วันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Siroco (S 72) เรือดำน้ำชั้นAgostaจากสเปน ที่”เกือบจะ”และ”อาจจะ”เข้าประจำการในกองทัพเรือไทย



Siroco (S 72) เรือดำน้ำชั้นAgostaจากสเปน ที่เกือบจะและอาจจะเข้าประจำการในกองทัพเรือไทย

ประวัติส่วนตัว
      Siroco (S 72) เป็นเรือดำน้ำชั้น Agosta เข้าประจำการในกองทัพเรือสเปนวันที่ 5 ธันวาคม 1983 ตัวเรือยาว67เมตร กว้าง6เมตร ระวางขับน้ำปรกติ1,500ตัน ระวางขับน้ำเต็มที่1,760ตัน สามารถดำน้ำลึก300เมตร มีอาวุธเป็นตอร์ปิโดขนาด21นิ้ว4ท่อ สามารถบรรทุกตอร์ปิโดไปได้16นัด ความเร็วสุงสุดขณะลอยลำ12น็อตขณะดำใต้น้ำ22.5น็อต

      ทร.สเปนสร้างเข้าประจำการ4ลำโดยที่ Siroco (S 72) เป็นลำดับที่ 2 ประเทศอื่นที่สร้างเข้าประจำการด้วยก็คือทร.ฝรั่งเศส4ลำ (ปลดระวางหมดแล้วแทนที่ด้วยเรือดำน้ำสกอร์เปี้ยน) ปากีสถาน 5ลำ โดยเป็นรุ่น Agosta 90Bจำนวน3ลำและ2ลำสุดท้ายต่อเองในประเทศ ถึงปัจจุบันสายการผลิตยังคงเปิดอยู่ปากีสถานมีสิทธิบัตรสามารถส่งออกไปขาย ต่างประเทศได้ด้วย




        

ผมงานในอดีตที่เคยปรากฎ

      เรือยังเข้าประจำการไม่ถึง2ปีดีก็มีวีรกรรมเป็นที่ปรากฎเสียแล้ว วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน 1985 เรือSiroco ได้ร่วมซ้อมรบกับเรืออื่นตามปรกติ เรือพิฆาต Valdes D-23ตามภาพล่างอยู่ไม่ห่างมากนัก เมื่อถึงเวลาที่กำหนด Sirocoจึงลอยขึ้นผิวน้ำในระดับส่องกล้องเปอร์ริสโคป ส่วนเรือValdesก็กลับหลังหัน180องศาตามโปรแกรมที่ได้รับ เรือทั้ง2ลำเข้าใกล้กันมากเกินไปจนหักหลบไม่ทัน ส่วนหนึ่งของหอบังคับการเรือดำน้ำใหม่เอี่ยมเสียหายตามภาพจึงจำเป็นต้องเข้า โรงซ่อมโดยด่วน

     ส่วนผู้ก่อเหตุอีกรายคือเรือพิฆาต Valdes D-23 ที่มีความยาว114เมตร กว้าง12เมตร ระวางขับน้ำ3,100ตัน เกิดความเสียหายอย่างหนักจนต้องปลดระวางในปีถัดไปทันที ผมล้อเล่นครับเธอได้รับความเสียหายนิดหน่อยเท่านั้นเอง แต่เนื่องจากรับใช้ชาติมานานถึง29ปีแล้วจึงถึงเวลาพักผ่อนเสียที การเฉี่ยวชนกับเรือดำน้ำชั้นAgostaถือเป็นผลงานครั้งสุดท้ายก็ว่าได้   Destructor Almirante Valdés D-23 (1959-1986)

      เรือรบจากประเทศยุโรปและอเมริกาส่วนมากจะประจำการไม่เกิน30ปีทั้งนั้น ฝรั่งเศสประจำการเรือดำน้ำชั้นAgostaแค่เพียง20ปีเท่านั้นเอง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเขาสามารถสร้างเรืออุปกรณ์ต่างๆและอาวุธได้เอง เรือที่สร้างจึงมีราคาที่ไม่แพงและเป็นการสร้างงานให้คนในชาติอีกด้วย 



วีกรรมครั้งสุดท้าย
  
     ปี2010ภายใต้การปฎิบัติการของนาโต้ Sirocoถูกส่งไปสังเกตุการณ์นอกชายฝั่งประเทศซีเรีย วันที่2มีนาคมใกล้ท่าเรือ Tartusเขาสามารถจับภาพเรือต้องสงสัยได้ บนเรือลำนั้นบรรทุกอาวุธที่คาดว่าจะเป็นจรวด Scuds และ M-600ที่กำลังขนออกนอกประเทศ แม้ซีเรียจะปฎิเสธเสียงแข็งมาโดยตลอดว่าไม่เคยให้ความช่วยเหลือกองกำลังติด อาวุธHezbollahในเลบานอนเลยก็ตาม แต่ภาพถ่ายของเรือ Siroco นี้สามารถยืนยันคำตอบทุกอย่างได้เป็นอย่างดี การลักลอบขนจรวดและอาวุธแบบนี้ยังคงมีจากฝั่งอิหร่านอีกด้วยทำให้สถานการณ์ ความรุนแรงระหว่างเลบานอนกับอิสราเอลไม่เคยลดลงไปแม้แต่น้อย

   จากกรณีนี้จะเห็นได้ว่า นี่คืออีก1ภาระกิจสำคัญ(มาก)ที่เรือดำน้ำสามารถทำได้ เป็นงานจารกรรมสุดคลาสิคด้วยเรือดำน้ำครั้งล่าสุดของโลกและเป็นภาระกิจสุด ท้ายของเรือลำนี้ด้วยเช่นกัน


การปลดประจำการ

     ในปี2012 รัฐบาลสเปนประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจครั้งยิ่งใหญ่ทำให้ต้องตัดลดค่าใช้จ่าย ทางทหารลงจำนวนมาก เรือ Siroco จำเป็นต้องเข้ารับการปรับปรุงซ่อมแซมทั้งภายนอกและภายในตัวเรือนับเป็นมูล ค่าสุงถึง25ล้านยูโร สัญญาที่ทำไว้กับ Navantia ถูกยึดออกไปเรื่อยๆและในที่สุดพวกเขาก็ตัดสินใจปลดประจำการเธอ ช่วงเวลานั้นรัฐบาลสเปนพยายามเสนอขายเรือลำนี้ไปยังประเทศ ตุรกี ปากีสถานและประเทศไทย แต่ผลการเจรจาไม่เป็นที่ประสบความสำเร็จ วันที่ 29 มิถุนายน 2012 เรือดำน้ำ Siroco (S 72) จึงปลดประจำการ หลังจากรับใช้ประเทศมาเป็นเวลาเกือบ29ปีเต็ม โดยมีภารกิจจริงทั้งในประเทศและต่างประเทศรวมกว่า 33,000 ชั่วโมง นับเป็นเวลามากถึง2,200 วันในทะเล   

Submarino Siroco S-72 (1983-2012)



Siroco (S 72) กับกองทัพเรือไทยในอดีต

     ข่าวเรือดำน้ำ Siroco ลำนี้ผมรวบรวมข้อมูลจากฝั่งสเปนอย่างเดียวนะครับแน่ใจว่าสื่อมวลชนในไทยเคย มีการเผยแพร่บ้างหรือไม่ ในช่วงเวลา2-3ปีที่ผ่านมากองทัพเรือไทยมีความต้องการจัดหาเรือดำน้ำมือ2เข้า ประจำการ นอกจากข่าวกับเรือU206Aแล้วทร.ไทยยังมีความสนใจในเรือลำนี้อีกด้วย จากวิกิได้บอกว่าสเปนแจ้งความจำนงในการขายเรือไปยังหลายประเทศและมีเพียง Tailandia เท่านั้นที่สนใจติดต่อกลับมา

     ปลายปี2011 สื่อมวลชนจากสเปนออกข่าวเยอรมันประสบความสำเร็จในการขายเรือดำน้ำ มือ2ชั้นU206Aจำนวน2ลำให้กับประเทศไทยมีมูลค่ารวม220ล้านเหรียญ (แต่ข่าวในบ้านเราคือเรือดำน้ำ4ลำและเรือดำน้ำอะไหล่อีก2ลำ) นั่นทำให้โอกาสสุดท้ายที่สเปนจะขายเรือลำนี้หลุดออกไปเสียแล้ว ในข่าวยังมีการเปรียบเทียบเรือทั้ง2แบบและบอกว่าเรือสเปนใหญ่กว่าใหม่กว่า ทันสมัยกว่าดำน้ำลึกกว่า ซึ่งเป็นเรื่องปรกติของสื่อมวลชนที่ดีที่จะต้องเขียนถึงประเทศตัวเองในทาง ที่ดีโดยตลอด
ปี2012ทร.ยื่นเรื่องซื้อเรือU206Aกับกระทรวงกลาโหม นับเป็นการเล็งเป้าหมายที่ใหญ่ที่สุดน่าสนใจที่สุดและน่าจะดีที่สุดสำหรับ เรา แต่พวกเขาทำพลาดไม่มีการส่งเรื่องต่อไปยังคณะรัฐมนตรี โครงการนี้จึงต้องยุติลงเป็นการชั่วคราวไปก่อน

     ทีนี้เรามาคุยเรื่องสมมุติกันดูบ้างนะครับ ถ้าทร.เลือกเรือจากสเปนจะต้องเสียค่าซ่อมเรือให้กลับมาใหม่เอี่ยมพร้อมใช้ งานไปอีก10-15ปีเป็นเงิน 25ล้านยูโร ผมไม่แน่ใจนะครับว่ารัฐบาลสเปนจะขายเราในราคาเท่าไหร่แต่คิดมั่วๆไปว่าราคา การขนส่งการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่และฝ่ายซ่อมบำรุง รวมไปถึงอะไหล่จำนวนหนึ่งที่ทำให้เรือใช้งานได้อย่างน้อยที่สุดก็อีก25ล้าน ยูโร รวมแล้วเป็นเงินขั้นต่ำ25+25=50ล้านยูโรหรือ ประมาณ2000ล้านบาท ถ้าเรื่องทุกอย่างเป็นไปได้ด้วยดีเราจะมีเรือดำน้ำขนาด1,500ตันที่ซ่อมแซม ใหม่หมด ใช้สำหรับฝึกหัดและเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับเรือดำน้ำรุ่นใหม่สมรรถนะสุ งในอนาคตจำนวน1ลำ และเธอน่าจะพร้อมเข้าประจำการได้อย่างช้าที่สุดก็ปลายปีนี้แหละ



Siroco (S 72)
กับกองทัพเรือไทยในอนาคต

     แม้โครงการจัดหาเรือดำน้ำของทร.ไทยจะหยุดชะงักไปเกือบปีแต่ไม่ได้หมาย ความว่ามันจะยุติไปเลยนี่ ยังมีโครงการนี้อยู่และในเฟส1นี้ทร.ต้องการเรือสำหรับฝึกหัดในระดับประถม นับเป็นความคิดที่ผมเห็นด้วยมากครับพวกเขาเรียนรู้สิ่งที่เคยเกิดและก้าว ผ่านมันไปได้แล้ว แปลไทยเป็นไทยก็คือทร.ต้องการเรือดำน้ำมือ2จำนวนหนึ่งก่อนจะมีการจัดหาเรือ ดำน้ำใหม่เอี่ยมเข้าประจำการอีกที

   ภาพแรกเป็นภาพจากเว็บบล็อกท่านหนึ่งที่ลงข่าวเรือ Sirocoในวันที่เธอปลดประจำการ ภาพระบุชื่อว่าเป็นเรือS-72แต่ในวันนั้นจริงๆเรือยังอยู่ในทะเลตามรูปอยู่ เลย ผมก็เลยไม่แน่ใจว่าตกลงเป็นรูปเรือลำนี้จริงไหมช่วงเวลาไหนหรือเป็นเพียงภาพ ประกอบกันแน่ ผมจึงขอตั้งสมมูติฐานเอาไว้ว่าเรือลำนี้ยังคงสภาพดีอยู่ขณะเดียวกัน เรือU206Aอีก2ลำก็ยังไม่โดนทุบทิ้ง เรือดำน้ำเฟส1ของเราจะเป็นนัดล้างตาของเรือเยอรมันกับเรือสเปนได้เลย

    เรือสเปน1ลำ50ล้านยูโรได้เรือฝึก1ลำซ่อมแซมใหม่เอี่ยมใช้งานได้ ประมาณ10-15ปี(ไม่แน่ใจว่าซ่อมอะไรบ้างแต่น่าจะเยอะ) หรือเรือเยอรมัน2ลำ50ล้านยูโรได้เรือฝึก2ลำที่ผ่านการปรับปรุงมาแล้วระยะ หนึ่งสามารถใช้งานได้ประมาณ10ปี มีดีกันคนหละแบบครับอยู่ที่ว่าทร.ต้องการแบบไหนมากกว่ากัน แต่ราคาน่าจะถูกว่าU209จากเกาหลีใต้(ที่ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องการขาย นอกจากข่าวลือไปเอง)มากพอสมควร
     
     แต่ถ้าในความเป็นจริงทั้งSirocoและU206Aหมดสภาพไปแล้วหละ จะยังมีเรือลำไหนมาเปรียบเทียบกับU209เกาหลีใต้อีกหรือเปล่า สเปนมีแผนการสร้างเรือดำน้ำ S-80 Classจำนวน4ลำมูลค่าลำละประมาณ700ล้านเหรียญ อย่าลืมว่าเขาต่อเองราคาจึงถูกกว่าเราเป็นคนไปซื้อนะครับ เรือลำแลกจะส่งมอบในปี2014แล้วเข้าประจำการในปีถัดไป และเรือจะมาแทนที่ Siroco (S 72)ที่เราคุยกันมาโดยตลอดนั่นเอง
      
มาดูพี่น้องอีก3ลำของเธอกันบ้างครับ Mistral (S 73) ที่เข้าประจำการในปี1985 ณ.เวลานี้กำลังได้รับการปรับปรุงครั้งใหญ่และจะกลับเข้าประจำการในเดือนพฤษ จิกายน 2013 ส่วน Galerna (S 71)ที่เข้าประจำการในปี1983 และ Tramontana (S 74) ที่เข้าประจำการในปี1985 ทั้ง2ลำจะมีโปรแกรมการปลดประจำการในปี 2015 และรัฐบาลสเปนพร้อมจะขายให้กับชาติที่สนใจอย่างแน่นอน โครงการจัดหาเรือดำน้ำเฟส1ของเรายังมีโอกาสนี้อยู่ ถ้าสนใจจริงๆควรจะรีบติดต่อสเปนล่วงหน้าได้เลยนะครับ
100ล้านยูโรสำหรับเรือฝึก2ลำที่ปรับปรุงใหม่หมดสามารถใช้งานได้10-15ปี แล้วจากนั้นค่อยว่ากัน หรือจะลดราคาลงไปครึ่งหนึ่งเพื่อเรือสำหรับฝึก2ลำที่ใช้งานได้ประมาณ8ปีก่อน จะก้าวไปยังเรือดำน้ำใหม่เอี่ยมต่อไป ถ้าพลาด2ลำนี้ยังมี Mistral ที่ปรับปรุงใหม่เอี่ยมรอตบท้ายอยู่อีกลำนะครับ เรือดำน้ำS-80ต้องเข้าประจำการทั้งหมดภายในปี2020และสเปนจำเป็นต้องปลดประจำ การเรือMistralอย่างเลี่ยงไม่ได้ โอกาสเป็นของผู้ที่ไม่ยอมแพ้ครับ ผมแค่หาข้อมูลมาบอกแต่คนสานฝันต้องทำมันต่ออีกที



การจัดหาเรือดำน้ำเข้าประจำการของกองทัพเรือมาเลเซีย

    Ouessant (S623) เป็นเรือดำน้ำชั้น Agosta จากฝรั่งเศสที่ปลดประจำการไปแล้วตั้งแต่ปี2001 แต่ในปี2005เธอถูกส่งต่อมายังมาเลเซียเพื่อฝึกหัดและเตรียมความพร้อมให้กับ เจ้าหน้าที่จำนวนหนึ่ง 5ปีต่อมาเมื่อเรือดำน้ำสกอร์เปี้ยนที่ใหม่เอี่ยมและทันสมัยส่งมอบมายังมาเล ย์เซียแล้ว Ouessant (S623) จึงถูกปลดประจำการเป็นครั้งที่2 อีก2ปีให้หลังเธอได้รับการแปลงโฉมให้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์เรือดำน้ำให้ทุกคนเข้ามาเยี่ยมชม ถ้าใครเคยไปเที่ยวที่มะละกาอาจจะเห็นภาพเรือลำนี้ผ่านตาบ้างก็ได้ครับ

    ส่วนการจัดหาเรือดำน้ำของประเทศไทยจะออกมารูปแบบไหนเราคงได้ทราบกันในไม่ ช้านี่แหละ เรือดำน้ำชั้น Agosta จากประเทศสเปนเป็นเรือเก่าที่ทำการรบรูปแบบใหม่ไม่ดีนัก แต่เธอยังคงมีคุณค่าในการฝึกสอนลูกประดู่ไทยทุกคนให้มีความพร้อมสำหรับอนาคต ต่อไป




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น