กองทัพเรือแอฟริกาใต้มีจุดกำเนิดย้อนกลับไปในปี 1861 เมื่อมีการจัดตั้งหน่วยทหารเรืออาสาขึ้นมาครั้งแรกที่
Port Elizabeth ซึ่งในเวลานั้นยังเป็นประเทศในเครือจักรภพ
แอฟริกาใต้ได้รับอิสรภาพจากสหราชอาณาจักรในปี 1931 และล้มลุกคลุกคลานจากปัญหาภายในประเทศอยู่ 30 ปีเต็มๆ จนรวมชาติได้สำเร็จและก่อตั้งเป็นสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ขึ้นในวันที่
31พฤษภาคม 1961
หลังสงครามโลกครั้งที่สองกองทัพเรือแอฟริกาใต้ประสบปัญหาใหญ่เหมือนกับหลายประเทศ คืออยู่ในสภาพเศรษกิจตกต่ำอย่างรุนแรงไม่สามารถซื้ออาวุธใหม่ได้ ต้องใช้วิธีซื้อเรือรบมือสองที่ปลดประจำการแล้วจากกองทัพเรืออังกฤษมาใช้งานไปก่อน
วันเวลาผ่านมาเข้าสู่ทศวรรษ 60 เมื่อเศรษกิจดีขึ้นและความขัดแย้งภายในประเทศจางลง จึงได้ริเริ่มโครงการจัดหาเรือรบรุ่นใหม่เข้ามาประจำการ
ในปี 1964ได้มีการจัดหาเรือฟริเกตชั้น President ซึ่งก็คือเรือฟริเกต Type
12M ของอังกฤษเข้าประจำการจำนวน 3 ลำ ต่อมาในปี 1970 จัดหาเรือดำน้ำชั้น Daphné จำนวน 3 ลำจากประเทศฝรั่งเศส และปี 1977 จัดหาเรือเร็วโจมตีอาวุธนำวิถีชั้น Warrior หรือ
Sa'ar 4 จากอิสราเอลจำนวน 9 ลำ แอฟริกาใต้ยังได้สั่งซื้อเรือคอร์เวตชั้น A69 จากฝรั่งเศสในปี 1976 อีกจำนวน 2 ลำ ซึ่งจัดว่าเป็นเรือรุ่นใหม่ทันสมัยที่สุดติดอาวุธครบทั้ง 3 มิติ และโครงการสุดท้ายก็คือการสั่งซื้อเรือดำน้ำรุ่นใหม่ชั้น Agosta จากประเทศฝรั่งเศสจำนวน 2 ลำ
โชคร้ายในปี 1977 นโยบายการแบ่งแยกสีผิวได้สร้างปัญหาใหญ่ให้กับประเทศ
เมื่อสหประชาชาติมีมติคว่ำบาตรสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ทั้งทางเศรษกิจ, สังคม,กีฬา,
รวมถึงห้ามซื้อขายอาวุธใหม่ หนึ่งในรายชื่อที่โดนคว่ำบาตรคือเรือคอร์เวต A69 ทั้ง 2 ลำที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ทำให้บริษัทผู้ต่อเรือต้องหาลูกค้ารายใหม่และอาเจนติน่าก็คือผู้โชคร้าย ฝ่ายเรือดำน้ำ Agosta ก็ประสบชะตากรรมเช่นเดียวกันและปากีสถานคือผู้โชคดี จะเห็นได้ว่าฝรั่งเศสมีดวงในเรื่องพวกนี้มาแต่ไหนแต่ไรแล้ว พวกเขาจึงไม่ค่อยกังวลใจเท่าไหร่กับดีลเรือรัสเซียที่โดนแบนแบบเดียวกัน
และนั่นก็คือปัญหาหนักอกชิ้นสำคัญของกองทัพเรือแอฟริกาใต้
พวกเขาต้องประสบปัญหาไม่มีเรือรบขนาดใหญ่ใช้งานโดยไม่รู้ระยะเวลาที่แน่ชัด เคราะห์ซ้ำกรรมซัดยังโถมเข้ามาซ้ำเติมไม่หยุดหย่อน
ในปี 1982 เรือฟริเกต SAS President Kruger ซึ่งเป็นเรือ 1 ใน 2 ลำที่ยังประจำการอยู่ ประสบอุบัติเหตุชนเข้ากับเรือบรรทุกน้ำมันขนาด 18,000 ตันของแอฟริกาใต้เอง เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้มีผู้สูญหาย 16 คนและเสียเรือรบไป 1 ลำ
เมื่อเรือฟริเกตลำสุดท้ายปลดประจำการในปี 1986 กองทัพเรือเหลือแค่เพียงเรือตรวจการณ์ขนาด 450 ตันในการป้องกันประเทศ
ในระหว่างที่ถูกคว่ำบาตรอยู่นั้น กองทัพเรือแอฟริกาใต้มีความพยายามจัดหาเรือรบใหม่หลายครั้งด้วยกัน อาทิเช่นโครงการจัดหาเรือคอร์เวตชั้น Baptista de Andrade ของโปรตุเกสที่ต่อโดยอู่ต่อเรือ BAZAN ประเทศสเปนในช่วงปลายทศวรรษ 70 โครงการจัดหาเรือดำน้ำ Type
209 จากเยอรมันในช่วงปลายทศวรรษ 80 รวมทั้งโครงการพัฒนาเรือคอร์เวตขนาด 1,500 ตันและต่อเองในประเทศโดยอิงจากแบบเรือ Meko140 ของเยอรมัน
แต่โครงการทั้งหมดไม่ประสบความสำเร็จแม้แต่น้อยเนื่องจากโดนบล๊อกในทุกด้าน
ต่อมาใน ปี 1994 สหประชาชาติมีมติยกเลิกการคว่ำบาตรสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ทั้งนี้เนื่องมาจากเนลสัน
แมนเดลาได้รับการเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดีและได้ยกเลิกนโยบายการแบ่งแยกสีผิว
ในปีเดียวกันนั้นเองกองทัพเรือแอฟริกาเริ่มต้นโครงการจัดหาเรือคอร์เวตรุ่นใหม่ทันที
พวกเขาได้มีการจัดเตรียมข้อมูลและความพร้อมต่างๆมาได้ระยะหนึ่งแล้ว มีอู่ต่อเรือจาก 5 ประเทศส่งแบบเรือเข้าร่วมเพื่อได้สัญญาต่อเรือรบจำนวน 4 ลำภายใต้โครงการชื่อ Project Sitron
การแข่งขันดำเนินไปอย่างรวดเร็วและเข้มข้นมีการตัดชื่อผู้ตกรอบออกไปทีละรายทีละราย
จนกระทั่งถึงเดือนธันวาคม 1994 พวกเขาก็ได้2แบบเรือสุดท้ายเข้ารอบตัดเชือกหาผู้ชนะเลิศ แบบเรือF592จากอู่ต่อเรือ BAZAN ประเทศสเปนได้รับคะแนนมากที่สุด
ทำให้แบบเรือ F3000 จากอู่ต่อเรือ Yarrow ประเทศอังกฤษต้องพบกับความผิดหวัง
แต่แล้วโครงการนี้ก็มีเรื่องดราม่าเกิดขึ้น
เมื่อรองประธานาธิบดี Thabo Mbekiได้เดินทางไปเยือนเยอรมันอย่างเป็นทางการในเดือนมกราคม 1995
ระหว่างที่อยู่ในเยอรมันเขาได้ประกาศกับสื่อมวลชนว่าโครงการจัดหาเรือคอร์เวตยังไม่มีผู้ชนะและยังคงทำการเดินหน้าต่อไป
นั่นหมายถึงอู่ต่อเรือจากเยอรมันและประเทศที่เคยถูกตัดชื่อออกจะได้รับโอกาสอีกครั้งหนึ่ง
หลังสิ้นสุดโครงการมีเสียงครหาจากสื่อมวลชนเรื่องความไม่โปร่งใสของบริษัทจากเยอรมัน
แต่ก็เป็นแค่ข้อกล่าวหาเพราะไม่มีหลักฐานอะไรมากกว่านี้ Project Sitron หยุดลงเป็นการชั่วคราวหลังจากนั้นไม่นานด้วยเหตุผลที่ผู้เขียนจะกล่าวถึงในลำดับต่อไป
กองทัพเรือแอฟริกาใต้ระบุคุณสมบัติเรือไว้อย่างชัดเจน
ต้องเป็นเรือที่ต่อด้วยมาตราฐานเรือรบระวางขับน้ำประมาณ 2,500 ตันขึ้นไป
มีลานจอดและโรงเก็บรองรับเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำรุ่นใหม่ ใช้ระบบขับเคลื่อนแบบ CODAG (Combined diesel and gas) สามารถทำความเร็วสุงสุดได้มากกว่า
27 น๊อต อู่ต่อเรือจะก่อสร้างเฉพาะตัวเรือและติดอุปกรณ์เพียงแค่บางส่วน
จากนั้นจึงเดินทางกลับมาติดระบบอาวุธและระบบเรดาร์ต่างๆในแอฟริกาใต้อีกที
ผู้เขียนมีภาพวาดเรือที่เข้ารอบชิงทั้ง 2 ลำในโครงการนี้มาแสดงให้ได้ชมกันครับ
GEC Marine F3000 : เป็นแบบเรือจาก Yarrow
มีพื้นฐานมาจากเรือฟริเกตชั้นLekiu ของมาเลเซียซึ่งก็คือแบบเรือ F2000 นั่นเอง
แต่การออกแบบสะพานเดินเรือและเสากระโดงหลักคล้ายคลึงกับเรือคอร์เวตชั้น Nakhoda
Ragam ของบรูไนอีก
อุปกรณ์หลักๆที่ติดตั้งบนเรือได้แก่
ปืนใหญ่ Oto melara 76/62 มม.จำนวน 2 กระบอก
ปืนกลต่อสู้อากาศยาน
Denel 35มม.ลำกล้องคู่จำนวน 1 กระบอก
จรวดต่อสู้เรือรบ
Skerpioen (หรือGabriel Mk 2) จำนวน 8 นัด
ตอร์ปิโดปราบเรือดำน้ำ 324 มม.แฝดสาม จำนวน 2 แท่นยิง
ปืนกล 12.7 มม.ควบคุมด้วยรีโมทจำนวน 2 ระบบ
เรดาร์หลัก Thales MRR-3D NG
Surveillance Radar จำนวน 1 ระบบ
เรดาร์เดินเรือจำนวน 1 ระบบ
เรดาร์ควบคุมการยิง
Reutech RTS 6400 จำนวน 3 ระบบ สำหรับจรวด Skerpioen
1 ระบบ และอาวุธปืนจำนวน 2 ระบบ
ระบบเป้าลวง Super Barricade จำนวน 2-4 ระบบ
โครงการเรือคอร์เวตต้องหยุดชะงักไปเกือบ 2 ปีครึ่ง ต่อมาในเดือนกันยายน 1997 สาธารณรัฐแอฟริกาใต้เริ่มต้นโครงการจัดหาอาวุธที่ใหญ่โตที่สุดและซับซ้อนมากที่สุดเท่าที่ประเทศเคยมีมา
The Strategic Defence Package มีมูลค่ารวม 4.8 พันล้านเหรียญ เกิดขึ้นมาสำหรับจัดหาอาวุธทันสมัยให้กับทุกเหล่าทัพ
ในส่วนกองทัพเรือประกอบไปด้วยเรือคอร์เวตจำนวน 4 ลำ เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ 4 ลำ และเรือดำน้ำโจมตี 3 ลำ
กองทัพอากาศจัดหาเครื่องบินฝึกขั้นสุง 24 ลำ เครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ 28 ลำ และเฮลิคอปเตอร์อีกจำนวน 48 ลำ
ส่วนกองทัพบกมีการจัดหารถถังหลักเข้าประการจำนวน 108 คัน ซึ่งจะทำให้กองทัพของแอฟริกาใต้แข็งแกร่งมากขึ้น และมีความทันสมัยมากขึ้นในทุก ๆ ด้าน
Project Sitron
มีการเปลี่ยนคุณสมบัติของเรือให้ดีขึ้นกว่าเดิม โดยต้องมีระวางขับน้ำ 3,000 ตันขึ้นไป ขณะเดียวกันมีการเปลี่ยนแปลงระบบอาวุธพอสมควร
จรวดต่อสู้เรือรบ Skerpioen ถูกยกเลิกเพราะค่อนข้างล้าสมัย รวมทั้งต้องใช้เรดาร์ควบคุมการยิงจนกว่าจะวิ่งถึงเป้าหมาย จรวด Exocet MM40 Block 2 ถูกเลือกให้มาทำหน้าที่แทน มีการถอดปืนใหญ่76/62มม.กระบอกที่สองออกไป ทดแทนด้วยจรวดต่อสู้อากาศยาน Umkhonto IR ระบบท่อยิงแนวดิ่ง
โดยกำหนดให้เรือมีความสามารถรองรับการใส่จรวดได้มากสุดถึง 32 นัด ส่วนปืนต่อสู้อากาศยาน Denel 35มม.ลำกล้องคู่ ถูกปรับปรุงให้มีความทันสมัยมากขึ้น จนมีประสิทธิภาพสูงพอที่จะเป็นระบบอาวุธป้องกันระยะประชิด หรือ CIWS อาจไม่ดีที่สุดก็จริงแต่น่าสนใจมากที่สุด เพราะเป็นระบบอาวุธทันสมัยที่แอฟริกาใต้พัฒนาขึ้นมาเอง
Project Siton RFI Value System (RFI :
Request for Information) เป็นการพิจารณาคุณสมบัติเรือในรอบแรก โครงการเริ่มต้นในวันที่
21 ตุลาคม 1997 มีบริษัทต่อเรือจำนวน 7 รายส่งแบบเรือของตนเองเข้าร่วมชิงชัย ทั้งที่กองทัพเรือแอฟริกาใต้ได้กำหนดคุณสมบัติเอาไว้อย่างชัดเจน
แต่ก็ยังมีกรณีแปลกให้ได้อ่านแล้วอมยิ้มกันด้วย
บริษัทจากแคนาดาไม่ได้ส่งแบบเรือคอร์เวต แต่กลายเป็นเรือตรวจการณ์ความยาว 55 เมตรและ 75 เมตรแทน
หลายบริษัทส่งแบบเรือใช้ระบบขับเคลื่อนไม่ตรงตามความต้องการ
แบบเรือพวกนี้ถูกตัดทิ้งออกไปทันที พร้อมกับแบบเรือที่คุณสมบัติขั้นต้นไม่ผ่าน บริษัท Fincantieri
FALCO จากอิตาลีส่งแบบเรือเข้าร่วมชิงชัยทั้ง 2 ครั้ง และตกรอบเป็นรายแรก ๆ ทั้ง 2 ครั้งเช่นกัน สาเหตุเป็นเพราะเพราะแบบเรือไม่ตรงตามความต้องการ
สรุปแล้วเหลือแค่ 5 แบบเรือจาก 4 ประเทศที่ได้เข้าร่วมในโครงการนี้ได้แก่
สรุปแล้วเหลือแค่ 5 แบบเรือจาก 4 ประเทศที่ได้เข้าร่วมในโครงการนี้ได้แก่
- DCN La Fayette
- GFC MEKO 200 SAN
- GFC MEKO A200 SAN
- GFC MEKO 200 SAN
- GFC MEKO A200 SAN
-Bazan
F590B
- GEC Marine F3000
- GEC Marine F3000
ผลการให้คะแนนในรอบแรก แบบเรือ
La Fayette จากฝรั่งเศสทำคะแนนได้ไม่ดีเอาเสียเลย
คุณสมบัติโดยรวมของเรืออยู่ในอันดับ 5
ราคารวมทั้งโครงการอยู่ในอันดับที่ 4
และคะแนนเฉลี่ยหล่นไปอยู่บ๊วยสุด ตามหลังแบบเรืออันดับ 4 จากอังกฤษ ที่มีคะแนนทรงตัวในทุก ๆ ด้าน แบบเรือจากเยอรมัน 2 แบบซึ่งได้คะแนนนำในข้อคุณสมบัติ และแบบเรือจากสเปนมีคะแนนเฉลี่ยเป็นผู้นำ นั่นก็เพราะผลพวงจากราคาเรือที่ตั้งไว้ต่ำกว่าทุกราย
ภาพCGแบบเรือ DCN La Fayette ในโครงการนี้
Project Siton RFO Value System (RFO :
Request for Orders) เป็นการพิจารณาคุณสมบัติเรือในรอบตัดสิน ได้เริ่มต้นในวันที่
11 พฤษภาคม 1998 ทุกบริษัทยังคงส่งแบบเรือเดิมเข้าร่วมชิงชัยยกเว้นก็เพียง DCN จากฝรั่งเศสที่มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม พวกเขาได้เสนอแบบเรือ Patrol
Corvette เพิ่มเตมเข้ามาอีก 1 แบบ
โดยมีพื้นฐานเดียวกันกับแบบเรือ La Fayette
แต่ทว่ามีขนาดใหญ่มากขึ้นนิดหน่อย และปรับปรุงหลายสิ่งหลายอย่างให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม ผลการคัดเลือกคุณสมบัติขั้นต้น แบบเรือ
La Fayette ถูกตัดทิ้งทันที เนื่องจากใช้ระบบขับเคลื่อนผิดไปจากความต้องการ ทั้งยังเสนอจำนวนเรือแค่เพียง 3 ลำเท่านั้น เหมือนจงใจทำให้ตกรอบเสียมากกว่า
แบบเรือที่เข้ารอบจำนวน 5 แบบเรือจาก 4 ประเทศที่ได้เข้ารอบชิงในโครงการนี้ได้แก่
แบบเรือที่เข้ารอบจำนวน 5 แบบเรือจาก 4 ประเทศที่ได้เข้ารอบชิงในโครงการนี้ได้แก่
- DCN Patrol Corvette CODAG
- GFC MEKO 200 SAN CODAG : เป็นแบบเรือเดียวกับที่ได้คะแนนอันดับหนึ่งในโครงการจัดหาเรือฟริเกตของชิลี แต่ไม่ได้รับการจัดซื้อแต่อย่างใดเพราะรัฐบาลชิลียกเลิกโครงการและหันไปซื้อเรือฟริเกตมือ2จากอังกฤษแทน และน่าจะเป็นแบบเรือเดียวกับที่เตรียมส่งในโครงการจัดหาเรือฟริเกตสมรรถนะสุงของไทย แต่ไม่ปรากฎชื่อในรอบสุดท้ายจึงไม่ชัดเจนว่าเยอรมันได้ยื่นข้อเสนอมาจริงหรือไม่
- GFC MEKO A200 SAN CODAG
- GFC MEKO 200 SAN CODAG : เป็นแบบเรือเดียวกับที่ได้คะแนนอันดับหนึ่งในโครงการจัดหาเรือฟริเกตของชิลี แต่ไม่ได้รับการจัดซื้อแต่อย่างใดเพราะรัฐบาลชิลียกเลิกโครงการและหันไปซื้อเรือฟริเกตมือ2จากอังกฤษแทน และน่าจะเป็นแบบเรือเดียวกับที่เตรียมส่งในโครงการจัดหาเรือฟริเกตสมรรถนะสุงของไทย แต่ไม่ปรากฎชื่อในรอบสุดท้ายจึงไม่ชัดเจนว่าเยอรมันได้ยื่นข้อเสนอมาจริงหรือไม่
- GFC MEKO A200 SAN CODAG
- Bazan F590B CODAG
- GEC Marine F3000 CODAG
- GEC Marine F3000 CODAG
ตารางระบบอาวุธและอุปกรณ์ต่างๆที่ติดตั้งบนเรือ
จะเห็นได้ว่ามีอุปกรณ์ที่ผลิตได้เองในประเทศอยู่หลายระบบด้วยกัน
ทำให้ราคารวมของโครงการนี้ไม่สุงมากเกินไป
ทั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่แอฟริกาใต้โดนคว่ำบาตรจนต้องพึ่งพาตัวเองอยู่ถึง 17 ปี ภาพต่อไปเป็นข้อมูลของแบบเรือทั้ง 5 แบบที่ได้เข้าชิงชัยในรอบสุดท้าย
ผลการตัดสินตามมาหลังจากกองทัพเรือและรัฐบาลแอฟริกาใต้ใช้เวลาพิจารณาอยู่นานพอสมควร
พวกเขาเลือกแบบเรือ German Frigate Consortium (GFC) Meko A 200 SAN จากเยอรมันที่ได้คะแนนด้านประสิทธิภาพดีที่สุด
แม้ว่าแบบเรือ Bazan F590B
จะได้คะแนนเฉลี่ยดีที่สุดแต่ในการเจรจามีปัญหาเล็กน้อย
การส่งมอบเรือทำได้ล่าช้ากว่ากำหนดไปหลายเดือนและความยืดหยุ่นทางด้านการเงินมีน้อยกว่ารายอื่น Project Sitron มีการเซ็นสัญญากันในวันที่ 3 ธันวาคม 1999 สัญญามีผลบังคับใช้ในวันที่ 28 เมษายน 2000 เรือคอร์เวตลำแรกสุด SAS
Amatola เดินทางมาถึงแอฟริกาใต้ในเดือนธันวาคม 2004 เรือลำที่2 SAS Isandhlwana มาในเดือนกุมภาพันธ์
2005 เรือลำที่ 3 SAS Spioenkop เดือนทางมาถึงในเดือนพฤษภาคม และเรือลำสุดท้าย SAS Mendi เดือนทางมาถึงในเดือนกันยายนปีเดียวกัน
จากในภาพจะเห็นได้ว่าเรือ SAS
Amatola เดินทางมาตัวเปล่ามีเพียงเรดาร์เดินเรือตัวเดียวเท่านั้น
อาวุธและอุปกรณ์ที่เหลือล้วนแล้วแต่ติดตั้งภายในประเทศ การจัดการประกวดแข่งขันและการดำงานทั้งหมดของแอฟริกาใต้ ค่อนข้างมีแบบแผนและตารางการทำงานอย่างชัดเจน
กระชับรัดกุมถูกต้องตามหลักการและตรงตามความต้องการ มีความโปร่งใสไม่หมกเม็ดและเปิดเผยข้อมูลส่วนใหญ่กับสาธารณะชน
เป็นแนวทางที่ควรศึกษาอย่างละเอียดมากที่สุด เพื่อนำมาประยุกต์ใช้งานกับประเทศไทยในอนาคต กับทุกโครงการจัดหาอาวุธของทุกเหล่าทัพโดยไม่จำเป็นต้องเป็นเรือรบ
จรวด
Umkhonto พัฒนาเสร็จสมบรูณ์และมีการยิงทดสอบในปี 2005 หลังจากได้รับเรือมาไม่กี่เดือน
จากในภาพจะเห็นว่าเรือสามารถรองรับได้มากสุดถึง 32 ท่อยิง
ในอนาคตข้างหน้าจะมีจรวด Umkhonto-R นำวิถีด้วยเรดาร์ระยะยิงประมาณ 60 กม.เพิ่มเข้ามาใช้งานอีก 1 รุ่น
อ้างอิงจาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น