วันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

M21 class Patrol Boat


เรือตรวจการณ์ชั้น M21
วันที่ 9 พฤษภาคม 2561) เวลา 10.19 . พลเรือเอก นริส ประทุมสุวรรณ ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธีรับมอบเรือตรวจการณ์ชายฝั่ง ชุดเรือ ต.265 - .269 จำนวน 5 ลำ ณ ท่าเรือหมายเลข 5 (LST Ramp) ท่าเรือแหลมเทียน การท่าเรือสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โดยมี พลเรือเอก รังสฤษดิ์ สัตยานุกูล ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ พลเรือตรี อนุชา เอี่ยมสุโร ผู้บัญชาการกองเรือยามฝั่ง กองเรือยุทธการ กำลังพลประจำเรือ และแขกผู้มีเกียรติให้การต้อนรับ
เรือตรวจการณ์ชายฝั่ง ชุดเรือ ต.265 - .269 จะเข้าประจำการในกองเรือยามฝั่ง กองเรือยุทธการ มีภารกิจในการตรวจการณ์ สกัดกั้น ลาดตระเวน ป้องกันการแทรกซึมทางทะเลและชายฝั่ง คุ้มครองเรือประมงและเรือพาณิชย์ ป้องกันและคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติบริเวณชายฝั่งทะเลในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน รักษากฎหมายในทะเลตามอำนาจหน้าที่ที่กองทัพเรือได้รับมอบหมาย รวมถึงการถวายความปลอดภัยแด่พระบรมวงศานุวงศ์
คุณลักษณะของเรือตรวจการณ์ชายฝั่ง ชุดเรือ ต.265 - .269
1.มีขีดความสามารถปฏิบัติการรบ (Combat Capabilities) โดยสามารถปฏิบัติภารกิจได้ครอบคลุมพื้นที่ปฏิบัติการบริเวณชายฝั่งในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน สามารถตรวจจับ ติดตามและพิสูจน์ทราบเป้าผิวน้ำ 
2.สามารถป้องกันตนเองจากเรือผิวน้ำและอากาศยานข้าศึกได้ตามสมรรถนะของอาวุธประจำเรือ สามารถปฏิบัติการทางเรืออย่างต่อเนื่อง โดยไม่ต้องรับการส่งกำลังบำรุงเพิ่มเติมได้ไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง
3.สามารถปฏิบัติงานได้ในสภาพทะเลไม่น้อยกว่า Sea State 2 สามารถตรวจค้นเรือที่ต้องสงสัย ค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ และมีความสามารถการทรงตัวที่ดีในการบังคับเรือและบังคับเลี้ยวในการปฏิบัติงานที่ความเร็วสูง (Maneuverability)

คุณลักษณะทั่วไป (Ship System Performance)
ระวางขับน้ำเต็มที่ 45 ตัน
ยาว 21.40 เมตร กว้าง 5.56 เมตร ความลึกของเรือ 3.15 เมตร กินน้ำลึกตัวเรือ 1.05 เมตร
ความเร็วสูงสุด 30 น็อต ความเร็วเดินทาง 15 น็อต
กำลังพลประจำเรือ 9 นาย
สามารถปฏิบัติงานในทะเลได้ต่อเนื่องได้ไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง โดยไม่ต้องรับการส่งกำลังบำรุง
ระยะปฏิบัติการไม่น้อยกว่า 350 ไมล์ทะเล ด้วยความเร็วเดินทาง
เครื่องจักรใหญ่ดีเซล MAN รุ่น D2862 LE463 กำลัง 1,029 kW ที่ 2,100 RPM พร้อมเพลาใบจักร จำนวน 2 เครื่อง
เครื่องยนต์ขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า PERKINS จำนวน 2 เครื่อง
เครื่องกำเนิดไฟฟ้า MARATHON MAGNAPLUS ขนาด 32 kW, 220 V AC. 1 Phase 50 Hz. จำนวน 2 เครื่อง
เกียร์ทด ตราอักษร TWIN DISC ชนิด Intermediate Duty ขนาด Input Rating สูงสุดที่ 1,145 kW ที่ความเร็วรอบ 2,100 RPM จำนวน 2 ชุดเครื่อง
ระบบเพลาใบจักรแบบ Fixed Pitch จำนวน 2 ชุด
อาวุธประจำเรือ
1.ปืนกลขนาด 20 มิลลิเมตร จำนวน 1 กระบอก
2.ปืนกลขนาด 12.7 มิลลิเมตร จำนวน 1 กระบอก เครื่องยิงลูกระเบิด 81 มิลลิเมตร ร่วมแกน จำนวน 1 กระบอก 
โครงการเรือตรวจการณ์ชายฝั่งรุ่นใหม่
                ข้อมูลทั้งหมดของเรือตรวจการณ์ชายฝั่ง ชุดเรือ ต.265 ได้มาจากกองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ ราชนาวีไทยมีโครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ขนาด 45 ตันจำนวนมาก เพื่อทดแทนเรือตรวจการณ์ชายฝั่งเดิม ที่ใช้ราชการมาเป็นเวลานาน และมีกำหนดที่จะปลดระวาง โดยได้ว่าจ้างให้ บริษัท มาร์ซัน จำกัด เป็นผู้ดำเนินการสร้างเรือ เพื่อเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมการต่อเรือภายในประเทศ อีกทั้งยังเป็นการประหยัดงบประมาณ มากกว่าการจัดหาจากต่างประเทศ เรามาดูพัฒนาการของเรือแต่ล่ะชุดไปพร้อมกันเลยครับ
1.โครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ชายฝั่งกองทัพเรือ ชุดเรือ ต.228 - .230 จำนวน 3 ลำ 
ประกอบพิธีรับมอบเรือ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2556 เป็นเรือชุดแรกสุดของเรือชั้น M21 ของมาร์ซัน ซึ่งจะเรียกเรือทุกลำว่าเรือชั้น ต.228 ก็น่าจะได้อยู่นะครับ ทว่าก่อนอื่นผู้เขียนขอพาไปชมแบบเรือก่อนหน้านี้ซักเล็กน้อย นั่นก็คือเรือ ต.227 ซึ่งเข้าประจำการก่อนเรือ ต.228 และเข้าประจำการแค่เพียงลำเดียวเท่านั้น ผิดแปลกไปธรรมเนียมที่เคยปฎิบัติกันมาช้านาน เหตุผลไม่มีอะไรมากหรอกครับ เพื่อทดแทนเรือต.215 ซึ่งเสียหายอย่างหนักจนต้องปลดประจำการ เพราะเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิถล่มในปี 2547

จากแบบเรือจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า.227 กับ ต.228 มีตัวเรือหรือ Hull รูปร่างหน้าตาและขนาดใกล้เคียงกันมาก ที่แตกต่างกันก็เห็นจะเป็นสะพานเดินเรือ มีการปรับปรุงให้ทันสมัยและเหมาะสมมากกว่าเดิม

และถ้าย้อนเวลากลับไปอีกซัก 30 ปี กองทัพเรือไทยเข้าประจำการเรือตรวจการณ์ชายฝั่งชุดเรือ ต.213 – .226 สร้างโดยบริษัท อิตัลไทยมารีน ในระหว่างปี 2523 -2527 จำนวนรวม 14 ลำ เท่ากับว่าเราสร้างเรือตรวจการณ์ชายฝั่งได้เองมานานหลายสิบปีแล้ว และยังสร้างเรือโดยใช้แบบเรือเดียวกันจำนวนมาก เข้าขั้นมาตราฐานสากลเทียบเท่าอารยะประเทศ เรือทั้งหมดสังกัดกองเรือยามฝั่ง กองเรือยุทธการ
                                        เรือ ต.227 ท่ามกลางฝูงเรือชั้น ต.213 สะพานเดินเรือสูงโด่งอยู่ลำเดียว ส่วนตัวเรือยาวกว่ากัน 1.7 เมตร
2.โครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ชายฝั่งกองทัพเรือ ชุดเรือ ต.232 - .237 จำนวน 6 ลำ 
ประกอบพิธีรับมอบเรือ เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2559 โดยโครงการนี้ได้รับงบประมาณจำนวน 822 ล้านบาท เป็นค่าเรือตรวจการณ์จำนวน 6 ลำวงเงิน 709 ล้านบาท หรือเท่ากับลำละ 118.16 ล้านบาท ค่าปืนกลอัตโนมัติขนาด 20 มม.Denel GI-2 จำนวน 6 กระบอกวงเงิน 81 ล้านบาท หรือเท่ากับกระบอกละ 13.5 ล้านบาท รวมทั้งเป็นค่าจัดซื้ออมภัณฑ์อีกจำนวน 32 ล้านบาท
.232 มีความแตกต่างจาก ต.228 อยู่บางประการ บริเวณที่นั่งตรวจการณ์ชั้นดาดฟ้าบนสุด ต.228 จะมีแผ่นกระจกขนาดใหญ่จำนวน 3 บาน เอียงทำมุมเล็กน้อยป้องกันลมและละอองน้ำ แต่ ต.232 จะมีกระจกหูช้างด้วย ยื่นออกมาด้านข้างรับกับแผ่นอลูมิเนียมที่ยาวกว่าเดิม ตำแหน่งดังกล่าวตรงกับที่แขวนห่วงยางอันบน จะเห็นได้ว่าหูช้างเป็นแผ่นกระจกที่ยังไม่มีกรอบ
จุดติดตั้งเรดาร์เดินเรือก็แตกต่างกัน โดย ต.228 จะอยู่บนเสากระโดงพ้นหลังคานิดหน่อย ส่วน ต.228 จะวางอยู่บนหลังคาพอดี อุปกรณ์สื่อสารทั้งหมดมีความใกล้เคียงกัน จับตาดูตรงนี้ให้ดีนะครับ เพราะเรือชุดถัดไปจะมีความเปลี่ยนแปลง




3.โครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ชายฝั่งกองทัพเรือ ชุดเรือ ต.261 - .264 จำนวน 4 ลำ 
ประกอบพิธีรับมอบเรือ เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2560 โดยโครงการนี้ได้รับงบประมาณจำนวน 546 ล้านบาท เป็นค่าเรือตรวจการณ์จำนวน 4 ลำวงเงิน 490 ล้านบาท หรือเท่ากับลำละ 122.5 ล้านบาท ค่าปืนกลอัตโนมัติขนาด 20 มม.Denel GI-2 จำนวน 4 กระบอกวงเงิน 54 ล้านบาท หรือเท่ากับกระบอกละ 13.5 ล้านบาท ค่าปรับปรุงซ่อมแซมปืนกล 12.7 มม.พร้อมเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 81 มม.จำนวน 4 กระบอกวงเงิน 2 ล้านบาท หรือเท่ากับกระบอกละ 5 แสนบาท
สิ่งที่เรือ ต.261 แตกต่างจากเรือ ต.232 ก็คือ กระจกหูช้างมีกรอบเล็กๆ แล้วครับ ช่วยป้องกันแรงกระแทกให้เนื้อกระจกได้บ้าง เสากระโดงเรือสูงขึ้นเล็กน้อย มีการติดตั้ง SATCOM ลูกเล็ก ๆ บนเสากระโดง เพื่อใช้สื่อสารผ่านดาวเทียมดวงไหนก็เถอะ ทันทีที่เห็นผู้เขียนตะโกนลั่นห้องว่าพวกเรามาถูกทางแล้ว! ปัจจุบันการสื่อสารถือเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้น ๆ เมื่อกองทัพเรือให้ความสำคัญกับเรือที่ยาว 21 เมตร จะให้ผู้เขียนรออะไรนอกจากตีมือ


4.โครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ชายฝั่งกองทัพเรือ ชุดเรือ ต.265 - .269 จำนวน 5 ลำ 
ประกอบพิธีรับมอบเรือในวันที่ 9 พฤษภาคม 2561 โดยโครงการนี้ได้รับงบประมาณจำนวน 627.5 ล้านบาท เป็นค่าเรือตรวจการณ์จำนวน 5 ลำวงเงิน 627.5 ล้านบาท หรือเท่ากับลำละ 125.5 ล้านบาท ค่าปืนกลอัตโนมัติขนาด 20 มม.Denel GI-2 จำนวน 5 กระบอกวงเงิน 67.5 ล้านบาท หรือเท่ากับกระบอกละ 13.5 ล้านบาท ค่าปรับปรุงซ่อมแซมปืนกล 12.7 มม.พร้อมเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 81 มม.จำนวน 5 กระบอกวงเงิน 10 ล้านบาท หรือเท่ากับกระบอกละ 2 ล้านบาท
ถ้ารวมตัวเลขจะเห็นได้ว่าไม่เท่ากันนะครับ เพราะยอดรวมเท่ากับค่าเรือตรวจการณ์เปล่า ๆ เท่านั้น กองทัพเรือว่ามาแบบนี้ผู้เขียนก็ว่าตามกัน นี่คือชุดเรือล่าสุดที่เพิ่งรับมอบ รูปร่างหน้าตารวมทั้งอุปกรณ์เหมือน ต.261 นั่นแหละครับ แต่บนเสากระโดงติดอุปกรณ์เพิ่มเติม 1 อย่าง ภาพการทดสอบเรือซึ่งกองทัพนำมาเป็นภาพประกอบ ติดตั้งอาวุธปืนกล Denel GI-2 ที่หัวเรือเหมือนลำอื่นๆ ให้บังเอิญในพิธีรับมอบเรือทั้ง 5 ลำ ได้มีการติดตั้งปืนกลอัตโนมัติขนาด 20 มม.Oerlikon GAM-CO1 เข้าไปทดแทน

GAM-CO1 พวกนี้มาจากไหน เพราะเป็นปืนเก่าที่ไม่มีขายในตลาด คิดว่าถอดมาจากเรือตรวจการณ์ที่ปลดประจำการแล้ว นำมาปรับปรุงซ่อมแซมคืนสภาพใช้งานใหม่ อย่างที่รู้ว่าปืนกล 20 มม.ใหม่เอี่ยมราคา 13.5 ล้านบาท ส่วนเอาของเก่ามาปรับปรุงคืนสภาพ จะใช้งบประมาณ 2.xx ล้านบาทไปจนถึง 4.xx ล้านบาท มีราคาแตกต่างกันพอสมควร
Denel GI-2 เป็นปืนกลจากแอฟริกาใต้ ปรับปรุงมาจากปืนกลอัตโนมัติ GIAT F2 อีกที ใช้ปืนขนาด 20/139 มม.อัตรายิงสุงสุด 720 นัดต่อนาที ระยะยิงหวังผลประมาณ 1 กิโลเมตร ป้อนกระสุนเข้ารังเพลิงได้ 2 สาย แต่ละสายมีจำนวนกระสุน 150 นัด ยอดรวมก็คือ 300 นัดนั่นแหละครับ ติดตั้งแผ่นเหล็กด้านหน้าใช้ป้องกันได้เล็กน้อย

ส่วน GAM-CO1 ซึ่งส่วนใหญ่ต่างประเทศจะเห็นแต่ GAM-BO1 เริ่มเข้าประจำการกองทัพเรืออังกฤษหลังสงครามฟอกแลนด์ 3 ปีคือในปี 1985 ใช้ปืนขนาด 20/85 มม.อัตรายิงสูงสุด 1,000 นัดต่อนาที ระยะยิงหวังผลประมาณ 1 กิโลเมตร ป้อนกระสุนเข้ารังเพลิงได้ 1 สาย มีจำนวนกระสุนรวม 200 นัด เทียบกับ Denel GI-2 แล้ว GAM-CO1 ลำกล้องปืนสั้นกว่า บรรจุกระสุนน้อยกว่า แต่มีอัตรายิงสุงกว่า รวมทั้งมีอายุราชการน้อยกว่า และนี่ก็คือปืนหลักของเรือตรวจการณ์ชั้น M21
ทางด้านปืนรองซึ่งติดตั้งอยู่ด้านหลังเรือ ใช้ปืนกลอัตโนมัติขนาด 12.7 มม.Ordnance M2 HB ที่ทุกคนรู้จักกันดี โดยติดตั้งร่วมกับเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 81 มม.รุ่น Mk2 ราคาปืนใหม่ M2 ประมาณ 1 ล้านบาทบวกลบ แต่เครื่องยิงลูกระเบิดซึ่งเป็นที่นิยมในสงครามเวียดนาม ปัจจุบันน่าจะไม่มีขายแล้วนะครับ (ไม่แน่ใจ) ต้องใช้วิธีปรับคืนสภาพสถานเดียว


5.โครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ชายฝั่งกองทัพเรือ ชุดเรือ ต.270 - .274 จำนวน 5 ลำ 
อยู่ระหว่างการสร้างเรือ ได้ประกอบพิธีวางกระดูก เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2560 2561 โดยโครงการนี้ได้รับงบประมาณจำนวน 627.5 ล้านบาท เป็นค่าเรือตรวจการณ์จำนวน 5 ลำวงเงิน 627.5 ล้านบาท หรือเท่ากับลำละ 125.5 ล้านบาท ค่าปรุบปรุงซ่อมแซมกลอัตโนมัติขนาด 20 มม.Oerlikon GAM-CO1 จำนวน 5 กระบอก ค่าปรับปรุงซ่อมแซมปืนกล 12.7 มม.จำนวน 5 กระบอก ซึ่งไม่ได้ระบุราคาเอาไว้ โดยโครงการนี้จะเป็นเรือเฟสสุดท้ายในการจัดหา ยอดรวมทั้ง 1+4 โครงการก็คือ 3+20 = 23 ลำ
นับรวมถึงตอนนี้เรามีการจัดหาเรือที่ใช้แบบเรือร่วมกันมากถึง 23 ลำ โดยเข้าประจำการจริงแล้ว 18 ลำ และอยู่ระหว่างกว่าการสร้างเรืออีกจำนวน 5 ลำ ถือเป็นแบบเรือที่มีการสร้างจำนวนมากที่สุด ทุบสถิติแบบเรือ ต.213 ที่มียอดรวม 14 ลำ ส่วนในอนาคตจะมีเรือตรวจการณ์ชั้น M21 ตามมาอีกหรือเปล่า คงต้องรอติดตามกันต่อไปนะครับ
สำหรับผู้เขียนพอใจแล้วกับเรือแบบชั้นนี้ ทั้งขนาดเรือ จำนวนอาวุธ รวมทั้งประสิทธิภาพ สิ่งที่ต้องการเพิ่มเติมมากกว่านี้ก็คือ การทำสีลายพรางให้กับเรือตามสมัยนิยม ไม่จำเป็นต้องเข้มแบบในภาพตัวอย่างก็ได้ อยากให้นึกถึงเรือ LCS ของอเมริกา หรือเรือคอร์เวตชั้นวิสบี้ของสวีเดนเข้าไว้ คือถ้าได้แบบนั้นล่ะโดนใจใช่เลย แล้วผู้อ่านล่ะครับชอบลายพรางแบบนี้หรือแบบดิจิตอล หรือชอบสีเทาเข้มเดิม ๆ ของราชนาวีไทยนี่แหละ

อ้างอิงจาก

2 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ นะครับ ตอนนี้ชุด ต.270-274 ทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำแล้วครับ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.marsun.th.com ครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ขอบคุณครับ ว่าแต่ MARSUN มีแบบเรือใหม่ๆ ให้ผมวาดบ้างไหมครับ เหอ เหอ

      ลบ