17.5 เมตร กินน้ำลึก 5.45 เมตร ความเร็วสูงสุดมากกว่า 25 นอต ยังไม่มีการเปิดเผยระบบขับเคลื่อน ใช้ลูกเรือ 110 นายและมีพื้นที่รองรับอีก 42 นาย ข้อมูลต่อจากนี้ผู้อ่านพิจารณาตามภาพประกอบที่ห้าไปพร้อมกันเลย
หัวเรือติดตั้งปืนใหญ่
OTO
76/62 Sovraponte ทำงานร่วมกับกระสุนนำวิถีต่อสู้อากาศยาน DART
เรือเนเธอร์แลนด์มีแท่นยิงแนวดิ่ง Mk.41 จำนวน 2 ระบบ 16 ท่อยิง ส่วนเรือเบลเยียมมีแท่นยิงแนวดิ่ง Mk.41 แค่ 1
ระบบ 8 ท่อยิง ถัดไปคือปืนกลอัตโนมัติ Marlin
40 ขนาด 40 มม.ติดอยู่ระดับเดียวกับเรดาร์/ออปโทรนิกส์ควบคุมการยิง Pharos (แบบเรือ V3 จะเจาะพื้นลงไปเล็กน้อย) มีเรดาร์เดินเรือ 3 ตัว เรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำอีก 1 ตัว (จริงๆ
ก็คือเรดาร์เดินเรือนั่นแหละ) หน้าเสากระโดงหลักติดออปโทรนิกส์ควบคุมการยิง Mirador จำนวน 1 ตัว
สังเกตนะครับว่าเสากระโดงหลักเตี้ยกว่าเดิมและบางกว่าเดิม
นี่คือเทรนด์ใหม่ล่าสุดแม้แต่เรือฟริเกต Type 26 ของแคนาดาติดเรดาร์ SPY-6 จำนวน 4 ตัวยังทำตาม ระบบเรดาร์ต่างๆ ผู้เขียนขอข้ามเพราะไม่มีข้อมูล
หลังเสากระโดงหลักคืออาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้เรือรบ NSM จำนวน
8 นัด มีพื้นที่ว่างสำหรับคอนเทนเนอร์ Multi Mission จำนวน 2 ตู้หรือ NSM อีก 8
นัด แท่นยิงเป้าลวง NGDS จำนวน 4 แท่นยิงกับจุดเติมเชื้อเพลิงกลางทะเลก็อยู่แถวนั้น
ปล่องระบายความร้อนทั้งใหญ่และสูงทว่ารูปทรงค่อนข้างทันสมัย
เสากระโดงรองยาวกว่าเดิมเล็กน้อย
สร้างจุดติดตั้งปืนกลอัตโนมัติ Marlin 40 ขนาด 40
มม.กระบอกที่สองเหนือแท่นยิง Mk.49 ขนาด 21 ท่อยิง สำหรับระบบป้องกันตนเองระยะประชิด RAM
Block 2 มีปืนกล 12.7 มม.รุ่น M2 จำนวน 6 กระบอก และปืนกลอัตโนมัติ
Hitrole ขนาด 12.7 มม.อีก 2 กระบอก
บันไดขึ้นเรือย้ายมาอยู่กราบขวาเรือและซุกซ่อนเป็นอย่างดี
ถัดไปเป็นช่องปล่อยเรือยางท้องแข็งหรือยานผิวน้ำไร้คนขับจำนวน 2 ลำ ต่อด้วยท่อยิงตอร์ปิโดเบาปราบเรือดำน้ำ Mk-54
ระบบตรวจจับใต้น้ำหัวเรือใช้โซนาร์ Kingklip ท้ายเรือใช้โซนาร์
Captas-4 เหมือนเดิม
แบบเรือฟริเกต
ASWF ค่อนข้างสวยงามและสมบูรณ์แบบลำหนึ่งในยุคปัจจุบัน คล้ายเรือฟริเกตตระกูล Sigma
ของบริษัท Damen ประมาณ 75 เปอร์เซ็นต์
วิจารณ์หลังเกม
1.เนเธอร์แลนด์เลือกใช้งานปืนใหญ่ OTO 76/62 Sovraponte ซึ่งเป็นรุ่นป้องกันภัยทางอากาศ
(เนเธอร์แลนด์เลือกอะไรเบลเยียมย่อมเลือกตามอยู่ดี) บังเอิญ Sovraponte ไม่ใช้พื้นที่ใต้ดาดฟ้าเรือเป็นคลังแสงเหมือนรุ่น Super Rapid ทำให้มีจำนวนกระสุนค่อนข้างจำกัดและสลับชนิดกระสุนไม่ได้
ไม่เหมาะสมกับภารกิจยิงถล่มชายฝั่งหรือจัดการเป้าหมายผิวน้ำ นำกระสุน Dart นัดละ 8 แสนมาไล่ยิงเรือยางท้องแข็งไม่ไหวกระมัง
ปืนกล
Bofors 40mm Mk4 กับปืนใหญ่ Bofors 57mm Mk3
ไม่ใช้พื้นที่ใต้ดาดฟ้าเรือเป็นคลังแสงเช่นกัน
แต่มีออปชันเสริมป้อนกระสุนจากคลังแสงใต้ดาดฟ้าเรือหากลูกค้าต้องการ
เป็นไปได้เหมือนกันว่า Sovraponte
ป้อนกระสุนจากคลังแสงใต้ดาดฟ้าเรือได้
หากทำเช่นนั้นได้การจัดการเป้าหมายผิวน้ำหรือชายฝั่งย่อมเป็นไปได้
แต่ดูเหมือนว่ายังไม่มีออปชันเสริมตามนี้นะครับ จึงเป็นที่มาของการเปลี่ยนมาใช้งาน
Marlin 40
2.กระสุนขนาด 40 มม.ยิงไกลกว่ากระสุนขนาด
30 มม.สร้างความเสียหายต่อเป้าหมายมากกว่า
รวมทั้งมีลูกกระสุนนำวิถีให้เลือกใช้งานมากกว่า เมื่อเรือฟริเกต ASWF ติดตั้งระบบ CIWS ทั้ง Sovraponte และ RAM Block 2
เพราะฉะนั้นภารกิจหลักปืนกลอัตโนมัติ Marlin 40 ขนาด 40
มม.คือเป้าหมายผิวน้ำและชายฝั่ง
เนเธอร์แลนด์เลือกใช้งานปืนกล
40
มม.บนเรือฟริเกตลำใหม่ผู้เขียนเข้าใจ
แต่ที่ผู้เขียนไม่เข้าใจก็คือเนเธอร์แลนด์เลือกใช้งานปืนกล 40 มม.บนเรือกวาดทุ่นระเบิดลำใหม่เช่นกัน
แต่ดันเป็นรุ่น Bofors 40mm Mk4
แตกต่างจากเรือฟริเกตที่ใช้รุ่น Marlin 40 เท่ากับว่าเนเธอร์แลนด์และเบลเยียมต้องซื้อ
Bofors 40mm Mk4 จำนวน 12 กระบอกและซื้อ
Marlin 40 อีก 8 กระบอกมาใช้งานบนเรือตัวเอง
Bofors
40mm Mk4 กับ Marlin 40
ประสิทธิภาพสูสีกันมากชนิดไหล่เบียดไหล่ ให้ผู้เขียนปิดตาแล้วใช้มือขวาหยิบรุ่นไหนก็ได้มีค่าเท่ากัน
ทำไมไม่สั่งรุ่นเดียว 20 กระบอกมาใช้จะได้ไม่เกิดปัญหาในภายหลัง
เหตุผลที่เนเธอร์แลนด์เลือกใช้งาน
Bofors
40mm Mk4 เพราะต้องการยิงเป้าหมายกลางอากาศได้ด้วย กระสุน 3P
สามารถเติมเต็มสิ่งที่พวกเขาต้องการได้อย่างเต็มที่
เหตุผลที่เนเธอร์แลนด์เลือกใช้งาน
Marlin
40 เพราะต้องการยิงเป้าหมายผิวน้ำและชายฝั่งเป็นหลัก
กระสุนธรรมดาราคาประหยัดเหมาะสมมากที่สุด
บังเอิญ
Bofors
40mm Mk4 ใช้กระสุนธรรมดาได้เหมือนกัน
ไม่มีเหตุผลที่ต้องเปลี่ยนรุ่นปืนกล 40 มม.แม้สักนิดเดียว ไม่ทราบเหมือนกันว่ากองทัพเรือเนเธอร์แลนด์คิดอะไรในใจ
3.เนเธอร์แลนด์นำเรดาร์/ออปโทรนิกส์ควบคุมการยิง Pharos มาใช้งานร่วมกับปืนใหญ่ OTO 76/62 Sovraponte
แต่ดันนำมาด้านหลังปืนกลอัตโนมัติ Marlin 40
หลังคาสะพานเดินยังมีพื้นที่ว่างทำไมไม่โยกไปตรงนั้น
เป็นดีไซน์การออกแบบที่แปลกประหลาดจนผู้เขียนหาคำตอบให้ตัวเองไม่ได้
สังเกตนะครับว่าฝั่งขวาของ
Pharos ติดตั้งกล้องโทรทัศน์ กล้องตรวจจับความร้อน
และเลเซอร์วัดระยะเพิ่มเติมเข้ามา เขาใจว่าเป็นรุ่น Full Option สามารถทำอะไรได้เยอะกว่าเดิม เรือฟริเกต ASWF
คือเรือลำแรกที่ได้ใช้งาน Pharos
อินเดียผู้เขียนเคยเห็นข่าวแต่ก็เป็นแค่เพียงข่าว ส่วนกรีซมีการคาดเดากับเรือฟริเกต
FDI อยู่เหมือนกัน
เพียงแต่ไม่ใช่เรื่องจริงผู้เขียนทำได้เพียงให้กำลังใจคนคาดเดา
4.ปืนกลอัตโนมัติ Marlin 40 กระบอกที่สองตำแหน่งติดตั้งไม่ดีเลย
อยู่ใกล้เรดาร์ตรวจการณ์ 4 มิติมากเกินไป
และอาจถูกความร้อนจากไอพ่น RAM Block 2 สร้างความเสียหายต่อป้อมปืน
ทว่ายังพอเข้าใจได้ว่าไม่มีตำแหน่งอื่นเหมาะสมกว่านี้
สิ่งที่ผู้เขียนขุ่นข้องหมองใจมากที่สุดก็คือ ออปโทรนิกส์ควบคุมการยิง Mirador
ตัวที่สองอยู่ตรงไหน?
บทความ
M-frigate
replacement Program ขอตัดจบดื้อๆ แค่เพียงเท่านี้สวัสดีครับ
+++++++++++++++++++++++
อ้างอิงจาก
http://www.air-defense.net/forum/topic/10634-marine-belge-composante-marine/page/45/
http://shipbucket.com/forums/viewtopic.php?t=8397
http://www.shipbucket.com/forums/viewtopic.php?t=4685
https://defence.pk/pdf/threads/indodefence-2018-damen-unveils-6000-tons-omega-frigate.585693/
https://www.tweedekamer.nl/kamerstukken/brieven_regering/detail?id=2020Z12053&did=2020D25853
https://dedonder.belgium.be/nl/ministerraad-zet-licht-op-groen-voor-bouw-nieuwe-fregatten
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น