หลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง
อังกฤษได้ขายหรือส่งมอบเรือรบและเรือช่วยรบตัวเองจำนวนหนึ่ง ให้กับประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อแบ่งเบาค่าใช้จ่ายจากจำนวนเรือที่มากเกินไป พม่าซึ่งในตอนนั้นอังกฤษยังคงมีอิทธิพลค่อนข้างสูง
ได้จัดหาทั้งเรือรบและเรือช่วยรบเข้ามาใช้งานเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นฟริเกตชั้น River จำนวน 1 ลำ หรือเรือกวาดทุ่นระเบิดขนาดใหญ่ชั้น Algerine จำนวน
1 ลำ
เรือกวาดทุ่นระเบิดลำที่ว่าก็คือ UMS YAN MYO AUNG ซึ่งในอดีตเคยชื่อว่าเรือ J380
HMS Mariner เรือสร้างเสร็จในปี 1945 ที่เมืองโตรอนโตประเทศแคนาดาโน่นแหละครับ ก่อนเข้าประจำการกองทัพเรือพม่าในปี 1948 ทำหน้าที่ทั้งเรือกวาดทุ่นระเบิดและเรือตรวจการณ์ไปพร้อมกัน
จนกระทั่งถึงปี 1982 พม่าจึงได้ปลดประจำการ
คุณสมบัติทั่วไปของเรือมีดังนี้
ยาว:
69 เมตร
กว้าง:
10.82 เมตร
กินน้ำลึก:
2.59 เมตร
ระบบขับเคลื่อน
: Geared turbines, 2
shafts หรือ Reciprocating engines, 2 shafts, 2,000 shp
(1,500 kW)
ความเร็วสูงสุด:
16.5 นอต
ลูกเรือ:
85
ระยะปฏิบัติการณ์ไกลสุด:
5,000 ไมล์ทะเลที่ความเร็ว
10 นอต
เรดาร์
:Type 144 (ต่อมาได้ติดตั้งเรดาร์เดินเรือ Decca 202 เพิ่มเติม)
ปืนใหญ่
QF 102/45 มม.จำนวน 1 กระบอก
ปืนกล
Bofors 40L60 จำนวน 3 กระบอก
แท่นปล่อยระเบิดลึกจำนวน 2 ระบบ
แท่นยิงระเบิดลึกจำนวน
4 ระบบ
อุปกรณ์ในการกวาดและทำลายทุ่นระเบิดที่ท้ายเรือ
ประเทศไทยก็มีเรือกวาดทุ่นระเบิดชั้น Algerine จำนวน 1 ลำเช่นกัน เรือชื่อ J445 HMS Minstrel สร้างเสร็จในปี 1944
ก่อนขายต่อให้กับราชนาวีไทยในปี 1947 (อายุใช้งาน
3 ปีเท่ากัน) ทั้งนี้เพื่อมานำกวาดทุ่นระเบิดจำนวนมหาศาล
ที่ฝ่ายสัมพันธมิตรแอบเข้ามาทิ้งในอ่าวไทยระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ตอนนั้นเราอยู่ฝ่ายญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการก็เลยซวยไป ส่วนอย่างไม่เป็นทางการก็อย่างที่รู้กันเรื่องเสรีไทย
ภาพถ่ายของเรือ J445 HMS Minstrel ในปี 1946 กับเรือหลวงโพธิ์สามต้นในปี 1969 หาค่อนข้างยากมากนะครับ
เรือหลวงโพธิ์สามต้นรูปร่างหน้าตาเหมือนกับเรือพม่าถึง 95 เปอร์เซ็นต์ จุดที่แตกต่างคือเรือเราติดเรดาร์ตรวจการณ์ Type 271 รวมทั้งติดปืนกล Bofors
40L60 เพียง 1 กระบอกที่ท้ายเรือ เนื่องจากสะพานเดินเรือมีระเบียงขนาดเล็กกว่ากันครึ่งหนึ่ง จำเป็นต้องติดปืนกลขนาด 20 มม.เข้ามาแทนที่
สมัยนั้นเรือมีจำนวนมากเพราะอยู่ในช่วงสงคราม รูปแบบเรือแต่ล่ะลำจึงมีความแตกต่างกันอยู่บ้างก็ว่ากันไป
ในปี 1953 มีการสวนสนามทางเรือในพิธี
Coronation Review ของอังกฤษ
เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองในพิธีพระบรมราชาภิเษกสมเด็จพระนางเจ้าอลิซาเบธที่ 2
ซึ่งรัฐบาลไทยได้ส่งเรือหลวงโพสามต้นเข้าร่วมพิธี
ทั้งนี้ได้ส่งนักเรียนนายเรือร่วมเดินทางไปด้วย เพื่อฝึกภาคต่างประเทศไปพร้อมกัน
โดยได้เดินทางออกจากประเทศไทยเมื่อวันที่ 4 เมษายน 1953
ร่วม ในพิธีเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 1953
และได้เดินทางกลับถึงประเทศไทยเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม
1953 นักเรียนนายเรือรุ่นนี้
เมื่อจบการศึกษาจากโรงเรียนนายเรือได้รับสมญาว่า รุ่น Coronation เรือของเราอยู่ในสี่เหลี่ยมสีแดงที่ทา่านจูดาสวาดไว้นั่นแหละครับ
เพราะเรือลำนี้มีขนาดค่อนข้างใหญ่โต
ติดอาวุธครบครันและสามารถออกทะเลลึกได้ เมื่อราชนาวีไทยประสบปัญหาเรื่องการเมืองเข้าอย่างจัง
จนไม่สามารถซื้อเรือใหม่เข้ามาทดแทนของเดิม
เรือหลวงโพธิ์สามต้นจึงได้ถูกปรับปรุงครั้งใหญ่
โดยเปลี่ยนมาใช้งานเรดาร์เดินเรือรุ่นใหม่ ติดปืนใหญ่ขนาด 3 นิ้วเป็นอาวุธหลัก
ถอดระบบกวาดทุ่นระเบิดท้ายเรือออกไปทั้งหมด ติดปืนกล 20 มม.เพิ่มเติมอีก
2 กระบอก แล้วสร้าง Superstrure ด้านท้ายเรือเพิ่มเติมเข้ามาด้วย
เป็นพื้นที่สำหรับลูกเรือและแขกผู้มาเยี่ยมเยือน
ก่อนโอนมาอยู่กองเรือฟริเกตเป็นการแก้ปัญหาขัดตาทัพ
มีการเปลี่ยนหมายเลขเรือเป็น FF415 ในเวลาต่อมา
ทำหน้าที่เป็นเรือฟริเกตอยู่นานหลายปี จนกระทั่งมีการจัดหาเรือฟริเกตแท้ๆ
เข้ามาเพิ่มเติมจำนวนหนึ่ง
เรือหลวงโพธิ์สามต้นจึงถูกโอนกลับมาอยู่กองเรือกวาดทุ่นระเบิด
ก่อนย้ายไปทำหน้าที่เรือฝึกทหารใหม่ในช่วงบั้นปลาย เรือปลดประจำการประมาณปี 2008-2011
ปัจจุบันเรือหลวงโพธิ์สามต้นจอดอยู่ที่จังหวัดจันทบุรี
ในสภาพค่อนข้างทรุดโทรมจนผู้เขียนไม่กล้าลงภาพถ่าย
เพราะผู้ที่ขอเรือไปไม่ได้นำงบประมาณมาซ่อมแซมให้เป็นพิพิธภัณฑ์
นี่คือหนึ่งในกรณีศึกษาการมอบเรือรบให้กับเอกชนทั้งหลาย ซึ่งกองทัพเรือต้องระมัดระวังและตรวจสอบให้ละเอียดมากที่สุด
ผู้เขียนได้ข่าวมาว่า….กองทัพเรือได้อนุมัติงบประมาณจำนวนหนึ่งให้ปรับปรุงเรือ
เพื่อจัดสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์ลอยน้ำ ‘พระศรีสรรเพชญ์’ ซึ่งเป็นพระนามแรกของ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช งานนี้ต้องรอดูกันต่อไปล่ะครับว่า
ท้ายที่สุดจะลงเอยแบบไหนกันแน่ บทความนี้สั้นๆ ห้วนๆ แค่นะครับ
พอดีผู้เขียนไม่ค่อยสบายแต่นึกอยากเขียนก็เลยเขียน ;)
อ้างอิงจาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น