ในงานแสดงอาวุธ
MADAX
2025 ซึ่งถูกจัดขึ้นที่ประเทศเกาหลีใต้ บริษัท Hanwha Ocean นำแบบเรือฟริเกตรุ่นส่งออกลำใหม่มาเปิดตัวในงาน และถูกตั้งชื่ออย่างเป็นทางการว่าเรือฟริเกตชั้น
Frigate
4000
รูปร่างหน้าตาเรือมิตรรักแฟนเพลงชาวไทยค่อนข้างคุ้นเคยเป็นอย่างดี
เหตุผลก็คือแบบเรือถูกปรับปรุงจากเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดชของราชนาวีไทย
Frigate 4000 มีความยาวประมาณ 124 เมตร กว้าง 14.4 เมตร กินน้ำลึกสุด 8 เมตร ระวางขับน้ำ 3,750 ตัน ใกล้เคียงเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดชซึ่งปรับปรุงจากแบบเรือ DW
3000F อีกหนึ่งทอด ส่งผลให้หัวเรือค่อนข้างยาวและแหลม สะพานเดินเรือค่อนข้างสูง
แหล่งข่าวในงานแจ้งว่าบริษัท Hanwha Ocean
ตั้งใจเสนอแบบเรือ Frigate 4000
ให้กับราชนาวีไทย ในโครงการจัดหาเรือฟริเกตรุ่นใหม่มูลค่าลำล่ะ 17,500 ล้านบาท
ชมภาพประกอบที่หนึ่งไปพร้อมกัน
เพราะเป็นเรือรุ่นส่งออกที่ยังไม่ได้ปรับปรุงตามความต้องการลูกค้า ระบบเรดาร์กับระบบอำนวยการรบใช้ของเกาหลีใต้ไปก่อน
หัวเรือติดปืนใหญ่ขนาด 76/62 มม.ถัดไปเล็กน้อยคือแท่นยิงแนวดิ่งจำนวน 16 ท่อยิงติดตั้งตามยาว
ขนาบข้างด้วยแท่นยิงเป้าลวงตอร์ปิโดจำนวน 12 แท่นยิง
หน้าสะพานเดินเรือยกสูงเล็กน้อยประมาณหนึ่งฟุต ติดตั้งเสาเหล็กสำหรับรับ/ส่งสิ่งของกลางทะเล กับแท่นยิง SIMBAD-RC สำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้อากาศยาน
Mistral 3 จำนวน 2 ท่อยิง
เหตุผลที่ติดตั้งแท่นยิง
SIMBAD-RC นั้นมีอยู่ว่า ต้องการใช้อาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้อากาศยาน Mistral
3 ยิงสกัดอากาศยานไร้คนขับชนิดต่างๆ เหตุผลก็คือ Mistral 3 ราคาถูกที่สุด ติดตั้งง่ายที่สุด อีกไม่กี่ปีจะมีแท่นยิง SIMBAD-RC4
ขนาด 4 ท่อยิงเป็นอีกหนึ่งทางเลือก การติดตั้ง
SIMBAD-RC เพิ่มเติมเข้ามาของบริษัท Hanwha Ocean
เพื่อให้ตัวเองสามารถโม้ได้ว่าเรือทำภารกิจต่อต้านอากาศยานไร้คนขับได้
ภาพประกอบที่สองเป็นบั้นท้ายเรือที่ทุกคนคุ้นเคย
ลานจอดกับโรงเก็บรองรับเฮลิคอปเตอร์ขนาด 10 ตัน
มีจุดติดตั้งโซนาร์ลากท้ายรุ่นใหม่ทันสมัยหากลูกค้าอยากเสียเงินเพิ่ม
บนหลังคาโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ติดตั้งปืนกลอัตโนมัติขนาด 30 มม.จำนวน 2 กระบอก ออปโทรนิกส์ควบคุมการยิงจำนวน 2
ตัว และแท่นยิง SIMBAD-RC อีก 1 แท่นยิง ส่วนจุดติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้เรือรบ
แท่นยิงตอร์ปิโดเบาปราบเรือดำน้ำ เป้าลวงอาวุธปล่อยนำวิถี และจุดรับส่งเรือยางท้องแข็ง
เหมือนเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดชชนิดต่อให้หลับตาเดินก็ไม่เตะ
ข้อแตกต่างอย่างชัดเจนเกี่ยวข้องกับเครื่องยนต์
Frigate
4000 ใช้ระบบขับเคลื่อน CODAD เครื่องยนต์ดีเซลล้วน
ความเร็วสูงสุด 27 นอต
ส่วนเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดชใช้ระบบขับเคลื่อน CODAG เครื่องยนต์แก๊สเทอร์ไบน์กับดีเซล
ความเร็วสูงสุด 33 นอต ทั้งนี้ทั้งนั้นระบบขับเคลื่อนปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการลูกต้า
ส่วนเปลี่ยนแล้วใช้งานดีหรือเปลี่ยนแล้วใช้งานไม่กี่ปีเครื่องยนต์พังขึ้นอยู่กับแต้มบุญหนุนนำ
คำถาม…ในเมื่อบริษัท Hanwha Ocean
ตั้งใจเสนอแบบเรือ Frigate 4000
ให้กับราชนาวีไทย บังเอิญแบบเรือมีหลายสิ่งหลายอย่างแตกต่างจากเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช
เราจะซื้อมาใช้งานโดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาเรื่องการซ่อมบำรุงได้หรือไม่?
คำตอบ…ได้แน่นอน
ระบบขับเคลื่อนเปลี่ยนเป็น
CODAG ได้แน่นอน ระบบเรดาร์กับระบบอำนวยการรบเปลี่ยนเป็นบริษัท SAAB ได้แน่นอน รบกวนเพื่อนๆ สมาชิกชมภาพประกอบที่สามกันสักนิด แม้แบบเรือ Frigate
4000 ไม่มีเสากระโดงรองสำหรับติดตั้งเรดาร์ตรวจการณ์ระยะกลาง
แต่มีพื้นที่ว่างหน้าปืนกลอัตโนมัติขนาด 30 มม.พอสมควร สามารถสร้างเสากระโดงรองเหมือนเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดชได้แน่นอน การติดตั้งระบบเรดาร์จึงทำได้เหมือนเรือต้นฉบับทุกประการ
คำถาม…ส่วนที่แตกต่างอยู่ตรงไหน?
คำตอบ…อยู่ที่หัวเรือ
เพื่อนๆ
สมาชิกชมภาพประกอบที่สี่กันต่อ
ภาพซ้ายมือเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดชกำลังยิงอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้อากาศยาน
ESSM
เนื่องจากเกาหลีใต้ออกแบบหัวเรือสูงจากระดับน้ำไม่มาก
ติดตั้งแท่นยิงแนวดิ่งบนดาดฟ้าเรือตรงๆ ไม่ได้เนื่องจากความสูงไม่พอ จำเป็นต้องสร้างดาดฟ้าเรือชั้นที่สองหลังปืนใหญ่ขนาด
76/62 มม.รองรับแท่นยิงแนวดิ่งจำนวน 8
ท่อยิงไม่มากไปกว่านี้ ขนาบสองฝั่งด้วยเสาเหล็กสำหรับรับ/ส่งสิ่งของกลางทะเล และมีพื้นที่ว่างหน้าสะพานเดินเรือมากพอสมควร
พื้นที่ว่างหน้าสะพานเดินเรือออกแบบมาเพื่อติดตั้งระบบป้องกันตัวเองระยะประชิด
Phalanx
บังเอิญลูกค้าเปลี่ยนใจอยากย้าย Phalanx มาติดบนหลังคาโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์
พื้นที่ดังกล่าวจึงใช้ติดตั้งแท่นยิงเป้าลวงตอร์ปิโดจำนวน 12 แท่นยิง
เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดชมีสะพานเดินเรือรูปทรงห้าเหลี่ยม
ภาพรวมคล้ายเรือ LCS ชั้น Independence
กองทัพเรือสหรัฐอเมริกา เพื่อนๆ สมาชิกหันมาพิจารณาภาพขวามือกันบ้าง
สะพานเดินเรือของแบบเรือ Frigate 4000 รูปทรงหกเหลี่ยมแต่คล้ายกันมาก
พูดง่ายๆ ก็คือความแหลมถูกเฉือนออกไปเล็กน้อย
นี่คือความเปลี่ยนแปลงจุดที่หนึ่งของเรือ
ความเปลี่ยนแปลงจุดที่สองอยู่ที่ความทันสมัยหัวเรือ
แม้หัวเรือจะมีความสูงเท่าเดิมเมื่อพิจารณาจากภาพประกอบ (ลำจริงหัวเรืออาจสูงกว่านี้ก็เป็นได้)
ทว่า Hanwha Ocean ออกแบบหัวเรือให้ราบเรียบเหมือนเรือฟริเกตรุ่น Full Steath ของแท้ จุดผูกเชือกเรือกับรอกสมอเรือย้ายมาอยู่ใต้ดาดฟ้าเรือ
ส่วนแท่นยิงแนวดิ่ง 16 ท่อยิงติดบนดาดฟ้าเรือหลังปืนใหญ่ขนาด
76/62 มม.
เท่ากับว่า Frigate
4000 มีความทันสมัยกว่าเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช
เท่ากับว่า Frigate
4000 มีความเหมือนเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดชประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์
ส่วนจะจัดเป็นเรือชั้นเดียวกันหรือไม่…เรื่องนี้เกินความรู้ความสามารถผู้เขียน
ข้อสังเกตเล็กน้อยแต่ไม่น่าน้อยสักเท่าไร
โมเดลแบบเรือ Frigate 4000 แม้ออกแบบหัวเรือใหม่ทันสมัยมากขึ้น
ทว่าหัวเรือกลับสูงเท่าเดิมแทบไม่มีความเปลี่ยนแปลง จุดติดตั้งแท่นยิงแนวดิ่งย่อมกินพื้นที่ลึกกว่าเดิมนิดหน่อย
และต้องเสียพื้นที่ใต้ดาดฟ้าเรือสำหรับจุดผูกเชือกเรือกับรอกสมอเรือ ถ้าออกแบบให้หัวเรือสูงกว่าเดิมประมาณ
1.7 เมตรเทียบเท่าดาดฟ้าเรือชั้นสองเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช
น่าจะเหมาะสมมากกว่า มีพื้นที่ใช้งานมากกว่า สวยกว่า ดุดันกว่า
และเผชิญหน้าคลื่นลมแรงได้ดีกว่า
การออกแบบกลับทำให้ทุกคนเห็นว่าหัวเรือเตี้ยกว่าเดิมโดยไม่ได้ตั้งใจ
เป็นข้อตำหนิเล็กๆ
ที่ผู้เขียนบังเอิญมองเห็นจากแบบเรือ
ปล.เรือฟริเกต
Frigate 4000 ลำจริงอาจแตกต่างจากโมเดลเรือหยาบๆ ตามภาพประกอบ
อ้างอิงจาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น