วันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ตามรอยโครงการเรือฟริเกตสมรรถนะสุง แล้วแบบเรือที่เสนอเข้ามาอีก4รายจะหน้าตาเป็นอย่างที่ผมคิดไหมนะ

กองทัพเรือได้แต่งตั้งคณะกรรมการฯ ขึ้นมาดำเนินการ โดยได้เชิญชวนอู่เรือของประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย ยุโรป และอเมริกา จำนวน 13 ราย ซึ่งรวมถึงอู่เรือจากสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ด้วย เพื่อเปิดกว้างให้มีการแข่งขันให้ ทร. ได้รับประโยชน์สูงสุด โดยมีผู้เสนอแบบเรือ 5 ราย ได้แก่ อู่เรือจากสาธารณรัฐอิตาลี ราชอาณาจักรสเปน สาธารณรัฐเกาหลี (2 ราย) และสาธารณรัฐประชาชนจีน หลังจากนั้นได้ดำเนินการคัดเลือกแบบตามแนวทางการจัดหายุทโธปกรณ์หลักของกอง ทัพเรือ โดยผลการพิจารณาปรากฏว่า แบบเรือของบริษัท Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering Co., Ltd. (DSME) สาธารณรัฐเกาหลี สามารถตอบสนองภารกิจของกองทัพเรือได้ดีที่สุด และเป็นแบบเรือที่ตรงตามความต้องการของกองทัพเรือมากที่สุด จึงได้รับการคัดเลือก



ในโครงการเรือฟริเกตสมรรถนะสุงจำนวน2ลำมูลค่า30,000ล้านบาท ซึ่งผลการตัดสินอู่เรือแดวูจากเกาหลีใต้ได้รับการคัดเลือกนั้น เพื่อนๆเคยสงสัยกันบ้างไหมครับว่าแบบเรือฟริเกตจากอู่เรือประเทศอิตาลี สเปน จีน และเกาหลีใต้จะน่าตาเป็นอย่างไรกันบ้างนะ วันนี้ผมจึงรวบรวมข้อมูลเรื่องดังกล่าวมานำเสนอบทความให้ทุกคนอ่านกันพอขำๆ ในช่วงวันหยุดยาว ตรงบ้างไม่ตรงบ้างก็ว่ากันไปนะครับ

ริ่มจากง่ายไปยากแล้วกัน ลำแรกก็คือเรือจากสาธารณรัฐประชาชนจีน Type 054T Jiangkai นั่นเอง เรือมีระวางขับน้ำสุงสุดที่4,000ตัน ยาว 134 เมตร กว้าง16 เมตร ข้อมูลของลำนี้ไม่ได้มีความลึกลับอะไรซักนิด เพราะสื่อมวลชนจากจีนออกข่าวเรื่องโครงการเรือของเราเป็นเจ้าแรกๆก่อนประเทศ อื่น ข้อเสนอจากจีนก็ดังก้องไปทั่วโลกนั่นคือเรือฟริเกตจำนวน3ลำเฮลิคอปเตอร์ปราบ เรือดำน้ำZ-9ECอีก6ลำ เรียกว่ามากทั้งขนาดและปริมาณก็ว่าได้มาทีเดียวเต็มท่าเรือเลย ช่วงนั้นในTFCมีการถกเถียงกันมากว่าเรือเขาจะลดสเป็กไหมนะ ได้ระบบVLSแบบในภาพหรือเปล่า สามารถติดตั้งอาวุธตามความต้องการของทร.ได้จริงหรือไม่ และคุณภาพเรือจีนเป็นอย่างไรแล้ว

เรือลำนี้มีการสร้างขึ้นมาเพื่อใช้งานจริงอยู่แล้วจึงผ่านกฎข้อนี้แบบ สบายมาก ก่อนมีการประกาศผลการตัดสินไม่กี่วันมีข่าวลือออกมาว่าจีนยื่นข้อเสนอเพิ่ม ด้วยการสร้างอู่ต่อเรือขนาดใหญ่ในไทยให้อีกด้วย เรือลำนี้จึงเรียกความฮือฮามาได้โดยตลอดหัวโค้งแต่สุดท้ายก็ไปไม่ถึงฝั่งฝัน สร้างความผิดหวังให้กองเชียร์จำนวนมากไปแทน




เรือลำที่2จากสาธารณรัฐเกาหลีประเทศเดียวกับแดวูที่ได้รับคัดเลือก แต่เป็นเรือจากอู่ฮุนไดที่ใหญ่เป็นอันดับ1ของโลกในเวลานี้ แบบเรือลำนี้ง่ายมากครับเพราะขนาดเรือ3,000-4,000ตันที่ทร.กำหนดเขามีอยู่ แค่แบบเดียวคือ FFX-I Incheon-class frigate ตัวเรือมีระวางขับน้ำสุงสุดที่3,251ตัน ยาว 114 เมตร กว้าง14 เมตร ซึ่งดูเล็กเกินไปและติดอาวุธไม่ครบตามที่เราต้องการ

แบบเรือที่นำเสนอจริงๆจึงน่าจะเพิ่มความยาวด้านหน้าหอบังคับการเพื่อติด ตั้งระบบVLS ทำการออกแบบเสากระโดงหลักให้ใหญ่ขึ้น เพิ่มจุดติดตั้งเรดาร์ระยะไกลด้านหลังปล่องไฟ และถ้าปิดช่องว่างข้างเรือให้เรียบร้อยซะเราจะได้ฝาแฝดสยามน้องแท้ๆในไส้ของ เรือจากแดวูเลยทีเดียว เนื่องจากเกาหลีใต้มีการแชร์พิมพ์เขียวของเรือกันทุกอู่ ลานจอดเฮลิคอปเตอร์เรือเราจะเหมือนกับในภาพไม่มีผิดเพี๊ยน และปล่องท่อไอเสียรุ่นเดชไอ้อ้วนก็เหมือนกันกับเรือลำนี้มากจริงๆ

เรือลำนี้มีการสร้างขึ้นมาเพื่อใช้งานจริงอยู่แล้วจึงผ่านกฎข้อนี้แบบ สบายมาก แต่ที่ไปไม่ถึงฝั่งก็อาจจะเป็นเรื่องข้อเสนอต่างๆและการยอมรับในเงื่อนไข ต่างๆของทร.สู้ไม่ได้หรือเปล่า ซึ่งข้อมูลตรงนี้ยากเกินคาดเดาไปมากผมขอละไว้แล้วกันนะครับ




เรือลำนี้ที่3จากประเทศสเปนคืออู่เรือ Navantia ถ้าเข้าไปดูสินค้าของเขาจะพบว่าไม่มีเรือฟริเกตขนาด3,000-4,000ตันเลย โดยจะมีเรือF-100, F-310ซึ่งขนาดใหญ่เกินไปมากแล้ว จากนั้นจะลดลงมาเป็นเรือตระกูลAvanteซึ่งเป็นเรือOPVและเรือฟริเกตเบาขนาด ไม่เกิน2,500ตัน มีการคาดเดากันว่าเขาอาจจะเสนอเรือAFCONที่ติดเรดาร์ทันสมัยมากและขยายขนาด ตัวเรือให้ใหญ่ขึ้นมาอีกนิด แต่ผมคิดว่าลำบากครับเพราะเรือAFCONเองแม้มันจะคือAvanteแปลงร่างผ่านกฎข้อ นี้ได้ แต่ขนาดของเธอเล็กเกินไปและผิดวัตถุประสงค์ในการใช้งานของเราไปบ้าง เรือลำนี้ถูกเสนอให้อิสราเอลและบัลกาเรียแต่ไม่ได้รับการจัดซื้อแต่อย่างใด ผมจึงคิดว่าไม่ใช่เรือลำนี้หรอกเนื่องจากNavantiaยังมีเรือให้เลือกอีก ถึง3แบบด้วยกัน



แบบแรกที่เป็นไปได้คือรุ่น F-310C ซึ่งเป็นญาติสนิทมากๆกับเรือ Fridtjof Nansen (F-310) ของนอร์เวย์ เป็นเรือฟริเกตปราบเรือดำน้ำแท้ๆที่มีระวางขับน้ำ 4,350ตัน ยาว127เมตร กว้าง16เมตร แบบเรือทันสมัยสวยงามมีการสร้างขึ้นมาเพื่อใช้งานจริงอยู่แล้ว ติดแค่เพียงว่าตัวเรือมีขนาดใหญ่ไปหน่อยจึงอาจจะมีต้นทุนในการสร้างที่สุ งเกินไป แบบเรือที่เสนอกับเราจริงๆจึงอาจจะDownsideลงมาบ้างเพื่อความประหยัด สำหรับเรือF-310Cลำนี้เกิดขึ้นมาเพื่อชิลีโดยเฉพาะ แต่เดี๋ยวผมจะเล่าให้ฟังพร้อมเรือจากอิตาลีก็แล้วกัน




แต่ถ้าไม่ใช่ F-310C หละผมก็ยังมีเรือให้เลือกอยู่ นี่คือภาพเรือF-100ในช่วงยุค90ซึ่งมีขนาด3.500ตันและออกแบบเป็นเรือฟริเก ตปราบเรือดำน้ำโดยเฉพาะอีกด้วย แต่ผลสืบเนื่องมาจากการล่มสลายของ Nato Frigate NFR-90 Project ทำให้ทุกประเทศที่เป็นสมาชิกต้องพัฒนาเรือฟริเกตป้องกันภัยทางอากาศกัน เองอย่างเร่งด่วน นั่นแหละครับจึงเป็นที่มาของเรือติดเรดาร์ APAR+SMART-L ใช้จรวด SM-2ในหลายๆประเทศ ขณะที่อีกหลายประเทศก็เลือกเรดาร์ EMPAR และใช้จรวดASTER30 แทน สเปนเองก็เช่นกันเขาต้องขยายร่างเรือF-100โดยด่วนและตัดสินใจเลือกเรดาร์ SPY-1 กับจรวดSM-2เพื่อใช้กับเรือตัวเอง แต่แบบเรือเก่าก็ยังมีอยู่นี่ครับและทันสมัยเอามากๆเสียด้วย Navantiaสามารถปรับปรุงนำมาขายกับเราได้อย่างสบายมากเลย 3,500ตันขนาดไล่เรี่ยกับเรือแดวูไม่มีผิดเพี๊ยน



เรือลำที่3ที่เขาอาจจะนำเสนอก็คือ F-590 Series (มีทั้ง F-590A , F-590B  และF-592) เรือลำนี้ออกแบบขึ้นมาเพื่อการส่งออกโดยมีลูกค้าสำคัญคือแอฟริกาใต้ ในช่วงปี2002เขาต้องการเรือฟริเกตใหม่จำนวนถึง4ลำด้วยกัน แม้เรือF-590BจะขยายขนาดมาจากเรือตระกูลAvanteแต่ก็มีขนาดถึง3,100ตัน และยาว109เมตรเลย

แต่ผลการตัดสินไม่ได้เป็นอย่างที่หวังเรือMeko A200จากเยอรมันได้รับการคัดเลือก ถึงจะเคยผิดหวังมาก่อนแต่แบบเรือลำนี้ทันสมัยมากติดอาวุธตามความต้องการของ ลูกค้าได้เลยซึ่งเหมาะกับเราดี ถ้าเสนอมาจริงๆอาจจะเพิ่มขนาดของเรือขึ้นมาอีกนิดเพื่อรองรับความต้องการที่ มากขึ้น เรือจากอู่สเปนผมชอบมากเป็นพิเศษนะครับน่าเสียดายที่ได้แค่เพียงที่2เท่า นั้นเอง




 เรือลำสุดท้ายจากประเทศอิตาลี เรื่องนี้ผมแปลกใจมากเพราะไม่เคยได้ยินข่าวว่าเขาส่งเข้าประกวดด้วยมาก่อน เลย แม้กระทั่งทร.ลงข่าวแล้วผมยังคิดว่าเป็นสิงคโปร์หรือเยอรมันอยู่เลยนะ จนได้กลับมาอ่านอีกครั้งจึงรู้ว่าเป็นอิตาลีและเป็นแรงจุงใจให้เขียนบทความ เรื่องนี้ขึ้นมา สนุกมากครับประเทศนี้ไม่เหมือนฟุตบอลที่เอาแต่อุดท่าเดียว


เรือจากอิตาลีขนาดใกล้เคียงกับที่เราต้องการก็เห็นจะมีแค่ Mosaic240จากOSNที่ขยายร่างมาจากเรือOPVเท่านั้น(แต่ก้แค่2,500ตันเอง)  แต่อิตาลีก็มีเรือฟริเกตสำหรับส่งออกนะครับ ในยุดปี90บริษัท Fincantieri - Cantieri Navali Italiani S.p.A. มีโครงการ F-3000และ F-1700 เพื่อตลาดส่งออกโดยเฉพาะ ผมเห็นภาพครั้งแรกนี่มันเรือ Meko A200 ของแอฟริกาใต้ชัดๆเลยนะเพราะสวยงามผิดไปจากเพื่อนร่วมรุ่นเป็นอย่างมาก  FincantieriนำเรือฟริเกตMaestraleของอิตาลีมาปรับปรุงเสียใหม่จนสวยงามมาก และทันสมัยขึ้นจมหูนำเทคโนโลยีStealthถูกนำเข้ามาใช้งานเป็นรายแรกๆลดความสุ งและเพิ่มความกว้างนับว่าทันสมัยไม่เบาเลยครับ

เรือF-3000ในภาพมีขนาด3,100ตัน ยาว112.5เมตรและกว้าง14.5เมตร ด้านหน้าเรือสามารถติดVLSได้ถึง24 ลานจอดและโรงเก็บรองรับเฮลิคอปเตอร์ขนาด10ตัน ส่วน F-1700 มีขนาด1,710ตัน ยาว90เมตร กว้าง12.6เมตรด้านหน้าเรือสามารถติดVLSได้ถึง16ท่อ ลานจอดและโรงเก็บรองรับ เฮลิคอปเตอร์ขนาด7ตัน ภาพโมเดลทั้ง2เกิดขึ้นในปี1989นับย้อนไปแล้วกันครับว่ากี่ปี




เมื่อมีเรือแล้วก็ต้องมีการขายสิ ในปี1993อิหร่านมีความต้องการเรือดำน้ำชั้นกิโลจากรัสเซีย ทำให้UAEต้องการเรือคอร์เวตปราบเรือดำน้ำเพื่อใช้ป้องกันไปด้วย(คล้ายๆกับ บ้านเราเหมือนกันนะครับ) F-1700ถูกปรับปรุงให้เข้ากับประเทศนี้โดยมีชื่อว่าใหม่ว่าFALCO-1700 (ภาพบนสุด) ตัวเรือติดระบบอาวุธและโซนาร์ที่ทันสมัยรวมทั้งลานจอดและโรงเก็บ เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำอีกด้วย ช่วงเวลานั้นเรือที่มีโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ต้องใหญ่มากกว่า3,000ตันแทบทั้ง สิ้นจึงนับเป็นเรือที่ทันสมัยมากๆ เรือเพิ่มความStealthมากขึ้นแม้จะสวยน้อยกว่าต้นแบบไปบ้างก็ตามที ถึงเรือดำน้ำของอิหร่านจะมาจริงๆแต่สุดท้ายUAEก็ไม่ได้จัดหาFALCO-1700มา ประจำการแต่อย่างใด

ลิขิตฟ้าหรือจะสู้มานะตน Fincantieriยังไม่ยอมแพ้จึงนำเรือนี้มาพัฒนาปรับปรุงต่อจนกลายเป็นโครงการ NUMC (New Minor Combatant) และอิตาลีได้สั่งสร้างเป็นเรือจริงรุ่น Commandante Class จำนวน4ลำในอีก9ปีต่อมา  แบบเรือ Commandante-1500 ยังไปตรงกับความต้องการของUAEอีกครั้งเขาจึงซื้อแบบเรือไปสร้างเป็นเรือ Baynunah-class corvette หรือชื่อใหม่ว่า Abu Dhabi Class จำนวนถึง6ลำ (ภาพล่างสุด)

สรุปตอนท้าย FincantieriสามารถปิดดีลUAEได้สำเร็จอย่างสวยงามมากแม้จะต้องใช้เวลานานถึง16ปีก็ตาม



ขณะเดียวกันเรือF-3000ก็ถูกพัฒนาแบบคู่ขนาดกันไปด้วยและถูกส่งเข้า ประกวดในเวลาต่อมา ปี1999ชิลีมีโครงการ tridente frigate ขึ้นมาโดยต้องการเรือฟริเกตทันสมัยถึง6ลำแบ่งเป็น2เฟส เฟส1เป็นเรือฟริเกตทั่วไปจำนวน4ลำก่อน และเฟสที่2เป็นเรือฟริเกตป้องกันภัยทางอากาศที่ขยายขนาดใหญ่ขึ้นและติดอาวุธ จรวดSM-2ที่ทันสมัย ปี2002เปิดให้มีการส่งแบบ เรือF-310CจากNavantiaที่ผมกล่าวถึงไปแล้วจึงถือกำเนิดขึ้นมาเพื่อการนี้โดย เฉพาะ ด้วยแบบเรือที่ใหญ่และทันสมัยจึงนับเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวมาก อิตาลีส่งFalco3000ขนาด 3,600ตันที่ออกแบบอย่างดีเยี่ยมเข้ามาประกบโดยหวังผลชัยชนะกลับไปเท่านั้น นอกจากนี้ก็ยังสู้ต่อในเฟส2ด้วยการเสนอเรดาร์EMPARเข้ามาควบคุมจรวดSM-2ให้ ด้วยเพราะทร.ตัวเองกำลังจะทำอยู่เช่นเดียวกัน

ลิขิตฟ้าหรือจะสู้มานะตนผลการตัดสินปรากฎว่าเรือ Meko 200 Triton (ไม่ใช่รถกระบะนะ) จากเยอรมันได้รับการคัดเลือกในเฟสแรก ส่วนเฟสสองเรดาร์ SPY-1F รุ่นส่งออกควบคุมโดย 9LV CMS ทำท่าจะเข้าวินแบบนิ่มๆ นั่นหมายถึงภายในเวลาไม่ถึงปีเยอรมันได้รับออเดอร์ให้สร้างเรือฟริเก ตถึง10ลำเข้าไปแล้ว (Meko A200 4ลำ Meko 200 6ลำ) โบนัสปลายปีของพนักงานที่เกี่ยวข้องคงมากพอจะซื้อบ้านได้เป็นหลังเลยทีเดียว นะครับ

แต่มานะตนหรือจะสู้ความจนในกระเป๋า แค่เพียงปีเดียวเท่านั้นรัฐบาลชิลีก็ถังแตกเข้าจนได้ พวกเขาต้องซื้ออาวุธจำนวนหลายอย่างแต่มีเงินไม่มากพอจึงตัดสินใจซื้อF-16 C/D1ฝูงต่อแต่ยกเลิกโครงการเรือฟริเกตไปแทน ทร.ชิลีจึงต้องไปซื้อเรือฟริเกตมือ2จากอังกฤษมาใช้ไปพลางๆก่อนจนถึงทุก วันนี้ เป็นอันว่าประเทศในยุโรปที่แข่งกันแทบเป็นแทบตายกินแห้วกันหมด อเมริกาขายอาวุธได้น้อยลงไปบ้างและอังกฤษอยู่เฉยๆคว้าพุงปลาไปกินเพียงคน เดียว

ผลพวงจากสงครามในครั้งนี้สร้างบาดแผลให้ทุกคนโดยถ้วนหน้า เยอรมันยังคงขายเรือตัวเองได้แต่ไม่มีดีลขนาดใหญ่แบบนี้อีกแล้ว สเปนยังโชดดีที่ขายF-100ให้ออสเตรเลียและF-310ให้นอร์เวย์ได้อยู่ แต่อิตาลีมีแต่ทรงกับทรุดลงไปเรื่อยๆมากขึ้นทุกวัน ตั้งแต่ปี1990เป็นต้นมา Fincantieri จากอิตาลีซึ่งมีอู่ต่อเรือและบริษัทลูกในเครือจำนวนมาก (รวมถึง OSN - Orizzonte Sistemi Navali S.p.A. ที่เน้นเรือขนาดเล็กไม่เกิน2,500ตัน) ได้รับออดอร์ให้ต่อเรือรบขนาดใหญ่และเรือดำน้ำแค่เพียง10ลำเท่านั้นเอง(ของ ทร.อิตาลีเองทั้งหมด) เขาต้องจับตลาด cruise ship และFerry Ship มาทดแทนจำนวนมากกลายมาเป็นผู้นำอันดับ1ทางด้านนี้ไปแล้ว เมื่อรู้แบบนี้จึงไม่น่าแปลกใจที่มีอิตาลีในรายชื่อผู้ส่งแบบเรือเข้าประกวด ด้วย เพราะเขาต้องการทวงตลาดเรือฟริเกตคืนกลับมาบ้างเช่นกัน

F-3000 หรือ Falco-3000หรือ Commandante-3000เหมาะสมที่จะเป็นแบบเรือที่ส่งเข้าประกวดมากที่สุด เขามีพี่สาวตัวเล็กคือ Commandante-1500จำนวนถึง10ลำ และถ้าเรือฟริเกตของเราคือKDX-Iจำแลง เรือลำนี้ก็ต้องเป็นMaestraleจำแลงเหมือนกันด้วย เป็นอันว่าตอนนี้ผมหาแบบเรือได้ครับทุกประเทศแล้วแต่ผิดถูกยังไงไม่ทราบคำ ตอบเหมือนกัน



ปัจจุบันประเทศใหญ่ๆจะใช้เรือขนาดไม่เกิน2,500ตันและข้าม ไป4,000-5,000ตันกันเลย เรือส่งออกของพวกเขาจึงต้องมีขนาดตามนี้ไปด้วย เรืออเนกประสงค์ขนาดเล็กถ้าติดอาวุธน้อยจะเป็นOPVที่กำลังฮิตมากและถ้าติด อาวุธมากจะเป็นฟริเกตเบาหรือเรือคอร์เวตใหญ่แล้วแต่จะเรียกกัน เรือขนาดนี้ขายดีมากในประเทศแถบตะวันออกกลาง แอฟริกา ลาตินอเมริกาและอาเซี่ยนบ้านเรา ถ้าเจาะลึกลงไปอีกจะพบว่าเรือตระกูลSigmaจากฮอลแลนด์ขายดีมากและน่าสนใจที เดียว ผมเคยคิดว่าเขาจะเสนอรุ่นขยายร่างให้กับเรานะแต่ดันถอดใจไปก่อนเหมือน เยอรมันและอเมริกา อาจจะเป็นเพราะขนาดเรือไม่ตรงตามความต้องการทร.เสนอมาคิดว่าสู้ไม่ได้ก็เลย ถอยไป

เพราะเราต้องการเรือฟริเกตขนาด3,000-4,000ตันซึ่งมีขายน้อยมาก ช่องว่างที่เกิดขึ้นทำให้หลายๆประเทศจากเอเชียเร่งพัฒนาแบบเรือและส่งเข้า ชิงชัยกันถ้วนหน้า จีน เกาหลี สิงค์โปร์ ทุกคนเริ่มมีลูกค้ารายแรกๆกันแล้วต่อไปจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนอีกหลายประเทศในเอเชียก็เริ่มอุตสาหกรรมเรือรบในประเทศตัวเองรวมทั้งไทย แลนด์ของเราที่เริ่มนับ1ได้แล้วเหมือนกัน

แต่ก็ยังมีประเทศใหญ่ที่ทำตลาดเรือขนาดนี้อยู่นะครับ Meko Delta (D) จากเยอรมันยังไงหละครับเรือที่พวกเราทุกคนฝันถึงและยกให้เป็นอันดับ1ของรุ่น เลย น่าเสียดายอย่างมากที่สุดถ้าทร.เราจัดหามาจริงๆจะเป็นประเทศแรกๆที่ใช้เรือ แบบนี้ บทความของผมจบแล้วครับ ถ้ามีข้อมูลที่ผิดพลาดหรือเขียนผิดไวยากรณ์ต้องขออภัยด้วย พอดีไม่ค่อยสบายเป็นไข้หวัด มีอะไรตรงไหนผิดพลาดบอกได้เลยนะครับแล้วผมจะมาแก้ไขให้อีกที

http://www.betasom.it/forum/index.php?showtopic=28499
http://z11.invisionfree.com/shipbucket/ar/t774.htm
http://z11.invisionfree.com/shipbucket/ar/t794.htm
http://forum.keypublishing.com/showthread.php?77827-Spanish-and-other-navies-Never-where-ships

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น