Juan Carlos I จัดอยู่ในประเภทเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์และสนับสนุนการยกพลขึ้นบก Landing Helicopter Dock (LHD)ได้รับพระราชทานพระนามกษัตริย์สเปนองค์ปัจจุบันในการตั้งชื่อ เริ่มวางกระดูกเรือในเดือนพฤษภาคม2005(Laid down) ปล่อยลงน้ำในวันที่10มีนาคม2008(Launched) และเข้าประจำการในวันที่30กันยายน2010(Commissioned) ราคารวมของเรืออยู่ที่600ล้านเหรียญข้อมูลทั่วไปมีดังนี้
Principal characteristics
Displacement at full load: 26,800 t Displacement as aircraft carrier 23,900 t
Maximum length overall: 231.40 m Overall length between
perpendiculars: 205.70 m
Maximum beam: 32.00 m Design
beam: 29.50 m
Design draught: 6.80 m Depth to flight deck 27.50 m
Propulsion
Gas Turbine Generator 1 x 19,750 BkW Diesel generator sets: 2 x 7,680 BkW
Propulsor PODS: 2 x 11.0 MW Propellers in each POD 2 x 4.5 m, 3
blades
Main Plant: 2 Transversal bow
propulsion: 2 x 1500 kW
Maximum full load speed: 20.0 knots Aircraft carrier mode maximum
speed: 21.0 knots
Maximum sustained speed: 19.5 knots Autonomy @ 15 kn: 9,000 miles
Emergency diesel generators: 800 kW
Surface Areas
Hangar: 1,000 m2 Light cargo deck 2,050 m2
Dock: 975 m2 Heavy cargo deck 1,400 m2
Total deck cargo zones: 5,425 m2 Flight
deck: >4,500 m2
Crew and troops
Crew: 243 hands Chiefs of Staff: 103 hands
Embarked airborne unit: 172 hands Naval Beach Group: 23 hands
Embarked forces: 902 hands Total
accommodation capacity: 1,443 hands
Embarked forces can be increased by
installing accommodation containers in the hangar and light material garage
This means a reduction in the vehicle and
aircraft cargo capacity.
Cargo capacity in tanks
Diesel fuel: 2,150 t Aviation
fuel, JP-5: 800 t
Lubricating oil: 40 t Technical water: 17 t
Drinking water: 480 t Ballast water: 9,140 t
Cargo capacity in holds
Larders and stores for
provisions 260 t Combat rations 60 t
General stores 80 t Supplies and spares 105 t
Crew provisions, EM, UNAEMB,
GNP 20 days Provisions embarked forces 30 days
The ship has an additional 60 tons of
combat ration cargo that will be considered preloaded on the vehicles situated
in the cargo garages.
Juan Carlos I เป็นเรือในตระกูลTHE ATHLAS FAMILY ของบริษัทNavantia ประเทศสเปน ซึ่งสามารถแบ่งเรือออกเป็น3กลุ่มด้วยกันตามภาพคือ
1.กลุ่มเรือ LHD / LHA ซึ่งมีการต่อเรือชั้น Juan Carlos I ตามแบบATHLAS 26,000 แล้วจำนวน3ลำ
The LHD is more complete with flush deck and ski-jump for V/STOL aircraft, whilst on the LHA the deck, also flush, is only planned for helicopters and is fitted with neither trampoline nor aviation control facilities.
2. กลุ่มเรือ LPD / LSD Fore flight deck.ซึ่งมีการต่อเรือชั้นGaliciaตามแบบATHLAS 13,000แล้วจำนวน2ลำ
The LPD's are foreseen for the landing of material andpersonnel, and the LSD's are optimised for the transport of material and landing craft.3LKA /LPA Fore flight deck. The LKA version has been designed specifically to transportcargo, helicopter equipment and landing craft. The LPA is optimised for personnel transport.
3.กลุ่มเรือ LKA /LPA Fore flight deck. ตามแบบATHLASยังไม่พบข้อมูลว่ามีการต่อขึ้นมาครับ
The LKA version has been designed specifically to transport
cargo, helicopter equipment and landing craft. The LPA is optimised for personnel transport.
เรือที่Navantia นำเสนอในทำการตลาดมีอยู่ด้วยกันหลักๆ4รุ่นประกอบไปด้วย
- ATHLAS 8000(LPD): มีขนาดเรืออยู่ระหว่าง7,000ถึง10,000ตัน มีลานจอดและโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์จำนวน2ลำ สามารถบรรทุกเรือระบายพลขนาดกลาง(LCM)ได้2ลำในส่วนอู่ลอย(Well Deck)ใต้ท้องเรือ สามารถบรรทุกทหารได้จำนวน450คนและอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆอีกจำนวน600ตัน มีการนำเสนอแบบเรือนี้กับกองทัพเรืออัลจีเรียและฟิลิปปินส์ ตามข่าวอัลจีเรียเลือกต่อเรือLPDติดเรดาร์EMPARและจรวดAster15จากประเทศอิตาลีแล้วจำนวน1ลำ ส่วนประเทศเพื่อนบ้านเรายังอยู่ในระหว่างการพิจารณา คงจะอีกนานเลยเมื่อเทียบกับการจัดหาอาวุธที่ผ่านมาของเขา
- ATHLAS 13000(LPD): มีขนาดเรืออยู่ระหว่าง10,000ถึง15,000ตัน แบบเรือนี้ถูกต่อให้กับกองทัพเรือสเปน2ลำ ชื่อเรือGaliciaและCastilla นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอให้กับมาเลย์เซียแต่ดูเหมือนเขาจะต้องการแบบเรือLHD/LHAมากกว่า
- ATHLAS 20000(LHD): มีขนาดเรืออยู่ระหว่าง16,000ถึง23,000ตัน. ดาดฟ้าด้านบนเป็นลาดจอดอากาศยาน(Flight Deck)ส่วนด้านล่างเรือแบ่งออกเป็น2ชั้น คือในส่วนโรงเก็บอากาศยาน(Hangar)และในส่วนอู่ลอยกับพื้นที่สำหรับขนถ่ายอาวุธยุทโธปกรณ์(Dock) มีการนำเสนอแบบเรือให้กับเบลเยียมและลักเซมเบิร์กพิจารณา แต่สุดท้ายโครงการนี้ก็ถูกเลิกไปเสียก่อน
- ATHLAS 26000(LHD): มีขนาดเรืออยู่ระหว่าง24,000ถึง28,000ตัน คุณสมบัติรูปร่างหน้าตาเหมือนATHLAS 20000แต่มีขนาดใหญ่กว่า มีทั้งแบบดาดฟ้าเรียบและติดสกีจั๊ม12องศาที่หัวเรือ มีการสั่งต่อแล้ว3ลำคือ Juan Carlos Iของสเปน และเรือชั้นCanberraของออสเตรเลีย2ลำที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง
Juan Carlos I (L-61) เป็นเรือรบขนาดใหญ่ที่สุดที่มีการสร้างขึ้นในประเทศสเปน นอกจากนี้ยังเป็นเรือลำใหญ่ที่สุดของกองทัพเรือสเปนอีกด้วย ต้นกำเนิดของเรือเริ่มต้นขึ้นวันที่19มิถุนายน1992 มีการประชุมรัฐมนตรีของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปที่จัดขึ้นในเมืองPetresbergในประเทศเยอรมัน มีการกำหนดนโยบายในการร่วมมือกันทางด้านการปฏิบัติการทางทหารโดยแบ่งออกเป็น3กลุ่มหลักๆด้วยกันคือ
-ภารกิจให้ความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรม และการอพยพพลเรือนในพื้นที่ที่มีความขัดแย้ง
-ภารกิจรักษาสันติภาพในยามสงบ
-ภารกิจสู้รบในสถานการณ์วิกฤต หรือเพื่อสร้างความสงบสุขให้บังเกิดขึ้นอีกครั้ง
เพื่อที่จะสามารถทำภาระกิจดังกล่าวลุล่วงไปได้ สหภาพยุโรปจำเป็นต้องมีเรือรบอเนกประสงค์ขนาดใหญ่ ที่สามารถลำเลียงพลเรือนหรือทหารได้รวมกันถึง60,000คน ในช่วงเวลาก่อนปี2000 สเปนมีเรือบรรทุกเครื่องบิน Príncipe de Asturiasขนาด16,000ตันจำนวน1ลำ เรือLPDชั้นGaliciaขนาด13,000ตันจำนวน2ลำ รวมทั้งเรือLSTชั้นNewport ซึ่งเป็นเรือเก่าขนาด8,000ตันจากอเมริกาอีก2ลำ กองทัพเรือจึงมีแนวความคิดที่จะสร้างเรือLHDขนาดใหญ่ขึ้นมาทดแทนเรือเก่าทั้ง2ลำที่มีขนาดเล็กและอายุมากแล้ว
ในปี2000เบลเยี่ยมมีแผนปรับปรุงกองทัพให้ทันสมัยชื่อ "The Modernisation Plan 2000-2015 of the Belgian Armed Forces"จึงมีโครงการ NTBL(Navire de Transport Belgo-Luxemburgois)เพื่อต่อเรือสนับสนุนการยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ NavantiaหรือIZARในขณะนั้นได้เสนอแบบเรือของตนเอง2แบบด้วยกันในโครงการนี้ นั่นคือ ATHLAS 20000(LHD) และ ATHLAS 20000(LKA)ให้พิจารณา
เมื่อกองทัพเรือสเปนต้องการจัดหาเรือLHDลำใหม่ Navantiaจึงได้นำดีไซน์เรือLHDจากโปรเจคNTBLมาปรับปรุงขยายขนาดให้ใหญ่มากขึ้นไปอีก เพิ่มความแข็งแกร่งของลาดจอดเพิ่มลานสกีขนาด12องศาที่ด้านหัวเรือ ขยายขนาดภายในเรือในทุกสัดส่วนปรับปรุงตำแหน่งลิฟท์และอื่นๆเพื่อรอบรับความต้องการที่มากขึ้น แม้โปรเจคNBTLหรือATHLAS 20000(LHD)จะถูกยกเลิกไปในปี2003 แต่เรือJuan Carlos Iสามารถเริ่มวางกระดูกเรือในอีก2ปีต่อมา จากนั้นอีก5ปีเรือจึงเข้าประจำการอย่างเป็นทางการ ภาพด้านล่างคือแบบเรือ NBTLครับ พื้นที่ด้านล่างแบ่งเป็น2ชั้นอย่างชัดเจน
Juan Carlos I (L-61)เป็นการนำสิ่งที่เป็นจุดเด่นของเรือบรรทุกเครื่องบินV/STOL และเรือสนับสนุนการยกพลขึ้นบกLPDเข้ามาไว้รวมกัน นั่นคือมีลานจอดพร้อมสกีจั๊มขนาด12องศา รองรับการปฎิบัติการของเครื่องบินV/STOLและมีห้องควบคุมการบินแยกออกมาต่างหาก มีทั้งโรงเก็บอากาศยานและอู่ลอยกับพื้นที่สำหรับขนถ่ายอาวุธยุทโธปกรณ์ นอกจากนี้ยังสามารถบรรทุกทหารไปด้วย902คนและขนรถถังLeopardได้มากสุด46คัน
ดาดฟ้าเรือซึ่งใช้เป็นลานจอดอากาศยานและชั้นถัดไปคือโรงเก็บอากาศยาน มีการเชื่อมโยงด้วยลิฟต์ขนาดใหญ่เพื่อให้สามารถใช้งานกับเครื่องบินF-35Bได้ ในอนาคต มีการติดตั้งเครนขนาดใหญ่รับน้ำหนักได้18ตันทั้งภายในและภายนอกเรือ มีโรงพยาบาลขนาด18เตียงรองรับทั้งผู้ป่วยหนักติดเชื้อ การผ่าตัดทางทันตกรรมหรือทำการเอ็กซเรย์ร่างกาย
โรงเก็บอากาศยานชั้นสองมีขนาด1,000 m2 รองรับอุปกรณ์ขนาดเบาได้ที่ 2,050 m2 อู่ลอยกับพื้นที่สำหรับขนถ่ายอาวุธยุทโธปกรณ์ด้านล่างสุดมีขนาด975 m2รอบรับอุปกรณ์หนักได้ที่1,400 m2 ส่วนลานจอดบนดาดฟ้าเรือสามารถรองรับได้ไม่เกิน4,500 m2
ระหว่างโรงเก็บอากาศยานกับพื้นที่สำหรับขนถ่ายอาวุธยุทโธปกรณ์ มีRAMเชื่อมต่อกันสำหรับขนอุปกรณ์ขนาดเบา การจัดเก็บอุปกรณ์ภายในสามารถปรับเปลี่ยนได้หลายรูปแบบ รองรับทั้งปฏิบัติการทางอากาศหรือลำเลียงรถถังเพื่อยกพลขึ้นบก
ATHLAS 26000 กับการส่งออกไปยังประเทศอื่นๆ
1.ในเดือนพฤศจิกายน2007 ออสเตรเลียได้เซ็นสัญญามูลค่า1,411.6ล้านยูโรเพื่อต่อเรือ ATHLAS 26000(LHD)จำนวน2ลำกับNavantia โดยเรือHMAS Canberra และ HMAS Adelaide จะถูกสร้างขึ้นในสเปนจนถึงดาดฟ้าเรือเท่านั้น จากนั้นเรือจะโดนขนย้ายไปทำการประกอบในช่วงสุดท้ายที่ออสเตรเลียต่อ ถึงตอนนี้เรือทั้ง2ลำถูกจัดส่งไปแล้ว ส่วนตามหมายกำหนดการ เรือHMAS Canberraจะมีการจัดพิธีปล่อยเรือลงน้ำในเดือนมกราคม2014 ความต้องการของออสเตรเลียในภาพรวมเหมือนกับเรือ Juan Carlos Iมากมีข้อแตกต่างออกไปบ้างไม่มากนักเช่น
-ใช้ระบบ Combat Management System แบบ 9LV ซึ่งเป็นของSAAB
-ใช้เรดาร์ Sea Giraffe AMB multi-role surveillance radar ของSAABเช่นกัน
-ใช้ Infra-red Search & Track System (IRST) แบบ Vampir NG
-MSSR 2000 I -ของ EADS Cassidian.
-Northrop Grumman เป็นบริษัทพัฒนาออกแบบและจัดการระบบต่างๆบนเรือทั้งหมด
2.ในเดือนกันยายน2009 รัสเซียมีความต้องการต่อเรือLHDโดยใช้เป็นเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ด้วย Navantiaจึงเสนอแบบเรือ ATHLAS26000ที่ไม่ติดสกีจั๊มบนหัวเรือให้พิจารณา หลังจากทำการคัดเลือกอยู่1ปี4เดือนรัสเซียจึงประกาศให้แบบเรือ Mistral Class จากฝรั่งเศสได้รับการคัดเลือก เรือชั้นJUAN CARLOS Iจึงหยุดอยู่ที่3ลำต่อไป
3.ในโครงการจัดหาเรือLPDของประเทศตุรกี (Landing Platform Dock Project) วันที่28ธันวาคม2013 ตุรกีได้ประกาศให้อู่ต่อเรือภายในประเทศชื่อSedefเป็นผู้ได้รับการคัดเลือก โดยอู่นี้ใช้แบบเรือ JUAN CARLOS I จากNavantiaเป็นต้นแบบ จะมีการต่อเรือลำนี้และจัดหาอุปกรณ์ต่างๆภายในประเทศตัวเอง ดังรายการต่อไปนี้
-1 LPD and
- 4 Landing Craft Mechanics (LCM)
- 27 Amphibious Assault Vehicles (AAV),
- 2 Landing Craft Personnel Vehicles (LCVP),
- 1 Commander Boat
- 1 RHIB (Rubber Hull Inflated Boat) will be acquired
มูลค่ารวมทั้งโครงการอยู่ที่1.7พันล้านเหรียญ ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นเพราะต่อเรือขนาดใหญ่เองในประเทศจึงมีราคาแพงพอสมควร ผู้เขียนคาดการณ์เองว่าตัวเลขจริงๆจะสุงกว่านี้ (โดยเทียบกับโครงการปัจจุบันที่ตุรกีมีปัญหากับเรือคอร์เวตตัวเอง) ในโครงการนี้แบบเรือJuan Carlos Iเอาชนะคู่แข่งอย่างLHDจากจีน เรือชั้นDokdoจากเกาหลีใต้ และ เรือLHDขนาด27,000ตันรุ่นใหม่ล่าสุดจากอิตาลีที่กำลังจะสร้างในอนาคต
จากเอกสารเผยแพร่ของNavantia เองระบุไว้ว่า เรือลำนี้มีขนาด27,000ตันและใช้สำหรับเฮลิคอปเตอร์เท่านั้น(จึงไม่มีสกีจั๊ม12องศาที่หัวเรือ) เนื่องมาจากพื้นที่นอกชายฝั่งตุรกีไม่มีความกว้างไกลและลึกมากเท่าไหร่จึงสามารถใช้เครื่องบินจากฐานทัพอากาศปฏิบัติการคลอบคลุมได้ทั้งหมดอากาศยานปีกแข็งบนเรือรบจึงไม่จำเป็นแต่อย่างใด
เรือชั้น Juan Carlos I มีการต่อเข้าประจำการอย่างน้อยที่สุดก็4ลำแล้ว จัดเป็นเรือรบอเนกประสงค์ที่ทันสมัยใช้งานได้หลากหลายภาระกิจและน่าสนใจเป็นอย่างมาก ความเอนกประสงค์ของเรือและคงามกว้างขวางภายในทำให้สามรถปฏิบัติภาระกิจได้หลากหลายอาทิเช่น
-สนับสนุนการยกพลขึ้นบกและยึดชายหาดของนาวิกโยธิน
-ลำเลียงทหารในการเดินทางไปปฎิบัติภาระกิจห่างไกลจากที่ตั้ง
-เรือบรรทุกเครื่องบินทั้งอากาศยานปีกแข็งและเฮลิคอปเตอร์
-การดำเนินงานที่ไม่ใช่การสู้รบ ให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม การอพยพพลเรือนจากพื้นที่เสี่ยง และเป็นโรงพยาบาลเคลื่อนที่ในในพื้นที่ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติ
http://en.wikipedia.org/wiki/Spanish_ship_Juan_Carlos_I_%28L61%29
http://www.naval-technology.com/projects/juan-carlos/
http://www.infodefensa.com/wp-content/uploads/JCI_en_v2.pdf
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น