วันที่16 มกราคม พ.ศ. 2484 กรมทหารราบที่ 3 กองพันที่ 3
ที่ได้รับการขนานนามว่ากองพันทหารแห่งตังเกี๋ย อันเป็นกองทหารต่างชาติของฝรั่งเศษที่มีประวัติการรบอย่างโชกโชนและกล้าหาญ
ได้เคลื่อนกำลังพลพร้อมอาวุธหนัก ปืนกลและรถถังติดปืนใหญ่ เข้ามาตามเส้นทางที่มุ่งตรงจากทิศเหนือลงมายังทิศใต้
โดยมีเป้าหมายที่จะบุกขยี้กองพันทหารราบที่3 ของไทย อันมีพันตรีขุนนิมมาณกลยุทธเป็นผู้บังคับกองพัน ที่วางกำลังพลตั้งรับอยู่ที่บ้านพร้าว
ที่ตั้งเก่าของกองทหารต่างชาตินั่นเอง
ขบวนทัพของทหารต่างชาติได้เคลื่อนพลเข้าสู่เขตห้วยยาง ตำบลบ้านพร้าว ที่อยู่ห่างจากแนวชายแดนประเทศไทยด้านจังหวัดสระแก้วเข้าไปในประเทศกัมพูชาประมาณ10กิโลเมตร
ห่างออกไปจากถนนสายนั้นประมาณ20เมตรคือห้วยยาง เป็นลำห้วยที่พาดยาวไปตามถนนที่ตอนนี้มีสภาพแห้งขอดไม่มีน้ำ
กองพันทหารราบที่3ของไทยได้เคลื่อนกำลังพลออกจากบ้านพร้าวมาตั้งแต่ตอนเย็นเมื่อวานนี้
และจัดวางกำลังพลเป็นรูปปากฉลามล้อมถนนที่นี่เอาไว้ เพื่อรอยคอยการมาของกองทหารต่างชาติด้วยความอดทนตลอดทั้งคืน
เวลาประมาณ5นาฬิกาโดยประมาณ ด้วยคำสั่งของร้อยเอกอัมพร เสือไพฑูรย์ ปืนกลของร้อยตรียง
ณ นครได้ระเบิดกระสุนขึ้นเป็นนัดแรก จากนั้นทหารไทยทั้งหมดก็เปิดฉากยิงถล่มเข้าใส่ข้าศึกในพื้นเป้าหมาย
กองพันทหารแห่งตังเกี๋ยที่ถูกโจมตีโดยไม่ทันตั้งตัว ได้ทำการต่อสู้อย่างเข้มแข็งและกล้าหาญ
สงครามอินโดจีนได้ระเบิดขึ้นแล้วที่บ้านพร้าว
เวลาผ่านไปประมาณ1ชั่วโมง หลังการยิงต่อสู้อันหนักหน่วงใส่กันของทั้ง2ฝ่าย พันตรีสนิท หงษ์ประสงค์ ผู้บังคับกองร้อยรถรบ
ได้สั่งให้รถถังเบาแบบ76จำนวน2คันเคลื่อนที่ออกจากที่ตั้งทันที
โดยหวังให้เป็นหัวหอกในการเข้าตีแนวรบของข้าศึกให้แตก
และทำลายล้างรถถังติดปืนใหญ่ที่ยังมีพิษสงทั้งหมด
ด้วยยุทธวิธีของกองพันทหารราบที่ ๓
ในบังคับบัญชาของพันตรี ขุนนิมมาณกลยุทธ ในครั้งนี้สามารถบดขยี้ฝ่ายข้าศึกเสียชีวิตไปประมาณ 110 นาย บาดเจ็บ 250 นาย สุญหาย 58 นาย ถูกจับเป็นเชลย 21 นาย ตัวผู้บังคับกองพันของกองทหารต่างชาติเสียชีวิตในที่รบ
ยึดธงชัยเฉลิมพลของข้าศึก ซึ่งประดับเหรียญกล้าหาญครัวเดอแกร์ไว้ได้ ฝ่ายไทยเสียชีวิตในที่รบ 1 นาย คือ พลทหารจอน ปรีพงศ์
และได้รับบาดเจ็บ 5 นาย
ในการรบครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยใช้รถถังในการร่วมรบด้วย รถถังทั้ง 2 คันที่ใช้ในการบุกทะลวงแนวรบข้าศึกจนแตกกระเจิง ทำให้สามารถเข้าพิชิตชัยได้สำเร็จในช่วงเวลาประมาณ7โมงเช้า สามารถยึดอาวุธข้าศึกได้เป็นจำนวนมากรวมไปถึงรถถังแบบเรโนลต์ ยูอี จำนวน 5 คันด้วย นับเป็นสมรภูมิแรกสุดที่ทหารไทยได้ใช้รถถังในการทำศึก น่าเสียดายที่ไม่มีรายละเอียดระหว่างทำการรบอย่างชัดเจน เราจึงไม่ทราบแน่ชัดว่ามีการทำลายรถถังฝ่ายตรงข้ามหรือไม่
หมายเหตุ : รถถังเรโนลที่ยึดได้ ๕ คัน เป็นผลงานการรบของหน่วกองพันทหารราบที่ ๕ จาก อ.หาดใหญ่ จว.สงขลาครับ ขอบคุณเพิ่มเติมจากคุณ Thammarat Ongpalakon มากครับ
ธงชัยเฉลิมพลประดับเหรียญกล้าหาญครัวเดอแกร์ที่เราสามารถยึดมาได้ซึ่งในภายหลังฝรั่งเศษได้เจราจาผ่านทางญีปุ่นให้เราส่งคืนให้
เชลยศึกจำนวน21คนที่ถุกจับกุมตัว
รถถังเบาแบบ 76 (LighttankCardenLoyd6ton , MkE)
ในปี พ.ศ.2476 กองทัพบกได้สั่งซื้อรถถังขนาดเบา แบบ “CardenLoyd6ton , MkE”จากประเทศอังกฤษเข้ามาใช้อีกรุ่นหนึ่ง จำนวน 10 คัน
รถนี้สร้างโดยบริษัท วิกเกอร์ อาร์มสตรอง เช่นเดียวกัน มีชื่อ เล่นว่า “ไอ้โกร่ง ”มีชื่อทางราชการว่า “รถถังเบาแบบ 76”รถถังรุ่นนี้ปลดประจำการเมื่อ ปี พ.ศ.2495 รถถังเบาแบบ 76 เคยมีบทบาทในสงครามมาแล้วโดยเข้าร่วมทำการรบใน
กรณีพิพาทระหว่างไทยกับอินโดจีน ในระหว่างเดือน ธ.ค.2483 ถึง เดือน เม.ย.284 โดยเฉพาะการรบที่สมรภูมิบ้านพร้าว
ข้อมูลของรถขนาด
(กว้าง /ยาว /สูง ) 2.41/4.58/2.19
เมตร
น้ำหนักพร้อมรบ 7.5 เมตริกตัน
พลประจำรถ 3
คน
อาวุธประจำรถ
ปืนใหญ่รถถังขนาด 47 มม. 1 กระบอก
ปืนกลขนาด
7.7 มม. 1
กระบอก
เครื่องยนต์แก๊สโซลีน,อาร์มสตรอง ซิดเดลีย์ 4 สูบ
กำลัง 95 แรงม้า
ความเร็วสูงสุดบนถนน
35 กม./ชม.
ระยะปฏิบัติการ 180 กม.
ความจุของถังน้ำมันเชื้อเพลิง
185 ลิตร
"ไอ้โกร่ง" รุ่นเดียวกับที่ออกศึกในสมรภูมิบ้านพร้าว
รถถังเรโนลที่ยึดได้ ๕ คัน เป็นบันทึกการรบของหน่วยอื่นครับ คือกองพันทหารราบที่ ๕ จาก อ.หาดใหญ่ จว.สงขลา
ตอบลบขอบคุณมากครับ :) ผมใส่ข้อมูลเพิ่มเติมให้แล้ว
ตอบลบ