วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2558

หลังจากเป็นโรคเลื่อนมานานเกือบ2ปีเต็ม ในที่สุดเรือฟริเกต Oliver Hazard Perry สำหรับเม็กซิโกและไต้หวันก็ได้รับการอนุมัติจากประธานาธิบดีอเมริกาแล้ว

http://www.defensenews.com/story/defense/naval/ships/2014/12/19/navy-frigates-ships-taiwan-china-mexico/20642841/

https://www.congress.gov/bill/113th-congress/senate-bill/1683/text


WASHINGTON – It took the better part of two years, but Congress has finally approved the potential transfer to Taiwan and Mexico of six frigates being decommissioned by the US Navy.
The move means negotiators have permission to make a deal for transfer of the ships, four of which are still in service.

Signed into law Thursday by President Barack Obama, the Naval Vessel Transfer Act of 2013 authorizes the transfer of the frigates Curts and McClusky to Mexico on a grant basis.
The act also authorizes the sale of the frigates Taylor, Gary, Carr and Elrod to Taiwan.
All the ships are of the Oliver Hazard Perry class, now being phased out of the US Navy. All remaining frigates are to be decommissioned by the end of September.

ยินดีกับทั้ง2ประเทศด้วย เพราะเรือฟริเกตที่ได้ไปล้วนมีความสำคัญในการใช้งานด้วยกันทั้งสิ้น เม็กซิโกมีเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งและไกลฝั่งเยอะมาก และส่วนมากต่อในอู่ต่อเรือของกองทัพเรือเม็กซิโกเอง แต่พวกเขาไม่มีเรือฟริเกตทันสมัยเลยใหม่สุดก็คือเรือฟริเกตุชั้นKNOXที่ได้รับโอนมาจากอเมริกานั่นแหละ ซึ่งอายุอานามก็ปาเข้าไป40กว่าปีแล้ว ส่วนไต้หวันก็อย่างที่รู้ๆกันว่ากองทัพเรือจีนมาเคาะประตูเรียกแขกอยู่หน้าบ้าน ได้เรือรบไปเพิ่มจะเก่าหรือใหม่เป็นผมก็เอาทั้งนั้น เขาเองก็มีเรือชั้นOLIVER HAZARD PERRY ประจำการอยู่แล้วจำนวนหนึ่ง และได้มีการปรับปรุงติดอาวุธมากกว่าของอเมริกาเสียอีก เพราะฉะนั้นจึงไม่เป็นการยากเลยที่จะใช้งานเรือที่ได้รับใหม่ได้อย่างรวดเร็ว


                                          เรือฟริเกตชั้น Knox ชื่อ ARM Mina (F-214) ของเม็กซิโก

ทั้ง2ประเทศมีเงื่อนไขการได้รับเรือที่แตกต่างกัน เม็กซิโกได้รับการโอนเรือไปโดยมีค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมประมาณ20-40ล้าน เหรียญต่อลำ ส่วนไต้หวันเป็นการขายในราคาพิเศษตัวเลขก็น่าจะอยู่แถว80-100ล้านเหรียญ แต่ก็แลกกับเรือลำใหม่ที่จองไว้ก่อนแล้วและการปรับปรุงซ่อมแซมที่น่าจะ มากกว่ากัน ทั้งนี้เมื่อได้รับการเซ็นอนุมัติก็จะกลายเป็นกฎหมายของอเมริกาทันที คงต้องดูกันต่อว่าไต้หวันจะจัดหาครบจำนวนทั้ง4ลำจริงหรือเปล่า


                                         เรือฟริเกตชั้น Oliver Hazard Perry ของไต้หวันที่ต่อเองในประเทศ
                                            
สาเหตุที่โครงการนี้มีความไปนานพอสมควรมีที่มาทีไปยาวพอประมาณ เริ่มจากบิลแรกสุด Naval Vessel Transfer Act of 2013 มีการนำเสนอในวันที่ 1มกราคม 2013บิลในนี้ไม่ผ่านและเงียบไปเกือบ10เดือน สาเหตุคาดกันว่าเนื่องจากมีชื่อตุรกีอยู่ด้วยก็เลยไม่ผ่านสภา(ไม่แน่ใจว่าสภาไหน) เนื่องมาจากท่าทีทางการเมืองของตุรกีในช่วงเวลานั้นๆที่มีต่อสถานะการณ์ในตะวันออกกลาง ความเปาะบางสุงเกินไปทำให้มีผู้คัดค้านจนไปไม่ถึงฝั่ง

http://www.gpo.gov/fdsys/pkg/BILLS-112hr6649rds/html/BILLS-112hr6649rds.htm

(a) Transfers by Grant.--The President is authorized to transfer 
vessels to foreign countries on a grant basis under section 516 of the 
Foreign Assistance Act of 1961 (22 U.S.C. 2321j), as follows:
            (1) Mexico.--To the Government of Mexico, the OLIVER HAZARD 
        PERRY class guided missile frigates USS CURTS (FFG-38) and USS 
        MCCLUSKY (FFG-41).
            (2) Thailand.--To the Government of Thailand, the OLIVER 
        HAZARD PERRY class guided missile frigates USS RENTZ (FFG-46) 
        and USS VANDEGRIFT (FFG-48).
            (3) Turkey.--To the Government of Turkey, the OLIVER HAZARD 
        PERRY class guided missile frigates USS HALYBURTON (FFG-40) and 
        USS THACH (FFG-43).
    (b) Transfer by Sale.--The President is authorized to transfer the 
OLIVER HAZARD PERRY class guided missile frigates USS TAYLOR (FFG-50), 
USS GARY (FFG-51), USS CARR (FFG-52), and USS ELROD (FFG-55) to the 
Taipei Economic and Cultural Representative Office of the United States 
(which is the Taiwan instrumentality designated pursuant to section 
10(a) of the Taiwan Relations Act (22 U.S.C. 3309(a))) on a sale basis 
under section 21 of the Arms Export Control Act (22 U.S.C. 2761).


 กระทั่งในวันที่12พฤษจิกายน2013หลังจากล่าช้าไปร่วม10เดือนเต็มๆ คณะผู้จัดทำจึงได้ตัดสินใจเปลี่ยนบิลใหม่ไปเลยดีกว่า โดยมีการตัดชื่อตุรกีออกแล้วใส่ชื่อปากีสถานเป็นผู้รับเรือเข้าไปแทน เนื่องมาจากว่ากองทัพเรือมีเรือที่จะปลดระวางเป็นจำนวนมากจึงไม่จำเป็นต้องเป็นลำเดียวกัน แต่ทว่ากลับเหมือนหนีเสือปะจระเข้ เพราะปากีสถานเองกลายเป็นตัวปัญหาทำความยุ่งยากใจให้กับบิลใบใหม่ใบนี้อีกครั้ง พวกเขามีความสัมพันธ์กับประเทศจีนมากขึ้นและซื้ออาวุธจากจีนมากขึ้นเช่นกัน ทำให้สามาชิกผู้แทนหลายคนมีความกังวลใจในสถานะการณ์เช่นนี้

เนื่องมาจากประเด็นหลักของบิลใบนี้เป็นการโอนเรือฟริเกตที่ปลดระวางแล้วให้กับมิตรประเทศแบบไม่คิดมูลค่า (เพียงแต่ต้องเสียเงินค่าปรับปรุงซ่อมแซมเองจำนวนหนึ่ง) แตกต่างจากการขายของใหม่เอี่ยมราคาแพงที่ประเทศจะได้รับผลตอบแทนอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยอยู่แล้ว จึงต้องมีการพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วนมากกว่าการซื้อขายทั่วไป แล้วเรื่องนี้ก็เงียบหายไปกับสายลมและสองเราเหมือนเช่นเคย


(c) Transfer to Pakistan by Grant Upon Certifications.--
            (1) Authority.--The President is authorized in each of 
        fiscal years 2014 through 2016 to transfer to the Government of 
        Pakistan one of the OLIVER HAZARD PERRY class guided missile 
        frigates USS KLAKRING (FFG-42), USS DE WERT (FFG-45), and USS 
        ROBERT G. BRADLEY (FFG-49) on a grant basis under section 516 
        of the Foreign Assistance Act (22 U.S.C. 2321j), 15 days after 
        certifying to the appropriate congressional committees that the 
        Government of Pakistan is--
http://0-www.gpo.gov.librus.hccs.edu/fdsys/pkg/BILLS-113s1683rs/html/BILLS-113s1683rs.htm



                               เรือฟริเกตชั้น Oliver Hazard Perry ของปากีสถานที่ได้รับการโอนมาในปี2010

เมื่อเจอปัญหาเข้าไปถึง2หนติด คณะผู้จัดทำจึงต้องมีความรัดกุมมากกว่าเดิมอีกหลายเท่าตัว พวกเขาตัดสินใจตัดชื่อปากีสถานออกให้เหลือแต่ชาติที่มีความซี้ย่ำปึ๊กและไม่มีทางที่จะมีปัญหาอีกแน่ๆ  วันที่8เมษายน2014 บิลใบใหม่จึงเกิดขึ้นโดยมีแค่เพียงเชื่อประเทศ เม็กซิโก ไทยแลนด์ได้รับการโอนโดยไม่คิดมูลค่า และไต้หวันได้รับการซื้อในราคามิตรภาพเท่านั้น

102.
Transfer of naval vessels to Taiwan
(a)
Transfer by sale
The President is authorized to transfer the OLIVER HAZARD PERRY class guided missile frigates USS TAYLOR (FFG–50), USS GARY (FFG–51), USS CARR (FFG–52), and USS ELROD (FFG–55) to the Taipei Economic and Cultural Representative Office of the United States (which is the Taiwan instrumentality designated pursuant to section 10(a) of the Taiwan Relations Act (22 U.S.C. 3309(a))) on a sale basis under section 21 of the Arms Export Control Act (22 U.S.C. 2761).
Transfer of naval vessels to certain other foreign recipients
201.
Findings
(a)
Relating to Mexico
(b)
Relating to Thailand
https://www.govtrack.us/congress/bills/113/hr3470/text


                                          USS Rentz (FFG-46) เป็น1ใน2ของจำนวนเรือที่จะโอนมายังประเทศไทย


แต่ให้ตายเถอะโรบิ้น ด้วยเรื่องวุ่นภายทางการเมืองในประเทศไทยกลางปี2014ทำให้บิลใบนี้ต้องมีปัญหาอีกครั้ง แม้บิลใบนี้จะผ่านสภาผู้แทนราษฎรมาแล้วก็ตามเถอะ แต่ก็ยังก็ยังมาดองเค็มอยู่ที่วุฒิสภาเพราะเกิดรัฐประหารและไม่มีรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้ง  เนื่องมาจากความล่าช้าทำให้คณะผู้จัดทำไม่อาจอดทนรอคอยได้อีกต่อไป วันที่4 ธันวาคม 2014จึงเกิดบิลใบใหม่ขึ้นมาอีกครั้ง โดยคราวนี้ตัดชื่อประเทศไทยออกเหลือแค่เพียงเม็กซิโกและไต้หวันเท่านั้น บิลฉบับนี้ใช้เวลาแค่เพียง2เดือนกว่าๆผ่านทุกด่านและประธานาธิบดีโอบามาก็ลงนามอนุมัติให้ในท้ายที่สุด ปัจจุบบันกลายเป็นกฎหมายของอเมริกาที่ทุกคนต้องปฎิบัติตามแล้วครับ

 
 


Oliver Hazard Perry เป็นเรือฟริเกตปราบเรือดำน้ำขนาด4,100ตัน สร้างขึ้นระหว่างปี1975-2004 เป็นจำนวนถึง71ลำด้วยกัน โดยที่เรือ ROCS Tian Dan (FFG-1110) ของไต้หวันคือเรือลำท้ายสุดที่ได้รับการสร้าง เข้าประจำการในปี2004มีการปรับปรุงติดปืนกลรองขนาด40/70มม. จรวดพื้น-สู่-พื้นรุ่น Hsiung Feng II เพิ่มอีกจำนวน8นัด และpy'ใช้จานเรดาร์ควบคุมการยิงสำหรับจรวดต่อสู้อากาศยานที่มีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย




USS Elrod (FFG-55) คือ1ใน4ลำที่มีชื่อขายให้กับไต้หวัน เริ่มเข้าประจำการในวันที่ 21 September 1985 (ก่อนเรือหลวงรัตนโกสินทร์ของเรา1ปี) ปลดประจำการเมื่อ10วันก่อนหรือวันที่ 30 January 2015 เท่ากับอยู่ในราชการแค่เพียงไม่ถึง30ปีเต็ม จากข่าวเก่าในอดีตไต้หวันขอซื้อเรือชุดนี้โดยมีการปรับปรุงใหญ่ให้ด้วยจำนวน2ลำในวงเงิน240ล้านเหรียญ เมื่อพวกเขาขอเพิ่มอีก2ลำก็น่าจะมีวงเงินอยู่ที่ประมาณ480ล้านเหรียญ ตัวเลขใกล้เคียงกับราคาเรือฟริเกตรุ่นใหม่ของไทยและมาเลเซียจำนวน1ลำพอดิบพอดี


จากนี้ไปคงต้องรอดูกันต่อไปว่า อเมริกาจะทำอย่างไรกับเรือฟริเกตชั้น Oliver Hazard Perry ที่ปลดประจำการไปแล้วและยังคงเก็บรักษาอยู่อีกจำนวนมากพอสมควร  แต่ดูจากเรื่องยุ่งๆที่ผ่านมาชาติที่ได้รับจะต้องเป็นชาติที่ในช่วงเวลานั้นไม่มีปัญหา ทั้งเรื่องภายในประเทศตัวเองกับหรือกับเพื่อนบ้านใกล้เคียง และที่สำคัญที่สุดก็คือกับอเมริกาเองและนโยบายทางการต่างประเทศของอเมริกาด้วย


------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

http://en.wikipedia.org/wiki/Oliver_Hazard_Perry-class_frigate

หลังจากเป็นโรคเลื่อนมาเกือบ2ปีเต็ม ในที่สุดเรือฟริเกตOHPสำหรับเม็กซิโกและไต้หวันก็ได้รับการอนุมัติจากประธานาธิบดีแล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น