เรือหลวงถลาง เรือบังคับการกองเรือทุ่นระเบิด
เรือหลวงถลาง
(MCS-621)
เป็นเรือพี่เลี้ยงเรือกวาดทุ่นระเบิดน้ำตื้น
และสนับสนุนการส่งกำลังบำรุงเรือล่าทำลายทุ่นระเบิด
ทำหน้าที่คล้ายคลึงกับเรือหลวงรางเกวียน ซึ่งเป็นเรือญี่ปุ่นสร้างตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง
เรือลำนี้เคยเป็นกองบังคับการกองเรือทุ่นระเบิดตั้งแต่ปี 2496
เมื่อเรือหลวงรางเกวียนออกปฏิบัติราชการ
กองบังคับการจะย้ายไปเรือลำอื่นชั่วคราว จนกระทั่งปี 2513 กองบังคับการจึงย้ายขึ้นฝั่งมาอยู่ที่ราชนาวิกสภา
หมายความว่าลูกประดูไทยคุ้นเคยกับ Mission Module System ตั้งแต่
60 กว่าปีก่อนหน้านี้ ดูถูกกันไม่ได้เลยนะครับ J
เรือหลวงถลาง
ต่อโดยบริษัทอู่กรุงเทพ
จำกัด
โดยใช้แบบเรือบริษัท
FERROSTAAL
A-G MSSEN ประเทศเยอรมนี
ประจำการวันที่
25
มิถุนายน
2523
สังกัดหมวดเรือที่ 3
กองเรือทุ่นระเบิด
กองเรือยุทธการ
ร่วมกับเรือกวาดทุ่นระเบิดน้ำตื้นขนาดเล็ก
สามารถเป็นเรือบังคับการกองเรือทุ่นระเบิดได้
ให้การสนับสนุนการกวาดทุ่นระเบิดของหมู่เรือกวาดทุ่นระเบิดน้ำตื้น
รวมทั้งเป็นเรือสนับสนุนการส่งกำลังบำรุงให้กับเรือล่าทำลายทุ่นระเบิด
คุณลักษณะของเรือ
ระวางขับน้ำ ปกติ 916 ตัน เต็มที่ 1,095 ตัน
ยาว 55.70 เมตร
กว้าง 10.00 เมตร
กินน้ำลึก 3.10 เมตร
เครื่องยนต์ดีเซล
2
จำนวน เครื่อง เพลาใบจักร 2 เพลา
ความเร็วสูงสุด 12 นอต
ระยะปฏิบัติการไกลสุด 5,900 ไมล์ ที่ 10 นอต
กำลังพล 67 นาย
ระบบอาวุธและอุปกรณ์ต่างๆ
ปืนกลขนาด
40
มม.จำนวน 1 กระบอก
ปืนกลขนาด
20
มม.จำนวน 2 กระบอก
ปืนกล
12.7
มม.จำนวน 4 กระบอก
รางปล่อยทุ่นระเบิดท้ายเรือจำนวน
1
ราง
เรดาร์เดินเรือจำนวน
2
ตัว
โซนาร์กวาดทางข้าง (Side Scan Sonar) แบบเคลื่อนย้ายได้
เครื่องกวาดทุ่นระเบิดแบบอิทธิพลเสียง A Mk 4(v) และ A Mk 6(b)
เครนขนาดใหญ่จำนวน 2 ระบบ
ชมภาพท้ายเรือกันบ้างครับ
เห็นเครนขนาดใหญ่ค่อนข้างโดดเด่น ระหว่างเครนมีรางปล่อยทุ่นระเบิดจำนวน 1
ราง มีเรือเล็กจำนวน 2 ลำให้ลูกเรือได้พายงัดพายจ้ำ
มีอุปกรณ์เกี่ยวกับการกวาดทุ่นระเบิดเยอะแยะไปหมด รูปร่างเรือค่อนข้างเจ้าเนื้อสักเล็กน้อย
เน้นเรื่องพื้นที่ประโยชน์ใช้สอยมากกว่าความเร็ว
ออกแบบให้เหมาะสมกับทะเลบอลติคซึ่งค่อนข้างตื้น
เมื่อนำมาใช้งานในอ่าวไทยที่มีความใกล้เคียงกันมาก จึงสามารถทำภารกิจต่างๆ
ได้อย่างดีเยี่ยมและเหมาะสม
ส่วนภาพนี้เรือหลวงถลางจอดคู่กับเรือหลวงท่าดินแดง
ซึ่งเป็นเรือล่าทำลายทุ่นระเบิดใกล้ฝั่งทันสมัยที่สุดของไทย มีระวางขับน้ำสูงสุด
680 ตัน ยาว 52.50 เมตร จอดเทียบกันความยาวใกล้เคียงแต่ระวางขับน้ำต่างกัน
รูปทรงเรือไม่เหมือนกันตัวเรือใช้วัสดุต่างกัน
การออกปฏิบัติการกวาดทุ่นระเบิดในทะเล เรือหลวงท่าดินแดงจะได้รับความสนับสนุนจากเรือหลวงถลาง
ถึงไม่มีระบบโซนาร์ทันสมัย หรืออุปกรณ์ล่าทำลายทุ่นระเบิดรุ่นใหม่ แต่เป็นเรือที่จะขาดไม่ได้เลยในการรบจริง
เรือหลวงถลางเป็นเรือลำใหญ่สุดของกองเรือทุ่นระเบิด
ศัพท์ปัจจุบันเรียกว่าเรือสนับสนุนการต่อต้านทุ่นระเบิดหรือเรือ สตท. หรือ Mine Countermeasure Support Ship หรือ MCS เข้าประจำการมาแล้วถึง 39 ปีก็จริง แต่มีบางอย่างน่าสนใจติดตั้งมาด้วย สิ่งนั้นก็คือ Bulbous
Bow ที่เห็นเป็นแท่งยาวๆ แหลมๆ บริเวณหัวเรือทาสีแดงกันเพรียง ช่วยสร้างคลื่นเทียมลดความรุนแรงการกระแทกจากคลื่นหัวเรือ
ทำให้เรือแล่นได้เร็วกว่าเดิม กินน้ำมันน้อยลง รวมทั้งโคลงเคลงน้อยลง
แบบเดียวกับที่ติดตั้งบนเรือหลวงกระบี่ เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์
และเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดชนั่นแหละครับ
นี่คือเรือที่ผู้เขียนอยากวาดมากที่สุดลำหนึ่ง
(ในจำนวน 5 ลำมาจากกองเรือทุ่นระเบิด 3 ลำ)
แต่ไม่มีแปลนเรือ ไม่มีภาพเรือที่ชัดเจน รวมทั้งแทบไม่มีอะไร ทว่าสุดท้ายยังดิ้นรนวาดภาพสำเร็จ
ค่อนข้างภูมิใจมากเพราะสวยกว่าที่คาดหมาย เรือสนับสนุนการรบหรือเรือกวาดทุ่นระเบิดไม่ค่อยมีใครสนใจ
ประเทศอื่นก็มีภาพวาดจากกองเรือนี้ค่อนข้างน้อย ที่ชื่นชอบเพราะเป็นแบบเรือเยอรมันตะวันตกจากยุคสงครามเย็น
มีความเกี่ยวพันกับเรือราชนาวีไทยจำนวนหลายลำ
ย้อนกลับไปยังยุค
40-60 ปีก่อนหน้านี้ ตอนนั้นจีนยังต่อเรือเองไม่ได้
เกาหลีใต้และสิงคโปร์ก็เช่นกัน เรือรบและเรือช่วยรบส่วนใหญ่ของเรามาจากอเมริกา ครั้นเมื่อเราอยากได้เรือช่วยรบใหม่เอี่ยม
รวมทั้งต้องการซื้อแบบเรือมาสร้างเองในประเทศ จึงหันมามองแบบเรือจากประเทศเยอรมันตะวันตก
สุดท้ายเกิดโครงการสำคัญสี่ทหารเสือในท้ายที่สุด
จากภาพประกอบไปด้วย
-เรือหลวงจันทร 811
ซึ่งเป็นเรือสำรวจแผนที่สร้างโดยอู่ต่อเรือ Luersen ประเทศเยอรมัน
-เรือหลวงถลาง
621
สร้างโดยอู่ต่อเรือกรุงเทพใช้แบบเรือเยอรมัน
-เรือหลวงศุกร์
812 เรือสำรวจสมุทรศาตร์ ต่อโดยอู่ต่อเรือกรุงเทพ ใช้งบประมาณจากสภาวิจัยแห่งชาติ
-เรือหลวงสุริยะ
821 เรือใช้งานเครื่องหมายทางทะเล
หรือเรือวางทุ่นบอกตำแหน่งร่องน้ำ ต่อโดยอู่ต่อเรือกรุงเทพ
เรือทั้ง
4
ลำมีหน้าที่แตกต่างกัน แต่มีรูปทรงใกล้เคียงกันโดยเฉพาะ 3 ลำสุดท้าย เรือหลวงศุกร์ไม่มีข้อมูลว่าใช้แบบเรือไหน ทว่าเหมือนนำเรือหลวงถลางมาขยายใหญ่กว่าเดิม
ส่วนเรือหลวงสุริยะหัวเรือไม่เหมือนชาวบ้านก็จริง บังเอิญสะพานเดินเรือเหมือนเรือหลวงถลางอย่างแรง
ส่วนอื่นของเรือก็คล้ายคลึงกันราวกับฝาแฝด ผู้เขียนขอมั่วนิ่มเอาเองว่า…เรือทั้ง 4 ลำใช้แบบเรือหรือปรับปรุงจากแบบเรือเยอรมัน
ยุคสมัยที่เราต้องการสร้างเรือช่วยรบเองภายในประเทศ
ทราบรายละเอียดและเบื้องหลังกันไปหมดแล้ว
ต่อไปนี้มาชมผลงานการปฏิบัติภารกิจ เรือหลวงถลางเป็นเรืออเนกประสงค์มากที่สุดลำหนึ่ง
นอกจากสนับสนุนปฏิบัติการการสงครามทุ่นระเบิด
ยังเป็นหมู่เรือรักษาการณ์วังไกลกังวล
เป็นเรือฝึกนายทหารนักเรียนร่วมกับเรือลำอื่น
รวมทั้งให้การช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยด้วย
นี่คือภาพถ่ายการฝึกภาคองค์บุคคลและยุทธวิธีกองเรือทุ่นระเบิดประจำปี
2560 เพื่อทบทวนและเพิ่มพูนความรู้ความชำนาญ
ประสบการณ์
แก่องค์บุคคลประจำเรือ เห็นเรือหลวงถลางแล่นคู่เรือหลวงท่าดินแดงเจ้าเดิม แบกอุปกรณ์จริงสำหรับฝึกจริงกันจนหลังแอ่น
ไม่ไกลจากฝั่งเท่าไรภายในเขตพื้นที่ยุทธศาสตร์
บางปีอาจทดสอบทำลายทุ่นระเบิดด้วยยานใต้น้ำ เพียงแต่ปริมาณไม่มากนักเพราะอุปกรณ์ราคาแพง
ส่วนภาพนี้มาจากการฝึกปฏิบัติการสงครามทุ่นระเบิด
(MINEX)
ในการฝึกผสม COBRA GOLD 1982 เรือหลวงถลางพร้อมอุปกรณ์จำนวนล้นลำ
กำลังใช้เครนยกทุ่นระเบิดด้วยความระมัดระวัง เจ้าหน้าที่ควบคุมเครนใช้เพียง 1
นายนะครับ ส่วนอีก 2 นายนั่งเป็นกำลังใจให้เพื่อน
มองทางขวามือจะพบเรือกวาดทุ่นระเบิดชั้น MSC-294
เราได้รับโอนจากอเมริกาจำนวน 4 ลำ ประกอบไปด้วย
เรือหลวงลาดหญ้า เรือหลวงท่าดินแดง เรือหลวงบางแก้ว และเรือหลวงดอนเจดีย์
เรือที่จอดอยู่ข้างกันและเรือที่เห็นเป็นเงาดำจากระยะไกล เป็นเรือ 2 ใน 4 ลำที่ว่ามานั่นแหละครับ
เรือหลวงถลางเข้าร่วมการฝึก
COBRA
GOLD บ่อยครั้ง เป็นมือวางอันดับหนึ่งถูกคัดเลือกเป็นลำแรก อาทิเช่นในปี
2004 เรือหลวงถลางเข้าฝึกร่วมกับเรือหลวงหนองสาหร่าย
เรือหลวงบางระจัน ซึ่งเป็นเรือกวาดทุ่นระเบิดชั้น M48 มือหนึ่งจากเยอรมัน
รวมทั้งเรือกวาดทุ่นระเบิดน้ำตื้นขนาดเล็กอีกจำนวนหนึ่ง
ภารกิจอื่นๆ ของเรือประกอบไปด้วย
-วันที่
18 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 20 มีนาคม 2555 เรือหลวงถลางร่วมการฝึกภาคปฏิบัติทางใช้การในทะเลของนักเรียนจ่าทหารเรือ
ร่วมกับเรือหลวงสิมิลัน เรือหลวงสุรินทร์ และเรือหลวงคีรีรัฐ
-วันที่
1 ถึง 31 ธันวาคม 2555 เรือหลวงถลางเข้าร่วมหมู่เรือรักษาการณ์วังไกลกังวล ร่วมกับเรือหลวงตากสิน
เรือหลวงทองหลาง เรือ ต.991 เรือ ต.213 และชุดปฏิบัติการพิเศษหน่วยสงครามพิเศษทางเรือ
-วันที่
20 กันยายน 2555 มีการทำบุญเรือหลวงถลางเข้าประจำการครบ
32 ปี และเปิดให้เรือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่
ประชาชนเข้าชมฟรีทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ ตั้งแต่เวลา 09:00-18:00 น.ที่ท่าเทียบเรือ กองเรือทุ่นระเบิด กองเรือยุทธการ ตำบลแหลมฟ้าผ่า
อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ บรรยากาศประมาณภาพนี้เลยครับ
ในภาพเป็นวันเด็กจึงมีแต่เด็กไม่มีผู้ใหญ่
เจ้าหน้ากำลังสาธิตการใช้งานปืนกลขนาด 12.7 มม.เหนือสะพานเดิน ที่เห็นลิบๆ เป็นปืนกลขนาด 20 มม.กลางเรือ และมีปืนกล 12.7 มม.ท้ายเรือเลยเรือเล็กเพิ่มเติมเข้ามา
เมื่อรวมกับปืนกล 40 มม.หัวเรือซึ่งเป็นปืนหลัก
เท่ากับเรือลำนี้ติดปืนมากถึง 7 กระบอก ไม่แน่ใจว่าประชาชนมาเยี่ยมชมมากน้อยแค่ไหน
คิดว่าพอสมควรแม้ไม่เทียบเท่าเรือหลวงจักรีนฤเบศรก็ตาม แต่อยู่ใกล้กรุงเทพมากกว่าใช้เวลาเดินทางนิดเดียว
ภารกิจนอกเหนือจากนี้ก็มีเช่นกัน
อาทิเช่นการทดสอบทุ่นระเบิดปราบเรือดำน้ำล่องหนในปี 2560
เป็นการทดสอบครั้งแรกยังทาสีไม่สวยงามสักเท่าไร
ในภาพจะเห็นรางปล่อยทุ่นระเบิดชัดเจนมาก ค่อนข้างสั้นจึงใส่ทุ่นระเบิดได้หลักหน่วยเหมาะสมกับการฝึกหรือการทดสอบทุ่นระเบิด
ไม่เหมาะสมกับภารกิจวางทุ่นระเบิดจริงเพราะบรรทุกได้น้อย
มาที่เรื่องน่าภาคภูมิใจของเรือลำนี้บ้าง
พิธีสวนสนามทางเรือนานาชาติ (The 50th
Anniversary of ASEAN’s International Fleet Review 2017 : ASEAN
IFR 2017) เป็นการจัดสวนสนามทางเรือ โดยกองทัพเรือประเทศสมาชิกอาเซียนร่วมเป็นเจ้าภาพ
และเชิญกองทัพเรือมิตรประเทศนอกอาเซียน ร่วมสวนสนามทางเรือฉลองครบรอบ 50 ปีการก่อตั้งอาเซียน
เรือหลวงถลางถูกกำหนดให้เป็นเรือประธาน ร่วมกับเรือเรือกองทัพเรือ เรือประเทศสมาชิกอาเซียน
และเรือกองทัพเรือประเทศนอกอาเซียนร่วม 50 ลำ อากาศยานของกองทัพเรือและกองทัพอากาศอีก
20 เครื่อง ในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2560 ณ บริเวณอ่าวพัทยา เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี
ภายในงานนี้มีกิจกรรมประกอบไปด้วย
-การสวนสนามทางเรือนานาชาติ
-การฝึกผสมแบบพหุภาคีของกองทัพเรือประเทศสมาชิกอาเซียน
-การประชุมผู้บัญชาการทหารเรืออาเซียน
ครั้งที่ 11
-กิจกรรมการสาธิตการปฏิบัติการทางเรือ
-
กิจกรรมการเดินพาเหรดทางบก
-กิจกรรมทางบก
วันจัดงานฝนตกหนักจนมีน้ำท่วมขังตัวเมืองพัทยา
ขบวนพาเหรดต้องลุยน้ำท่วมกันจริงๆ แบบทหารเรือ
ผู้เขียนดีใจมากที่ผู้จัดงานเลือกเรือหลวงถลาง
อยากเห็นของจริงกับตาตัวเองแต่จนด้วยเกล้า ไม่ทราบว่าผู้อ่านท่านใดได้เห็นของจริงบ้าง
ถ้ามีภาพถ่ายมาอวดอย่างมัวชักช้าโปรดยอมมอบตัว
อายุของเรือปาเข้าไป
39
ปีกว่าแล้ว ค่อนข้างล้าสมัยและใกล้ถึงเวลาปลดประจำการ กองทัพเรือมีแผนจัดหาเรือสนับสนุนการต่อต้านทุ่นระเบิดลำใหม่เข้ามาทดแทน
มีการตั้งโครงการนี้ขึ้นในปี 2560 และมีแบบเรือเสนอเข้ามาจำนวน 3 บริษัทด้วยกัน ที่มีการเปิดเผยก็คือแบบเรือ Venari-85 รุ่นปรับปรุงจากประเทศอังกฤษ กับแบบเรือ OPV-2400 รุ่นปรับปรุงจากประเทศเนเธอร์แลนด์
กองเรือทุ่นระเบิดต้องการเรือหน้าตาประมาณนี้ครับ
ผู้เขียนเคยเขียนถึงเรื่องนี้เมื่อนานมาแล้ว
อ่านทบทวนรายละเอียดทั้งหมดนี้ได้เลยครับ
เรือลำใหญ่กว่าเดิม
มีลานจอดเฮลิคอปเตอร์ท้ายเรือ ติดตั้งปืนใหญ่ 76/62 พร้อมระบบควบคุมการยิง ทำภารกิจต่อต้านทุ่นระเบิดโดยใช้ระบบ
Mission Module หรือขนทุ่นระเบิดจำนวนมากไปวางในพื้นที่จริง
แต่ยังไม่มียานผิวน้ำไร้คนขับปราบทุ่นระเบิด อุปกรณ์ราคาแพงและทันสมัยไปสักหน่อย ฉะนั้นจะยังไม่ได้เป็นยานแม่หรือ
Mother Ship ตัวจริง ไว้ในอนาคตอีก 10-15 ปีกองเรือทุ่นระเบิดพร้อมแล้วสำหรับเทคโนโลยีใหม่ ตอนนั้นอาจมีการปรับปรุงเรือให้รองรับการใช้งาน
โชคร้ายที่โครงการนี้เงียบหายไปเสียแล้ว
เรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่กับเรือดำน้ำจีนมาแรงกว่า แรงเสียจนเรือฟริเกตสมรรถนะสูงลำที่สองยังต้องตกกระป๋อง
แล้วโครงการปลาซิวปลาสร้อยโครงการไหนจะต้านทานไหว
ขอจบวันเศร้าๆ ต้นฤดูหนาวแต่เพียงเท่านี้
ขนาด Black Perl ของกัปตันแจ็คยังฟื้นคืนชีพขึ้นมาได้
โครงการ Mine Countermeasure Support Ship ไฉนเลยจะสิ้นหวัง
ตามอ่านกันต่อในบทความหน้าสวัสดีครับ J
-------------------------------------------------------
อ้างอิงจาก
เฟซบุ๊คเรือหลวงถลาง
เฟซบุ๊คกองเรือทุ่นระเบิด
เฟซบุ๊ค Nation Photo
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น