วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Royal Thai Navy What If. (Update 28-Feb-2017)

     บทความแห่งจินตนาการของผู้เขียนครับ อ้างอิงอยู่บนพื้นฐานความเป็นเท็จทั้งหมดทั้งปวง การวาดภาพถือเป็นงานอดิเรกที่ผู้เขียนรักมากที่สุด แต่จู้จี้จุกจิกที่สุดและใช้เวลามากที่สุดเช่นกัน ช่วงนี้ไม่มีเวลาวาดภาพเรือจริงเพิ่มเติมเสียที เลยนำผลงานจากในอดีตมาดัดแปลงปรับปรุงเพื่อความสะใจ ผลงานที่ได้ดีบ้างไม่ดีบ้างคละเคล้ากันไป ไม่รู้จะเขียนอะไรดีแล้ว...เริ่มเลยแล้วกันเนอะ

ปล : นิดเดียวครับ บทความนี้จะมีอัพเดทไปเรื่อยไม่จบสิ้น กระทั่งผู้เขียนเห็นว่ายาวเกินไปแล้ว จึงจะตัดตอนแล้วไปขึ้นบทความใหม่ตอน 2 ต่อไปเรื่อย ๆ (อยู่ดี) ฮ่า ฮ่า


HTMS Makut Rajakumarn

     เรือหลวงมกุฎราชกุมาร เป็นเรือลำแรกสุดที่ผมวาด Real Design จนแล้วเสร็จ ถือเป็นการเปิดตัวชื่อ SuperBoy ก็ว่าได้ เป็นเรือที่ชอบมากที่สุด ดูน่าเกรงขามมากที่สุด และมีความสวยงามมากทีสุด เรือเข้าประจำการรวมทั้งสิ้น 44 ปีแล้ว สมควรที่จะได้พักผ่อนตลอดกาลเสียที แต่ทว่า...เมื่อไม่กี่เดือนก่อนหน้านี้ ได้มีการซ้อมยิงเครื่องยิงลูกระเบิดปราบเรือดำน้ำ Limbo และประสบความสำเร็จอย่างงดงาม ผมจึงอยากให้เรือเข้าประจำการต่อไปอีกซัก 20-25 ปี

     HTMS Makut Rajakumarn 1998


     นี่คือเรือหลวงมกุฎราชกุมารในปี 1998 ภาพวาดค่อนข้างมีข้อผิดพลาดเยอะพอสมควร ใช้เวลาในการแก้ไขปรับปรุงถึง 10 ชั่วโมงเต็มหรือ 2 วัน ส่วนตัวให้คะแนนความถูกต้องที่ 80 เปอร์เซนต์ครับ แต่ถ้าให้วาดใหม่เลยตั้งแต่หัวเรือจรวดท้ายเรือ อย่างน้อยที่สุดผมต้องมีถึง 35 ชั่วโมงหรือ 7 วัน (ซึ่งก็คงได้ไม่เกิน 90 เปอร์เซ็นต์ เรือที่ผมวาดคะแนนไม่เคยสุงกว่านี้) โดยรวมถือว่าพอใจครับ ดีกว่าเดิมพอสมควร

     รายละเอียดที่ผมไม่ชอบใจนักก็คือ ได้มีการติดตั้งแท่นยิงตอร์ปิโดเบาปราบเรือดำน้ำ ทดแทนปืนรองขนาด 40/60 มม.บริเวณกลางลำ เข้าใจว่าไม่มีจุดไหนดีกว่าตรงนี้แล้ว แต่จุดนี้ก็ดีที่สุดสำหรับปืนรองเช่นกัน เพราะองศาการยิงครอบคลุมทั่วทั้งกราบเรือ ทำให้สามารถป้องกันตนเองได้อย่างดีเยี่ยม เมื่อติดตั้งแท่นยิงตอร์ปิโดตรงนี้แล้ว จึงต้องไปเพิ่มปืนกลอัตโนมัติขนาด 12.7 มม.บนดาดฟ้าสุงสุดทดแทน ส่วนตัวคิดว่าทดแทนไม่ได้ทั้งองศาการยิงและอำนาจการยิง หรือจะใช้ปืน 40/70 แท่นคู่ซึ่งติดทดแทนจรวดซีแคท ผมว่าก็ยังไม่ครอบคลุมได้ดีเหมือนเดิมซักเท่าไหร่

     HTMS Makut Rajakumarn 2017


     การปรับปรุงเรือในเวอร์ชั่นนี้เพื่อยืดอายุไปอีก 10-15 ปี โดยยังคงทำหน้าที่เป็นเรือฟริเกตเช่นเก่า ติดระบบอาวุธปราบเรือดำน้ำทุกอย่างเช่นเดิมต่อ ปรับปรุงโดยถอดปืนใหญ่ 4.5 นิ้ว Mk 8 จำนวน 2 กระบอกหัว-ท้ายออก นำไปแลกกับปืนใหญ่ Oto 76/62 Compact Rebuilt เพื่อมาติดบริเวณหัวเรือ แท่นยิงตอร์ปิโดเบาปราบเรือดำน้ำถูกโยกไปอยู่ท้ายเรือ ก่อนถึงเครื่องยิงลูกระเบิดปราบเรือดำน้ำ Limbo บริเวณกลางเรือติดตั้งปืนกลอัตโนมัติ Denel GI-2 ขนาด 20 มม.ตามตำแหน่งเดิมซึ่งเคยติดปืนกล 40/60 มม.มาก่อน พื้นที่ว่างท้ายเรือรองรับอากาศยานปีกหมุนไร้คนขับ แต่คงจะเป็นขนาดค่อนข้างเล็กใช้พื้นที่ไม่มาก

     เครื่องยนต์ทุกตัวถูกซ่อมใหญ่ชนิดยกเครื่อง รองรับการใช้งานไปอีก 15 ปีแบบวิ่งฉิว ระบบเรดาร์ ระบบโซนาร์ ระบบสงครามอิเลคทรอนิค และระบบอำนวยการรบ ซ่อมคืนสภาพของเดิมหรือปรับปรุงแค่เพียงไม่มาก เราจะได้เรือฟริเกตเบาขนาด 1,900 ตัน ติดปืนจำนวน 6 กระบอกรอบลำเรือ พร้อมระบบอาวุธปราบเรือดำน้ำจำนวน 3 แบบ ไม่ได้คาดคิดว่าจะสามารถจมเรือดำน้ำได้ เพียงแต่ใช้ป้องกันตัวเองในยามคับขัน หรือเป็นหูเป็นตาให้กับกองเรือได้เพียงเล็กน้อยก็ยังดี

     เป็นการปรับปรุงที่ใช้เงินไม่มากเท่าไหร่ คุณสมบัติโดยรวมของเรือแทบไม่เปลี่ยนแปลง ยังมีเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็คือ เรือเล็กขอเดิมถูกแทนที่ด้วยเรือยางและเครน และสร้างห้องพักของชุดตรวจค้นและจับกุมประจำเรือหรือ VBSS บริเวณดาดฟ้าด้านล่างซึ่งเคยเป็นคลังกระสุนปืนท้ายเรือ

     HTMS Makut Rajakumarn 2017 Version 2


      คราวนี้เป็นการปรับปรุงใหญ่มาก เพื่อเพื่อยืดอายุประจำการไปอีก 20-25 ปี เริ่มจากการถอดเครื่องยนต์เดิมออกทั้งสองตัว แล้วใส่เครื่องยนต์ดีเซล MAN 16V28/33D STC จำนวน 2 ตัวเข้าไปทดแทน ถอดเรดาร์ควบคุมการยิงทั้งหมด และเรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำ Thales ZW06 ซึ่งหมดสภาพแล้วออก ติดตั้งควบคุมการยิง Optronic รุ่น Mirador และเรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำ/อากาศ Thales Variant ทดแทน ซ่อมแซมและปรับปรุงเรดาร์ตรวจการณ์ทางอากาศ Thales LW04 ได้เท่าที่ได้แล้วกันนะครับ ระบบสงครามอิเลคทรอนิคเก่าเกินไป ก็คงต้องถอดออกตามระเบียบพัก

     หัวเรือติดตั้งปืนใหญ่ Oto 76/62 Compact Rebuilt กลางเรือติดตั้งปืนกลอัตโนมัติ Denel GI-2 ขนาด 20 มม. ปืนกลอัตโนมัติ  M2 12.7 มม.ด้านหลังสะพานเดินเรือยังคงเดิม แต่ถอดปืนกล 40/70 มม.แท่นคู่ท้ายเรือออกไป รวมทั้งระบบโซนาร์ Atlas DSQS-21C แท่นยิงตอร์ปิโดปราบเรือดำน้ำแฝดสามด้วย อุปกรณ์ทั้งหมดถูกนำไปปรับปรุงคืนสภาพเพื่อติดตั้งบนเรือหลวงจักรีนฤเบศรต่อไป อ้อ...เรือเล็กขอเดิมถูกแทนที่ด้วยเรือยางและเครน ซึ่งมีความคล่องตัวกว่า เบากว่า และทำภารกิจในปัจจุบันได้คล่องตัวกว่า

     เรือหลวงมกุฎราชกุมาร ถูกปรับภารกิจมาเป็นเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ท้ายเรือที่เคยเป็นที่ตั้งของปืนใหญ่ 4.5 นิ้ว Mk 8 และเครื่องยิงลูกระเบิดปราบเรือดำน้ำ Limbo ถูกปรับมาเป็นลานจอดเฮลิคอปเตอร์ขนาด 5-7 ตัน ดาดฟ้าด้านล่างซึ่งเคยเป็นคลังกระสุนปืนและคลังเก็บลูกระเบิดมาก่อน ด้านในสุดปรับปรุงเป็นห้องพักของชุดตรวจค้นและจับกุมประจำเรือหรือ VBSS ที่เหลือปรับปรุงเป็นพื้นที่อเนกประสงค์โล่ง ๆ  เพื่อรองรับผู้ประสบภัยทางทะเล ผู้กระทำผิด หมอและพยาบาล กำลังทหารจากหน่วยต่าง ๆ หรือแม้แต่กระทั่งขนระเบิดลึกหรือทุ่นระเบิดในยามสงคราม (ต้องติดตั้งรางด้านท้ายเรือเพิ่มเติม)

     การปรับปรุงใหญ่ทั้งลำครั้งนี้ ทำให้เรือมีความอเนกประสงค์และรองรับภารกิจมากกว่าเดิม สามารถใช้เป็นเรือฝึกได้ในระดับหนึ่ง เพราะติดตั้งระบบอาวุธมาตราฐานกองทัพเรือไทย ได้แก่ ปืนใหญ่ Oto 76/62 Compact Rebuild ปืนกลอัตโนมัติ Denel GI-2 ขนาด 20 มม. ปืนกลอัตโนมัติ M2 12.7 มม. รวมทั้งควบคุมการยิง Optronic รุ่น Mirador และเรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำ/อากาศ Thales Variant ทหารใหมจะได้รับความรู้ตรงตามหลักสูตรการใช้งานจริง เมื่อเรียนจบเข้าประจำการสามารปรับตัวได้ง่าย พื้นที่ลานจอดยังสามารถติดตั้งหลังคาผ้าใบหรือตู้คอนเทนเนอร์อเนกประสงค์ และยังเหลือพื้นที่รองรับอากาศยานปีกหมุนไร้คนขับได้อีกด้วย

     เรือลำแรกของผู้เขียนก็สิ้นสุดลงตรงนี้เอง ไม่ได้หวงผลงานอะไรเลยนะครับ แต่ถ้าจะนำภาพไปใช้กรุณาอย่าตัดเครดิตที่อยู่ในภาพทั้งหมด เป็นเพราะผู้เขียนอ้างอิงหลายอย่างมาจาก Shipbucket จึงควรทำตามมารยาทของเขาอย่างเคร่งครัด รบกวนด้วยนะครับ ;)


------------------------------------------------------------------------------

เรือลำต่อไปจะตามมาในอีกไม่นาน... ฮ่า ฮ่า

------------------------------------------------------------------------------

12-Feb-2017

HTMS Tapi 2013




    เรือหลวงตาปีเป็นเรือฟริเกตตรวจการณ์ (PF : Patrol Frigate) ชั้น PF-103 เป็นเรือลำที่สองที่ผมวาดต่อจากเรือหลวงมกุฎราชกุมาร เพราะต้องวาดเรือของอิหร่านด้วย จึงมีจำนวนรวมถึง 12 เวอร์ชั่นด้วยกัน กลับกลายเป็นว่าต้องทำงานใหญ่เกินตัว ทั้งที่ยังมีประสบการณ์เพียงนิดเดียว แต่ส่งผลดีมหาศาลกับผมเลยนะ เพราะหลังจากนั้นไม่กลัวงานใหญ่อีกต่อไปแล้ว  แถมยังชอบที่จะทำให้มันใหญ่เข้าว่าต่างหาก พักหลัง ๆ ต้องพยายามทำอะไรให้มันเล็กลงบ้าง ไม่งั้นมันยาวเกินไปจนไม่จบซักเรื่องเสียที

    เรือลำนี้มีแปลนเรือนะ จับมาทำขนาดให้พอดีแล้ววาดทับเลยง่ายดายทีเดียว แต่ผมตัดสินใจวาดเองหมดทั้งลำ เพราะรู้สึกสนุกและตอนนั้นกำลังไฟแรง (ภาพที่ผมวาดโดยไม่ใช่แปลนเรือ แม้สเกลอาจจะเพี๊ยนไปบ้าง แต่โดยรวมออกมาสวยกว่าใช้แปลนเรือนะ แปลกดีเหมือนกัน) ค่อนข้างพอใจนะครับ เพราะเพื่อนชาวต่างชาติเสนอชื่อเข้าชิง Ship of The Year กันเลยทีเดียว ให้คะแนนความถูกต้องที่ 85 เปอร์เซนต์ แต่ให้พูดตามตรงแบบเรือ PF-103 ขี้เหร่มากจนถึงมากที่สุด ทั้งยังติดตั้งอาวุธสมัยสงครามโลกครั้งที่สองเต็มลำเรือ พื้นที่ภายในตัวเรือก็มีน้อยและคับแคบพอตัว อเมริกาต่อเพื่อขายอย่างเดียวนั่นแหละถูกต้องที่สุดแล้ว ขี้เหร่จริงและรักจริงครับ...เรือลำนี้


     ปลายปี 2017 กองทัพเรือปลดระวางเรือหลวงตาปีและเรือหลวงคีรีรัฐ เหตุผลก็คือบังเอิญว่าได้ซื้อต่อเรือฟริเกตมือสองอายุ 10 กว่าปีจากประเทศ XXX ได้จำนวน 2 ลำ จึงโอนเรือชั้น PF-103 ทั้ง 2 ลำให้กับกองบังคับการตำรวจน้ำ โดยถอดอาวุธออกทั้งหมด รวมทั้งระบบเรดาร์และโซนาร์ด้วย

HTMS Tapi 2017





   
     ตำรวจน้ำเองก็ดีใจมาก ที่ได้เรือลำใหญ่สำหรับออกทะเลลึกกับเขาเสียที เพราะที่ผ่านมีมีเรือใหญ่สุดยาว 180 ฟุตเท่านั้น ครั้นจะต่อใหม่ก็ไม่มีงบประมาณเพียงพอ เมื่อได้เรือมาแล้วจึงนำเข้าอู่ต่อเรือเอกชน เพื่อซ่อมแซมระบบเครื่องยนต์และตัวเรือครั้งใหย่ กระทั่งสามารถเข้าประจำการได้อีก 15 ปีสะดวกโยธิน พร้อมกับติดตั้งเรดาร์เดินเรือ FURUNO แบบ X-Band 1 ตัว และ S-Band 1 ตัว พร้อม Satcom สำหรับสื่อการกับบนฝั่ง จัดหาปืนกลอัตโนมัติ Denel GI-2 ขนาด 20 มม.จำนวน 2 กระบอก เพื่อติดหัวเรือ-ท้ายเรือ ที่เลือกปืนชนิดนี้เพราะราคาถูกที่สุดแล้ว อีกทั้งกองทัพเรือไทยก็มีใช้งานจำนวนมาก จึงพออาศัยหยิบยืมอะไหล่-กระสุนในยามจำเป็นได้ ถ้าเรือปลดประจำการก็ย้ายไปเรือลำใหม่ได้อีก ประสิทธิภาพสุงเพียงพอสำหรับภารกิจ นอกจากจะไปปราบโจรสลัดแห่งเกาะตะรุเตา แบบนี้อาจต้องแบก RPG ไปด้วยซัก 8 บ้องข้าวหลาม

     กราบเรือติดปืนกลเบา M-60 จำนวน 2-4 กระบอก หรือจะเป็นปืนกลชนิดอื่นก็ตามสะดวกไม่ว่ากัน เนื่องจากถอดอาวุธสงครามออกไปหมดแล้ว จำนวนกำลังพลประจำเรือก็เลยน้อยลงตามกัน จึงเหลือห้องพักสำหรับชุดตรวจค้นและจับกุมประจำเรือ ปรับปรุงภายในเล็กน้อยก็สามารถใช้งานได้แล้ว ท้ายเรือกางผ้าใบกันแดดกันฝนเสียหน่อย เพื่อจัดทำเป็นพื้นทีอเนกประสงค์ สำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจหน่วยพิเศษ ประชาชนหรือนักท่องเที่ยว รวมทั้งผู้ทำผิดกฎหมายที่โดนจับกุม ยัดเรือยางเพิ่มเข้าไปอีกหนึ่งลำ เนื่องจากปรกติเรือหลวงตาปีมีเรือยางแค่ 1 ลำฝั่งกราบซ้ายเรือ ติดเครนขนาดเล็กไว้ท้ายเรือตามมาตราฐานตำรวจน้ำไทย มีปืนสำหรับฉีดน้ำจำนวน 2 กระบอก ที่หัวเรือฝั่งซ้ายและท้ายเรือฝั่งขวา

     เป็นการปรับปรุงที่ใช้งบประมาณน้อยและแทบไม่แตะต้องโครงสร้างเรือ ปรกติเรือหลวงตาปีต้องถ่วงน้ำหนักท้ายเรือเพราะหัวเรือติดปืนใหญ่ขนาด 76/62 มม.เมื่อถอดออกไปจะทำให้เรือกลับมาคล่องแคล่วตามเดิม ทำภารกิจเรือธงให้กับตำรวจน้ำได้อย่างดีเยี่ยม อาจจะดูโล่งไปซักหน่อยแต่ก็ตามภารกิจแหละครับ หมายเลขเรือ 8301 ก็ คือเป็นเรือชั้น 83 เมตรลำที่ 1 ส่วนเรือหลวงคีรีรัฐหมายเลขเรือ 8302 ไม่ได้เปลี่ยนชื่อพระราชทานนะครับ เพราะยังไม่ได้ปลดประจำการเพียงแต่ย้ายต้นสังกัดเท่านั้น 

     สำหรับเรือหลวงตาปี ก็มีแค่เพียงเท่านี้ เพราะเรือค่อนข้างเก่าอายุ 46 ปีเข้าไปแล้ว ให้เธอและเธอทำภารกิจง่าย ๆ สบาย ๆแล้วกัน ประเภทจับเรือหาปลาต่างชาติ เรือขนเหล้าเถื่อน รวมทั้งเรือสำราญที่เป็นบ่อนกาสิโนอะไรพวกนี้ ไว้ลำถัดไปค่อยทำอะไรสนุกมากกว่านี้นะครับ ;)

------------------------------------------------------------------------------

เรือลำใหม่มาแล้วครับ อาทิตย์นี้ผู้เขียนตั้งใจจะแต่งนิยายตอนใหม่ แต่ไป ๆ มา ๆ ไหงกลายเป็นเรือไปได้ก็ไม่รู้สิ อิอิ

F145 SAS Amatola                                                                                                                                        

กลาง ปี 1994 กองทัพเรือแอฟริกาใต้ ได้มีโครงการจัดหาเรือคอร์เวตรุ่นใหม่ ภายใต้ชื่อ Project Sitron ต้องการเรือรบขนาด 2,500 ถึง 2,800 ตันจำนวน 4 ลำ การสรรหาดำเนินมาจนถึงเดือนกันยายน 1995 พวกเขาจึงได้ 2 แบบเรือเข้ารอบตัดเชือกหาผู้ชนะเลิศ ผลการตัดสินแบบเรือ F590Aจากอู่ต่อเรือ BAZAN ประเทศสเปน เอาชนะแบบเรือ F3000 จากอู่ต่อเรือ Yarrow ประเทศอังกฤษ มีการเซ็นสัญญาซื้อเรือเฟสแรกจำนวน 2 ลำในปีถัดไป ส่วนอีก 2 ลำมีแผนจะสร้างเองภายในประเทศ

เรือคอร์เวตหรือฟริเกตเบาชั้น F590A ระวางขับน้ำ 2,590 ตัน ยาว 104 เมตร กว้าง 12.9 เมตร ติดอาวุธตามความต้องการแอฟริกาใต้ ได้แก่

- ปืนใหญ่ Oto melara 76/62 มม.จำนวน 2 กระบอก (อิสราเอล)
- ปืนกลต่อสู้อากาศยาน Denel 35มม.ลำกล้องคู่จำนวน 1 กระบอก
- จรวดต่อสู้เรือรบ Skerpioen (หรือGabriel Mk 2) จำนวน 8 นัด
- ตอร์ปิโดปราบเรือดำน้ำ 324 มม.แฝดสอง จำนวน 2 แท่นยิง
- ปืนกล 12.7 มม.ควบคุมด้วยรีโมทจำนวน 2 ระบบ
- เรดาร์หลัก Thales MRR-3D NG Surveillance Radar จำนวน 1 ระบบ
- เรดาร์เดินเรือจำนวน 1 ระบบ
- เรดาร์ควบคุมการยิง Reutech RTS 6400 จำนวน 3 ระบบ สำหรับจรวด Skerpioen 1 ระบบ และอาวุธปืนจำนวน 2 ระบบ
- ระบบเป้าลวง Super Barricade จำนวน 2-4 ระบบ

         เรือ SAS Amatola เดินทางมาถึงแอฟริกาใต้ในเดือนธันวาคม 1999 เรือลำที่2 SAS Isandhlwana มาในเดือนกุมภาพันธ์ 2000 แต่ทว่าไม่มีโครงการเฟส 2 อีกต่อไป เพราะรัฐบาลตัดสินใจซื้อเรือฟริเกตชั้น Meko A200 SAN จากเยอรมันจำนวน 2 ลำทดแทน เป็นเรือที่มีขนาดใหญ่กว่าแบบบังกันมิด สามารถติดตั้งจรวดต่อสู้อากาศยาน Umkhonto บนระบบท่อยิงแนวดิ่งได้มากถึงจำนวน 32 ท่อยิงด้วยกัน

แอฟริกาใต้ชอบใจเรือชั้นนี้มากจึงได้สั่งต่อเพิ่ม (สร้างเองในประเทศ) และเมื่อเรือเฟสใหม่จำนวน 2 ลำเข้าประจำการกลางปี 2016 พวกเขาจึงเลือกที่จะขายต่อเรือชั้น F590A จำนวน 2 ลำออกไป


หลังใช้เวลาพิจารณาพูดคุยต่อรองเพียง 2 เดือน แอฟริกาใต้ตัดสินใจขายให้กับไทยในราคาพิเศษ โดยจะถอดอาวุธออกทั้งหมด(ยกเว้นปืนใหญ่ 76/62 กระบอกหน้า) รวมทั้งระบบเรดาร์และระบบอำนวยการรบ เพื่อนำไปติดตั้งบนเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำใหม่ของพวกเขา ส่วนเรือที่ทร.ไทยได้จะมีแต่ตัวเรือกับระบบปราบเรือดำน้ำ นอกจากนี้ไทยยังต้องซื้อจรวดต่อสู้อากาศยาน Umkhonto Block 2 อีกจำนวนหนึ่ง มีการส่งมอบเรือในเดือนกันยายน 2016 อู่ต่อเรือราชนาวีมหิดลเป็นเจ้าภาพปรับปรุงซ่อมแซมจนแล้วเสร็จในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2017 เรามาชมภาพเรือหลวงบางตะบูนหลังทาสีเสร็จสด ๆ ร้อน ๆ กัน

HTMS Bangtaboon 2017    
                                                                                                                  
หัวเรือติดปืน 76/62 Compact รุ่นผลิตโดยอิสราเอล ถัดมาเป็นท่อยิงแนวดิ่งสำหรับจรวดต่อสู้อากาศยาน Umkhonto Block 2 จำนวน 8 ท่อยิง (ในตำเแหน่งเดิมของปืน 76/62 กระบอกสอง จึงไม่มีปัญหาเรือพื้นที่ใต้ดาดฟ้า) จรวดรุ่นใหม่มีระยะยิงเพิ่มขึ้นเป็น 15 กิโลเมตร ใช้เรดาร์ควบคุมการยิง Ceros 200 ในการกำหนดทิศทางและความสุงของเป้าหมายหรือ Guide สามารถเปลี่ยนแปลงเส้นทางหรือ Mid-Course Updates ด้วยเรดาร์ 3 มิติ Sea Giraffe AMB และเมื่อระบบนำวิถีอินฟาเรดหรือ IR-homing จับเป้าหมายได้แล้ว จรวดจะวิ่งเข้าใส่เป้าหมายเองด้วยความเร็ว 2 มัค


Umkhonto Block 2 มีระยะยิงมากกว่าและระบบนำวิถีดีกว่ารุ่นแรกสุด (ที่ยิงได้เพียง 8 กิโลเมตร) ทว่ามีราคาถูกกว่าจรวด ESSM จรวด VL- MICA และ จรวด Sea Ceptor (หรือ CAMM) รวมทั้งมีความน่าเชื่อถือมากกว่าจรวด Barak 1 ที่ค่อนข้างล้าสมัย ตามข้อตกลงทร.ไทยจะจัดหาจรวด 24 นัดในเวลา 5 ปี โดยที่เฟสแรกจะจัดหามาก่อน 8 นัดเพื่อใส่เรือลำล่ะ 4 นัด

บริษัท Denel ยังได้มอบลูกจริงให้ยิงทดสอบ 1 นัด เพื่อโปรโมทสินค้าตัวเองกับหลายชาติที่กำลังสนใจ ไม่ว่าจะเป็น มาเลเซียกับเรือชั้น Meko-100 จำนวน 6 ลำ อินโดนิเซียกับเรือชั้น SIGMA 10514 PKR จำนวนรวม 6 ลำ แม้ว่าเรือจะกำหนดให้ติดตั้งจรวด VL- MICA อยู่ก่อนแล้ว แต่ทว่าเรือที่ต่อเสร็จแล้วจำนวน 2 ลำยังไม่มีการติดตั้งแต่อย่างใด (สถานะปัจจุบันคือ Fitted fot but not with นี่เรื่องจริงนะครับ ฮ่า ฮ่า) Umkhonto Block 2 จึงยังมีโอกาสที่จะขายได้ รวมทั้งเวียตนามและเศรษฐีใหม่อย่างพม่า

บนหลังโรงเก็บฮ.ติดตั้งปืนกล DS-30MR 1 กระบอก ควบคุมด้วย EOS 500 ตามมาตราฐานเรือฟริเกตทร.ไทย ระบบอำนวยการรบใช้ TIRA CMS ของเอวิเอ แซทคอม เป็นเรือลำแรกที่ใช้ระบบสร้างเองภายในประเทศ ติดตั้งระบบโซนาร์ Thales UMS4132 Kingklip sonar พร้อมท่อยิงตอร์ปิโด Mk-46 Mod 5 แฝดสอง เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำก็คือ Super Lynx 110 ตัวเดิมนั่นแหละ ส่งไปปรับปรุงใหญ่พร้อมติดตั้งระบบตรวจจับเรือดำน้ำให้มันเรียบร้อย ติดตั้งระบบ Link 11 Link RTN และ Link-T รุ่นใหม่ล่าสุด จึงสามารถรับ-ส่งข้อมูลกับเครื่องบินกริเพน ผ่านสถานีเรดาร์กองทัพอากาศบนภาคพื้นดินได้


เรือหลวงบางตะบูนถูกส่งไปประจำการทะเลอันดามัน ทำหน้าที่เรือธงสลับกับเรือแฝด นอกจากตรวจการณ์น่านน้ำตามภารกิจปรกติแล้ว ยังเป็นเรือสำหรับเข้าพื้นที่สุ่มเสี่ยง เพราะเป็นเรือรบแท้ ๆ ติดตั้งอาวุธครบทั้ง 3 มิติ แต่...การปรับปรุงยังไม่จบแค่เพียงเท่านี้นะครับ เราไปดูภาพเรือปี 2018 กันต่อไป

HTMS Bangtaboon 2018 
                                                                                                                     
ในปีถัดไปจะมีการติดตั้งจรวดต่อสู้เรือรบ Naka 1 หรือนาคา 1  จำนวน 4 ท่อยิง เป็นท่อยิงจริง 2 ท่อยิง และท่อยิงดัมมี่อีก 2 ท่อยิง จรวดต่อสู้เรือรบ Naka 1 ทร.ไทยร่วมกับบริษัทมาดามรถถังทำการพัฒนาขึ้นมาเอง โดยนำจรวดต่อสู้เรือรบ C-801 มาปรับปรุงใหม่หมด ใช้ระบบเครื่องยนต์และระบบนำวิถีออกแบบโดยอิสราเอล (เอามาจากจรวดเกเบรียล 5 อีกที) ขนาดโดยรวมใกล้เคียงจรวดฮาร์พูน ระยะยิงไกลสุด 70 กิโลเมตรพร้อมระบบนำวิถีด้วยตัวเอง ติดตั้งใช้งานง่ายและเข้ากันได้กับระบบอำนวยการรบ TIRA จรวดมีราคาเพียงครึ่งเดียวของจรวดเอ๊กโซเซ่ต์ จะมีการทดสอบติดตั้งบนเรือหลวงบางตะบูน 1 ปี และทดสอบยิงด้วยลูกจริงในช่วงปลายปี ก่อนเข้าสู่การผลิตจริงในช่วงต้นปี 2019 ต่อไป


ราชนาวีไทยต้องการติดตั้งจรวดนาคา 1 บนเรือหลวงเจ้าพระยา เรือหลวงบางปะกง เรือหลวงปัตตานี เรือหลวงนราธิวาส เรือหลวงกระบี่ เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งเฟสใหม่อีก 2 ลำ รวมทั้งเรือหลวงบางตะบูนและเรือแฝด นับไปนับมาได้มาถึง 9 ลำเข้าไปแล้ว นอกจากนี้ยังสามารถยิงจากชายฝั่งได้ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง มีความต้องการนาคา 1 จำนวน 8 ระบบ จึงมียอดผลิตรวมอยู่ที่ 60-70 ลูก มากเพียงพอสำหรับเปิดสายการผลิตในโรงงานเล็ก ๆ ถึง 5 ปีเต็ม

Naka 1 Block II ถูกออกแบบให้ติดตั้งบนอากาศยาน รองรับเครื่องบิน F-16 MLU และกริเพนของทอ.ไทย รวมทัง T/A-50 และ CN-235  MPA ทร.ไทย ที่มีแผนจะทยอยสั่งซื้อในอนาคต จึงมียอดรวมมากเพียงพอกับการเปิดสายการผลิต สร้างงานสร้างรายได้ให้คนในชาติ และเป็นการพึ่งพาตัวเองในระดับหนึ่ง โดยไม่ได้หวังว่าจะขายได้ในตลาดโลกเพราะมีคู่แข่งเยอะ แต่ถ้ามีคนสนใจอยากได้เราก็พร้อมขายนะเออ บริษัท Denel ได้เสนอถ่ายทอดเทคโนโลยีจรวด Umkhonto Block 2 ให้ด้วย แต่ต้องซื้อจรวดของเขาในปริมาณพอสมควร ทว่าทร.ไทยบอกปัดข้อเสนอนี้ เนื่องจากจรวดต่อสู้อากาศยานใช้เทคโนโลยีสุงกว่าและซับซ้อนเกินไปในเวลานี้

นอกจากจรวดต่อสู้เรือรบแล้ว ยังได้ติดตั้งระบบเป้าลวง Terma DL-12T 2 แท่น แท่นละ 12 ท่อยิง สำหรับเป้าลวงอาวุธปล่อยนำวิถี และแท่นยิงเป้าลวง Terma Mk 137 4 แท่น แท่นละ 6 ท่อยิง สำหรับเป้าลวงตอร์ปิโด ด้านข้างเสากระโดงติดตั้งระบบ Vetala 1A ECM หรือระบบแจมเมอร์ เวตาล 1A พัฒนาต่อยอดจาก Thales Scorpion 2 ECM โดยบริษัทมาดามรถถัง เพื่อใช้ทำงานควบคู่กับระบบ ESM มาตราฐานคือรุ่น Harris ES-3601S (AN/SLD-4(V)) จะติดตั้งบนเรือฟริเกต เรือคอร์เวต เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง และเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ทุกลำ แม้จะมีประสิทธิภาพไม่สุงมากเหมือนรุ่นใหญ่ราคาแพง แต่ก็พอใช้ป้องกันตัวเองได้ในระดับหนึ่ง สามารถผลิตได้เองภายในประเทศ (ส่งออกได้ด้วยนะเออ) และดีกว่าไม่มีอะไรติดบนเรือเลยซักอย่าง

สุดท้ายท้ายสุด ก็คือเรื่องระบบตรวจจับเรือดำน้ำ ระบบโซนาร์ Thales UMS4132 Kingklip sonar ออกแบบมาเพื่อทำงานคู่กับโซนาร์ลากท้าย CAPTAS ทร.ไทยจึงกัดฟันซื้อ CAPTAS-2 Variable Depth Sonar มาติดตั้งท้ายเรือเสียเลย แม้จะระยะทำการสั้นกว่า CAPTAS-4 ก็ตาม แต่ก็มีขนาดเล็กกว่าเหมาะสมกับตัวเรือมากกว่า เมื่อติดตั้งอาวุธและอุปกรณ์ทุกอย่างครบถ้วน เรือหลวงบางตะบูนจะสามารถป้องกันตัวเองได้ดีไม่แพ้เรือฟริเกตขนาดใหญ่ ทั้งยังมี CAPTAS-2 เป็นไอเทมลับเพื่อตรวจจับใต้น้ำ ทำหน้าที่เรือฟริเกตเบาปราบเรือดำน้ำได้อีก 30 ปีเต็ม


ส่วนตัวชอบใจนะครับ อยากให้ทร.ไทยสร้างเรือฟริเกตขนาดประมาณนี้ ติดอาวุธประมาณนี้ ทดแทนเรือฟริเกตชั้นเจียงหูจำนวน 4 ลำในอนาคต

------------------------------------------------------------------------------

HTMS Rattanakosin 1986

ขอย้อนเวลากลับไปในอดีตกันบ้างนะครับ ในปี 1982 กองทัพเรือไทยต้องการจัดหาเรือคอร์เวตอเนกประสงค์ติดอาวุธครบ 3 มิติ  เพื่อดูแลในส่วนอ่าวไทยตอนในรวมทั้งทะเลอันดามัน พื้นที่ปฎิบัติการณ์ไม่เกิน 200 ไมล์ทะเลจากชายฝั่ง จึงกำหนดระวางขับน้ำไว้ที่ประมาณ 1,000 ตัน ใช้เครื่องยนต์ดีเซลจำนวน 2 ตัว เพื่อจะได้จัดหาจำนวนเพียงพอต่อความต้องการ และมีค่าใช้จ่ายในการออกทะเลไม่สุงเกินไป

แบบเรือ Vosper Thorneycroft Type 1136 ได้รับการคัดเลือกในปีถัดไป ติดอาวุธทันสมัยมากที่สุดเท่าที่สามารถจัดหาได้ ได้ เรือคอร์เวตอเนกประสงค์ชั้นเรือหลวงรัตนโกสินทร์จำนวน 4 ลำ



General specifications:

Displacement: 960 tons (normal), 1,140 tons (full load)
Length: 84.8 m
Beam: 10.2 m
Draft: 4.6 m include sonar dome
Installed power: 16,000 bhp (12,000 kW)
Propulsion: 2 × MTU 20V1163 TB83 diesel engines, 2 × shafts
Speed: 26 knots
Range: 3,000 nmi at 16 kn
Complement: 15 officers, 70 enlisted

Sensors and Processing systems: 

1 × Decca 1226 surface search radar
1 × HSA ZW-06 surface search radar
1 × HSA DA-05 air/surface search radar
1 × HSA WM25 mod.41 fire control radar
1 × HSA LIROD-8 radar optical fire control system
1 x Raytheon DE 1160B, hull mounted sona
1 x Thales SEWACO (FORESEE-TH) CMS

Armament: 

2 x MK-141 Launcher for 4to8x Harpoon anti-ship missiles
1 × octuple Albatros SAM launcher (8 Selenia Aspide Mk.1 surface-to-air missile missiles)
1 x Oto Melara 76/62 mm compact gun
1 x OTOBreda 40 mm/70 Bofors Twin Compact naval gun
2 × 20 mm Oerlikon cannon
2 × Mark 32 triple torpedo tubes (Sting Ray torpedos)
1 x Sagem Defense Securite Dagaie Decoy


ต่อจากนั้นจึงเป็นการจัดหาเฟสสอง ซึ่งก็คือเรือคอร์เวตปราบเรือดำน้ำปรับปรุงจากรุ่นเดิม โดยจะต้องมีลานจอดอากาศยานปีกหมุนพร้อมห้องควบคุมท้ายเรือ รองรับเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ Super Lynx mk110 ที่จัดหาใหม่ในโครงการเดียวกันนี้ด้วย รวมทั้งระบบโซนาร์ลากท้ายรุ่น Raytheon DE 1146 VDS sonar ซึ่งอิตาลีซื้อลิคสิทธิ์อเมริกามาผลิตและขายเอง ทำงานควบคู่กับ Raytheon DE 1160B hull mounted sonar ซึ่งเป็น medium frequency sonar ทำงานย่านความถี่ 7.5 kHz มีขนาดเล็กน้ำหนักเบาแค่เพียง 25.4 ตัน (ขณะที่ DUBV-43 VDS ของฝรั่งเศสน้ำหนักรวมถึง 100 ตัน) รวมทั้งรับข้อมูลจากโซโนบุยของ Super Lynx ด้วยระบบสื่อสารทันสมัย ติดตั้งเรดาร์ควบคุมการขึ้นลงของเฮลิคอปเตอร์เพิ่มขึ้นอีก 1 ตัว



อุปกรณ์ปราบเรือดำน้ำที่ติดเพื่มมีราคาแพงมาก จึงต้องตัดอาวุธราคาแพงชนิดอื่นออกไปทั้งหมด เหลือแค่เพียงอาวุธปืนสำหรับป้องกันตนเอง เรดาร์ควบคุมการยิง HSA WM25 ถูกตัดออกเพราะไม่ได้ติดจรวดต่อสู้อากาศยาน Aspide Mk.1 (HSA Lirod 8 optronic directors สามารถตรวจจับเครื่องบินขับไล่ได้ไกลประมาณ 10 กิโลเมตร และเรือรบผิวน้ำได้ไกลประมาณ 20 กิโลเมตร เพียงพอสำหรับควบคุมปืน Oto Melara 76/62 mm) จรวดต่อสู้เรือรบ Harpoon ก็เช่นกัน เรือมีความยาวเพิ่มขึ้นประมาณ 1.8 เมตร จากการขยายส่วนท้ายให้แบะออกนิดหน่อย (เพื่อรองรับ VDS Sonar) เรือคอร์เวตปราบเรือดำน้ำชั้นเรือหลวงสุโขทัยจำนวน  4 ลำ ทยอยเข้าประจำการระหว่างปี 1989-1992

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------



ผลการค้นหา

2 ความคิดเห็น:

  1. สุดยอดครับ ขอบคุณสำหรับบทความและข้อมูลดีๆ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ยินดีครับ แล้วว่างๆ จะมีบทความมโนแบบนี้ใหม่

      ลบ