วันอาทิตย์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

Navies of Landlocked Countries : The End

กองทัพเรือประเทศไม่มีทางออกสู่ทะเล : ตอนจบ

            คุยกันเบื้องต้นซักนิดนะครับ บทความนี้ถือกำเนิดโดยไม่มีจุดมุ่งหมาย แค่อยากเขียนเรื่องแปลกแต่จริงอิงความสนุก มีความรู้ติดปลายนวมนิดหน่อยเท่านั้นก็พอ ทว่าเมื่อตรวจสอบเนื้อหาตั้งแต่ต้นจนจบ กลับได้พบว่ามีข้อมูลที่อยากเผยแพร่เหลือเกิน เป็นบทความที่เขียนไม่ยากแต่รวบรวมข้อมูลยาก และใช้เวลายาวนานกว่าที่เคยคาดคิด

หลังจากได้อ่านกองทัพเรือไม่มีทางออกสู่ทะเล ประเทศกันไปแล้ว ก็จะมาถึงประเทศที่เหลืออีก ประเทศต่อไปเลย รวมทั้งประเทศที่ไม่มีกองทัพเรือแต่มีกำลังรบทางเรืออีก ประเทศ จำนวนตัวเลข 10 และ ที่ได้ระบุไว้นั้น นับเฉพาะประเทศที่จัดตั้งหน่วยงานอย่างเป็นทางการ ถ้ามีใครจัดตั้งเพิ่มก็ต้องมีตัวเลขเพิ่มแน่นอนครับ

ความเดิมตอนที่แล้ว อ่านทบทวนซักนิดนะครับ ---> กองทัพเรือประเทศไม่มีทางออกสู่ทะเล

Paraguay Navy

            ปารากวัยเป็นประเทศไม่มีทางออกสู่ทะเลในทวีปอเมริกาใต้ จำนวนประชากรประมาณ 6.6 ล้านคน ขนาดพื้นที่ประมาณ 406,750 ตารางกิโลเมตร พรมแดนทิศใต้และทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดประเทศอาร์เจนตินา ทิศเหนือติดประเทศบราซิล และทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดประเทศโบลิเวีย

ประเทศแห่งนี้มีแม่น้ำน้อยใหญ่มากมาย แม่น้ำบางช่วงกว้างเกิน 20 กว่ากิโลเมตรด้วยซ้ำ แม่น้ำยังเป็นพรมแดนธรรมชาติครึ่งค่อนประเทศ แม่น้ำปารามาซึ่งมีจุดเริ่มต้นมาจากบราซิล ไหลผ่านกลางประเทศก่อนเลยไปยังอาร์เจนตินา เป็นเส้นทางคมนาคมทางน้ำที่สำคัญ เชื่อมโยงไปยังมหาสมุทรแอตแลนติคได้ มีเรือขนส่งผ่านเข้าออกพรมแดนทุกวัน แล่นไปเทียบท่ากรุงอาซุนซีออนซึ่งเป็นเมืองหลวงได้เลย ประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลแห่งนี้จึงต้องมีกองทัพเรือ

ปารากวัยมีจำนวนเรือรวมทั้งสิ้น 34 ลำ รวมทั้งเฮลิคอปเตอร์ Helibras HB350 จำนวน ลำ (Airbus Helicopters AS350 Écureuil สร้างโดยบราซิล) เรือรบลำใหญ่ที่สุดและเป็นเรือธงนั่นก็คือ เรือปืนชั้น Humaitá จำนวน ลำ ออกแบบโดยวิศวกรปารากวัยเพื่อใช้งานในแม่น้ำโดยเฉพาะ สร้างโดยอู่ต่อเรือ Cantieri navali Odero ประเทศอิตาลี เข้าประจำการในปี 1931 และได้เข้าร่วมในสงครามชาโคในปีถัดไปทันที มีบทบาทในการลำเลียงอาวุธยุทธปัจจัย ไปยังกำลังทหารแนวหน้าที่ต้องต่อสู้กับทหารโบลิเวีย

เรือปืนชั้น Humaitá มีระวางขับน้ำเต็มที่ 856 ตัน ยาว 70 เมตร กว้าง 10.7 เมตร และกินน้ำลึกเพียง 1.7 เมตร ติดตั้งปืนใหญ่ Ansaldo 4.7 นิ้ว (1926 Model) ลำกล้องแฝดจำนวน กระบอก ปืนใหญ่ Ansaldo 76/40 มม.(1904 Model) จำนวน กระบอก ภายหลังได้ติดตั้งปืนกล Vicker QF2-Pounder 40 มม.ลำกล้องแฝดจำนวน 1 กระบอก ทดแทนปืนใหญ่ Ansaldo 76/40 มม.ด้านหน้าสะพานเดินเรือ และยังมีปืนกล 20 มม.ลำกล้องแฝดจำนวนอีก กระบอก ปัจจุบัน ARP Humaitá (C-2) ปลดประจำการแล้ว ถูกปรับปรุงให้เป็นเรือพิพิธภัณฑ์ลอยน้ำต่อไป ส่วน ARP Paraguay (C-1) ยังคงอยู่ในสถานะประจำการ ทว่าจอดสงบคอยงบประมาณปรับปรุงครั้งใหญ่ เรือปืนแม่น้ำลำนี้ประจำการมาแล้ว 86 ปี และยังคงประจำการต่อไปอีกนานแสนนาน (หรือเปล่า ?)

ผู้เขียนอยากแนะนำคุณย่าเซ็กซี่ให้รู้จัก เรือลำถัดไปมีชื่อว่า P01 Capitán Cabral ประวัติความเป็นมาค่อนข้างโลดโผน โดยในปี 1907 อู่ต่อเรือ Werf Conrad ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้ต่อเรือสินค้าชื่อ Triunfo (โดยใช้เศษเหล็กจากเรือลากจูงปลดระวาง) และเริ่มเดินเรือครั้งแรกในปี 1908 เพียง ปีถัดมากองทัพเรือปารากวัยได้ขอซื้อเรือ นำมาใช้งานขนส่งอาวุธยุทธปัจจัย กระทั่งปี 1938 มีการปรับปรุงครั้งใหญ่ให้เรือสินค้าเป็นเรือรบ และติดปืนใหญ่ 76/40 มม.จำนวน กระบอก และปืนกล 7.7 มม.จำนวน กระบอก มีการเปลี่ยนชื่อเรือเป็นมา Adolfo Riquelme ก่อนเปลี่ยนอีกครั้งมาใช้ชื่อ Capitán Cabral

ในปี 1980 มีการปรับปรุงเรือรอบที่เท่าไหร่ไม่ทราบ P01 Capitán Cabral เปลี่ยนแปลงจนแทบไม่เหลือเค้าโครงเดิม แงะเครื่องยนต์กังหันไอน้ำหมดอายุไขออก ใส่เครื่องยนต์ดีเซลใหม่เอี่ยมทดแทน ติดตั้งปืนกล 40/60 มม.จำนวน กระบอก ปืนกล 20 มม.จำนวน กระบอก และปืนกล 12.7 มม.จำนวน กระบอก P01 Capitán Cabral กลายเป็นเรือตรวจการณ์แม่น้ำอย่างเต็มตัว อายุอานามของเรือลำนี้อยู่ที่ 109 ปีเท่านั้นเอง เห็นภาพถ่ายครั้งแรกมีใครเดาอายุถูกบ้าง

เรือรบที่ทันสมัยที่สุดของปารากวัยก็คือ เรือตรวจการณ์ P05 ARP Itapu ซึ่งได้ซื้อมาจากบราซิลในปี 1985 ระวางขับน้ำ 385 ตัน ยาว 46.3 เมตร กว้าง 8.5 เมตร กินน้ำลึกเพียง 1.4 เมตร ความเร็วสุงสุด 14.5 น๊อต ติดตั้งอาวุธเหมือนกับเรือ P01 Capitán Cabral นอกจากออกแบบให้ใช้งานในน้ำตื้นได้ดีแล้ว ยังมีลานจอดเฮลิคอปเตอร์บริเวณด้านท้ายเรือด้วย

หน้าที่หลักของกองทัพเรือปารากวัยประกอบไปด้วย การดูแลป้องกันพรมแดนของประเทศส่วนที่ติดกับแม่น้ำ การช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ (ทั้งจากภัยธรรมชาติรวมทั้งอุบัติเหตุ) และอีกหนึ่งภารกิจที่สำคัญมากก็คือ การป้องกันและปราบปรามการค้ายาเสพติด ศัตรูตัวฉกาจของทุกประเทศในแถบอเมริกาใต้ ขบวนการค้ายาเสพติดระดับชาตินั้น จะมีกองกำลังติดอาวุธหนักเพื่อคุ้มกันสินค้า เป็นปัญหาใหญ่โตระดับทวีปกันเลยทีเดียว


กองเรือปารากวัยบนแม่น้ำปารามา ด้านหน้าคือเรือ ARP Humaitá (C-2) ปลดประจำการแล้ว จอดคู่กันคือ P07 Teniente Robles และ P08 Yhaguy เรือตรวจการณ์ชั้น Yhaguy ที่ได้รับโอนจากไต้หวัน ด้านท้ายคือ ARP Paraguay (C-1) จอดคู่กับเจ้าคุณย่า P01 Capitán Cabral


                        เรือ P01 Capitán Cabral ในปัจจุบัน บนซ้ายคือภาพถ่ายเรือในปี 1938 บนขวาคือเรือ P05 ARP Itapu

Mongolia Navy

            หลังจากได้พบอะไรที่เก่าที่สุดในโลกไปแล้ว ผู้เขียนขอพาไปรู้จักอะไรที่เล็กที่สุดในโลกบ้าง ประเทศมองโกเลียอยู่แถบตอนเหนือของเอเชีย จำนวนประชากรประมาณ ล้านคน ขนาดพื้นที่ประมาณ 1,564,116 ตารางกิโลเมตร พรมแดนทิศเหนือติดกับรัสเซีย ส่วนทิศใต้ติดกับจีน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง ภูเขา และทุ่งหญ้า สภาพภูมิอากาศแบบทะเลทราย ระหว่างวันและฤดูกาลอุณหภูมิต่างกันมาก มีพื้นที่สำหรับทำการเกษตรได้น้อยกว่าร้อยละหนึ่ง

                มองโกเลียก็เหมือนประเทศโดยทั่วไป คือกำลังทหารป้องกันศัตรูรุกราน กองทัพบกคือขุมกำลังที่ใหญ่ที่สุด อาวุธเกือบทั้งหมดมาจากโซเวียตก่อนล่มสลาย รถถังจำนวน 470 คัน รถหุ้มเกราะชนิดต่าง ๆจำนวน 650 คัน เครื่องยิงจรวดอัตราจร BM-21 จำนวน 130 ระบบ ส่วนกองทัพอากาศมองโกเลียนั้น ปลดประจำการเครื่องบินขับไล่ Mig-21 ไปแล้ว ทว่ายังมีเครื่องบินขนส่งขนาดใหญ่ An-26 จำนวน ลำ เฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-24 จำนวน 10 ลำ เฮลิคอปเตอร์ลำเลียง Mi-8 จำนวน ลำ และ Mi-17 จำนวน 2 ลำ รวมทั้งจรวดต่อสู้อากาศยาน S-75 Dvina ระยะยิง 45 กิโลเมตร และจรวดต่อสู้อากาศยาน SA-3 Goa ระยะยิง 35 กิโลเมตร กองทัพอากาศมองโกเลียได้มีแผนการใหญ่ คือจัดหาเครื่องบินขับไล่ Mig-29 เข้าประจำการ

            แล้วทางด้านกองทัพเรือล่ะ มองโกเลียเป็นประเทศไม่มีทางออกสู่ทะเลที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับสอง เป็นรองแค่เพียงคาซัคสถานประเทศเดียว และพวกเขามีกองทัพเรือเช่นกันครับ ประจำการอยู่ที่ทะเลสาปฮุฟสกุลทางภาคเหนือ ตั้งอยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,645 เมตร ทะเลสาปยาวถึง 125 กิโลเมตร และมีความลึกประมาณ 238 เมตร (มากกว่าอ่าวไทยอีกแล้ว)

กองทัพเรือมองโกเลียมีขนาดเล็กที่สุดในโลก คือมีเรือลากจูงจำนวน ลำชื่อ Sukhbaatar III ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ปี 1930 รัฐบาลโซเวียตมอบให้ในเวลาต่อมา มีทหารเรือทั้งหมดจำนวน นาย โดยมีทหารแค่เพียง นายที่ว่ายน้ำเป็น (ที่เหลือคงพอเอาตัวรอดได้เหมือนผู้เขียน) เนื่องจากภาวะขาดงบประมาณประจำปี จึงได้เปิดบริการล่องเรือกับนักท่องเที่ยววันละ ชั่วโมง ผู้อ่านท่านใดอยากนั่งเรือรบให้เป็นบุญตรูด รีบเปิดมือถือจองทัวร์กันเลยเดี๋ยวนี้



Lao People's Navy

                ประเทศลาวอยู่ในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จำนวนประชากรประมาณ 6.8 ล้านคน ขนาดพื้นที่ประมาณ 236,800 ตารางกิโลเมตร พรมแดนทิศเหนือติดกับจีน ทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดกับพม่า ทิศตะวันออกติดกับเวียดนาม ทิศใต้ติดกับกัมพูชา และทิศตะวันตกติดกับประเทศไทย โดยมีแม่น้ำโขงขวางกั้นพรมแดนในบางช่วง

                กองทัพเรือประเทศลาวเริ่มก่อตั้งในปี 1955 โดยความช่วยเหลือจากฝรั่งเศสซึ่งเป็นผู้ปกครองประเทศ กระทั่งในปี 1975 หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้ใช้ชื่อกองทัพเรือประชาชนลาวกระทั่งปัจจุบัน ภารกิจหลักคือการรักษาความปลอดภัยในแม่น้ำโขง มีกำลังพลประมาณ 500 นาย เรือตรวจการณ์จำนวน 12 ลำ เรือลำเลียงทหารจำนวน ลำ และเรือขนาดเล็กอีกประมาณ 40 ลำ โดยมีฐานทัพและศูนย์บัญชาการอยู่ที่กรุงเวียงจันทร์

                แม่น้ำโขงมีความสำคัญกับการค้าขายระหว่างประเทศ ทำให้ลาว พม่า จีน รวมทั้งไทย ทำภารกิจลาดตระเวนร่วมกันอยู่บ่อยครั้ง เพื่อป้องกันและปราบปรามโจรสลัดแม่น้ำโขง รวมทั้งสกัดกั้นขบวนการค้ายาข้ามประเทศ ซึ่งมีค่อนข้างมากในพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ เรือประเทศลาวทาลายพรางสีเขียวเข้มสวยงาม เป็นแบบเรือรุ่นเดียวกับจีนเพราะซื้อมาจากจีน ใช้กำลังผสมระหว่างทหารเรือและทหารบก รวมทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจในบางภารกิจ

                กองทัพเรือลาวก็มีอะไรที่สุดในโลกกับเขา นั่นคือมีสถานะง่อนแง่นเจียนอยู่เจียนไปมาก ภัยคุกคามประเทศเปลี่ยนรูปแบบไปแล้ว จึงถูกลดความสำคัญเหลือเพียงลูกชายคนขับรถ เรือตรวจการณ์ซื้อใหม่ทุกลำติดตรา Lao People's Army การป้องกันประเทศเป็นเรื่องของกองทัพบก การรักษากฎหมายก็เป็นเรื่องของตำรวจ กองทัพเรือที่แยกตัวจากกองทัพบกเมื่อ 62 ปีก่อน มีแนวโน้มว่าจะได้คืนสู่เหย้าในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า แต่ผู้เขียนไม่ขอยืนยันนะครับ ประเทศนี้เปลี่ยนแปลงอะไรยากมาก


ซ้ายมือเรือตรวจการณ์ลาวทำภารกิจร่วมกับเรือจีน ขวามือล่างเรือตรวจการณ์ลาวทำภารกิจร่วมกับเรือไทย ขาวมือบนเรือลาวขนาดเล็กได้รับมาจากเวียตนาม บริเวณกลางเรือตรวจการณ์ลาวติดตั้งแผ่นเหล็กสุงท่วมหัว พร้อมช่องสำหรับยิงปืนเล็กยาวจากด้านใน แผ่นเหล็กช่วยกันกระสุนปืนได้ในระดับหนึ่ง แต่ถ้าเจอ 12.7 มม.เข้าไม่แน่ใจว่าเอาอยู่หรือไม่

Central African Republic Navy

            มาถึงกองทัพเรือที่ลึกลับที่สุดในโลกกันบ้าง ประเทศสาธารณรัฐแอฟริกากลาง มีจำนวนประชากรประมาณ 4.9 ล้านคน ขนาดพื้นที่ประมาณ 622,984 ตารางกิโลเมตร พรมแดนทิศเหนือติดกับชาด ทิศตะวันออกติดกับซูดาน ทิศใต้ติดกับคองโก และทางทิศตะวันตกติดกับแคเมอรูน เคยเป็นอาณานิคมฝรั่งเศสมาเนิ่นนาน กระทั่งได้รับเอกราชในปี 1960 
   
กองทัพเรือสาธารณรัฐแอฟริกากลาง ถูกก่อตั้งหลังประเทศได้รับเอกราช เพื่อดูแลความปลอดภัยในแม่น้ำอูบองชี ซึ่งมีความยาวประมาณ 1,060 กิโลเมตร และถ้ารวมแม่น้ำเวเลย์ในประเทศคองโก (แม่น้ำสายเดียวกันแต่เปลี่ยนชื่อ) จะมีความยาวมากถึง 2,270 กิโลเมตร แอฟริกากลางมีเรือตรวจการณ์ขนาดเล็กจำนวน ลำ มีเจ้าหน้าที่ประมาณ 100 นาย และทหารหน่วยปฎิบัติการพิเศษ กองพัน โดยเป็นแหล่งที่คัดแต่ทหารระดับหัวกะทิ และขึ้นตรงกับรัฐบาลกลางผู้ให้งบประมาณ

                ทว่าสาธารณรัฐแอฟริกากลางในปัจจุบัน เพิ่งผ่านการเลือกตั้งครั้งสำคัญในปี 2016 หลังจากมีการสู้รบอย่างหนักตั้งแต่ปี 2013 ระหว่างฝ่ายกบฏใช้ชื่อว่าเซเลกา ซึ่งมีกองกำลังติดอาวุธหลายกลุ่มรวมตัว กับฝ่ายรัฐบาลประธานาธิบดีฟร็องซัว บอซีเซลา ซึ่งมีพันธมิตรหลายชาติส่งทหารมาช่วยเหลือ ทหารฝ่ายเซเลกาบุกยึดทำเนียบสำเร็จช่วงปลายปี 2015 ผู้นำคนเก่าต้องหลบหนีไปอยู่ประเทศอื่น ถึงตอนนี้แอฟริกากลางก็ยังไม่สงบ มีการปะทะกันระหว่างชาวคริสต์กับชาวมุสลิมหัวรุนแรง มีกองกำลังสหประชาชาติอยู่ประมาณ 12,000 นาย เพื่อรักษาความสงบในดินแดนที่ไม่มีความสงบ

ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อกองทัพเรือ ซึ่งเคยอยู่ฝ่ายรัฐบาลเก่ามาก่อนนั้น ผู้เขียนไม่อาจทราบสถานะที่แท้จริง ว่าเป็นตายร้ายดีหรือมีเรือจำนวนกี่ลำ คงต้องให้ประเทศฟื้นตัวมากกว่านี้ ถึงพอหาข่าวกองทัพเรือที่ลึกลับที่สุดในโลกได้

                        กำลังผสมระหว่างแคเมอรูน แอฟริกากลาง และคองโก ลาดตระเวนร่วมกันที่แม่น้ำอูบองชีในปี 2010 ส่วนในปัจจุบันบอกได้แต่ว่า เอ่ออออ….

Rwanda Navy

                รวันดาเป็นประเทศไม่มีทางออกสู่ทะเลขนาดเล็ก ตั้งอยู่ในทวีปแอฟริกาตะวันออก พรมแดนทิศเหนือติดยูกันดา ทิศใต้ติดบุรุนดี ทิศตะวันตกติดสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก และทิศตะวันออกติดแทนซาเนีย จำนวนประชากรประมาณ 11.61 ล้านคน ขนาดพื้นที่ประมาณ 26,338 ตารางกิโลเมตร เคยโด่งดังเรื่องการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ในอดีต ทำให้คนอายุ 30-50 ปี ต้องเสียชีวิตครึ่งค่อนประเทศ ต้องใช้คนหนุ่มคนสาวช่วยกันบริหารประเทศ ทว่าตอนนี้ไม่มีอย่างเด็ดขาดแล้ว รัฐบาลรวันดาเอาจริงเอาจังเรื่องนี้มาก แม้จะมีปัญหาเรื่องความยากจนและค่าครองชีพสุง แต่ก็สงบสุขสุงกว่ามาตราฐานทวีปแอฟริกา

                กองทัพเรือขนาดเล็กของรวันดา ถูกจัดตั้งและประจำการอยู่ในทะเลสาปคีวู ซึ่งอยู่ระหว่างสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกและรวันดา ทะเลสาบมีเนื้อที่ 2,700 ตารางกิโลเมตร มีความลึกมากสุดถึง 480 เมตร ประเด็นสำคัญในการมีกองทัพเรือนั้นก็คือ ทะเลสาปมีแหล่งขุดเจาะก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน ทำเงินให้กับประเทศเป็นจำนวนมหาศาล จำเป็นต้องมีทหารเพื่อรักษาความปลอดภัย นอกเหนือไปจากการปกป้องอธิปไตย ซึ่งเป็นหน้าที่หลักของกองทัพเรืออยู่แล้ว

                รวันดามีกองทัพเรือขนาดเล็กมาก ข้อมูลเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่และจำนวนเรือไม่ชัดเจน รวมทั้งมีนาวิกโยธินที่อยู่ในสังกัด ศัตรูเพียงชาติเดียวก็คือสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับสามของแอฟริกา ซึ่งมีกำลังพลทหารเรือประมาณ 1,000 นาย พร้อมเรือตรวจการณ์จำนวน 8 ลำ ลำใหญ่ที่สุดคือเรือชั้น Type 062 ยาว 36 เมตรจำนวน ลำ (ได้รับโอนจากจีนในโครงการเพื่อนพึ่งจีนจีนพึ่งเพื่อน) ทว่าประจำการอยู่ที่ปากอ่าวแม่น้ำคองโก ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในการออกสู่ทะเล เป็นเรือเก่าปลดประวางจากหน่วยยามฝั่งจีน

ทหารเรือคองโกที่ทะเลสาปคีวู มีแค่เรือขนาดเล็กเหมือนรวันดานั่นแหละครับ ทั้งสองประเทศเคยมีคดีความกันมาก่อน ทัพเรือทั้งสองฝั่งเข้าโรมรันพันตูอย่างดุเดือด ทว่าปัจจุบันไม่มีความรุนแรงอีกต่อไป หลังปี 2000 ทั้งสองประเทศก็เริ่มตาสว่าง ขายก๊าซธรรมชาติและน้ำมันกันอย่างสนุกสนาน รอให้ก๊าซหมดทะเลสาบเสียก่อนค่อยว่ากันใหม่



Uganda Navy

            ยูกันดาเป็นประเทศในแอฟริกาตะวันออก มีจำนวนประชากรประมาณ 39.03 ล้านคน ขนาดพื้นที่ประมาณ 236,040 ตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีประชากรต่อพื้นที่สุงมาก พรมแดนทิศตะวันออกติดประเทศเคนยา ทิศเหนือติดประเทศซูดาน ทิศตะวันตกติดสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดประเทศรวันดา

ส่วนทิศตะวันออกเฉียงใต้ของยูกันดา เป็นทะเลสาบวิกตอเรียซึ่งมีเนื้อที่ 68,800 ตารางกิโลเมตร ความยาวรวม 337 กิโลเมตร ระดับความลึกมากสุด 1,135 เมตร ตั้งอยู่บริเวณพรมแดนยูกันดา เคนยา และแทนซาเนีย คือทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดของทวีป คือต้นกำเนิดแม่น้ำไนล์ที่ยาวที่สุดในโลก คือแหล่งน้ำจืดที่สำคัญของหลายชาติ คือสถานที่ทำการประมงที่ดีที่สุด สร้างผลประโยชน์จำนวนมหาศาลให้กับประเทศ

ด้วยเหตุผลนานับประการที่ได้เอ่ยถึง จึงมีเรือประมงต่างชาติรุกล้ำบ่อยครั้ง ยูกันดามีเรือตรวจการณ์จำนวน ลำ พร้อมเหล่านาวิกโยธินอีกประมาณ 400 นาย เพื่อดูแลความปลอดภัยในเขตน่านน้ำตนเอง จากผู้รุกรานซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวเคนยา และยังได้เทงบประมาณก้อนหนึ่งจัดตั้งกรมประมงและตำรวจน้ำ ทำหน้าที่ครบวงจรในทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดของแอฟริกา หน่วยราชการยูกันดามีเรือรวมกันจำนวน 16 ลำ โดยมีภารกิจหลักคือค้นหาและกู้ภัยทางทะเล

นาวิกโยธินยูกันดาได้รับการสนับสนุนและฝึกฝนจากอเมริกา กระทั่งมีความสามารถเพียงพอจนอยากลองของ จึงได้เข้าร่วมภารกิจปราบโจรสลัดในโซมาเลีย ดูจากผลงานก็พอไปวัดไปวาได้อยู่ แต่ยูกันดาใช้อาวุธจากรัสเซียเป็นส่วนใหญ่ รถถัง T-90 รถหุ้มเกราะ BTR-80 เครื่องบินขับไล่ Su-30 รวมถึงเฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-24 ทว่าก็มีสัมพันธ์ที่ดีกับอเมริกาและอิสราเอล รวมทั้งแอฟริกาใต้ ยูเครน และสาธารณรัฐเชก ประเทศจีนพยายามแผ่อิทธิพลเข้ามาในพื้นที่ ทั้งยังช่วยบริจาคโน่นนั่นนี่ครั้นประสบภัยธรรมชาติ รวมทั้งเปิดตลาดการค้าโดยใช้ทางด่วนพิเศษ รอดูกันไปว่ายูจะเสร็จพี่ใหญ่หรือเปล่า


ยูกันดาเหมือนประเทศทั่วไปในแอฟริกา คือมีโจทย์เก่าชื่อเคนยาเป็นเพื่อนบ้านติดกัน เคนยาเป็นประเทศที่ขนาดใหญ่กว่า จำนวนประชากรก็มากกว่า คนเคนยาจึงมักคิดว่าตนเองเหนือกว่า แต่เคนยามีพื้นที่ในทะเลสาบวิกตอเรียหน่อยเดียว เกิดเหตุลอบจับปลาในยูกันดาเกือบทุกวัน กองทัพเรือเคนยาใหญ่โตพอสมควร มีเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งความยาว 54.8 เมตรของฝรั่งเศสจำนวน 1 ลำ เรือตรวจการณ์ติดปืนใหญ่ 76/62 มม.จากสเปนจำนวน 2 ลำ และเรือเร็วโจมตีอาวุธนำวิถีจากอังกฤษจำนวน 2 ลำ แบกจรวดต่อสู้เรือรบออโตแมทจากอิตาลีจำนวน 4-8 นัด

เคนยายังมีพื้นที่อีกด้านติดกับทะเล เรือรบสำคัญทุกลำประจำการอยู่ฝั่งนั้น ทะเลสาบวิกตอเรียมีแค่เพียงเรือลำเล็กลำน้อย รัฐบาลเคนยาไม่เคยคิดใช้ความรุนแรงกับเพื่อนบ้าน เดี๋ยวนี้เขาไม่รบกันแล้ว” ใครคนหนึ่งเคยกล่าวไว้

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับเรือเร็วโจมตีอาวุธนำวิถีชั้น Nyayo ของเคนยา ปัจจุบันไม่ได้ติดตั้งจรวดออโตแมทแล้วล่ะครับ (ในอดีตเคยมีแท่นยิงแต่ไม่มีกล่องจรวด ปัจจุบันแท่นยิงเปล่า ๆ ก็หายไป) เธอคือแฝดพี่กลางของเรือชั้นเรือหลวงคำรณสินธุแห่งกองทัพเรือไทย โดยมีแฝดพี่ใหญ่ชื่อเรือชั้น Dhofar แห่งกองทัพเรือโอมาน เรือของเราซึ่งเกิดหลังสุดและดูอวบอั๋นบวมน้ำตามระวาง ทันสมัยมากขึ้นมีปล่องควันขนาดใหญ่กลางลำ ทว่าทรวดทรงองค์เอวไม่ต่างไปจากพี่น้องเลย



ประเทศที่ไม่มีกองทัพเรือแต่มีกำลังรบทางเรือ

ถึงตอนนี้ผู้อ่านทุกท่านคงได้รู้จัก กองทัพเรือประเทศไม่มีทางออกสู่ทะเลครบถ้วนแล้ว ต่อมาเป็นเรื่องของประเทศที่ไม่มีกองทัพเรือแต่มีกำลังรบทางเรืออีกจำนวน ประเทศ ทำความรู้จักกันพอสังเขปแล้วกันนะครับ

Hungary River Flotilla

                ฮังการีเคยเป็นประเทศที่ยิ่งใหญ่ในอดีต เป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมัน ซึ่งมีประวัติยาวนานตั้งแต่ยุคศตวรรษที่ 9กระทั่งได้กลายมาเป็นจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี มีกองทัพเรือขนาดใหญ่ไม่แพ้ชาติอื่นในยุโรป มีทั้งเรือประจัญบานจำนวน 13 ลำ เรือลาดตระเวนจำนวน ลำ เรือพิฆาตจำนวน 30 ลำ เรือตอร์ปิโดจำนวน 36 ลำ รวมทั้งเรือดำน้ำอีกจำนวน ลำ

แต่นั่นเป็นเพียงอดีตที่ไม่เคยหวนกลับ ฮังการีในปัจจุบันไม่มีกองทัพเรือแล้ว ทว่าที่กรุงบูดาเปสยังมีกองเรือรบขนาดเล็ก ดูแลความปลอดภัยในแม่น้ำดานูปที่มีชื่อเสียง ฮังการีได้รับโอนเรือกวาดทุ่นระเบิดชั้น Neštin จำนวน ลำ จากประเทศยูโกสลาเวียในปี 1988 ระวางขับน้ำ 72 ตัน ยาว 27 เมตร กว้าง 6.5 เมตร ติดปืนกล 20 มม.แฝดสี่จำนวน กระบอก ปืนกล 20 มม.ลำกล้องเดี่ยวจำนวน กระบอก ปืนกล 14.5 มม.จำนวน กระบอก เรือลำต่อมาคือเรือตรวจการณ์ชั้น  AN-2 จำนวน ลำ ระวางขับน้ำ 10.45 ตัน ยาว 13.4 เมตร ทาลายพลางสีเขียวเข้มทั้งสวยงามและดุดัน และมีเรือขนาดเล็กติดจรวดต่อสู้รถถัง เรือยางติดเครื่องยนต์ รวมทั้งเรือลำเลียงพลขนาดเล็กอีกจำนวนหนึ่ง

                ปัจจุบันเรือชั้น Neštin มีจำนวน ลำที่ยังประจำการอยู่ ประกอบไปด้วยเรือ AM-22 Óbuda เรือ AM-31 Dunaújváros และเรือ AM-32 Dunaföldvár กองพันเรือตรวจการณ์ลำน้ำที่ ของฮังการีนั้น นอกจากคอยดูแลรักษาความสงบแล้ว ยังเป็นหน่วยทำลายวัตถุระเบิดใต้น้ำอีกหนึ่งภารกิจ ใครไปเที่ยวกรุงบูดาเปสฝากถ่ายรูปเรือด้วย ;)



Serbia River Flotilla

                Flotilla เป็นรากศัพท์มาจากภาษาสเปน ใช้อธิบายถึงขบวนเรือรบขนาดเล็ก ซึ่งมีขนาดหรือลักษณะที่ใกล้เคียงกัน โดยกองเรือจะมีขนาดเล็กกว่า Fleet หรือ Navy อยู่พอสมควร แต่ในความเป็นจริงเท่าที่ผู้เขียนค้นพบ Flotilla ของหลายประเทศมีขนาดใหญ่โตกว่า Navy ของอีกหลายประเทศ

                เซอร์เบียตั้งอยู่ตอนกลางค่อนไปทางตะวันออกเฉียงใต้ของยุโรป เคยเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย และกลายมาเป็นสหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวียในปี 1991 ต่อด้วยสหภาพรัฐแห่งเซอร์เบียและมอนเตเนโกรในปี 2003 ทว่าใช้ชื่อใหม่ที่ยาวเหยียดแค่เพียง ปีเท่านั้น มอนเตเนโกรได้ขอแยกตัวไปตั้งประเทศใหม่ โคโซโวหรือคอซอวอซึ่งอยู่ทางใต้ของเซอร์เบีย ได้อุกอาจทำตามโดยมียุโรปและอเมริกาชูจั๊กกะแร้ให้ เซอร์เบียก็เลยไม่มีแผ่นดินติดทะเลกับเขา แผนที่ก็เว้า ๆ แหว่ง ๆ หาความสวยงามไม่ได้ เรื่องมันก็เป็นแบบนี้แหละครับท่านผู้ชม

                กองเรือรบแม่น้ำอยู่ภายใต้สังกัดกองทัพบก ถูกจัดตั้งขึ้นในปี 1833 หรือ 174 ปีก่อนหน้านี้ ผ่านการรบมาแล้วอย่างโชกโชนครบทุกสมรภูมิ มีหน้าที่รักษาความปลอดภัยให้แก่แม่น้ำดานูบ แม่น้ำซาวา และแม่น้ำทิสซอจากเทือกเขาคาร์เพเทียน เรือในสังกัดรวมกันประมาณ 20 กว่าลำ โดยมีเรือธงชื่อ RPB-30 Kozara เป็นเรือขนส่งกำลังทหารสร้างขึ้นในปี 1939 ต่อด้วยเรือตรวจการณ์ชั้น Type20 Biscaya ความยาว 21 เมตรจำนวน ลำ เรือตรวจการณ์ชั้น Type16 Botica จำนวน 1 ลำ เรือลำเลียงพลชั้น Type441 จำนวน ลำ และเรือ Degaussing Ship ชื่อ RSRB-36 Šabac ซึ่งสร้างขึ้นในปี 1984 ระวางขับน้ำ 110 ตัน ยาว 32.2 เมตร กว้าง 7.1 เมตร ทำหน้าที่ลดอำนาจแม่เหล็กตัวเรือ รองรับเรือความยาวไม่เกิน 50 เมตรเท่านั้น

                และเรือที่เป็นนางเอกของเซอร์เบียนั้นก็คือ เรือกวาดทุ่นระเบิดชั้น Neštin จำนวน ลำ เป็นแบบเรือเดียวกับเรือของฮังการีนั่นแหละ ทว่าเขี้ยวเล็บแหลมคมกว่าค่อนข้างชัดเจน หัวเรือติดปืนกล 30 มม.แฝดสองรุ่นใหม่จำนวน กระบอก กลางเรือติดจรวดต่อสู้อากาศยานแฝดสี่จำนวน แท่นที่กราบซ้าย ส่วนกราบขวาติดปืนกล 14.5 มม.จำนวน กระบอก ท้ายเรือติดปืนกล 20 มม.แฝดสี่จำนวน กระบอก พร้อม Paravane สำหรับกวาดทุ่นระเบิดจำนวน ตัว และยังได้ติดตั้งรางปล่อยทุ่นระเบิดจำนวน ราง ทอดยาวขนานกราบเรือไปสุดที่แท่นปืนกลขนาด 30 มม.สามารถรบได้ทั้งรุกและรับโดยไม่มีเคอะเขิน นี่มันเรือรบในตำนานของพี่หมีชัด ๆ เห็นครั้งแรกก็ตกหลุมรักถอนตัวไม่ขึ้น


                                        สีขาวขุ่นคือเรือธงชื่อ RPB-30 Kozara ครับ ภาพซ้ายมือคือลายพลางในปัจจุบันของเรือเซอร์เบีย ชอบมาก…มันใช่เลย

Uzbekistan Frontier Service

                อุซเบกิสถานเป็นประเทศในทวีปเอเชียกลาง อดีตเคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต ปัจจุบันถูกล้อมกรอบด้วยประเทศเพื่อนบ้าน มีแต่ทะเลทรายไม่มีทะเลจริงเหมือนคนอื่น แต่ทว่ายังมีแม่น้ำอามูดาร์ยาไหลผ่าน เป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดในเอเชียกลางคือ 2,540 กิโลเมตร ลัดเลาะมายังทะเลอารัลตอนเหนือของประเทศ ตั้งอยู่ระหว่างคาซัคสถานกับคาราคัลปัคสถาน เขตปกครองตนเองในสังกัดอุซเบกิสถาน ทะเลอารัลเคยเป็นทะเลสาบใหญ่เป็นอันดับ ของโลก ปัจจุบันน้ำแห้งขอดหลุดอันดับไปไกลลิบ จากที่เคยลึกสุด 102 เมตรเหลือแค่เพียง 42 เมตร ทะเลสาบถูกแยกเป็นสามส่วนเพราะน้ำหายไป

                กองกำลังป้องกันชายแดนอุซเบกิสถาน มีกองเรือตรวจการณ์ขนาดเล็กในแม่น้ำอามูดาร์ยา นางเอกก็คือเรือ Project 58150 หรือเรือตรวจการณ์ชั้น GYURZA จำนวน ลำ ต่อจากประเทศยูเครนในปี 2004 ระวางขับน้ำ 30.9 ตัน ยาว 20.7 เมตร กว้าง 3.9 เมตร กินน้ำลึก 0.7 เมตร ความเร็วสุงสุด 27.8 น๊อต ติดตั้งปืนกล 14.5 มม.จำนวน กระบอก ปืนกล 7.62 มม.แฝดสองจำนวน กระบอก พร้อมระบบออปโทรนิคควบคุมการยิง ทาลายพลางสีเขียวเหลืองสวยปราดเปรียวเฟี๊ยวสะใจ

                เรือชั้น GYURZA จำนวน ลำราคา 5.6 ล้านเหรียญ อเมริกาเป็นคนจ่ายเพื่อสนับสนุนการปราบปรามยาเสพติด ถ้าในทวีปแอฟริกาเต็มไปด้วยเรือเก่าปลดระวางจากจีน ประเทศที่ลงท้ายด้วยถานก็เต็มไปด้วยเรือลำเล็กลำน้อยจากอเมริกา อุซเบกิสถานยังมีเรือต่าง ๆ อีกพอสมควร ทั้งเรือยางติดเครื่องยนต์ เรือท้องแบนอเนกประสงค์ รวมทั้งเรือตรวจการณ์ความเร็วสุงที่ได้มาจากโซเวียต มากเพียงพอกับการทำภารกิจในแม่น้ำอามูดาร์ยา



Swiss Lakes flotilla

            มาถึงประเทศที่สวยงามติดอันดับโลกกันบ้าง สวิสเซอร์แลนด์ตั้งอยู่ในทวีปยุโรปตะวันตก พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตเทือกเขาแอลป์ ทว่ายังมีแม่แม่น้ำไรน์ แม่น้ำโรน แม่น้ำทิซิโน และแม่น้ำอิน ไหลผ่านหน้าภูเขาถูกต้องตามหลักฮวงจุ้ย สำคัญก็คือทะเลสาบเจนีวาซึ่งมีขนาด 582 ตารางกิโลเมตร เป็นแหล่งน้ำจืดที่ใหญ่เป็นอันดับสองของทวีปยุโรป กองทัพบกจึงได้จัดตั้งกองเรือป้องกันทะเลสาบ ในช่วงที่เกิดสงครามโลกครั้งที่สองในยุโรป มีหน้าที่ค้นหากู้ภัยและรักษาความปลอดภัยครบสูตร

                กำลังทางเรือในปัจจุบันประกอบไปด้วย เรือตรวจการณ์ติดอาวุธชั้น Aquarius หรือ Type 80 จำนวน 11 ลำ ระวางขับน้ำ ตัน ความยาว 10.7 เมตร กว้าง 3.3 เมตร กินน้ำลึก 0.9 เมตร ความเร็วสุงสุด 35 น๊อต ติดตั้งเรดาร์เดินเรือ ตัว และปืนกลขนาด 12.7 มม.จำนวน กระบอก เข้าประจำการตั้งแต่ปี 1982 โดยมีแผนทยอยปลดประจำการตั้งแต่ปี 2019 อีกทั้งยังมีเรือกู้ภัยขนาด 6 เมตรจำนวน ลำ เรือท้องแบนจำนวน ลำ รวมทั้งเรือยางติดเครื่องยนต์อีกจำนวนหนึ่ง

สวิสเซอร์แลนด์หาเรือตรวจการณ์ลำใหม่ได้แล้ว ด้วยการจัดหาเรือชั้น Type 16 จากอู่ต่อเรือ Marine Alutech ในวงเงิน 51 ล้านเหรียญ เรือลำใหม่มีความยาว 14.5 เมตร กว้าง 3.65 เมตร ความเร็วสุงสุด 35 น๊อต ติดตั้งปืนกลควบคุมรีโมทได้ จุด กำหนดส่งมอบตั้งแต่ปี 2018 จนถึง 2021 เป็นเรือตรวจการณ์รุ่นที่สามของสวิสเซอร์แลนด์


                                            ซ้ายมือคือปัจจุบัน ขวามือคืออนาคต และภาพเล็กก็คืออดีต (ติดปืนกลกระบอกเบ้อเริ่มเลยวุ้ย)

Mali Riverine Patrol Force

                มาลีเป็นประเทศในแอฟริกาตะวันตก มีเซเนกัลและกินีกั้นเส้นทางไปสู่ทะเล ทว่ายังมีแม่น้ำไนเจอร์และแม่น้ำเซเนกัลไหลผ่าน จึงมีกองกำลังส่วนหนึ่งสังกัดกองทัพบก ดูแลความสงบเรียบร้อยในแม่น้ำทั้ง สาย เจ้าหน้าที่รวมกันประมาณ 130 นาย พร้อมเรือตรวจการณ์จำนวน 3 ลำ เรือขนาดเล็กและเรือยางติดเครื่อยนต์อีกจำนวนหนึ่ง

                ทว่าในปี 2012 มาลีได้เกิดการปฏิวัติขึ้น (อีกแล้ว) นำโดยนายทหารคนเก่งจากหน่วยต่อต้านการก่อการร้าย ส่งผลให้ประธานาธิบดีโทมานี เตาเร ต้องหนีไปอยู่เซเนกัล กองกำลังติดอาวุธฝ่ายตรงข้ามจึงสบโอกาส บุกเข้ายึดพื้นที่ภาคเหนือเป็นฐานที่มั่นถาวร แบ่งประเทศเป็นสองส่วนในชั่วข้ามคืน สร้างความแตกแยกวุ่นวายด้วยไฟสงคราม กระทั่งปัจจุบันยังมีเสียงปืนดังกึกก้อง กองกำลังสหประชาชาตินำโดยฝรั่งเศสได้เข้ามาในพื้นที่ เพื่อระงับเหตุร้ายและช่วยฝ่ายรัฐบาลไปในตัว

นอกจากมาลีกับแอฟริกากลางแล้ว ยังมีประเทศชาดอีกหนึ่งชาติได้ตกอยู่ในวังน้ำวน ฝรั่งเศสลงทุนขนเครื่องบินขับไล่โจมตีมิราจ 2000D มาประจำการที่สนามบินเอ็นจาเมนาประเทศมาลี เพื่อใช้ทำภารกิจใน ประเทศประหนึ่งกาแฟทรีอินวัน ก่อนหน้านี้มิราจ 2000D เคยมาจอดอยู่ในมาลี ทว่าบินตกไปเองหนึ่งลำจึงได้เปลี่ยนฮวงจุ้ย ทวีปนี้ต้องยกให้เมืองน้ำหอมเขาครับ ก่อนหน้านี้ก็ได้ส่งมิราจ F-1 เข้าประจำการอย่างยาวนาน (จอดในแอฟริกากลางตั้งแต่ปี 1980) วันดีคืนดีพี่ก็ส่งราฟาลมาเก็บเลเวล รวมทั้งเฮลิคอปเตอร์โจมตีไทเกอร์ เข้ามาไล่ยิงฝ่ายกบฎซึ่งมีแต่ปืนอาก้า จรวดอาร์พีจี และมีดตัดอ้อย


                            ซ้ายมือทหารมาลีดูแลความสงบในแม่น้ำเมื่ออดีตกาล ขวามือทหารบังคลาเทศสังกัดสหประชาชาติทำหน้าที่แทนในปัจจุบัน

Malawi Patrol Force

สาธารณรัฐมาลาวีอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปแอฟริกา มีพื้นที่เพียง 118,484 ตารางกิโลเมตร แต่มีจำนวนประชากรถึง 17.22 ล้านคน เป็นประเทศที่ค่อนข้างยากจนประเทศหนึ่ง และมีงบประมาณทางทหารแค่เพียง 0.8 เปอร์เซนต์ จำนวนทหารรวมกันประมาณ 2.5 หมื่นนาย ทหารอากาศมีเครื่องบินลำเลียงใบพัดจำนวน ลำ กับเฮลิคอปเตอร์ขนส่งจำนวน ลำ กองทัพบกมีรถหุ้มเกราะล้อยางจากแอฟริกาใต้จำนวนหนึ่ง แต่ก็ยังมีกองกำลังพิเศษประมาณ 220 นาย คอยดูแลความปลอดภัยในทะเลสาบมาลาวี กองกำลังพิเศษจัดตั้งขึ้นในปี 1971 ด้วยความช่วยเหลือของกองทัพเรือโปรตุเกส

ทะเลสาบมาลาวีมีพื้นที่ทั้งหมด 31,000 ตารางกิโลเมตร จุดลึกที่สุดวัดได้ถึง 700 เมตร เป็นทะเลสาบที่ใสที่สุดแห่งหนึ่งของโลก จึงมีผู้คนทั่วโลกจำนวนมากแวะมาท่องเที่ยว กำลังทางเรือของมาลาวีประกอบไปด้วย เรือตรวจการณ์ชั้น Antares ชื่อ Kasungu P 703 ต่อโดยอู่ต่อเรือ SFCN ฝรั่งเศส เข้าประจำการในกองทัพมาลาวีปี 1985 ระวางขับน้ำ 41 ตัน ความยาว 21 เมตร ติดตั้งปืนกล 20 มม.จำนวน กระบอก และปืนกล 7.62 มม.จำนวน กระบอก เรือลำที่สองคือเรือตรวจการณ์ชั้น Namacurra ชื่อ P 704 Kaning'a ได้รับมาจากแอฟริกาใต้ในปี 1988 ระวางขับน้ำ 5.2 ตัน ความยาว 9 เมตร ติดตั้งปืนกล 12.7 มม.จำนวน กระบอก และปืนกล 7.62 มม.จำนวน กระบอก ส่วนลำที่สามคือเรือลำเลียงพลชั้น Rotork ชื่อ L 702 Chikoko I กระบอก ต่อโดยอู่ต่อเรือ Rotoak Marine ประเทศอังกฤษ ระวางขับน้ำ ตัน ยาว 12.7 เมตร ติดตั้งปืนกล 7.62 มม.จำนวน กระบอก เรือลำเลียงพลมีสภาพทรุดโทรมตามกาลเวลา ทว่ายังไม่มีงบประมาณในการซ่อมคืนสภาพ

นอกจากนี้ยังมีเรือสำรวจขนาดเล็กจำนวน ลำ ต่อจากประเทศฝรั่งเศสในปี 1988 เรือยางติดเครื่องยนต์จำนวน 12 ลำ โดยได้ตั้งฐานทัพเรืออยู่บริเวณหน้าอ่าวลิง ซึ่งเป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญของทะเลสาบ



Burundi Naval Patrol Team

                บุรุนดีตั้งอยู่ในเขตเกรตเลกส์ของแอฟริกา พูดให้ชัดเจนก็คือตอนล่างของรวันดา ขนาดพื้นที่ใกล้เคียงกัน จำนวนประชากรก็ใกล้เคียงกัน (11.18 ล้านคน) คนส่วนใหญ่มาจากเผ่าทุดซี่กับฮูตูเหมือนกัน จึงมีชะตากรรมเหมือนกันราวกับฝาแฝด ประเทศนี้มีการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ครั้งแรกในปี 1972 ต่อมาได้มีอีกครั้งในปี 1993 (เกิดเหตุการณ์ไล่เรี่ยกับรวันดา) ระหว่างที่ความรุนแรงภายในประเทศยังไม่ยุติ ปี 2003 บุรุนดายังได้ทำสงครามกับรวันดา ครั้นจบจากศึกนอกจึงได้หันหน้ามาฆ่าฟันกันเอง กระทั่งเข้าสู่ปี 2006 สงครามภายในประเทศจึงสิ้นสุดลง

และล่าสุดในปี 2015 ได้มีการทำรัฐประหารอีกครั้งแต่ทว่าล้มเหลว ผลก็คือผู้คนล้มตายมากกว่า 400 คน มีผู้ลี้ภัยหนีตายไปยังรวันดา ยูกันดา แทนซาเนีย รวมทั้งคองโกมากถึง แสนคน ประเทศเหล่านี้ไม่ได้ปลอดภัยอะไรนัก แต่ที่บุรุนดีเข้าขั้นร้ายรุนแรงที่สุดต่างหาก มีเจ้าหน้าที่สหประชาชาติ มีเต๊นสีขาวสร้างเป็นค่ายผู้อพยพ และมีทหารต่างชาติเดินกันให้ว่อนเหมือนเพื่อนบ้าน ขาดก็แต่เครื่องบินมิราจ 2000D กับเฮลิคอปเตอร์ไทเกอร์ อาจเป็นเพราะการก่อรัฐประหารดันจุดไฟไม่ติด

เรื่องน่าเศร้ายังไม่หมดนะครับ บุรุนดีติดอันดับประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก ทั้งยังประสบปัญหาความอดอยากในระดับเลวร้ายสุด ปัจจุบันเริ่มดีขึ้นแต่ยังไม่เข้ามาตราฐานโลก ก็เล่นรบกันทุกวันจะเอาเงินที่ไหนมาซื้อข้าว

                แม้จะต้องเผชิญทุกขเวทนาโหมกระหน่ำ แต่บุรุนดีเป็นประเทศที่สวยงามมาก ทั้งยังมีธรรมชาติแสนบริสุทธิ์เป็นจุดขาย ใต้สุดของประเทศติดทะเลสาบแทนกันยิกา ใหญ่เป็นอันดับสองของทวีป ลึกเป็นอันดับหนึ่งของทวีป จุดที่มีความลึกมากที่สุดเท่ากับ 1,470 เมตร บุรุนดีมีเรือตรวจการณ์และทหารจำนวนหนึ่ง คอยดูแลรักษาความปลอดภัยในทะเลสาบ เนื่องจากทหารทั้งหมดอยู่ภายใต้กองกำลัง National Defence Force ไม่มีการแบ่งแยกกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ

                บุรุนดีมีเรือตรวจการณ์จำนวน ลำ เรือยางติดเครื่องยนต์อีกจำนวนหนึ่ง เจ้าหน้าที่ในหน่วยประมาณ 150 นาย โดยในปี 1991 พวกเขาได้รับเรือตรวจการณ์ชั้น Lambro 44 จากกรีซจำนวน ลำ สร้างโดยอู่ต่อเรือ Motomarine ในปี 1974 ความยาวรวมประมาณ 44 ฟุต รัฐบาลยังได้สั่งต่อเรือตรวจการณ์ความยาว 11.6 เมตรจากกรีซอีก ลำ กองทัพเรือกรีซเข้ามาฝึกอบรมสอนงานในช่วงแรกสุด และหลังจากปี 1993 มาจนถึงปัจจุบัน ประเทศจีนได้เข้ามามีบทบาทอย่างเต็มตัว


ภาพบนคือเรือตรวจการณ์ Lambro 44 ของหน่วยยามฝั่งกรีซ เรือจำนวน ลำถูกโอนให้กับบุรุนดีในปี 1991 ภาพล่างคือท่าเรือเมืองบูจุมบูรา ปลายสุดด้านเหนือของทะเลสาบแทนกันยิกา แสดงเรือตรวจการณ์จำนวนหนึ่งจอดอยู่ในท่า

Ethiopia Army

                มาถึงประเทศสุดท้ายกันแล้วนะครับ พวกเราล้วนคุ้นเคยเอธิโอเปียมานานนับสิบปี ด้วยเหตุผลเรื่องความอดอยากแสนสาหัส ภาพที่ปรากฎในหัวก็คือ…เด็กผิวดำร่างกายผอมกระหร่อง กำลังเฝ้ารออาหารจากเจ้าหน้าสหประชาชาติ ทว่าบทความจะมีเรื่องราวแตกต่างออกไป ผู้เขียนเลือกที่จะลงเป็นตอนท้ายสุด ด้วยเหตุผลที่ทุกคนอ่านจบก็น่าจะรู้

กองทัพเรือเอธิโอเปียถือกำเนิดในปี 1955 โดยความร่วมมือจากกองทัพเรืออังกฤษ ผู้วางรากฐานและช่วยฝึกสอนหลักสูตรการเดินเรือ และในปี 1957 พวกเขาได้รับมอบเรือตรวจการณ์ปราบเรือดำน้ำชั้น PC-1604 หมายเลข 1616 จากอเมริกาจำนวน ลำ สำหรับฝึกสอนในทะเลจริงด้วยเรือจริงและอาวุธจริง สองปีต่อมาเรือต้องเดินทางไปหาเจ้าของตัวจริงคืออิตาลี เอธิโอเปียยังได้รับการฝึกอบรมจากอเมริกาและอิตาลีเพิ่มเติม กระทั่งมีความพร้อมจึงจัดหาเรือรบเข้าประจำการ

                โดยในปี 1985 กองทัพเรือเอธิโอเปียมีกำลังพลรวมทั้งสิ้น 3,500 นาย กำลังทางเรือประกอบไปด้วย เรือธงและเรือฝึกชื่อ HMS Ethiopia เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินทะเลขนาดเล็กชั้น Barnegat ชื่อ USS Orca (AVP-49) เคยได้รางวัล Battle Stars จำนวน ดวงในช่วงสงครามโลก ระวางขับน้ำ 1,766 ตัน ยาว 94 เมตร กว้าง 12.55 เมตร ได้รับการซ่อมใหญ่ด้วยวงเงิน ล้านเหรียญ ก่อนส่งมอบให้เอธิโอเปียแบบเช่าซื้อในปี 1962 เป็นการเช่าซื้อไม่มีกำหนดเหมือนเรือไทยจำนวนมาก

ลำต่อไปเป็นเรือเร็วโจมตีอาวุธนำวิถีชั้น OSA II ของโซเวียตจำนวน ลำ เรือเร็วโจมตีตอร์ปิโดชั้น MOL ของโซเวียตจำนวน ลำ เรือตรวจการณ์ขนาด 378 ตันชั้น Wildervank ของเนเธอร์แลนด์จำนวน ลำ เรือตรวจการณ์ยาว 41 เมตรของยูโกสลาเวียจำนวน ลำ เรือตรวจการณ์ยาว 29 เมตรของอเมริกาจำนวน ลำ เรือระบายพลยาว 19.9 เมตรของโซเวียตจำนวน ลำ เอธิโอเปียจัดหาเรือใหม่เช่นกันนะครับ ได้แก่เรือตรวจการณ์ยาว 32 เมตรจากอเมริกาจำนวน ลำ เรือตรวจการณ์ยาว 12.2 เมตรจากอเมริกาจำนวน ลำ และเรือลำเลียงพลขนาด 670 ตันชั้น EDIC จากฝรั่งเศสจำนวน ลำ

                เป็นกองทัพเรือที่ใหญ่โตพอสมควร และมีชนิดเรือครบถ้วนทุกภารกิจ ทว่าในปี 1991 ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั่วทั้งประเทศ สงครามกลางเมืองครั้งสำคัญสิ้นสุดลง มีการจัดตั้งประเทศเอริเทรียในดินแดนติดชายฝั่ง กองทัพเรือพยายามดิ้นรนอย่างถึงที่สุด โดยนำเรือไปใช้ในทะเลเยเมนต่อด้วยจิบูติ ทว่าถึงปี 1996 ก็ต้องแยกย้ายในที่สุด เรือเร็วโจมตีอาวุธนำวิถีชั้น OSA II และเรือตรวจการณ์ยาว 32 เมตร ถูกขายต่อให้จิบูติ เงินบางส่วนถูกหักเป็นค่าน้ำมันและค่าใช้ฐานทัพที่ค้างคามาเนิ่นนาน เรือส่วนที่เหลือถูกขายทอดเป็นเศษเหล็ก รวมทั้งเรือธง HMS Ethiopia อันเป็นความภาคภูมิใจของราชนาวี กองทัพเรือเอธิโอเปียสิ้นสุดแล้ว สุดท้ายเหลือเพียงเรือตรวจการณ์ชั้น Sewart จำนวน ลำ เรือชื่อ GB-21 ความยาวเพียง 12.2 เมตร ถูกโอนมาสังกัดกองทัพบกแค่เพียงลำเดียว สมทบเรือขนาดเล็กและเรือยางเพื่อใช้งานในทะเลสาบทานา

                เรื่องราวของเอธิโอเปียภาคกองทัพเรือ สรุปความหลังเขียนจบได้ว่า จรวดต่อสู้เรือรบระยะยิง 80 กิโลเมตร ปืนใหญ่ 5/38 นิ้วผู้ชนะสงครามโลก ปืนต่อสู้อากาศยาน 30 มม.ลำกล้องแฝด รวมทั้งตอร์ปิโดขนาด 533 มม.จากโซเวียต อาวุธทันสมัยเหล่านี้ล้วนไร้สิ้นซึ่งความหมาย ถ้าเจ้าของอาวุธดังกล่าวไร้สิ้นซึ่งอิสระภาพ ทั้งยังเป็นภาระให้ต้องแบกรับอีกต่างหาก


                                                                            อดีตที่เคยยิ่งใหญ่อลังการ ปัจจุบันที่ต้องอยู่กับความเป็นจริง



คุยกันส่งท้าย

                บทความเรื่อง กองทัพเรือประเทศไม่มีทางออกสู่ทะเล : ตอนจบ” ก็ได้จบลงตามความตั้งใจเสียที ผู้เขียนได้ข้อคิดเพิ่มเติมอีกมากมาย และได้บังเกิดตาสว่างเรื่องหนึ่งว่า ประเทศไทยของเรานี่แหละที่ดีที่สุดแล้ว ขอบคุณเพื่อน ๆ ชาวรัสเซียที่ได้สรรหาภาพสวย ๆ แปลก ๆ ขอบคุณนิตยาสารเจนสำหรับข้อมูลเรือรบ ขอบคุณกูเกิ้ลที่ช่วยแปลภาษารัสเซียให้ผู้เขียนจะพยายามเสาะหาเรื่องแปลกเรื่องเด็ดเรื่องใหม่ ตามอ่านเพื่อเป็นกำลังใจกันต่อไปนะครับ ;)


การซ้อมรบทางแม่น้ำ ACRUX VII ในวันที่ ตุลาคม 2015 ระหว่าง อาร์เจนตินา โบลีเวีย บราซิล ปารากวัย และอุรุกวัย ในแม่น้ำปารามาพื้นที่ประเทศปารากวัย ทั้ง ประเทศมีศัตรูคนเดียวกันชื่อว่ายาเสพติด

           ---------------------------------------------------------------------------------------

อ้างอิงจาก

นิตยสาร Janes Fighting Ships 2009-2010, Janes Fighting Ships 1889-1990, Janes Fighting Ships 1981-1982






































1 ความคิดเห็น: