วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

โครงการพัฒนารถเกราะเพื่อใช้งานภายในประเทศ


เนื่องในโอกาสครบรอบวันสถาปนาขึ้นสู่ปีที่ 5 ของสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ DTI เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2556 พลอากาศเอกสุกำพล สุวรรณฑัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ "อีกก้าว ... ในการสร้างแสนยานุภาพ ให้กองทัพไทยด้วยการพึ่งพาตนเอง ณ ห้องมัฆวานรังสรรค์ สโมสรทหารบก (วิภาวดี) มีใจความดังบางส่วนดังนี้

      "สทป. เริ่มจากการทำจรวด DTI-1 ซึ่งมีระยะยิงไกลถึง 180 กิโลเมตร ได้เทคโนโลยีจากจีน เป็นการ Reverse Engineering ซึ่งถือว่าสำเร็จแล้ว ต่อไปก็กำลังจะทำเป็นรุ่นนำวิถี แต่ความต้องการของกองทัพเปลี่ยนไป นโยบายต่างประเทศของเราก็คือป้องกันประเทศ ไม่รุกรานใคร ต่อไปในอาเซียนเราอาจจะไม่รู้จะรบกับใคร เพราะประเทศเราเป็นศูนย์กลางของอาเซียน เหมือนเป็นไข่แดง มีไข่ขาวล้อมรอบอยู่ ยิ่งต่อไปจะเป็นประชาคมอาเซียนแล้ว ถ้าเพื่อนบ้านเช่นพม่าเจริญ ปัญหายาเสพติดก็จะค่อย ๆ หมดไป ถ้าโครงการที่ทวายสำเร็จปัญหาแรงงานต่างด้าวก็จะหมดไป ซึ่งตรงนี้ต้องคิดแล้ว

        ดังนั้น เมื่อเริ่มจาก DTI-1 แล้ว ก็กำลังพัฒนาไปเป็น DTI-1G วันนี้ความต้องการของกองทัพซึ่งเป็นลูกค้ารายใหญ่ของ สทป. ซึ่ง สทป. ต้องสนับสนุน เพราะกองทัพมีงบประมาณชัดเจน ซึ่งต้องมาสนับสนุน สทป. เช่นกัน วันนี้ทราบว่ามีผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ของไทยมาฟังด้วย จึงอยากจะพูดเรื่องรถเกราะ เพราะประเทศเรามีอุตสาหกรรมยานยนต์ที่เข้มแข็งมาก ดังนั้นตรงนี้ต้องพัฒนาต่อไป
       ผมให้แนวทางกับ สทป. เรื่องรถเกราะเอาไว้ เพราะเรามีความต้องการอีก 2 กรม ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่มากพอที่จะผลิตตอบสนองได้ เทคโนโลยีของรถเกราะก็น่าจะอยู่ในวิสัยที่ทำได้ ซึ่งผมได้ให้นโยบายไว้ว่าเราจำเป็นต้องทำ ให้ร่วมกับเอกชนที่เก่ง ๆ ของไทย อย่างตอนนี้บริษัทของไทยก็ทำรถหุ้มเกราะ First Win ได้แล้ว แม้จะยังใช้อยู่น้อยก็ต้องสนับสนุนกันต่อไป เพื่อให้อุตสาหกรรมของเราเติบโต
       รถ เกราะเป็นสิ่งที่เราเริ่มที่จะทำ งบประมาณก็มีแล้วในการวิจัย โดยกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ มาดูว่ามีความต้องการอย่างไร ต้นแบบตรงกับความต้องการหรือไม่ ซึ่งต่อไปเราอาจจะขายไปต่างประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มอาเซียน ถ้าเราจะให้เขาซื้ออาจจะให้เขาร่วมเป็นหุ้นส่วนกับเราในการผลิตด้วย เหมือนกับ EADS ที่ทำ Eurofighter Typhoon ซึ่งเป็นการร่วมมือกันของยุโรป และประเทศยุโรปก็ซื้อ Typhoon ใช้ นี่คือสิ่งที่เราต้องคิด สทป. จะมีแต่นักวิจัยอย่างเดียวไม่ได้ ต่อไปต้องคิดถึงการตลาดด้วย เช่นรถเกราะนั้น เวียดนามจะซื้อไหม ฟิลิปปินส์จะซื้อไหม

        ดังนั้นรถ เกราะคือสิ่งที่ สทป. จะต้องเริ่มดำเนินการ ส่วนในเรื่องอื่นเช่น UAV จะต้องวิจัยต่อยอดจากสิ่งที่เหล่าทัพวิจัย ไม่ต้องเริ่มใหม่ นี่คือสิ่งที่ สทป. ต้องทำ ต่อไปอาจจะไม่มีเครื่องบินขับไล่แล้ว ดังนั้น UAV เป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งภาคเอกชนจะต้องมีบทบาทสำคัญในการร่วมที่จะทำตรงนี้ คนของ สทป. จะต้องมีความรู้ องค์ความรู้ที่ว่าโรงงานไหนทำอะไรได้ต้องอยู่ที่ สทป."

จากข่าวนี้จะเห็นได้ว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมต้องการให้มีการพัฒนารถเกราะขึ้นมาเพื่อใช้งานในกองทัพไทย โดยมีความต้องการถึง2กรมด้วยกัน นับเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างสุง มาดูผลงานของสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ที่เคยทำขึ้นมาแล้วบ้างครับลงานที่ชัดเจนก็คือจรวดDTI-1เป็นจรวดไม่นำวิถีมีระยะยิงไกลถึง180กม.ที่มีการส่งมอบให้กับกองทัพบกในล๊อตแรกไปแล้ว



                                                        จรวดDTI-1 ที่มีการจัดแสดงตัวจริงไปเมื่อไม่นานมานี้



ตามแผนงานที่วางไว้ ในอนาคตจะมีการพัฒนาไปเป้นจรวดร่อนและจรวดอากาศสู่อากาศในช่วงสุดท้าย ก็ต้องจับตาดูกันต่อไปกับผลงานจากคนไทยกลุ่มนี้



                                             แผนการพัฒนาจรวดเพื่อความมั่นคงของสทป.                   


ชื่อต่อมาที่รมต.เอ่ยถึงก็คือรถหุ้มเกาะล้อยาง4x4แบบ First Win ที่พัฒนาขึ้นมาโดยบริษัทชัยเสรี และมีการจัดซื้อไปใช่งานในกองทัพจำนวนหนึ่งแล้ว แม้จะยังไม่มากถึงขนาดเปิดสายพานการผลิตได้อย่างถาวร แต่ก็นับเป็นก้าวที่สำคัญสำหรับอุตสาหกรรมด้านนี้ในประเทศไทย 


                                                                                         รถเกราะ 4x4 First Win ที่มีการจัดซื้อไปแล้วจำนวนหนึ่ง

นอกจาก First Win ที่ผลิตออกมาใช้งานจริงแล้ว ชัยเสรียังมีต้นแบบรถเกราะล้อยาง 8x8 แบบ Tiger I ที่เคยนำเสนอกองทัพบกในปีพศ.2550 มาแล้ว โดยมีต้นแบบรถเกราะที่เหมือนกับรถเกราะของประเทศสิงค์โปร์และไต้หวัน(CM-32 Yunpao) เพียงแต่ยังไม่มีการผลิตออกมาจริงเพราะมีต้นทุนในการสร้างค่อนข้างสุง แต่ในอนาคตถ้ามีความร่วมมือกับระหว่างสทป.และชัยเสรี ก็อาจจะมีรถเกราะ8x8สัญชาติไทยออกมาจริงๆก็ได้



                                                                  CM-32 Yunpao ของไต้หวัน

1 ความคิดเห็น: